ในตอนนี้เรื่องของกลยุทธที่ใช้ถือว่าน่าสนใจเลยครับ บางช่วงให้ความรู้สึกเหมือนใช้สแตนด์ด้วย
แต่เสียเรื่องการนำเสนอจริง ๆ มันเกือบดีแล้วแต่ยังไม่เนียน
ทั้ง CG เรือที่บางครั้งรายละเอียดบนตัวเรืออาจจะดูไม่สวยเท่าไหร่ โมชันในฉากต่อสู้ต่าง ๆ ก็อาจจะไม่ละเอียด
รวมถึงการอธิบายแผนการผ่านตัวละครก็ยังทำได้ไม่ครอบคลุมนัก ทำให้บางคนอาจจะงง ๆ ในตอนท้าย ว่า เอ๊ะ แค่เนี้ย ไม่สู้กันต่อล่ะ
(แต่ในที่สุดก็มีเรือจริง ๆ เอาปืนใหญ่จริง ๆ มายิงกันจริง ๆ สักทีหลังจากที่แฟนตาซีกันมา 4 ตอน)
งั้นเรามาลองสรุปเหตุการณ์ในตอนที่ 5 ดู
จากที่ผมนำมาวาดลงแผนที่ก็ได้คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ ต้องบอกก่อนว่า
ตำแหน่งและทิศบนเกาะของจริงอาจจะไม่ใช่แบบนี้ เพราะในเรื่องก็ไม่รู้ว่าขึ้นไปอยู่ส่วนไหนของเกาะกัน
แผนการของทางฝั่งยูเนียนและรอยัลก็ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก
แต่อาศัยความได้เปรียบจากสภาพภูมิอากาศที่หมอกลงจัดมาใช้ในการพรางตัวได้เป็นอย่างดี ทำให้ข้าศึกไม่รู้กำลังรบที่แน่ชัด
1.ลำดับเหตุการณ์
1) หมู่เรือประจัญบาน ซึ่งประกอบไปด้วย ปรินซ์ออฟเวลส์ รีพัลส์ โอคลาโฮมา
ยิงต่อสู้กับกองเรือของอักษะแดงเพื่ออาศัยจังหวะนั้นส่งทีมบุกเข้าไปช่วยเหลือ
(พวกนัมบ้าวันคอยคุ้มกันโดยไม่เรียกเรือออกมาเพราะจะเป็นเป้าง่าย)
2) แน่นอนว่าฝ่ายอักษะแดงจะต้องรู้ทัน และส่งอีกทีมเข้าไปกำจัดทีมช่วยเหลือของยูเนียนและรอยัล
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางอักษะแดงตายใจคิดว่าตัวเองอ่านเกมออก อย่างที่ปรินซ์ออยเกนบอกว่าตัวเองนำอยู่หนึ่งก้าว
3) แต่ฝ่ายที่นำอยู่หนึ่งก้าวคือยูเนียนและรอยัลต่างหาก
เพราะทางนี้คิดไว้แล้วว่าทางจักรวรรดิซากุระจะต้องมีการแบ่งกำลังมาเพื่อขัดขวางทีมช่วยเหลือแน่
จึงได้ทำการหลอกล่ออีกชั้นคือให้ฮอร์เน็ตอยู่คุ้มกันกองเรือ
คอยส่ง บ.ขับไล่ ออกมาสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศและขัดขวางไม่ให้เครื่องบินข้าศึกบินเข้าไปที่เกาะได้
แล้วส่งเอ็นเทอร์ไพรซ์ตามทีมช่วยเหลือขึ้นไปบนเกาะอีกคน
4)เมื่อถ่วงเวลาไว้จนเอ็นเทอร์ไพรซ์ตามขึ้นมาบนเกาะได้แล้ว
เท่านี้ก็สามารถครองอากาศ และชิงความได้เปรียบมาได้
แต่แผนนี้จะไม่สำเร็จเลยถ้า
- Iron Blood และ จักรวรรดิซากุระ ประสานงานกันดีกว่านี้
จะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายยังแยกกันปฏิบัติหน้าที่กับกลุ่มของตัวเองอยู่ ที่วิทยุติดต่อกันก็แค่ตอนที่ เครื่องบินพบเป้าหมายแล้วเท่านั้น
ต่างจากยูเนียนและรอยัลที่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพจนรู้สึกราวกับว่าเป็นประเทศเดียวกันไปแล้ว
- ฝ่ายอักษะแดงมีข้อมูลข้าศึกน้อยเกินไป อีกทั้งยังมีหมอกหนา ทัศนวิสัยต่ำ จึงไม่สามารถประเมินกำลังรบของข้าศึกได้ถูกต้อง
ไม่รู้ทั้งจำนวน และประเภทของเรือ จึงไม่ทันฉุกคิดว่า นอกจากเอ็นเทอร์ไพรซ์แล้ว อีกฝ่ายก็อาจจะยังมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นมาอีก
- ถ้าซุยคาคุไม่ใจร้อนและยึดติดกับการแก้มือก็อาจจะแบ่งกำลังส่งเครื่องบินส่วนหนึ่งไปที่เกาะเพื่อเป็นตาให้กับพันธมิตรที่ขึ้นไปบนเกาะแล้ว
2.ทำไมเอ็นเทอร์ไพรซ์มาแล้วต้องถอย?
