จากเว็บนี้ครับ
https://thepeople.co/g-gundam-japan/
_______________________________
เมื่อเอ่ยถึง Gundam คนส่วนใหญ่มักจะรู้ว่าหมายถึงอะไร ประมาณไหน
เมื่อเอ่ยถึง นิยายกิมย้ง คนส่วนมากก็มักจะรู้ว่าหมายถึงนิยายแนวไหน
แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อจับทั้งสองอย่างมารวมกัน?
…
แต่เดิม การ์ตูน Gundam มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง สงครามอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร โดยผู้กำกับ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ (富野由悠季) เป็นต้นคิดและมีอิทธิพลต่อ Gundam หลาย ๆ ภาค ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมมติในอนาคตและใช้ศักราชว่า U. C. (Universal Century) แต่ใน ค. ศ. 1994 ก็ได้มีความพยายามจะแหวกขนบของ Gundam ขึ้น ตอนนั้นอิทธิพลของหนังจีนกำลังภายในจากฮ่องกงโด่งดังทั่วเอเชียมาก (ยุคนั้นจีนแผ่นดินใหญ่ยังไม่ค่อยส่งออกสินค้าบันเทิงอย่างทุกวันนี้) อีกทั้งในญี่ปุ่นก็มีกระแส Super Robot แรงมาก จึงเกิดเป็น Gundam แนวใหม่ที่ฉีกขนบ Gundam แบบเดิม ๆ แบบโยนทิ้งอ่าวโตเกียวไปเลย กลายเป็นภาค G-Gundam นี่เอง จึงเป็น Gundam ที่เน้นฉากที่ฮ่องกง และเน้นปรัชญาจีนแนวฮ่องกงมาก ๆ
เนื้อเรื่องของ G-Gundam ได้รับอิทธิพลจากนิยายกิมย้งเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร: 笑傲江湖” (หรือในเวอร์ชันภาพยนตร์จะใช้ชื่อว่า “เดชคัมภีร์เทวดา”) อย่างมาก มีการรวมตัวละคร “งักปุ๊กคุ้ง (岳不群)” เข้ากับ “ตงฟางปุ๊ป้าย (東方不敗)” ให้กลายเป็นตัวละครตัวเดียว และเป็นอาจารย์ของ “โดม่อน” พระเอกในเรื่อง G-Gundam โดยตั้งชื่ออาจารย์ของพระเอกว่า “โทโฮฮุไฮ” ซึ่งเป็นเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นของคำว่า ตงฟางปุ๊ป้าย (東方不敗) ที่แปลว่า “บูรพาไร้พ่าย” กันแบบดื้อ ๆ เลย และผู้ชมที่รู้เนื้อเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักรมาก่อนจะรู้ได้ทันทีว่า โทโฮฮุไฮ จะต้องเป็น “วิญญูชนจอมปลอม” อย่างแน่นอนในเรื่อง G-Gundam นี้
G-Gundam มีความน่าสนใจหลายระดับด้วยกันดังนี้ ระดับแรกคือการตั้งคำถามใหม่กับระบบการเมืองและสงคราม ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงศักราชใหม่คือ Future Century เป็นยุคที่มนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีไปจนถึงขั้นสามารถสร้างพื้นที่เพิ่มในอวกาศได้แล้ว หลังจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกต่างก็ทำสงครามกันอย่างบ้าคลั่ง และเสพสุขจากทรัพยากรโลกอย่างไม่สนใจอนาคต ทำให้สภาพแวดล้อมบนโลกกลายเป็นพิษอย่างมาก คนรวยจึงอพยพไปใช้ชีวิตใน Colony ที่เป็นสถานีอวกาศขนาดยักษ์ของแต่ละประเทศโดยใช้คำว่า Neo- นำหน้าชื่อแต่ละประเทศแทนความเป็นตัวแทนของ Colony ของแต่ละประเทศ และทิ้งให้คนจนใช้ชีวิตอยู่บนพื้นโลกที่ผุพังต่อไป
