วางทั้งดีและชั่ว ก็คือ ตถาตา
คณะภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ได้ไปนมัสการพระอาจารย์เซ็นที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งชื่อ "ไต้ป้อ" ท่านได้พูดกับนักศึกษาธรรมเป็นจำนวนมาก ว่าฉันไม่รู้จักเซ็น และไม่มีธรรมอะไรที่จะสอนให้ใครๆ ฉะนั้น พวกเธอจึงไม่จำเป็นมาคอยอยู่ที่นี่... พวกเธอจะอยู่หรือจะไป... ก็สุดแล้วแต่พวกเธอเถิด! ไม่บังคับวิญญาณแล
ภิกษุเล้งกัก ได้ถามว่า ท่านอาจารย์จะยินดีตอบปัญหาธรรมะของพวกกระผมหรือไม่ครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ดวงจันทร์วันเพ็ญใสกระจ่างอยู่ในท่ามกลางสระใหญ่ สุดแล้วแต่เธอจะลงไปงมมันได้
ภิกษเล้งกัก ถามว่า อะไรคือ "พุทธะ" ครับ?
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า น้ำนิ่งใสเย็นในสระใหญ่มองเห็นเงาหน้า ไม่ใช่พุทธะแล้วอะไร
ภิกษุเล้งกัก ฟังคำตอบแล้ว ก็งงไม่รู้ความหมายของท่านอาจารย์ จึงได้ถามต่อไปอีกว่า ท่านอาจารย์สอนธรรมะอะไรสำหรับปลดปล่อยสัตว์
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ฉันไม่มี "ธรรมะ" แม้แต่นิดหนึ่งสำหรับปลดปล่อยสัตว์
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า พวกอาจารย์เซ็นมักจะพูดอะไรๆ ก็เป็นปริศนาธรรมไปหมดแบบๆ นี้ทุกองค์ไปเลย
อาจารย์ไต้ป้อ ถามขึ้นบ้างว่า เดี๋ยวก่อน แล้วท่านล่ะ ท่านใช้ธรรมะอะไรสำหรับปลดปล่อยชีวิตสัตว์?
ภิกษุเล้งกัก ตอบว่า ใช้ "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังเก็ง)" สำหรับปลดปล่อยสัตว์
อาจารย์ไต้ป้อ ถามว่า ท่านเทศนาอรรถาธิบาย "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" มากี่จบแล้ว?
ภิกษุเล้งกัก ตอบว่า ผมได้เทศนาอรรถาธิบายบนธรรมาสน์มา ๒๐ กว่าจบแล้วครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ถามว่า พระสูตรนี้ใครเป็นผู้ตรัสรู้?
ภิกษุเล้งกัก ฟังคำพูดนี้แล้ว ชักจะไม่ค่อยพอใจขึ้นมาทันที จึงพูดว่า เอ้า!! นี่ท่านอาจารย์แกล้งถามผมใช่ไหม? ท่านไม่รู้จริงๆ หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่าในพระสูตรนั้นบอกว่า "หากมีใครว่าพระพุทธเจ้ากล่าวธรรมะ นั่นคือตู่พระพุทธวจนะ (ตู่พระพุทธเจ้า) บุคคลนั้นไม่เข้าใจความหมายของตถาคตกล่าวธรรมะไว้เลย "หากมีใครพูดว่า พระสูตรนี้ไม่ใช่ตถาคตกล่าวไว้ นั่นคือเขาผู้นั้นตู่พระสูตร" อีกเช่นกัน เอ้า! ในเมื่อพระสูตรบอกไว้อย่างนี้หมดแล้ว ขอเชิญให้ท่านอธิบายมาให้ฉันฟังบ้างซิ?
ภิกษุเล้งกัก ฟังแล้วหยุดนิ่ง! อึ้ง งงคิดไม่ออกทุกๆ คนเงียบด้วยความฉงนกันไปหมดเลย!!