จากที่คุณ Blackrx ได้เขียนในกระทู้
https://ppantip.com/topic/39369161
ว่าเนื่องจากความสามารถที่เก่งกาจของเอ็นเทอร์ไพรซ์ และความได้เปรียบทางอากาศ
ความได้เปรียบทางอากาศ คือ การมีระดับขีดความสามารถในการยุทธ์ทางอากาศ
ของกำลังรบฝ่ายหนึ่งที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้สามารถใช้กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศปฏิบัติการรบ ณ เวลา
และสถานที่ที่กำหนดให้ได้ โดยไม่ถูกรบกวนหรือขัดขวาง
อ้างอิงจาก: คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร Handbook of Military Terminology, Acronyms and Abbreviations
ซึ่งรวบรวมมาโดย พ.อ.สุรศักดิ์ พันธเศรษฐ และ พ.ต.หญิงนันทนา พันธเศรษฐ
สถานการณ์ตอนนี้ไม่ต่างจากการโดนเอาปืนจ่อหัวอยู่
เพราะว่าการที่เอ็นเทอร์ไพรซ์ขึ้นฝั่งมาได้และพร้อมปล่อยเครื่องบินได้ทุกเมื่อ
จะทำให้เธอใช้ บ.โจมตี ทิ้งระเบิดใส่ Iron Blood ได้ในทันที
และยังสามารถครองอากาศได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องปะทะกับเครื่องบินข้าศึกด้วย
(เหมือนมาเปิดสนามบินบนเกาะได้)
ถ้าหากเลือกที่จะสู้ต่อผลก็จะเป็นดังภาพนี้
หากพูดด้วยหลักวิชาการป้องกันภัยทางอากาศแล้ว
การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก (Active air defense) จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นและอาวุธ ปตอ.
ผสมผสานกัน เพื่อทาลายหรือลดประสิทธิผลการโจมตีทางอากาศของข้าศึก
ส่วน
การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรับ (Passive air defense) คือการลดอันตรายจากการโจมตีทางอากาศของข้าศึกให้เหลือน้อยที่สุด
หลัก ๆ คือการหาที่กำบัง และซ่อนพราง
จะเห็นว่าทาง Iron Blood ไม่สามารถทำการป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาด บ.ขับไล่สกัดกั้น
และไม่สามารถใช้อาวุธ ปตอ. ตอบโต้ได้ทันในระยะนี้ ถึงยิงไปถ้าไม่ถูกส่วนสำคัญของเครื่องบินก็หยุดไว้ไม่ได้
โดนทิ้งระเบิดใส่อยู่ดี (เผลอ ๆ ไอ้ลูกธนูที่ยิงออกมากลายเป็นลูกระเบิดทันทีแบบตอนยิงหมาของคากะในตอนที่ 1 ด้วยซ้ำ)
และหากจะเปลี่ยนมาเป็นเชิงรับโดยการหาที่กำบังก็ยิ่งแล้วใหญ่ ทางนั้นเปิดโอกาสให้ถอยแล้วก็ถอยดีกว่า
นอกจากเรื่องกลยุทธแล้วก็มีข้อสังเกตอื่น ๆ อีกเล็กน้อย
3.ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ และการยิงสนับสนุนทางเรือ
ในช่วงแรกเราจะเห็นซุยคาคุปล่อย
แอโรสมิธ หมู่บิน A6M Zero ออกไปเป็นคู่ 2 ลำ ซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้าฝูงบินและปีกข้าง (Wingman)
โดยทั้งสองลำจะคอยระวังภัยซึ่งกันและกัน
ที่ใช้เครื่องซีโร่ ซึ่งเป็น บ.ขับไล่ เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินสมัยก่อนไม่มี บ.ลาดตระเวน โดยเฉพาะประจำการไว้
และมีเนื้อที่ในการจัดเก็บเครื่องบินที่จำกัด