เมื่อทุกประเทศตระหนักถึงความจริงที่ว่าการทำสงครามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นได้ทำลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมาก ในที่สุดจึงมีมติให้ทุกประเทศทั่วโลกจัดการแข่งขัน Gundam Fight ขึ้น ให้ทุกประเทศแข่งกันพัฒนาระบบหุ่นยักษ์ Gundam และพัฒนาความสามารถในศิลปะป้องกันตัวของนักแข่งแต่ละประเทศ แล้วส่งตัวแทนมาสู้กันทุก ๆ 4 ปีบนพื้นโลกที่ผุพังอยู่แล้ว ใครที่ชนะเลิศในการแข่งขัน ประเทศนั้นก็จะได้เป็นรัฐบาลบริหารโลกไปอีก 4 ปี แล้วค่อยจัดการแข่งครั้งใหม่ หมุนเวียนกันไป เพื่อลดปัญหาสงครามและการฆ่าฟันโดยไม่จำเป็น จึงเป็นที่มาของเรื่อง G-Gundam นั่นเอง
การตั้งคำถามอีกระดับหนึ่งที่น่าสนใจ คือการตั้งคำถามกับเทคโนโลยีในยุคนั้น Gundam ทุกภาคก่อนหน้านั้นเป็นเทคโนโลยีแบบ Real Robot ที่เป็นการบังคับหุ่นด้วยแป้นพิมพ์และคันบังคับ แต่ G-Gundam ใช้เทคโนโลยีคล้าย Super Robot คือเป็น wearable technology ที่เรียกว่า Mobile Trace System คือนักแข่งจะสวมชุดที่เชื่อมเข้ากับระบบประสาทของหุ่น Gundam นักแข่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และ Gundam ก็จะขยับตามทั้งหมด นอกจากนี้ Mobile Trace System ยังสามารถดึงเอา “กำลังภายใน” หรือลมปราณของนักแข่งออกมาเป็นพลังงานของหุ่นได้ด้วย
ดังนั้น ทุกประเทศก็จะแข่งกันพัฒนา Mobile Trace System ให้สามารถดึงกำลังภายในของนักแข่งออกมาให้ได้มากที่สุด และพัฒนาฝีมือทางศิลปะป้องกันตัวของนักแข่ง เพื่อให้ชนะในการแข่ง หุ่นในเรื่องจึงไม่เรียก Mobile Suit (MS) เหมือน Gundam ภาคอื่น แต่จะเรียกว่า Mobile Fighter (MF) แทน นอกจากนี้ เทคโนโลยีของตัวร้ายอย่าง Devil Gundam ก็มีการกล่าวถึง nanotechnology ซึ่งถือว่าล้ำหน้ามากในปี 1994 โดย nanotechnology ของ Devil Gundam เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเชื่อมต่อได้ทั้งกับดิจิทัลทุกระบบ ซึ่งสำหรับผู้ชมในยุคนั้นต้องถือว่า โห คิดได้ไงนั่น
การตั้งคำถามที่น่าสนใจอีกประเด็น คือการตั้งคำถามไปถึงระดับฐานราก ย้อนกลับไปถามถึง “ความเป็น Gundam” ว่าจำเป็นต้องเป็นแนวของโทะมิโนะผู้เป็นต้นคิดกันดั้มเสมอไปหรือไม่? คำตอบคือ “ไม่” การดำเนินเนื้อเรื่องของ G-Gundam จึงเป็นไปในลักษณะคล้ายกับบุคลิกของ “เหล็งฮู้ชง (令狐沖)” พระเอกเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร ที่ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ หรือ ขนบเก่า ๆ ที่ล้าสมัย ดังนั้น G-Gundam จึงดำเนินเนื้อเรื่องแนวกำลังภายในของจีนแบบจัดเต็มทุกอณู ชนิดที่ไม่แคร์ขนบเดิมของ Gundam แนวโทะมิโนะกันเลย
