‘ธีระชัย’ ..กับคณะลิเกรายวัน
เห็นการเคลื่อนไหวของ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ในขณะนี้แล้ว มีสิ่งไม่น่าเชื่อหลายประการ
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เคยดำรงตำแหน่งถึง รองผู้ว่าการ ธปท. ด้านเสถียรภาพการเงิน
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็น รมว.คลัง ที่เคยกำกับกรมการจัดเก็บภาษี คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต
การเป็นรัฐมนตรีคลัง (หรืออดีตเคยเป็น) ที่น่าจะเข้าใจเรื่องโครงสร้างภาษีของประเทศไทยเป็นอย่างดี
ยิ่งโดยเฉพาะโครงสร้างภาษีปิโตรเลียม และน้ำมันทั้งระบบในประเทศไทยว่า เขามีการจัดเก็บอย่างไร?
และในแต่ละปี รัฐมีรายได้จากภาษีในกลุ่มธุรกิจนี้เท่าไหร่?
อย่าลืมว่า กระทรวงการคลัง คือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บมจ.ปตท. (PTT)
การเป็นรัฐมนตรีของกระทรวงการคลัง ที่ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. จึงย่อมน่าจะมีความเข้าใจทั้งประวัติความเป็นมา
และบทบาทหน้าที่ของ ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติเป็นอย่างดี
หากคุณธีระชัย ไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างของ ปตท. ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานปิโตรเลียม หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย
เพราะเหตุใดคุณธีระชัย ถึงไม่เคลื่อนไหวในช่วงที่ตนเองมีอำนาจเล่า
“จุดขาย” ของกลุ่มคุณธีระชัย (ที่ตอนนี้ถูกเรียกเป็นกลุ่ม NGO หรือถูกขนานนามเป็นคณะลิเก) ในการเรียกมวลชนเพื่อให้มาเป็นแนวร่วม คือความพยายามบอกว่า หากเรามีการปรับโครงสร้างด้านพลังงานใหม่ คนไทยก็จะได้ใช้ราคาน้ำมันที่ถูกลง!!
แน่นอนว่า ทุกคนก็อยากใช้น้ำมันราคาถูก นั่นจึงเป็นจุดขายที่ดี
และยิ่งบอกว่า พลังงานของไทย ควรเป็นอธิปไตยของคนไทย ก็จะยิ่งเรียกกลุ่มบุคคลให้เข้ามาเป็นแนวร่วมได้อีก เพราะอาจมีคนบางกลุ่มมองว่า เราได้สูญเสียอธิปไตยด้านพลังงานไปแล้ว
ฟังแล้วก็ได้แต่ขำกลิ้ง เพราะความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น!!!
ถามจริง ๆ กับอดีตรัฐมนตรีคลังท่านนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปตท. คือหน่วยงานของประเทศไทยที่เรียกอธิปไตยด้านพลังงานของไทยกลับคืนมาก่อน ปตท.จะยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ไทยเรานั้นถูกครอบงำด้วยบริษัทน้ำมันข้ามชาติมานาน และปตท.นี่แหละที่เรียกอธิปไตยพลังงานกลับมา
แต่หากบอกว่า ความยิ่งใหญ่ของ ปตท. นั่นแหละที่ทำให้เกิดการผูกขาด ทำให้ประชาชนคนไทยใช้น้ำมันราคาแพง ผมว่าประเด็นนี้คนเป็นรัฐมนตรีคลัง น่าจะเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดีอีกเช่นกัน และน่าจะเป็นบุคคลที่อธิบาย (อย่างถูกต้อง) เกี่ยวกับโครงสร้างภาษีด้านพลังงานของเราเป็นอย่างไร?
ไม่ใช่ไปเอาข้อมูลจากกูเกิ้ล (Google) หรือแหล่งเชื่อถือไม่ได้มากล่าวอ้าง
กระทั่งถูกบุคคลที่เขาทำงานในวงการพลังงานออกมาบอกว่านี่มัน “คณะลิเก” ใช่ไหม?