ทำให้โดยปกติแล้วจะใช้เครื่องบินประเภทที่ประจำการอยู่บนเรือทำหน้าที่ลาดตระเวนควบคู่ไปด้วยกันเลย
ภาพตัวอย่างลักษณะของ บ.ลาดตระเวน
PBY Catalina
ทีนี้ตัดกลับมาที่ซุยคาคุบนเรือประจัญบาน ยามาชิโระ
ปืนหันไปทางเกาะ พร้อมยิงตลอดเวลา
เพราะเครื่องบินของซุยคาคุจะทำหน้าที่ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ ซึ่งก็เหมือนกับดวงตาให้กับศูนย์อำนวยการยิง
หากพบตำแหน่งเป้าหมายแล้ว และต้องการยิงก็สามารถรายงานตำแหน่งและส่งคำขอยิงมาได้เลย
หลังจากนั้นจะรายงานตำบลกระสุนตกกลับไปว่าจะแก้ไขหรือยิงซ้ำตำแหน่งเดิมหรือไม่
แล้วแบบนี้ยิงถล่มเกาะไปเลยไม่ง่ายกว่าเหรอ?
ไม่ดีครับ ไม่ใช่เพราะกลัวอาคาชิตาย เผลอ ๆ ไม่สนใจด้วยซ้ำ แค่เพราะไม่รู้ข้าศึกอยู่ไหน ยิงสุ่มไปก็ใช่ว่าตาย
อาจจะอาศัยช่วงนั้นหนีไปเลยก็ได้ เพราะฝุ่นควันที่ระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่จะยิ่งช่วยในการอำพรางตัวได้ดี
อีกอย่างคือ เปลืองกระสุนด้วย เสียเวลาด้วยกว่าจะบรรจุแล้วยิงแต่ละนัด
และที่สำคัญทางนี้น่าจะต้องการคิวบ์ดำคืนมากกว่าเอาชีวิต
ข้อสังเกต จากอนิเม Azur Lane ตอนที่ 5
แต่เสียเรื่องการนำเสนอจริง ๆ มันเกือบดีแล้วแต่ยังไม่เนียน
ทั้ง CG เรือที่บางครั้งรายละเอียดบนตัวเรืออาจจะดูไม่สวยเท่าไหร่ โมชันในฉากต่อสู้ต่าง ๆ ก็อาจจะไม่ละเอียด
รวมถึงการอธิบายแผนการผ่านตัวละครก็ยังทำได้ไม่ครอบคลุมนัก ทำให้บางคนอาจจะงง ๆ ในตอนท้าย ว่า เอ๊ะ แค่เนี้ย ไม่สู้กันต่อล่ะ
(แต่ในที่สุดก็มีเรือจริง ๆ เอาปืนใหญ่จริง ๆ มายิงกันจริง ๆ สักทีหลังจากที่แฟนตาซีกันมา 4 ตอน)
งั้นเรามาลองสรุปเหตุการณ์ในตอนที่ 5 ดู
จากที่ผมนำมาวาดลงแผนที่ก็ได้คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ ต้องบอกก่อนว่า
ตำแหน่งและทิศบนเกาะของจริงอาจจะไม่ใช่แบบนี้ เพราะในเรื่องก็ไม่รู้ว่าขึ้นไปอยู่ส่วนไหนของเกาะกัน
แผนการของทางฝั่งยูเนียนและรอยัลก็ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก
แต่อาศัยความได้เปรียบจากสภาพภูมิอากาศที่หมอกลงจัดมาใช้ในการพรางตัวได้เป็นอย่างดี ทำให้ข้าศึกไม่รู้กำลังรบที่แน่ชัด
1.ลำดับเหตุการณ์
1) หมู่เรือประจัญบาน ซึ่งประกอบไปด้วย ปรินซ์ออฟเวลส์ รีพัลส์ โอคลาโฮมา
ยิงต่อสู้กับกองเรือของอักษะแดงเพื่ออาศัยจังหวะนั้นส่งทีมบุกเข้าไปช่วยเหลือ
(พวกนัมบ้าวันคอยคุ้มกันโดยไม่เรียกเรือออกมาเพราะจะเป็นเป้าง่าย)
2) แน่นอนว่าฝ่ายอักษะแดงจะต้องรู้ทัน และส่งอีกทีมเข้าไปกำจัดทีมช่วยเหลือของยูเนียนและรอยัล
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางอักษะแดงตายใจคิดว่าตัวเองอ่านเกมออก อย่างที่ปรินซ์ออยเกนบอกว่าตัวเองนำอยู่หนึ่งก้าว
3) แต่ฝ่ายที่นำอยู่หนึ่งก้าวคือยูเนียนและรอยัลต่างหาก
เพราะทางนี้คิดไว้แล้วว่าทางจักรวรรดิซากุระจะต้องมีการแบ่งกำลังมาเพื่อขัดขวางทีมช่วยเหลือแน่