หุ่นของพระเอกโดม่อนเปิดเรื่องด้วย Shining Gundam ซึ่งเป็นตัวแทนของลูกพระอาทิตย์คือญี่ปุ่น แต่อาจารย์ของพระเอกคือโทโฮฮุไฮซึ่งเป็นคนฮ่องกง โดม่อนจึงมีวิชาต่อสู้แบบกำลังภายในฮ่องกง ท่าไม้ตายเด่นสุดจึงเป็นท่าแบบกำลังภายในคือ “ดัชนีสุริยัน (Shining Finger)” พอหลังจากหุ่นพังแล้ว มีการเปลี่ยนหุ่นเป็น God Gundam (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาคว่า G-Gundam) จึงมีท่าไม้ตายเปลี่ยนเป็น “ดัชนีเทวราช (God Finger)” ที่สุดแสนจะกิมย้งงงงง ในขณะที่โทโฮฮุไฮผู้เป็นอาจารย์ก็ต้องมีท่าคล้ายกันคือ “ดัชนีอนธการ (Darkness Finger)” ประกาศกร้าวความเป็นตัวร้าย แน่นอนว่าจะต้องมีฉากที่ลูกศิษย์ต้องสู้กับอาจารย์ มีความเคารพรักผูกพัน แต่ก็มีความเคียดแค้นที่อาจารย์ที่ตัวเองเคารพทำไมจึงกลายเป็นฝ่ายอธรรมไปได้ และฉากที่โดม่อนต้องต่อสู้กับโทโฮฮุไฮ จึงเป็นฉากที่ “ปล่อยความเป็นหนังจีนกำลังภายใน” กันแบบจัดเต็มมาก เรียกว่าเรื่องนี้มาแปลก คือเสียฐานแฟนคลับ Gundam แนวโทะมิโนะไป แต่ได้ใจแฟนคลับกำลังภายใน และได้ใจแฟน ๆ Super Robot มาแทน ทำให้สร้าง Gundam แนวใหม่ได้อีกเรื่อย ๆ หลังจากภาคนี้โดยไม่ต้องยึดติดกับโทะมิโนะกันอีกต่อไป
ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจ คือการตั้งคำถามกับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติกันเลย เพราะแต่เดิมหุ่น Ultimate Gundam มี nanotechnology ไว้เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอันบอบช้ำจากสงคราม แต่เมื่อสร้าง Ultimate Gundam แล้วพอลงสู่พื้นโลก กลับสัมผัสได้ถึงเจตนาแห่งการฆ่าฟันห้ำหั่นของเจตนาแห่งมนุษยชาติ Ultimate Gundam จึงเกิดอาการ malfunction และกลายร่างเป็น Devil Gundam ที่ใช้ nanotechnology เพื่อทำลายล้างมนุษยชาติแทน เพราะต้องการทำลายต้นเหตุแห่งหายนะของโลกใบนี้นั่นเอง
นอกจากนี้ ในตอนท้ายของเรื่อง ก็เฉลยว่า โทโฮฮุไฮ ที่จริงแล้วไม่ใช่คนชั่วร้าย แต่โทโฮฮุไฮต้องการจะฆ่ามนุษย์ให้หมดโลก เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอีกครั้ง สรุปว่า โทโฮฮุไฮ และ Devil Gundam จริง ๆ คือ Thanos แห่ง Marvel ในยุค 1994 นั่นเอง!
เรียกว่าทีมผู้สร้าง G-Gundam เคยถึงทางตัน ว่าควรทำเรื่อง Gundam อะไรต่อดี และตัดสินใจแหวกขนบสำเร็จ สร้างบรรทัดฐานของ Gundam แนวใหม่ให้คนรุ่นหลังได้, สามารถปลุกผีตลาด SD-Gundam ได้ด้วย, ทำให้เกม Super Robot ขายดีขึ้นไปอีก, ตัวละคร God Gundam กลายเป็นตัวละครยอดฮิตที่เกมหุ่นยนต์ทุกเกมต้องมี, เนื้อเรื่องสนุกน่าติดตาม, ฉากต่อสู้ตระการตา, ปล่อยของจัดเต็ม, เพลงประกอบมีกลิ่นอายญี่ปุ่นผสมฮ่องกง, ดรามาหนักหน่วงไม่มีกั๊ก จัดเป็นอะนิเมะที่สนุกและได้แง่คิดมากมาย และนำไปสู่ยอดขายชุดโมเดล Gunpla แบบเทน้ำเทท่าอีกด้วย แนะนำอย่างมากให้หามาดูกัน
(เอาแบ่งปันให้คอกำลังภายในครับ) จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนิยายกิมย้งมาผสมกับนิยายสงครามอวกาศกันดั้ม
https://thepeople.co/g-gundam-japan/
_______________________________
เมื่อเอ่ยถึง Gundam คนส่วนใหญ่มักจะรู้ว่าหมายถึงอะไร ประมาณไหน
เมื่อเอ่ยถึง นิยายกิมย้ง คนส่วนมากก็มักจะรู้ว่าหมายถึงนิยายแนวไหน
แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อจับทั้งสองอย่างมารวมกัน?
