บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยืนยันวัตถุดิบปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาจากการจัดหาที่ถูกกฎหมาย ตามมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของคู่ค้าธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป้าหมายความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : UN SDGs) รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการจัดทำแผนการปรับปรุงพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Plan: FIP) สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก
ซีพีเอฟ ได้ประกาศข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น (Fishmeal Sourcing Restricitions) เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบทางทะเลของบริษัท ทั้งใน และต่างประเทศ มีมาตรฐานเดียวกันภายใต้ข้อกำหนดนี้ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-product) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Sourcing (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct for responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยเฉพาะการจัดหาปลาป่นในประเทศไทยในส่วนของ By-Product ได้รับการรับรองว่าเป็นการจัดหาจากแหล่งมีการจัดการอย่างยั่งยืนแล้ว
ขณะที่ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากการประมงไทย (By-Catch) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนจากกรมประมง ผู้ประกอบการ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และนักวิชาการ เป็นต้น
สำหรับธุรกิจปลาป่นในประเทศอินเดีย ได้สนับสนุนสมาคมการประมง บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมประมงและรัฐบาลอินเดีย ในการจัดทำแผนการทำงานเพื่อพัฒนาการทำประมงสู่ความยั่งยืนฉบับแรกตามเป้าหมายปี 2562 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรณรงค์การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันแผนของ FIP ได้รับการรับรองจาก IFFO RS IP ซึ่งพร้อมนำมาปฏิบัติได้ทันที โดยจะจัดการอบรมคู่ค้าในธุรกิจปลาป่น รวมถึงชาวประมง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าต่อเนื่อง
ส่วนธุรกิจในประเทศเวียดนาม บริษัทเข้าเป็นสมาชิกของโครงการหวุงเต่าเพื่อการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวมตัวกันของโรงงานปลาป่นและโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำประมงในประเทศเวียตนามที่มีลักษณะทรัพยากรสัตว์น้ำที่หลากหลาย โดยมีแผนที่จะส่งร่างแผนปฏิบัติการ (Fishery Action Plan : FAP) ให้ IFFO RS พิจารณาในต้นปีหน้า
น.สพ.สุจินต์ กล่าวว่า การทำแผน FIP ในอินเดีย และเวียตนาม ซึ่งเป็นเป็นโครงการนำร่องให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารประมงเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการฯ FIP สู่เป้าหมายการผลิตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล
“ซีพีเอฟ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาป่น บริษัทรับซื้อปลาป่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้ง และไม่มีธุรกิจเดินเรือหรือเป็นเจ้าของเรือประมง แต่มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้กิจการสัตว์น้ำของบริษัททั่วโลก ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม หรือ IUU ให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลเกิดความยั่งยืน” น.สพ.สุจินต์ กล่าวย้ำ
ซีพีเอฟ ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ร่วมมือกับองค์กรทั้งระดับประเทศ และระดับโลก เช่น Seafood Task Force และ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) เพื่อแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และปกป้องสิทธิของชาวประมง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ แรงงานทาส และแรงงานบังคับ
ซีพีเอฟ ยืนยันจัดหาวัตถุดิบปลาป่นถูกต้องตามหลักสากล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของคู่ค้าธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป้าหมายความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : UN SDGs) รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการจัดทำแผนการปรับปรุงพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Plan: FIP) สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก
ซีพีเอฟ ได้ประกาศข้อกำหนดการจัดหาปลาป่น (Fishmeal Sourcing Restricitions) เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบทางทะเลของบริษัท ทั้งใน และต่างประเทศ มีมาตรฐานเดียวกันภายใต้ข้อกำหนดนี้ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-product) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Sourcing (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct for responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยเฉพาะการจัดหาปลาป่นในประเทศไทยในส่วนของ By-Product ได้รับการรับรองว่าเป็นการจัดหาจากแหล่งมีการจัดการอย่างยั่งยืนแล้ว
ขณะที่ ปลาป่นซึ่งผลิตจากผลพลอยได้จากการประมงไทย (By-Catch) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และตรวจสอบได้โดยกลไกตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนจากกรมประมง ผู้ประกอบการ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และนักวิชาการ เป็นต้น
สำหรับธุรกิจปลาป่นในประเทศอินเดีย ได้สนับสนุนสมาคมการประมง บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมประมงและรัฐบาลอินเดีย ในการจัดทำแผนการทำงานเพื่อพัฒนาการทำประมงสู่ความยั่งยืนฉบับแรกตามเป้าหมายปี 2562 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรณรงค์การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันแผนของ FIP ได้รับการรับรองจาก IFFO RS IP ซึ่งพร้อมนำมาปฏิบัติได้ทันที โดยจะจัดการอบรมคู่ค้าในธุรกิจปลาป่น รวมถึงชาวประมง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าต่อเนื่อง
ส่วนธุรกิจในประเทศเวียดนาม บริษัทเข้าเป็นสมาชิกของโครงการหวุงเต่าเพื่อการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวมตัวกันของโรงงานปลาป่นและโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำในจังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำประมงในประเทศเวียตนามที่มีลักษณะทรัพยากรสัตว์น้ำที่หลากหลาย โดยมีแผนที่จะส่งร่างแผนปฏิบัติการ (Fishery Action Plan : FAP) ให้ IFFO RS พิจารณาในต้นปีหน้า
น.สพ.สุจินต์ กล่าวว่า การทำแผน FIP ในอินเดีย และเวียตนาม ซึ่งเป็นเป็นโครงการนำร่องให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารประมงเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการฯ FIP สู่เป้าหมายการผลิตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล
“ซีพีเอฟ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาป่น บริษัทรับซื้อปลาป่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้ง และไม่มีธุรกิจเดินเรือหรือเป็นเจ้าของเรือประมง แต่มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้กิจการสัตว์น้ำของบริษัททั่วโลก ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม หรือ IUU ให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลเกิดความยั่งยืน” น.สพ.สุจินต์ กล่าวย้ำ
ซีพีเอฟ ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ร่วมมือกับองค์กรทั้งระดับประเทศ และระดับโลก เช่น Seafood Task Force และ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) เพื่อแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และปกป้องสิทธิของชาวประมง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ แรงงานทาส และแรงงานบังคับ