จึงได้ทำการหลอกล่ออีกชั้นคือให้ฮอร์เน็ตอยู่คุ้มกันกองเรือ
คอยส่ง บ.ขับไล่ ออกมาสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศและขัดขวางไม่ให้เครื่องบินข้าศึกบินเข้าไปที่เกาะได้
แล้วส่งเอ็นเทอร์ไพรซ์ตามทีมช่วยเหลือขึ้นไปบนเกาะอีกคน
4)เมื่อถ่วงเวลาไว้จนเอ็นเทอร์ไพรซ์ตามขึ้นมาบนเกาะได้แล้ว
เท่านี้ก็สามารถครองอากาศ และชิงความได้เปรียบมาได้
แต่แผนนี้จะไม่สำเร็จเลยถ้า
- Iron Blood และ จักรวรรดิซากุระ ประสานงานกันดีกว่านี้
จะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายยังแยกกันปฏิบัติหน้าที่กับกลุ่มของตัวเองอยู่ ที่วิทยุติดต่อกันก็แค่ตอนที่ เครื่องบินพบเป้าหมายแล้วเท่านั้น
ต่างจากยูเนียนและรอยัลที่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพจนรู้สึกราวกับว่าเป็นประเทศเดียวกันไปแล้ว
- ฝ่ายอักษะแดงมีข้อมูลข้าศึกน้อยเกินไป อีกทั้งยังมีหมอกหนา ทัศนวิสัยต่ำ จึงไม่สามารถประเมินกำลังรบของข้าศึกได้ถูกต้อง
ไม่รู้ทั้งจำนวน และประเภทของเรือ จึงไม่ทันฉุกคิดว่า นอกจากเอ็นเทอร์ไพรซ์แล้ว อีกฝ่ายก็อาจจะยังมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นมาอีก
- ถ้าซุยคาคุไม่ใจร้อนและยึดติดกับการแก้มือก็อาจจะแบ่งกำลังส่งเครื่องบินส่วนหนึ่งไปที่เกาะเพื่อเป็นตาให้กับพันธมิตรที่ขึ้นไปบนเกาะแล้ว
2.ทำไมเอ็นเทอร์ไพรซ์มาแล้วต้องถอย?
จากที่คุณ Blackrx ได้เขียนในกระทู้ https://ppantip.com/topic/39369161
ว่าเนื่องจากความสามารถที่เก่งกาจของเอ็นเทอร์ไพรซ์ และความได้เปรียบทางอากาศ
ความได้เปรียบทางอากาศ คือ การมีระดับขีดความสามารถในการยุทธ์ทางอากาศ
ของกำลังรบฝ่ายหนึ่งที่มีต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้สามารถใช้กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศปฏิบัติการรบ ณ เวลา
และสถานที่ที่กำหนดให้ได้ โดยไม่ถูกรบกวนหรือขัดขวาง
อ้างอิงจาก: คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร Handbook of Military Terminology, Acronyms and Abbreviations
ซึ่งรวบรวมมาโดย พ.อ.สุรศักดิ์ พันธเศรษฐ และ พ.ต.หญิงนันทนา พันธเศรษฐ
สถานการณ์ตอนนี้ไม่ต่างจากการโดนเอาปืนจ่อหัวอยู่
เพราะว่าการที่เอ็นเทอร์ไพรซ์ขึ้นฝั่งมาได้และพร้อมปล่อยเครื่องบินได้ทุกเมื่อ
จะทำให้เธอใช้ บ.โจมตี ทิ้งระเบิดใส่ Iron Blood ได้ในทันที
และยังสามารถครองอากาศได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องปะทะกับเครื่องบินข้าศึกด้วย
(เหมือนมาเปิดสนามบินบนเกาะได้)
ถ้าหากเลือกที่จะสู้ต่อผลก็จะเป็นดังภาพนี้
หากพูดด้วยหลักวิชาการป้องกันภัยทางอากาศแล้ว
การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก (Active air defense) จะต้องใช้เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นและอาวุธ ปตอ.
ผสมผสานกัน เพื่อทาลายหรือลดประสิทธิผลการโจมตีทางอากาศของข้าศึก
ส่วนการป้องกันภัยทางอากาศเชิงรับ (Passive air defense) คือการลดอันตรายจากการโจมตีทางอากาศของข้าศึกให้เหลือน้อยที่สุด
หลัก ๆ คือการหาที่กำบัง และซ่อนพราง
จะเห็นว่าทาง Iron Blood ไม่สามารถทำการป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาด บ.ขับไล่สกัดกั้น
และไม่สามารถใช้อาวุธ ปตอ. ตอบโต้ได้ทันในระยะนี้ ถึงยิงไปถ้าไม่ถูกส่วนสำคัญของเครื่องบินก็หยุดไว้ไม่ได้
โดนทิ้งระเบิดใส่อยู่ดี (เผลอ ๆ ไอ้ลูกธนูที่ยิงออกมากลายเป็นลูกระเบิดทันทีแบบตอนยิงหมาของคากะในตอนที่ 1 ด้วยซ้ำ)
และหากจะเปลี่ยนมาเป็นเชิงรับโดยการหาที่กำบังก็ยิ่งแล้วใหญ่ ทางนั้นเปิดโอกาสให้ถอยแล้วก็ถอยดีกว่า
นอกจากเรื่องกลยุทธแล้วก็มีข้อสังเกตอื่น ๆ อีกเล็กน้อย
3.ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ และการยิงสนับสนุนทางเรือ
ในช่วงแรกเราจะเห็นซุยคาคุปล่อย
แอโรสมิธหมู่บิน A6M Zero ออกไปเป็นคู่ 2 ลำ ซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้าฝูงบินและปีกข้าง (Wingman)โดยทั้งสองลำจะคอยระวังภัยซึ่งกันและกัน
ที่ใช้เครื่องซีโร่ ซึ่งเป็น บ.ขับไล่ เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินสมัยก่อนไม่มี บ.ลาดตระเวน โดยเฉพาะประจำการไว้
และมีเนื้อที่ในการจัดเก็บเครื่องบินที่จำกัด
ทำให้โดยปกติแล้วจะใช้เครื่องบินประเภทที่ประจำการอยู่บนเรือทำหน้าที่ลาดตระเวนควบคู่ไปด้วยกันเลย
ภาพตัวอย่างลักษณะของ บ.ลาดตระเวน
PBY Catalina
ทีนี้ตัดกลับมาที่ซุยคาคุบนเรือประจัญบาน ยามาชิโระ
ปืนหันไปทางเกาะ พร้อมยิงตลอดเวลา
เพราะเครื่องบินของซุยคาคุจะทำหน้าที่ผู้ตรวจการณ์ทางอากาศ ซึ่งก็เหมือนกับดวงตาให้กับศูนย์อำนวยการยิง
หากพบตำแหน่งเป้าหมายแล้ว และต้องการยิงก็สามารถรายงานตำแหน่งและส่งคำขอยิงมาได้เลย
หลังจากนั้นจะรายงานตำบลกระสุนตกกลับไปว่าจะแก้ไขหรือยิงซ้ำตำแหน่งเดิมหรือไม่
แล้วแบบนี้ยิงถล่มเกาะไปเลยไม่ง่ายกว่าเหรอ?
ไม่ดีครับ ไม่ใช่เพราะกลัวอาคาชิตาย เผลอ ๆ ไม่สนใจด้วยซ้ำ แค่เพราะไม่รู้ข้าศึกอยู่ไหน ยิงสุ่มไปก็ใช่ว่าตาย
อาจจะอาศัยช่วงนั้นหนีไปเลยก็ได้ เพราะฝุ่นควันที่ระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่จะยิ่งช่วยในการอำพรางตัวได้ดี
อีกอย่างคือ เปลืองกระสุนด้วย เสียเวลาด้วยกว่าจะบรรจุแล้วยิงแต่ละนัด
และที่สำคัญทางนี้น่าจะต้องการคิวบ์ดำคืนมากกว่าเอาชีวิต