Plain plain designer's Steel House.
บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่าง คือเป็นที่ทำงานและเป็นที่อยู่อาศัย โดยชั้นล่างตั้งใจ
ให้เป็น home office ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่อยู่อาศัย บ้านถูกออกแบบให้มีความเรียบง่าย และคำนึงถึงการใช้งานของผู้อาศัยเป็นหลัก
มีการลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องการออก ลึกๆก็อยากให้ทุกท่านอ่านกระทู้ไปด้วยใจที่เปิดกว้าง เหมือนที่ผมเปิดและเตรียมใจ
พร้อมรับทั้งส่วนดีและด้อย จากการสร้างบ้านด้วยเหล็กหลังนี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง
บ้านเหล็ก-สีดำ
ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านเหล็ก ผมตั้งคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถาม คือ "ถ้าเราทำบ้านเหล็กด้วยความใส่ใจ และพยายามให้ได้ผลลัพท์
ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แล้วบ้านหลังนี้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ต่างจากบ้านที่ถูกสร้างอย่างดีด้วยปูนหรือไม้...แล้วมันจะดำรงอยู่ได้
อย่างมั่นคงปลอดภัยไปได้ซักกี่ปี ก่อนที่เราจะตัดสินใจสร้างบ้านหลังใหม่?" ดังนั้น บ้านเหล็กหลังน้อยหลังนี้จึงถูกสร้างอย่างตั้งใจ
เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตงานและชีวิตครอบครัว แล้วเดี๋ยวเราก็ค่อยๆมาหาคำตอบกัน...เนาะ
เริ่มโครงการ
บ้านหลังนี้ ผมตั้งใจดูแลการก่อสร้างเอง ไม่ได้จ้างผู้รับเหมา และเนื่องจากผมทำงานออกแบบ ผมจึงเริ่มงานด้วยการวาดภาพในหัวคร่าวๆ
แล้วค่อยลงมือเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับคนทำงานกราฟิก เลยได้แบบบ้านที่ดู...ง่ายจัง
แต่ก็ไม่ลืมคำนึงถึงเรื่องดิน ฟ้า อากาศ ก็เลยต้องลงลึกอีกสักหน่อยนึง
ความต้องการเบื้องต้น
รับแดดเช้า ไม่เอาแดดบ่าย / อยากให้มีบานเฟี้ยม,บานเลื่อน และบานกระทุ้ง / ปูผนังบ้านด้วยไม้แผ่น แนวตั้ง / มีระเบียงเล็กๆ / ห้องน้ำใหญ่ๆ
เพดานสูงๆ / บันไดนอกบ้าน / ภายนอกสีดำ / ภายในสีครีม
หลังจากได้แบบบ้าน(คร่าวๆ)ที่พอใจ ก็มอบหมายให้ผู้ชำนาญการดำเนินการเขียนแบบที่ถูกต้องและขออนุญาตก่อสร้างแทน
ส่วนรายละเอียดและขั้นตอน ขออนุญาตข้ามไปเลยนะครับ
ระหว่างรออนุญาตก่อสร้าง ก็จัดการเรื่องช่าง ซึ่งผมสรุปการทำงานไว้คร่าวๆ คือ
-ฐานรากและระบบท่อใช้ช่างปูน
-ตัวบ้านจากชั้นล่างไปจนถึงหลังคาพร้อมทำสีใช้ช่างเหล็ก
-งานเก็บรายละเอียดต่างๆไปจนถึงงานตกแต่งใช้ตัวเอง+ช่างฝีมือ
หลังจากได้แบบบ้านที่ถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้แล้วก็ลุยกันเลย