ข้อมูลด้านพลังงานในหลาย ๆ เรื่องของคุณธีระชัย ถูกตอกกลับจนน่าหงาย
นักวิชาการบางท่านถึงขนาดต้องบอกกับคุณธีระชัยว่า ขอโทษที่บังอาจสอนท่านเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน พร้อมกับอธิบายให้ฟังถึงข้อเท็จจริง
เรื่องของการจัดตั้งองค์กรพลังงานแห่งใหม่ ท่านมีนัยสำคัญอะไรแอบแฝง
ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า เราก็มีหน่วยงานกำกับทางด้านนี้ และทำงานได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว
การขุดเจาะปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ก็ไม่ได้ส่งผลต่อราคาน้ำมันขายปลีก เรื่องนี้ท่านอดีตรัฐมนตรีคลัง ทราบหรือไม่???
ระบบสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ เป็นวิธีที่น่าจะดีที่สุด รัฐไทยไม่ต้องไปเผชิญกับความเสี่ยงด้านการลงทุน
รัฐนอนกินค่าภาคหลวง ค่าสัมปทาน สบาย ๆ เพราะเหตุใดถึงต้องให้รัฐไปแบกความเสี่ยงมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านบาท หรืออาจถึงแสนล้านบาทเช่นนั้น ทั้งที่ควรให้เอกชนเป็นฝ่ายแบกภาระความเสี่ยง
ท่านเคยเป็นรองผู้ว่าการ ธปท. ด้านเสถียรภาพการเงิน เคยเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. ก็ย่อมเข้าใจเรื่อง “ความเสี่ยง”
มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า การเคลื่อนไหวของท่านนั้น เพียงเพราะผิดหวังจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง (อีกครั้ง) ในรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ซึ่งไม่รู้ว่าใช่หรือไม่
กระทั่งนำไปสู่นามใหม่ว่า “พระเอกลิเก”
แทบไม่เชื่อเลยว่าบุคคลท่านนี้คือ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล”
เขาคือ ‘ธีระชัย’..พระเอกลิเก?
เห็นการเคลื่อนไหวของ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ในขณะนี้แล้ว มีสิ่งไม่น่าเชื่อหลายประการ
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เคยดำรงตำแหน่งถึง รองผู้ว่าการ ธปท. ด้านเสถียรภาพการเงิน
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
- ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้ คืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็น รมว.คลัง ที่เคยกำกับกรมการจัดเก็บภาษี คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต
การเป็นรัฐมนตรีคลัง (หรืออดีตเคยเป็น) ที่น่าจะเข้าใจเรื่องโครงสร้างภาษีของประเทศไทยเป็นอย่างดี
ยิ่งโดยเฉพาะโครงสร้างภาษีปิโตรเลียม และน้ำมันทั้งระบบในประเทศไทยว่า เขามีการจัดเก็บอย่างไร?
และในแต่ละปี รัฐมีรายได้จากภาษีในกลุ่มธุรกิจนี้เท่าไหร่?
อย่าลืมว่า กระทรวงการคลัง คือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บมจ.ปตท. (PTT)
การเป็นรัฐมนตรีของกระทรวงการคลัง ที่ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. จึงย่อมน่าจะมีความเข้าใจทั้งประวัติความเป็นมา
และบทบาทหน้าที่ของ ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติเป็นอย่างดี
หากคุณธีระชัย ไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างของ ปตท. ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานปิโตรเลียม หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย
เพราะเหตุใดคุณธีระชัย ถึงไม่เคลื่อนไหวในช่วงที่ตนเองมีอำนาจเล่า
“จุดขาย” ของกลุ่มคุณธีระชัย (ที่ตอนนี้ถูกเรียกเป็นกลุ่ม NGO หรือถูกขนานนามเป็นคณะลิเก) ในการเรียกมวลชนเพื่อให้มาเป็นแนวร่วม คือความพยายามบอกว่า หากเรามีการปรับโครงสร้างด้านพลังงานใหม่ คนไทยก็จะได้ใช้ราคาน้ำมันที่ถูกลง!!
แน่นอนว่า ทุกคนก็อยากใช้น้ำมันราคาถูก นั่นจึงเป็นจุดขายที่ดี
และยิ่งบอกว่า พลังงานของไทย ควรเป็นอธิปไตยของคนไทย ก็จะยิ่งเรียกกลุ่มบุคคลให้เข้ามาเป็นแนวร่วมได้อีก เพราะอาจมีคนบางกลุ่มมองว่า เราได้สูญเสียอธิปไตยด้านพลังงานไปแล้ว
ฟังแล้วก็ได้แต่ขำกลิ้ง เพราะความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น!!!
ถามจริง ๆ กับอดีตรัฐมนตรีคลังท่านนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปตท. คือหน่วยงานของประเทศไทยที่เรียกอธิปไตยด้านพลังงานของไทยกลับคืนมาก่อน ปตท.จะยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ไทยเรานั้นถูกครอบงำด้วยบริษัทน้ำมันข้ามชาติมานาน และปตท.นี่แหละที่เรียกอธิปไตยพลังงานกลับมา
แต่หากบอกว่า ความยิ่งใหญ่ของ ปตท. นั่นแหละที่ทำให้เกิดการผูกขาด ทำให้ประชาชนคนไทยใช้น้ำมันราคาแพง ผมว่าประเด็นนี้คนเป็นรัฐมนตรีคลัง น่าจะเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดีอีกเช่นกัน และน่าจะเป็นบุคคลที่อธิบาย (อย่างถูกต้อง) เกี่ยวกับโครงสร้างภาษีด้านพลังงานของเราเป็นอย่างไร?
ไม่ใช่ไปเอาข้อมูลจากกูเกิ้ล (Google) หรือแหล่งเชื่อถือไม่ได้มากล่าวอ้าง
กระทั่งถูกบุคคลที่เขาทำงานในวงการพลังงานออกมาบอกว่านี่มัน “คณะลิเก” ใช่ไหม?
ข้อมูลด้านพลังงานในหลาย ๆ เรื่องของคุณธีระชัย ถูกตอกกลับจนน่าหงาย
นักวิชาการบางท่านถึงขนาดต้องบอกกับคุณธีระชัยว่า ขอโทษที่บังอาจสอนท่านเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน พร้อมกับอธิบายให้ฟังถึงข้อเท็จจริง
เรื่องของการจัดตั้งองค์กรพลังงานแห่งใหม่ ท่านมีนัยสำคัญอะไรแอบแฝง
ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า เราก็มีหน่วยงานกำกับทางด้านนี้ และทำงานได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว
การขุดเจาะปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ก็ไม่ได้ส่งผลต่อราคาน้ำมันขายปลีก เรื่องนี้ท่านอดีตรัฐมนตรีคลัง ทราบหรือไม่???
ระบบสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ เป็นวิธีที่น่าจะดีที่สุด รัฐไทยไม่ต้องไปเผชิญกับความเสี่ยงด้านการลงทุน
รัฐนอนกินค่าภาคหลวง ค่าสัมปทาน สบาย ๆ เพราะเหตุใดถึงต้องให้รัฐไปแบกความเสี่ยงมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านบาท หรืออาจถึงแสนล้านบาทเช่นนั้น ทั้งที่ควรให้เอกชนเป็นฝ่ายแบกภาระความเสี่ยง
ท่านเคยเป็นรองผู้ว่าการ ธปท. ด้านเสถียรภาพการเงิน เคยเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. ก็ย่อมเข้าใจเรื่อง “ความเสี่ยง”
มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า การเคลื่อนไหวของท่านนั้น เพียงเพราะผิดหวังจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง (อีกครั้ง) ในรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ซึ่งไม่รู้ว่าใช่หรือไม่
กระทั่งนำไปสู่นามใหม่ว่า “พระเอกลิเก”
แทบไม่เชื่อเลยว่าบุคคลท่านนี้คือ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล”