...สัพเพเหระ  "ตัวตายตัวแทน" จังหวะการเต้นของหัวใจของโลกเสมือนจริง.../วัชรานนท์

กระทู้คำถาม
เชื่อไหมว่า?   พฤติกรรมที่เราๆ ท่านๆ แชร์และแสดงออกไม่ว่าจะ  ซื้อ  ขาย  ด่า  กร่าง  รัก โกรธ หลง ฯลฯ ผ่านโลกโชเชี่ยลอยู่นี้ได้ถูกสื่อผ่านระบบที่เรียกว่า "เสมือนจริง" (Vitualization)เกือบจะทั้งหมด

ระบบ "เสมือนจริง" หรือ Virtualization ในโลกแห่งคอมพิวเตอร์นี้ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและวัตถุดิบได้อย่างมากมายมหาศาล     สมัยก่อนบริษัทหรือสถานที่ราชการต่างๆ จะใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิฟเวอร์หลายสิบหรือร้อยๆ ตัวเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่นเวปเซิฟเวอร์  ไฟล์เซิฟเวอร์   ดาต้าเซิฟเวอร์ ฯลฯ   ซึ่งเซิฟเวอร์แต่ละตัวต้องกินไฟฟ้า  กินเนื้อที่       แต่ปัจจุบันเมื่อมีการคิดค้นระบบเสมือนจริงขึ้นมาใช้    การสร้างเซิฟเวอร์ซ้อนเซิฟเวอร์ได้หลายสิบ ร้อย พันตัวบนเซิฟเวอร์ตัวเดียว   จึงลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าเป็นอย่างมาก  รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย   ปัจจุบันเราสามารถสร้างเซิฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ได้ร้อยๆ ตัวผ่านเครื่องเซิฟเวอร์ตัวเดียวได้   และมีประสิทธิภาพเหมือนคอมพิวเตอร์ตัวจริงแทบทุกประการ

นอกเหนือจากเทคโนโยยี่ระบบ "เสมือนจริง" แล้ว   ระบบ "โคลนนิ่ง" ก็ถูกนำมาใช้ในโลกแห่งคอมพิวเตอร์   ซึ่งเราสามารถโคลนนิ่งเซิฟเวอร์ทั้งระบบได้เลย    ถ้าเกิดระบบเน็ตเวิร์กล่มขึ้นมา    คนดูแลก็สามารถนำตัว "โคลนนิ่ง" มาใช้ได้อย่างทันท่วงที      อาจจะใช้เวลาสักครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงหนึ่งในการนำโคลนนิ่งมาทดแทนระบบเน็ตเวิร์กที่ล่มไป

การเสียเวลา (downtime) เพียงแค่นาทีหนึ่งในโลกเน็ตเวิอร์นั้นถือว่ามากโข     จึงได้มีการพัฒนาระบบชนิดที่เรียกว่าไม่ให้เสียเวลาสักวินาทีเดียวเลยแม้ระบบเน็ตเวิร์กจะล่ม    ระบบนั่นผมใช้ภาษาของผมเรียกว่า "ตัวตายตัวแทน"  (Fail over Cluster)  ในกรณีที่เซิฟเวอร์ตัวหนึ่งล่ม    ก็จะมีเซิฟเวอร์ "ตัวสำรอง" เข้ามารับทำหน้าที่ต่อจากตัวที่ล่มแบบทันทีทันใด   คนที่ใช้เน็ตเวิร์กหรือเล่นเน็ตจะไม่รู้สึกเลยว่าเน็ตล่มหรือเซิฟเวอร์ที่ใช้อยู่ตาย     หากจะอธิบายการทำงาน  ติดตั้ง  และตั้งค่าระบบ "ตัวตายตัวแทน" นี้คงจะยาว    ขออธิบายสั้นๆ ว่า   ระบบนี้อาศัยการเต้นของหัวใจ (Heart beat) ของเซิฟเวอร์   คือทุกๆ เสี้ยววินาที่เซิฟเวอร์ตัวที่สแตนบายอยู่จะคอยจับ "ชีพจร" ของเซิฟเวอร์ตัวที่ทำงานอยู่     และหากชีพจรเซิฟเวอร์ที่ทำงานอยู่หยุดเมื่อไหร่    เซิฟเวอร์ตัวที่สแตนบายอยู่ก็จะเข้าเสียบแล้วโอนถ่ายงานต่างๆ จากเซิฟเวอร์ตัวที่ตายสู่ตัวเองทันที!! 

   
การทำงานในลักษณะ "ตัวตายตัวแทน" นี้สามารถทำได้ภายในองค์กรนั้นๆ  ระหว่างจังหวัด  ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีปก็ได้     ยกตัวอย่างเช่น  เซิฟเวอร์ตัวหลักอาจจะอยู่ที่ญี่ปุ่น   แต่ตัวสแตนบายอยู่อินเดีย  อังกฤษ  และอเมริกา   หากเซิฟเวอร์ที่ญี่ปุ่นตายลง    ระบบก็จะคำนวนออกมาว่าจะใช้ตัวสแตนบายที่ประเทศไหน อินเดีย  อังกฤษ หรือเมกาเข้ามาเสียบแทนและจะให้ความเร็วสูงสุด    อนึ่งการความเร็วของระบบเน็ตเวิร์กไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ใกล้เคียงกันเสมอไป   เพราะบางทีอยู่ใกล้กันแต่มีความแน่นหนาในการใช้สูงกว่าตัวที่อยู่ไกล     ทุกอย่างนี้ระบบจะคำนวนให้เองว่าจะใช้สแตนบายเซิฟเวอร์ตัวไหนเข้าเสียบ  

เชื่อว่าระบบเซิฟเวอร์ของพันทิปน่าจะใช้ fail over clustering หรือ "ตัวตายตัวแทน"    เพราะมาระยะหลังๆ นี่  จะไม่เห็นพันทิปประกาศปิดเชิฟเวอร์ล่วงหน้าเพื่อปรับปรุง     คือทางพันทิปจะโอนงานจากเซิฟเวอร์หนึ่งไปเซิฟเวอร์หนึ่งแล้วชัตดาวน์ตัวที่ต้องการจะปรับปรุงโดยและเมื่อปรับปรุงเสร็จก็จะโอนถ่ายงานกลับมาเซิฟเวอร์ตัวที่ปรับปรุงอีกที   กระบวนการใช้ตัวตายตัวแทนตรงนี้   คนใช้พันทิปจึงไม่รู้สึกได้เลยว่าเน็ตล่มในระกว่างการซ่อมและปรับปรุง     
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่