ฐานราก
ผมเลือกใช้ฐานรากแบบบ้านปูน ขนาดหลุม 1x1x1.5 ม. ผูกเหล็ก ทำฐานแผ่ เทฐาน เทคาน วางแผ่นพื้นคอนกรีต เทพื้น ฯลฯ
ทุกอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
*** ขั้นตอนเทพื้น ผมสั่งให้ plant ปูน ผสมน้ำยากันซึมลงในคอนกรีตด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นจากดินซึมขึ้นมาในบ้านครับ
ตั้งเสาชั้น1และ2
ผมเลือกใช้บีมขนาด 6x8 นิ้วเป็นเสา และ wide flange ขนาด 4x8 นิ้วเป็นคาน และใช้เหล็กกล่องขนาด 2x6 นิ้วเต็ม วางเป็นตงนะครับ ขออภัย
ที่ไม่ได้ใช้ศัพท์เทคนิค ขอเรียกตามช่างนะครับ ผมเลือกคานและตงเหมือนบ้านสมัยเก่า คือวางคานบนหัวเสาแล้ววางตงทับลงบนคานอีกที
***ช่างให้คำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย คือบ้านมี 9 เสา เราสั่งบีมความยาว 6 ม.มา 5 ต้น ตัดครึ่ง จะได้เสาบีม 3 เมตร จำนวน 10 เสา
(เหลือเศษไว้ใช้งานหนึ่งเสา) เพื่อใช้รับน้ำหนักเต็มๆในชั้นล่าง ชั้นบนไม่ได้รับน้ำหนักมาก ก็ใช้เสาเหล็ก 6x6 นิ้วเต็ม วางต่อขึ้นไปจากคานอีกที
ผมเห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากประหยัดงบไปได้เยอะ จึงเป็นอันตกลงตามนั้นเลย
ระยะระหว่างตงคือ 60 ซม. ซึ่งก็ลงตัวกับแผ่นวีว่าบอร์ดที่จะเอามาใช้ปูเป็นแผ่นพื้นชั้น 2 ก็เป็นอันว่าใช้ได้ (ลองให้ช่างวางตงระยะ 40 ซม.
แล้วดูอึดอัดไปหน่อย) ไปกันต่อครับ
ตรงวงกลม เป็นรอยต่อระหว่างเสา 2x6 นิ้ว กับคาน ผมให้ช่างวางเพลทหนา 10 มม. ตรงตีนเสา ก่อนเชื่อมกับคานเพิ่มความแข็งแรง
ซึ่งเราก็เช็คกับช่างโดยละเอียด ยืนยันว่าแข็งแรงดีครับ
โครงหลังคา
ผมคุยกับช่างว่าผมต้องการหลังคาที่มีความลาดเอียงไม่มาก ช่างก็น่ารักจัดให้ได้ตามที่เราต้องการ แปหลังคาที่เห็นเป็นเส้นเล็กๆ
คือเหล็กขนาด 1.5x1.5 นิ้วเต็ม ซึ่งเช็คแล้วก็แข็งแรงดีครับ
***เนื่องจากระยะเพดาน-ท้องหลังคาไม่สูง ผมจึงให้มีช่องใต้หลังคา เพื่อช่วยระบายความร้อนได้เร็วๆ จำเป็นต้องทำภาพอธิบายด้วย 555
อารมณ์ประมาณหลังคาครอบตัวบ้าน เหมือนใส่หมวก ใต้หลังคาจะได้ไม่เป็นเตาอบ จะช่วยได้มากหรือน้อยไว้คอยมาดูกันครับ
มีช่องประมาณ 20 ซม. ด้านล่างชายคารอบตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน จากนั้นก็ทำตะแกรงกันนกเข้าไปทำรังครับ
มุงหลังคา
ช่วงที่ทำบ้าน เป็นช่วงปลายฝนกำลังจะเข้าหนาว ยังมีฝนประปราย วันก่อนมุงหลังคาได้ยินช่างคุยกัน
"พรุ่งนี้ฝนอย่าตกนะ งานจะได้ไม่ติดขัด สาธุ สาธุ"
สมพรปากมั้ยล่ะคุณช่าง ฟ้าใสแดดเปรี้ยงงงงงง ถึงกับต้องปีนลงมาพักเป็นช่วงๆกันเลยทีเดียว 555
พื้นชั้น 2, โครงผนังเบา และบันได
เสร็จจากมุงหลังคาก็ต่อด้วยปูพื้นชั้น 2 ด้วยวีว่าบอร์ด 20 มม. วันปูพื้นผมไปช่วยช่างดึงแผ่นขึ้นบ้าน อดถ่ายรูปเลย
ผมออกแบบให้บันไดอยู่นอกบ้าน เพื่อใช้งานพื้นที่ในบ้านได้เต็มที่ ซึ่งผมได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าปลอดภัยและเหมาะสมตามต้องการดี
ผนัง
ทิศตะวันตก - ชั้นล่างผมเลือกทำเป็นผนังปูนขัดสีดำ ส่วนชั้นบนปูไม้เทียมแนวตั้งแบบบ้านยุคเก่า ฝั่งนี้รับแดดบ่ายเต็มๆ ไม่ทำหน้าต่าง
มีแค่สองบานเล็กๆ ชั้นสองตรงห้องนอน เพื่อระบายอากาศเท่านั้นครับ
ทิศตะวันออก - ผมออกแบบให้เป็นกระจก เพื่อรับแสงและแดดตอนเช้า โดยทำโครงเหล็กรับกระจกทั้งชั้น1 - 2 ทั้งแถบ
แต่แล้วก็พบว่ามันเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วๆไป เลยตัดสินใจปรับใหม่ เพราะอยากให้เกิดภาพที่ดูต่างหน่อย ซึ่งช่างก็ยินดีปรับให้ด้วยความหน้ามุ่ย 555
ก็เลยจบที่ลายนี้ ช่องสีฟ้าเป็นบานกระทุ้งครับ
สี
ภายนอก-ดำด้าน
ด้านทิศตะวันออก ที่ปรับโครงรับกระจกใหม่ครับ
ชั้นล่าง
ภายใน
-ใช้ cornsilk ทาพื้น ผนัง และเพดาน ให้เป็น background
-ใช้ cream+egg shell ผสมให้เป็นเฉดเข้ม-กลาง-อ่อน ไว้ตกแต่งครับ
ชั้นบน
งานตกแต่ง
ยังไม่เสร็จ 100% ถึงตอนนี้ก็กำลังทำไปด้วยอยู่ครับ
รั้วหน้าบ้านทำเป็นเฟี้ยมครับ เวลาทำงานก็จะเปิดโล่ง
บ้านเหล็กของนักออกแบบบ้านบ้าน
บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่าง คือเป็นที่ทำงานและเป็นที่อยู่อาศัย โดยชั้นล่างตั้งใจ
ให้เป็น home office ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่อยู่อาศัย บ้านถูกออกแบบให้มีความเรียบง่าย และคำนึงถึงการใช้งานของผู้อาศัยเป็นหลัก
มีการลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องการออก ลึกๆก็อยากให้ทุกท่านอ่านกระทู้ไปด้วยใจที่เปิดกว้าง เหมือนที่ผมเปิดและเตรียมใจ
พร้อมรับทั้งส่วนดีและด้อย จากการสร้างบ้านด้วยเหล็กหลังนี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง
ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านเหล็ก ผมตั้งคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถาม คือ "ถ้าเราทำบ้านเหล็กด้วยความใส่ใจ และพยายามให้ได้ผลลัพท์
ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แล้วบ้านหลังนี้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ต่างจากบ้านที่ถูกสร้างอย่างดีด้วยปูนหรือไม้...แล้วมันจะดำรงอยู่ได้