…
แต่เดิม การ์ตูน Gundam มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง สงครามอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร โดยผู้กำกับ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ (富野由悠季) เป็นต้นคิดและมีอิทธิพลต่อ Gundam หลาย ๆ ภาค ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมมติในอนาคตและใช้ศักราชว่า U. C. (Universal Century) แต่ใน ค. ศ. 1994 ก็ได้มีความพยายามจะแหวกขนบของ Gundam ขึ้น ตอนนั้นอิทธิพลของหนังจีนกำลังภายในจากฮ่องกงโด่งดังทั่วเอเชียมาก (ยุคนั้นจีนแผ่นดินใหญ่ยังไม่ค่อยส่งออกสินค้าบันเทิงอย่างทุกวันนี้) อีกทั้งในญี่ปุ่นก็มีกระแส Super Robot แรงมาก จึงเกิดเป็น Gundam แนวใหม่ที่ฉีกขนบ Gundam แบบเดิม ๆ แบบโยนทิ้งอ่าวโตเกียวไปเลย กลายเป็นภาค G-Gundam นี่เอง จึงเป็น Gundam ที่เน้นฉากที่ฮ่องกง และเน้นปรัชญาจีนแนวฮ่องกงมาก ๆ
เนื้อเรื่องของ G-Gundam ได้รับอิทธิพลจากนิยายกิมย้งเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร: 笑傲江湖” (หรือในเวอร์ชันภาพยนตร์จะใช้ชื่อว่า “เดชคัมภีร์เทวดา”) อย่างมาก มีการรวมตัวละคร “งักปุ๊กคุ้ง (岳不群)” เข้ากับ “ตงฟางปุ๊ป้าย (東方不敗)” ให้กลายเป็นตัวละครตัวเดียว และเป็นอาจารย์ของ “โดม่อน” พระเอกในเรื่อง G-Gundam โดยตั้งชื่ออาจารย์ของพระเอกว่า “โทโฮฮุไฮ” ซึ่งเป็นเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นของคำว่า ตงฟางปุ๊ป้าย (東方不敗) ที่แปลว่า “บูรพาไร้พ่าย” กันแบบดื้อ ๆ เลย และผู้ชมที่รู้เนื้อเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักรมาก่อนจะรู้ได้ทันทีว่า โทโฮฮุไฮ จะต้องเป็น “วิญญูชนจอมปลอม” อย่างแน่นอนในเรื่อง G-Gundam นี้
G-Gundam มีความน่าสนใจหลายระดับด้วยกันดังนี้ ระดับแรกคือการตั้งคำถามใหม่กับระบบการเมืองและสงคราม ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงศักราชใหม่คือ Future Century เป็นยุคที่มนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีไปจนถึงขั้นสามารถสร้างพื้นที่เพิ่มในอวกาศได้แล้ว หลังจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกต่างก็ทำสงครามกันอย่างบ้าคลั่ง และเสพสุขจากทรัพยากรโลกอย่างไม่สนใจอนาคต ทำให้สภาพแวดล้อมบนโลกกลายเป็นพิษอย่างมาก คนรวยจึงอพยพไปใช้ชีวิตใน Colony ที่เป็นสถานีอวกาศขนาดยักษ์ของแต่ละประเทศโดยใช้คำว่า Neo- นำหน้าชื่อแต่ละประเทศแทนความเป็นตัวแทนของ Colony ของแต่ละประเทศ และทิ้งให้คนจนใช้ชีวิตอยู่บนพื้นโลกที่ผุพังต่อไป