อาจารย์ไต้ป้อ อีกสักครู่หนึ่ง ท่านได้พูดขึ้นว่า ในพระสูตรได้กล่าวไว้อีกว่า "ถ้าเห็นตถาคตด้วยรูป หรือค้นหาตถาคตด้วยเสียง ผู้นั้นกำหลังเดินทางมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีทางจะพบพุทธะได้เลย"
นี่พระสูตรได้กล่าวไว้อย่างนี้อีก ขอให้เธอคิดดูที แล้วเธอจะพบ "พุทธะ" ได้อย่างไรกัน? จงตอบมาซิ
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ขณะนี้ผมโง่ไปหมดแล้วครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า เธอยังไม่เคยฉลาดมาบ้างเลยแล้วจะรู้ว่าโง่อย่างไรกัน?
ท่านอาจารย์พูดต่อไปอีกว่า เธอได้เคยเทศนาอรรถาธิบาย "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" ให้ประชาชนฟังมา ๒๐ กว่าครั้ง แล้วก็จริงอยู่ แต่เธอยังไม่เข้าใจพระสูตรเลย ยังจับความหมายของคำว่า "พุทธะ" ไม่ได้เลย
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ขอให้ท่านอาจารย์ได้โปรดช่วยกรุณาชี้แจงให้ผมสว่างขึ้นกว่านี้ที ด้วยเถิดครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ธรรมะทั้งปวงมีเหตุผลอยู่ในตัวธรรมะนั้นแล้ว ทำไมเธอจึงลืมมันไปเสีย
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ใช่แล้วครับ ธรรมะทั้งปวงมีเหตุมีผล อยู่ในตัวธรรมะนั้นแล้ว
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ที่เธอพูดว่าใช่แล้ว ใช่แล้ว นั้นก็ยังไม่ใช่นะ (อย่ายึดติดตัวใช่ไว้ ถ้ายังติดตัวใช่นี้แล้วจะไม่หลุดพ้น) พระสูตรกล่าวไว้อย่างชัดเจนเธอจับความไม่ได้เองต่างหาก
ภิกษุเล้งกัก หยุดนิ่ง! สักครู่หนึ่งแล้ว ถามต่อไปอีกว่า จะบรรลุนิพพานได้อย่างไร? ครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า "จงอย่าสร้างกรรมแห่งการเกิดและตาย"
ภิกษุเล้งกัก ถามว่า อะไรคือการสร้าง "กรรมแห่งการเกิดและตาย"
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ถ้าเธอค้นหาพระนิพพาน นั่นแหละ! คือกรรมแห่งการเกิดและตาย! ละความชั่ว สร้างความดี นั่แนหละ คือ กรรมแห่งการเกิดและตาย และถ้าเธอเข้าใจว่า เธอบรรลุธรรมแล้ว นั่นแหละ คือ กรรมแห่งการเกิดและตาย
ถ้ามีคำว่า "ยึดถือ กับปล่อยวาง" ติดอยู่ในจิตใจของเธอแล้ว นั่นแหละ คือกรรมแห่งการเกิดและตาย
ภิกษุเล้งกัก ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว จะหลุดพ้นได้อย่างไร?