อย่างมั่นคงปลอดภัยไปได้ซักกี่ปี ก่อนที่เราจะตัดสินใจสร้างบ้านหลังใหม่?" ดังนั้น บ้านเหล็กหลังน้อยหลังนี้จึงถูกสร้างอย่างตั้งใจ
เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตงานและชีวิตครอบครัว แล้วเดี๋ยวเราก็ค่อยๆมาหาคำตอบกัน...เนาะ
เริ่มโครงการ
บ้านหลังนี้ ผมตั้งใจดูแลการก่อสร้างเอง ไม่ได้จ้างผู้รับเหมา และเนื่องจากผมทำงานออกแบบ ผมจึงเริ่มงานด้วยการวาดภาพในหัวคร่าวๆ
แล้วค่อยลงมือเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับคนทำงานกราฟิก เลยได้แบบบ้านที่ดู...ง่ายจัง
รับแดดเช้า ไม่เอาแดดบ่าย / อยากให้มีบานเฟี้ยม,บานเลื่อน และบานกระทุ้ง / ปูผนังบ้านด้วยไม้แผ่น แนวตั้ง / มีระเบียงเล็กๆ / ห้องน้ำใหญ่ๆ
ส่วนรายละเอียดและขั้นตอน ขออนุญาตข้ามไปเลยนะครับ
ระหว่างรออนุญาตก่อสร้าง ก็จัดการเรื่องช่าง ซึ่งผมสรุปการทำงานไว้คร่าวๆ คือ
-ฐานรากและระบบท่อใช้ช่างปูน
-ตัวบ้านจากชั้นล่างไปจนถึงหลังคาพร้อมทำสีใช้ช่างเหล็ก
-งานเก็บรายละเอียดต่างๆไปจนถึงงานตกแต่งใช้ตัวเอง+ช่างฝีมือ
หลังจากได้แบบบ้านที่ถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้แล้วก็ลุยกันเลย
ฐานราก
ผมเลือกใช้ฐานรากแบบบ้านปูน ขนาดหลุม 1x1x1.5 ม. ผูกเหล็ก ทำฐานแผ่ เทฐาน เทคาน วางแผ่นพื้นคอนกรีต เทพื้น ฯลฯ
ทุกอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
ตั้งเสาชั้น1และ2
ผมเลือกใช้บีมขนาด 6x8 นิ้วเป็นเสา และ wide flange ขนาด 4x8 นิ้วเป็นคาน และใช้เหล็กกล่องขนาด 2x6 นิ้วเต็ม วางเป็นตงนะครับ ขออภัย
ที่ไม่ได้ใช้ศัพท์เทคนิค ขอเรียกตามช่างนะครับ ผมเลือกคานและตงเหมือนบ้านสมัยเก่า คือวางคานบนหัวเสาแล้ววางตงทับลงบนคานอีกที
(เหลือเศษไว้ใช้งานหนึ่งเสา) เพื่อใช้รับน้ำหนักเต็มๆในชั้นล่าง ชั้นบนไม่ได้รับน้ำหนักมาก ก็ใช้เสาเหล็ก 6x6 นิ้วเต็ม วางต่อขึ้นไปจากคานอีกที
ผมเห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากประหยัดงบไปได้เยอะ จึงเป็นอันตกลงตามนั้นเลย
ผมคุยกับช่างว่าผมต้องการหลังคาที่มีความลาดเอียงไม่มาก ช่างก็น่ารักจัดให้ได้ตามที่เราต้องการ แปหลังคาที่เห็นเป็นเส้นเล็กๆ
คือเหล็กขนาด 1.5x1.5 นิ้วเต็ม ซึ่งเช็คแล้วก็แข็งแรงดีครับ
อารมณ์ประมาณหลังคาครอบตัวบ้าน เหมือนใส่หมวก ใต้หลังคาจะได้ไม่เป็นเตาอบ จะช่วยได้มากหรือน้อยไว้คอยมาดูกันครับ
ทิศตะวันตก - ชั้นล่างผมเลือกทำเป็นผนังปูนขัดสีดำ ส่วนชั้นบนปูไม้เทียมแนวตั้งแบบบ้านยุคเก่า ฝั่งนี้รับแดดบ่ายเต็มๆ ไม่ทำหน้าต่าง
-ใช้ cornsilk ทาพื้น ผนัง และเพดาน ให้เป็น background
-ใช้ cream+egg shell ผสมให้เป็นเฉดเข้ม-กลาง-อ่อน ไว้ตกแต่งครับ