ผ่อนบ้านอยู่ ระหว่างนั้นไปค้ำรถให้น้องแล้วน้องรถเกิดอุบัติเหตุ รถพังไฟแนนไม่ยึดรถแต่มีหมายศาลมายึดบ้านเราแทน


เราซื้อบ้านคะ ผ่อนบ้านกับธนาคารอยู่ ก่อนหน้านี้ไปค้ำรถให้ลูกพี่ ลูกน้องกันนี่แหละคะ เสร็จไม่กี่เดือนรถเกิดอุบัติเหตุรถพัง
แล้วน้องก็เลยไปผ่อนค่างวด และไม่ซ่อมรถ จนมีหมายศาลมายึดบ้าน แต่บ้านผ่อนกับธนาคารอยู่คะ ก็เลยน่าจะยึดไม่ได้ เพราะไม่ใช่ชื่อเรา
   แล้วกรณีนี้ คือ หมายศาลมาแบบจริงจัง ถามทนายความ เขาบอกว่าคดีตัดสินแล้วด้วย 
    กรณีนี้ เราสามารถขายบ้านได้ไหมคะ 
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
1.  ซื้อรถ ผ่อนกับไฟแนนซ์. ชื่อเจ้าของคือไฟแนนซ์. ผู้ครอบครองคือผู้ซื้อ
2. ซื้อบ้าน กู้แบงค์ ผ่อนกับแบงค์ เขาเรียกว่าจดจำนอง  ชื่อเป็นของผู้ซื้อ แบงค์เป็นเจ้าหนี้
3. เวลาฟ้อง เดี๋ยวนี้เขามักฟ้องผู้กู้และผู้ค้ำไปพร้อมๆ กัน. โดยก่อนจะฟ้อง เขาต้องส่งจดหมายเตือนผู้ค้ำ ว่าผู้กู้ไม่จ่ายแล้ว
ให้มาดำเนินการ ไม่งั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย. เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง. เขาจึงส่งฟ้องแพ่ง
4. เมื่อส่งฟ้องแพ่ง ศาลเมื่อรับเป็นคดี จะให้จนท.ศาลไปปิดหมาย ที่ภูมิลำเนาของจำเลย. คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
ถ้าเราได้รับหมายศาล ควรติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อตกลงกันได้ ก็ไม่ต้องฟ้อง. ถ้าตกลงไม่ได้ ควรไปศาล ไม่งั้นศาลจะตัดสินตาม
ที่โจทก์ยื่นฟ้องทุกอย่าง ทั้งวงเงินและอัตราดอกเบี้ย
5. เดี๋ยวนี้ศาลมักมีคำพิพากษาแบบว่า ให้จำเลยชำระหนี้ ถ้าไม่ชำระ ให้บังคับคดีได้เลย. ไม่ต้องฟ้องบังคับคดีอีกทีเหมือนสมัยก่อน
และก็ต้องส่งคำพิพากษามาที่บ้านตามข้อ 4

ดังนั้น คุณว่าได้รับหมายศาล เปิดอ่านเลยค่ะว้าเรื่องมันถึงไหน. คงฟ้องแล้ว ตัดสินหรือยัง ให้จ่ายภายในเมื่อไหร่  หรือถึงขั้นบังคับคดีแล้ว
พูดจริงๆ นะ ทุกขั้นยังเจรจาได้. เพียงแต่ต้องมีเงินไปจัดการ

6. ถ้าคุณไม่จ่ายเขาก็บังคับคดี เปิดประมูลบ้าน แบงค์เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ คือจะได้รับการชำระหนี้ก่อน ที่เหลือค่อยถึงผู้ฟ้อง
ถ้าเหลืออีก ค่อยถึงเจ้าของทรัพย์สิน
7. การประมูลมี 2 แบบ บ้านคุณติดจำนอง เขาก็ประมูลทั้งติดจำนอง  ตั้งราคาเริ่มต้นแล้วประมูลกันไป. แบบนี้จะได้ราคาต่ำมาก
เพราะผู้ประมูลจะต้องจ่ายหนี้แบงค์ที่เหลือแทนคุณ. เคยมีคนโดนมาแล้ว บ้านราคา 1.4 ล้าน. ประมูลได้แค่ 2 หมื่น ตามราคาตั้ง
มาตั้งกระทู้โวยในห้องนี้ ลองค้นอ่านดู. อย่าคิดว่าไฟแนนซ์จะยึดบ้านคุณไม่ได้
8. ยึดแล้ว ประมูลแล้ว เงินไม่พอจ่ายไฟแนนซ์ เขาตามยึดทรัพย์อื่นได้อีก 10 ปีนะจ๊ะ.

อย่าประมาท
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่