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ไม่มีใคร "ผูก" เจ้าไว้ แล้วจะมาหาใครแก้ทำไมด้วยเล่า? จงทำไป จงเดินไปตามธรรมชาตินั่นแหละ จะพบทางหลุดพ้น แล้วเธอจะหุบปากเงียบ รู้ได้ด้วยตนเองจนไม่มีภาษา เสียง ของเทวดาและมนุษย์ที่สามารถจะพูดหรือเปรียบเทียบให้ถูกต้องเหมือนสภาวะเช่นที่บรรลุถึงได้ นั่นแหละ ตรงนี้เองที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้บรรลุถึงหมดแล้ว และพระอริยสาวกทั้งหลายได้ติดตามไปอีกเป็นจำนวนมากหลาย และหนทางอันนั้นก็ยังมีอยู่ ยังต้อนรับเธออยู่ตลอดกาล มันอยู่ที่ตัวเธอเท่านั้นเอง
ภิกษุเล้งกัก เมื่อได้ฟังจบแล้ว ก็เกิดความสว่างไสวในโลกุตรธรรม (สุญญตานิพพาน) ทันที จึงได้กราบท่านอาจารย์อีก ๓ หน แล้วพูดว่า "ขณะนี้ภายในจิตใจของผมอุปมาเหมือนดังฟ้าได้ผ่า เปรี้ยง! ลงมายังกลางสมอง" ของกระผมแล้วครับ ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ผมเคยยึดมั่นถือมั่นมาตั้งแต่ดั้งเดิมว่าถูก ได้พังทลายหมดลงไปในนาทีนี้แล้วครับ พระคุณเจ้า
ธีรทาส. ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น (ฉบับเซียนท้ออายุยืน) รวมเล่มพิเศษ ๑-๒-๓-๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, ๔๔-๔๗.
เนื้อเรื่องนี้ ใจความบอกถึงว่า ทั้งหมดพูดถึง ตถาตา มันเป็นเช่นนั้นเอง
ภาวะธรรมเช่นนั้นพระพุทธเจ้าพูด ก็คือพระพุทธเจ้าพูด แต่ภาวะธรรมนั้นก็ดับลงเหมือนกัน ฉะนั้น ทุกอย่างเป็นไปเช่นนั้นเอง
เซ็นไม่ได้สอนให้ปฏิบัติ แต่สอนให้ปล่อยวาง
ติด "ดี" ก็ไม่ได้ ติด "ชั่ว" ก็ไม่ได้ ฉะนั้น จะต้องวางทั้งดีและชั่ว ก็คือ ตถาตา เป็นเช่นนั้นเอง
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
วางทั้งดีและชั่ว ก็คือ ตถาตา
คณะภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ได้ไปนมัสการพระอาจารย์เซ็นที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งชื่อ "ไต้ป้อ" ท่านได้พูดกับนักศึกษาธรรมเป็นจำนวนมาก ว่าฉันไม่รู้จักเซ็น และไม่มีธรรมอะไรที่จะสอนให้ใครๆ ฉะนั้น พวกเธอจึงไม่จำเป็นมาคอยอยู่ที่นี่... พวกเธอจะอยู่หรือจะไป... ก็สุดแล้วแต่พวกเธอเถิด! ไม่บังคับวิญญาณแล
ภิกษุเล้งกัก ได้ถามว่า ท่านอาจารย์จะยินดีตอบปัญหาธรรมะของพวกกระผมหรือไม่ครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ดวงจันทร์วันเพ็ญใสกระจ่างอยู่ในท่ามกลางสระใหญ่ สุดแล้วแต่เธอจะลงไปงมมันได้
ภิกษเล้งกัก ถามว่า อะไรคือ "พุทธะ" ครับ?
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า น้ำนิ่งใสเย็นในสระใหญ่มองเห็นเงาหน้า ไม่ใช่พุทธะแล้วอะไร
ภิกษุเล้งกัก ฟังคำตอบแล้ว ก็งงไม่รู้ความหมายของท่านอาจารย์ จึงได้ถามต่อไปอีกว่า ท่านอาจารย์สอนธรรมะอะไรสำหรับปลดปล่อยสัตว์
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ฉันไม่มี "ธรรมะ" แม้แต่นิดหนึ่งสำหรับปลดปล่อยสัตว์
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า พวกอาจารย์เซ็นมักจะพูดอะไรๆ ก็เป็นปริศนาธรรมไปหมดแบบๆ นี้ทุกองค์ไปเลย
อาจารย์ไต้ป้อ ถามขึ้นบ้างว่า เดี๋ยวก่อน แล้วท่านล่ะ ท่านใช้ธรรมะอะไรสำหรับปลดปล่อยชีวิตสัตว์?
ภิกษุเล้งกัก ตอบว่า ใช้ "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังเก็ง)" สำหรับปลดปล่อยสัตว์
อาจารย์ไต้ป้อ ถามว่า ท่านเทศนาอรรถาธิบาย "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" มากี่จบแล้ว?
ภิกษุเล้งกัก ตอบว่า ผมได้เทศนาอรรถาธิบายบนธรรมาสน์มา ๒๐ กว่าจบแล้วครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ถามว่า พระสูตรนี้ใครเป็นผู้ตรัสรู้?
ภิกษุเล้งกัก ฟังคำพูดนี้แล้ว ชักจะไม่ค่อยพอใจขึ้นมาทันที จึงพูดว่า เอ้า!! นี่ท่านอาจารย์แกล้งถามผมใช่ไหม? ท่านไม่รู้จริงๆ หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่าในพระสูตรนั้นบอกว่า "หากมีใครว่าพระพุทธเจ้ากล่าวธรรมะ นั่นคือตู่พระพุทธวจนะ (ตู่พระพุทธเจ้า) บุคคลนั้นไม่เข้าใจความหมายของตถาคตกล่าวธรรมะไว้เลย "หากมีใครพูดว่า พระสูตรนี้ไม่ใช่ตถาคตกล่าวไว้ นั่นคือเขาผู้นั้นตู่พระสูตร" อีกเช่นกัน เอ้า! ในเมื่อพระสูตรบอกไว้อย่างนี้หมดแล้ว ขอเชิญให้ท่านอธิบายมาให้ฉันฟังบ้างซิ?
ภิกษุเล้งกัก ฟังแล้วหยุดนิ่ง! อึ้ง งงคิดไม่ออกทุกๆ คนเงียบด้วยความฉงนกันไปหมดเลย!!
อาจารย์ไต้ป้อ อีกสักครู่หนึ่ง ท่านได้พูดขึ้นว่า ในพระสูตรได้กล่าวไว้อีกว่า "ถ้าเห็นตถาคตด้วยรูป หรือค้นหาตถาคตด้วยเสียง ผู้นั้นกำหลังเดินทางมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีทางจะพบพุทธะได้เลย"
นี่พระสูตรได้กล่าวไว้อย่างนี้อีก ขอให้เธอคิดดูที แล้วเธอจะพบ "พุทธะ" ได้อย่างไรกัน? จงตอบมาซิ
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ขณะนี้ผมโง่ไปหมดแล้วครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า เธอยังไม่เคยฉลาดมาบ้างเลยแล้วจะรู้ว่าโง่อย่างไรกัน?
ท่านอาจารย์พูดต่อไปอีกว่า เธอได้เคยเทศนาอรรถาธิบาย "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" ให้ประชาชนฟังมา ๒๐ กว่าครั้ง แล้วก็จริงอยู่ แต่เธอยังไม่เข้าใจพระสูตรเลย ยังจับความหมายของคำว่า "พุทธะ" ไม่ได้เลย
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ขอให้ท่านอาจารย์ได้โปรดช่วยกรุณาชี้แจงให้ผมสว่างขึ้นกว่านี้ที ด้วยเถิดครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ธรรมะทั้งปวงมีเหตุผลอยู่ในตัวธรรมะนั้นแล้ว ทำไมเธอจึงลืมมันไปเสีย
ภิกษุเล้งกัก พูดว่า ใช่แล้วครับ ธรรมะทั้งปวงมีเหตุมีผล อยู่ในตัวธรรมะนั้นแล้ว
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ที่เธอพูดว่าใช่แล้ว ใช่แล้ว นั้นก็ยังไม่ใช่นะ (อย่ายึดติดตัวใช่ไว้ ถ้ายังติดตัวใช่นี้แล้วจะไม่หลุดพ้น) พระสูตรกล่าวไว้อย่างชัดเจนเธอจับความไม่ได้เองต่างหาก