เมื่อทุกประเทศตระหนักถึงความจริงที่ว่าการทำสงครามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นได้ทำลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมาก ในที่สุดจึงมีมติให้ทุกประเทศทั่วโลกจัดการแข่งขัน Gundam Fight ขึ้น ให้ทุกประเทศแข่งกันพัฒนาระบบหุ่นยักษ์ Gundam และพัฒนาความสามารถในศิลปะป้องกันตัวของนักแข่งแต่ละประเทศ แล้วส่งตัวแทนมาสู้กันทุก ๆ 4 ปีบนพื้นโลกที่ผุพังอยู่แล้ว ใครที่ชนะเลิศในการแข่งขัน ประเทศนั้นก็จะได้เป็นรัฐบาลบริหารโลกไปอีก 4 ปี แล้วค่อยจัดการแข่งครั้งใหม่ หมุนเวียนกันไป เพื่อลดปัญหาสงครามและการฆ่าฟันโดยไม่จำเป็น จึงเป็นที่มาของเรื่อง G-Gundam นั่นเอง
การตั้งคำถามอีกระดับหนึ่งที่น่าสนใจ คือการตั้งคำถามกับเทคโนโลยีในยุคนั้น Gundam ทุกภาคก่อนหน้านั้นเป็นเทคโนโลยีแบบ Real Robot ที่เป็นการบังคับหุ่นด้วยแป้นพิมพ์และคันบังคับ แต่ G-Gundam ใช้เทคโนโลยีคล้าย Super Robot คือเป็น wearable technology ที่เรียกว่า Mobile Trace System คือนักแข่งจะสวมชุดที่เชื่อมเข้ากับระบบประสาทของหุ่น Gundam นักแข่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และ Gundam ก็จะขยับตามทั้งหมด นอกจากนี้ Mobile Trace System ยังสามารถดึงเอา “กำลังภายใน” หรือลมปราณของนักแข่งออกมาเป็นพลังงานของหุ่นได้ด้วย
ดังนั้น ทุกประเทศก็จะแข่งกันพัฒนา Mobile Trace System ให้สามารถดึงกำลังภายในของนักแข่งออกมาให้ได้มากที่สุด และพัฒนาฝีมือทางศิลปะป้องกันตัวของนักแข่ง เพื่อให้ชนะในการแข่ง หุ่นในเรื่องจึงไม่เรียก Mobile Suit (MS) เหมือน Gundam ภาคอื่น แต่จะเรียกว่า Mobile Fighter (MF) แทน นอกจากนี้ เทคโนโลยีของตัวร้ายอย่าง Devil Gundam ก็มีการกล่าวถึง nanotechnology ซึ่งถือว่าล้ำหน้ามากในปี 1994 โดย nanotechnology ของ Devil Gundam เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเชื่อมต่อได้ทั้งกับดิจิทัลทุกระบบ ซึ่งสำหรับผู้ชมในยุคนั้นต้องถือว่า โห คิดได้ไงนั่น
การตั้งคำถามที่น่าสนใจอีกประเด็น คือการตั้งคำถามไปถึงระดับฐานราก ย้อนกลับไปถามถึง “ความเป็น Gundam” ว่าจำเป็นต้องเป็นแนวของโทะมิโนะผู้เป็นต้นคิดกันดั้มเสมอไปหรือไม่? คำตอบคือ “ไม่” การดำเนินเนื้อเรื่องของ G-Gundam จึงเป็นไปในลักษณะคล้ายกับบุคลิกของ “เหล็งฮู้ชง (令狐沖)” พระเอกเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร ที่ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ หรือ ขนบเก่า ๆ ที่ล้าสมัย ดังนั้น G-Gundam จึงดำเนินเนื้อเรื่องแนวกำลังภายในของจีนแบบจัดเต็มทุกอณู ชนิดที่ไม่แคร์ขนบเดิมของ Gundam แนวโทะมิโนะกันเลย
หุ่นของพระเอกโดม่อนเปิดเรื่องด้วย Shining Gundam ซึ่งเป็นตัวแทนของลูกพระอาทิตย์คือญี่ปุ่น แต่อาจารย์ของพระเอกคือโทโฮฮุไฮซึ่งเป็นคนฮ่องกง โดม่อนจึงมีวิชาต่อสู้แบบกำลังภายในฮ่องกง ท่าไม้ตายเด่นสุดจึงเป็นท่าแบบกำลังภายในคือ “ดัชนีสุริยัน (Shining Finger)” พอหลังจากหุ่นพังแล้ว มีการเปลี่ยนหุ่นเป็น God Gundam (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาคว่า G-Gundam) จึงมีท่าไม้ตายเปลี่ยนเป็น “ดัชนีเทวราช (God Finger)” ที่สุดแสนจะกิมย้งงงงง ในขณะที่โทโฮฮุไฮผู้เป็นอาจารย์ก็ต้องมีท่าคล้ายกันคือ “ดัชนีอนธการ (Darkness Finger)” ประกาศกร้าวความเป็นตัวร้าย แน่นอนว่าจะต้องมีฉากที่ลูกศิษย์ต้องสู้กับอาจารย์ มีความเคารพรักผูกพัน แต่ก็มีความเคียดแค้นที่อาจารย์ที่ตัวเองเคารพทำไมจึงกลายเป็นฝ่ายอธรรมไปได้ และฉากที่โดม่อนต้องต่อสู้กับโทโฮฮุไฮ จึงเป็นฉากที่ “ปล่อยความเป็นหนังจีนกำลังภายใน” กันแบบจัดเต็มมาก เรียกว่าเรื่องนี้มาแปลก คือเสียฐานแฟนคลับ Gundam แนวโทะมิโนะไป แต่ได้ใจแฟนคลับกำลังภายใน และได้ใจแฟน ๆ Super Robot มาแทน ทำให้สร้าง Gundam แนวใหม่ได้อีกเรื่อย ๆ หลังจากภาคนี้โดยไม่ต้องยึดติดกับโทะมิโนะกันอีกต่อไป
ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจ คือการตั้งคำถามกับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติกันเลย เพราะแต่เดิมหุ่น Ultimate Gundam มี nanotechnology ไว้เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอันบอบช้ำจากสงคราม แต่เมื่อสร้าง Ultimate Gundam แล้วพอลงสู่พื้นโลก กลับสัมผัสได้ถึงเจตนาแห่งการฆ่าฟันห้ำหั่นของเจตนาแห่งมนุษยชาติ Ultimate Gundam จึงเกิดอาการ malfunction และกลายร่างเป็น Devil Gundam ที่ใช้ nanotechnology เพื่อทำลายล้างมนุษยชาติแทน เพราะต้องการทำลายต้นเหตุแห่งหายนะของโลกใบนี้นั่นเอง
นอกจากนี้ ในตอนท้ายของเรื่อง ก็เฉลยว่า โทโฮฮุไฮ ที่จริงแล้วไม่ใช่คนชั่วร้าย แต่โทโฮฮุไฮต้องการจะฆ่ามนุษย์ให้หมดโลก เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกอีกครั้ง สรุปว่า โทโฮฮุไฮ และ Devil Gundam จริง ๆ คือ Thanos แห่ง Marvel ในยุค 1994 นั่นเอง!
เรียกว่าทีมผู้สร้าง G-Gundam เคยถึงทางตัน ว่าควรทำเรื่อง Gundam อะไรต่อดี และตัดสินใจแหวกขนบสำเร็จ สร้างบรรทัดฐานของ Gundam แนวใหม่ให้คนรุ่นหลังได้, สามารถปลุกผีตลาด SD-Gundam ได้ด้วย, ทำให้เกม Super Robot ขายดีขึ้นไปอีก, ตัวละคร God Gundam กลายเป็นตัวละครยอดฮิตที่เกมหุ่นยนต์ทุกเกมต้องมี, เนื้อเรื่องสนุกน่าติดตาม, ฉากต่อสู้ตระการตา, ปล่อยของจัดเต็ม, เพลงประกอบมีกลิ่นอายญี่ปุ่นผสมฮ่องกง, ดรามาหนักหน่วงไม่มีกั๊ก จัดเป็นอะนิเมะที่สนุกและได้แง่คิดมากมาย และนำไปสู่ยอดขายชุดโมเดล Gunpla แบบเทน้ำเทท่าอีกด้วย แนะนำอย่างมากให้หามาดูกัน