ภิกษุเล้งกัก หยุดนิ่ง! สักครู่หนึ่งแล้ว ถามต่อไปอีกว่า จะบรรลุนิพพานได้อย่างไร? ครับ
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า "จงอย่าสร้างกรรมแห่งการเกิดและตาย"
ภิกษุเล้งกัก ถามว่า อะไรคือการสร้าง "กรรมแห่งการเกิดและตาย"
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ถ้าเธอค้นหาพระนิพพาน นั่นแหละ! คือกรรมแห่งการเกิดและตาย! ละความชั่ว สร้างความดี นั่แนหละ คือ กรรมแห่งการเกิดและตาย และถ้าเธอเข้าใจว่า เธอบรรลุธรรมแล้ว นั่นแหละ คือ กรรมแห่งการเกิดและตาย
ถ้ามีคำว่า "ยึดถือ กับปล่อยวาง" ติดอยู่ในจิตใจของเธอแล้ว นั่นแหละ คือกรรมแห่งการเกิดและตาย
ภิกษุเล้งกัก ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว จะหลุดพ้นได้อย่างไร?
อาจารย์ไต้ป้อ ตอบว่า ไม่มีใคร "ผูก" เจ้าไว้ แล้วจะมาหาใครแก้ทำไมด้วยเล่า? จงทำไป จงเดินไปตามธรรมชาตินั่นแหละ จะพบทางหลุดพ้น แล้วเธอจะหุบปากเงียบ รู้ได้ด้วยตนเองจนไม่มีภาษา เสียง ของเทวดาและมนุษย์ที่สามารถจะพูดหรือเปรียบเทียบให้ถูกต้องเหมือนสภาวะเช่นที่บรรลุถึงได้ นั่นแหละ ตรงนี้เองที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้บรรลุถึงหมดแล้ว และพระอริยสาวกทั้งหลายได้ติดตามไปอีกเป็นจำนวนมากหลาย และหนทางอันนั้นก็ยังมีอยู่ ยังต้อนรับเธออยู่ตลอดกาล มันอยู่ที่ตัวเธอเท่านั้นเอง
ภิกษุเล้งกัก เมื่อได้ฟังจบแล้ว ก็เกิดความสว่างไสวในโลกุตรธรรม (สุญญตานิพพาน) ทันที จึงได้กราบท่านอาจารย์อีก ๓ หน แล้วพูดว่า "ขณะนี้ภายในจิตใจของผมอุปมาเหมือนดังฟ้าได้ผ่า เปรี้ยง! ลงมายังกลางสมอง" ของกระผมแล้วครับ ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ผมเคยยึดมั่นถือมั่นมาตั้งแต่ดั้งเดิมว่าถูก ได้พังทลายหมดลงไปในนาทีนี้แล้วครับ พระคุณเจ้า
ธีรทาส. ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น (ฉบับเซียนท้ออายุยืน) รวมเล่มพิเศษ ๑-๒-๓-๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, ๔๔-๔๗.
เนื้อเรื่องนี้ ใจความบอกถึงว่า ทั้งหมดพูดถึง ตถาตา มันเป็นเช่นนั้นเอง
ภาวะธรรมเช่นนั้นพระพุทธเจ้าพูด ก็คือพระพุทธเจ้าพูด แต่ภาวะธรรมนั้นก็ดับลงเหมือนกัน ฉะนั้น ทุกอย่างเป็นไปเช่นนั้นเอง
เซ็นไม่ได้สอนให้ปฏิบัติ แต่สอนให้ปล่อยวาง
ติด "ดี" ก็ไม่ได้ ติด "ชั่ว" ก็ไม่ได้ ฉะนั้น จะต้องวางทั้งดีและชั่ว ก็คือ ตถาตา เป็นเช่นนั้นเอง
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต