สวัสดีทุกท่านที่กำลังจะหาซื้อบ้านมือสอง เรามีเล่าประสบการณ์การซื้อบ้าน(มือสอง)ราคา ล้านนิดๆ มาเล่าให้ฟังกันเป็นวิทยาทานแต่จะมาเล่าแบบรวบรัดตัดตอนแบบเนื้อๆ (หากมีการใช้คำศัพท์ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้)
****เรายื่นเอกสารกู้ทั้งหมด 3 ที่ในวันเดียวกัน วันที่20/6/19 ยื่นที่แรกออมสิน ที่ที่สองยื่นกสิกร และที่ที่สามยื่นธอส
เอกสารที่ใช้ยื่นกู้เราจะจัดเตรียมเป็นเซตเดียวกันเลยไม่ว่าที่ไหนจะไม่ใช้เอกสารตัวไหนก็ตามเผื่อเหลือเผื่อขาด ดังนี้
1.บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านสำเนา 1 ชุด (เอาตัวจริงไปด้วย)
2.สลิปเงินเดือน 1 ชุด (ย้อนหลัง 6 เดือน)
3.สำเนาใบรับรองเงินเดือน 1 ฉบับ (เอาตัวจริงไปด้วย ตัวจริงที่มีการประทับตรารับรองจากบริษัท)
4.Stement 1 ชุด (ย้อนหลัง 1 ปี จะต้องมีรับรองจากธนาคารที่เราใช้ยื่นเพื่อแสดงเครดิต)
5.สัญญาจะซื้อจะขาย 1 ฉบับ (เอาตัวจริงไปด้วย)
6.สำเนาโฉนดที่ดิน 2 ชุด(ผู้ซื้อเซ็นต์สำเนาถูกต้องได้เลย)
7.สำเนาบัตรปชช.+ทบบ(ผู้ขาย) 1 ชุด
7.1 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีผู้ขายมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ผู้ขายรับรองสำเนา) *กรณีของเราผู้ขายมีการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล)
7.2 สำเนาใบสำคัญการหย่า (กรณีผู้ขายมีชื่อในโฉนดเป็นคู่สมรสกัน (ผู้ขายรับรองสำเนา) *กรณีของเราผู้ขายมีการหย่าขาดกัน)
8.แผนที่หลักประกันที่จะซื้อ+แผนที่ที่ทำงาน+แผนที่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน 1 ชุด
9.ทบบ.ที่ขาย 1 ฉบับ
***พอยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วผ่านไปประมาณ 3 วัน ธอส.ก็โทรฯมาจะเข้ามาประเมินบ้าน และมีเจ้าหน้าที่มาประเมินราคาบ้าน วันที่ 26/6/19 หลังจากประเมินเรียบร้อยแล้วประมาณ2วันเจ้าหน้าที่โทรฯมาสอบถามว่าสะดวกมาเซ็นต์สัญญาที่ธอส.สำนักงานใหญ่ วันไหน เราเลยแจ้งไปว่า วันที่ 2/7/19 พอถึงวันที่เซ็นต์สัญญาเราและผู้ขายนัดเจอกันที่ธอส.สำนักงานใหญ่เลย พอไปถึงก็ยื่นเอกสารและรอคิวไม่นานก็ได้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่บอกให้ทางผู้ขายก็จะไปติดต่อกับอีกเคาน์เตอร์นึงเพื่อเช็คยอดหนี้ที่ติดจำนองอยู่ ส่วนเราเจ้าหน้าที่เค้าก็อธิบายรายละเอียดยอดที่ต้องจ่ายจำนวนที่เรากู้ได้รวมถึงประกันที่ต้องทำ คือประกันอัคคีภัย/ประกันชีวิต และเจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามว่าเราสะดวกไปโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินวันไหน เราก็แจ้งไปว่า วันที่ 9/7/19 เวลา 10.00 น. ก็เป็นอันเรียบร้อยจบแยกย้าย เจอกับผู้ขายอีกที่ 9/7/19 ที่กรมที่ดินแถวบ้าน มาถึงเราก็เจอผู้ขายและเจ้าหน้าที่จาก ธอส. ที่มาดำเนินการรออยู่แล้ว ก็ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกรมที่ดิน จะเสียค่าภาษี/ค่าอากร/ค่าโอน/ค่าจำนอง (ในส่วนนี้เรากับคนขายจะต้องตกลงกันก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายว่าใครจะต้องจ่ายค่าอะไรให้ชัดเจน) ของเราดำเนินการช้ามากเพราะมีติดปัญหานิดหน่อย เสร็จเกือบบ่าย3โมงเย็น เราก็เคลียร์ตกลงเรื่องส่วนต่างส่วนเกินที่ต้องเคลียร์กันจนเรียบร้อย เราเลยไปทำเรื่องทะเบียนบ้านเพราะอยู่ใกล้อำเภอ เราก็ย้ายเข้าบ้านใหม่และย้ายออกจากบ้านเดิมแต่ต้องให้ผู้ขายเค้าย้ายออกจากบ้านที่ขายให้เรียบร้อยก่อนเด้อ พอทำเสร็จเราก็ไม่ทำบัตรปชช. ใหม่เลยจ้าจะได้ไม่เสียเวลาไหนๆลางานไปแล้ว
@@@@@@@@@@@@@@@@@@แต่เดี๋ยวก่อนมันไม่ได้จบแค่นี้นะ@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
มีข้อควรเตือนหรือควรระวังในการซื้อบ้านมือสอง เพราะเราโคตรหลอนมากในหลายเรื่อง
1. เรายื่นกู้เกินราคาบ้านที่ขายจริงแต่ในสัญญาจะซื้อจะขายเราทำกับผู้ขายเป็นราคาที่ยื่นกู้เลยโดยไม่ได้มีอะไรป้องกันตัวเองว่าถ้าเรากู้ผ่านแล้วคนขายตุกติกเอาราคานั้นเป็นราคาขายจริงจะทำอย่างไร? เราเลยคิดว่าควรมีสัญญาต่อท้ายป้องกันไว้อีกฉบับประมาณว่าราคาในสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เพื่อใช้ยื่นกู้เท่านั้นแต่ราคาซื้อขายจริงคือราคาเท่าไหร่(แต่หาข้อมูลก่อนนะว่ามันทำได้ไหมหรือถูกหลักกฏหมายหรือเปล่า555+) แต่ตอนยื่นกู้เราก็ไม่ต้องยื่นให้ธนาคารแต่ทำไว้เป็นสัญญาเพื่อความสบายใจของเรา ---ตอนแรกเราก็ไม่ได้ชะล่าใจอะไรแต่พอเริ่มติดต่อกับคนขายไปสักพักก็รู้สึกแปลกๆที่คนขายไม่ยอมแจ้งว่าบ้านติดจำนองแล้วก็ติดต่อไปก็มีท่าทางแปลกๆ แต่พอจะมารู้ทีหลังว่าทางผู้ขายก็กลัวเราโกงทางเราเองก็กลัวเค้าโกง5555+ หลอนไปกันใหญ๋
2. ก่อนจะเซ็นต์สัญญาจะซื้อจะขายอ่านให้ละเอียดถ้าเป็นไปได้ช่วยกันร่างกับผู้ขายเพราะถ้าผู้ขายเป็นคนร่างสัญญาก็จะเอื้อไปทางผู้ขายอยู่แล้ว ตกลงกันให้เรียบร้อยชัดเจนว่าเราจะได้อะไรบ้างจากการซื้อขายครั้งนี้ เช่น ค่าเปลี่ยนชื่อมิเตอร์ไฟฟรี(ของเราต้อ
ไปเปลี่ยนชื่อมิเตอร์ไฟ เสียเงินประมาณ 2,XXX บาท)/ค่าเปลี่ยนชื่อมิเตอร์น้ำฟรี (อันนี้ของเราไม่เปลี่ยนเพราะมันเป็นชื่อของโครงการแต่แรก)/ได้แอร์/ได้เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2.1 หากต้องการเปลี่ยนชื่อมิเตอร์น้ำ-ไฟ ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ (จำไม่ได้แล้วง่าว่าครบใหม่ลองโทรฯไปสอบถามการไฟฟ้า-การประปาอีกทีเด้อ)
2.1.1 สำเนาบัตรปชช.เรา 1 ฉบับ
2.1.2 บิลค่าน้ำเดือนล่าสุดขอจากผู้ขาย 1 ใบ
2.1.3 สัญญาซื้อขายที่เราทำกับทางธนาคารตัวจริง(ถ่ายสำเนาไปเผื่อ 1 ฉบับ)
3. ตกลงกันให้ชัดเจนว่าใครจะจ่ายส่วนไหนอย่างไรเช่น ค่าโอน จ่ายคนละครึ่ง (ของเราประมาณ 20,XXX บาท) /ค่าภาษี (ประมาณ 1,XXX บาท)ส่วนใหญ่คนขายจะต้องจ่าย เป็นต้น
4. ต้องหาข้อมูลเรื่อง การคำนวณค่าโอนค่าภาษีคร่าวๆไปด้วยเพราะ เราอาจจะต้องไปจ่ายเงินสดที่กรมที่ดินเราจะได้เผื่อไปถูก ของเราเตรียมไปเผื่อเกือบ 35,XXX บาท
[SR] กู้ซื้อบ้าน(มือสองติดจำนอง)
****เรายื่นเอกสารกู้ทั้งหมด 3 ที่ในวันเดียวกัน วันที่20/6/19 ยื่นที่แรกออมสิน ที่ที่สองยื่นกสิกร และที่ที่สามยื่นธอส
เอกสารที่ใช้ยื่นกู้เราจะจัดเตรียมเป็นเซตเดียวกันเลยไม่ว่าที่ไหนจะไม่ใช้เอกสารตัวไหนก็ตามเผื่อเหลือเผื่อขาด ดังนี้
1.บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านสำเนา 1 ชุด (เอาตัวจริงไปด้วย)
2.สลิปเงินเดือน 1 ชุด (ย้อนหลัง 6 เดือน)
3.สำเนาใบรับรองเงินเดือน 1 ฉบับ (เอาตัวจริงไปด้วย ตัวจริงที่มีการประทับตรารับรองจากบริษัท)
4.Stement 1 ชุด (ย้อนหลัง 1 ปี จะต้องมีรับรองจากธนาคารที่เราใช้ยื่นเพื่อแสดงเครดิต)
5.สัญญาจะซื้อจะขาย 1 ฉบับ (เอาตัวจริงไปด้วย)
6.สำเนาโฉนดที่ดิน 2 ชุด(ผู้ซื้อเซ็นต์สำเนาถูกต้องได้เลย)
7.สำเนาบัตรปชช.+ทบบ(ผู้ขาย) 1 ชุด
7.1 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีผู้ขายมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ผู้ขายรับรองสำเนา) *กรณีของเราผู้ขายมีการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล)
7.2 สำเนาใบสำคัญการหย่า (กรณีผู้ขายมีชื่อในโฉนดเป็นคู่สมรสกัน (ผู้ขายรับรองสำเนา) *กรณีของเราผู้ขายมีการหย่าขาดกัน)
8.แผนที่หลักประกันที่จะซื้อ+แผนที่ที่ทำงาน+แผนที่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน 1 ชุด
9.ทบบ.ที่ขาย 1 ฉบับ
***พอยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วผ่านไปประมาณ 3 วัน ธอส.ก็โทรฯมาจะเข้ามาประเมินบ้าน และมีเจ้าหน้าที่มาประเมินราคาบ้าน วันที่ 26/6/19 หลังจากประเมินเรียบร้อยแล้วประมาณ2วันเจ้าหน้าที่โทรฯมาสอบถามว่าสะดวกมาเซ็นต์สัญญาที่ธอส.สำนักงานใหญ่ วันไหน เราเลยแจ้งไปว่า วันที่ 2/7/19 พอถึงวันที่เซ็นต์สัญญาเราและผู้ขายนัดเจอกันที่ธอส.สำนักงานใหญ่เลย พอไปถึงก็ยื่นเอกสารและรอคิวไม่นานก็ได้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่บอกให้ทางผู้ขายก็จะไปติดต่อกับอีกเคาน์เตอร์นึงเพื่อเช็คยอดหนี้ที่ติดจำนองอยู่ ส่วนเราเจ้าหน้าที่เค้าก็อธิบายรายละเอียดยอดที่ต้องจ่ายจำนวนที่เรากู้ได้รวมถึงประกันที่ต้องทำ คือประกันอัคคีภัย/ประกันชีวิต และเจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามว่าเราสะดวกไปโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินวันไหน เราก็แจ้งไปว่า วันที่ 9/7/19 เวลา 10.00 น. ก็เป็นอันเรียบร้อยจบแยกย้าย เจอกับผู้ขายอีกที่ 9/7/19 ที่กรมที่ดินแถวบ้าน มาถึงเราก็เจอผู้ขายและเจ้าหน้าที่จาก ธอส. ที่มาดำเนินการรออยู่แล้ว ก็ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกรมที่ดิน จะเสียค่าภาษี/ค่าอากร/ค่าโอน/ค่าจำนอง (ในส่วนนี้เรากับคนขายจะต้องตกลงกันก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายว่าใครจะต้องจ่ายค่าอะไรให้ชัดเจน) ของเราดำเนินการช้ามากเพราะมีติดปัญหานิดหน่อย เสร็จเกือบบ่าย3โมงเย็น เราก็เคลียร์ตกลงเรื่องส่วนต่างส่วนเกินที่ต้องเคลียร์กันจนเรียบร้อย เราเลยไปทำเรื่องทะเบียนบ้านเพราะอยู่ใกล้อำเภอ เราก็ย้ายเข้าบ้านใหม่และย้ายออกจากบ้านเดิมแต่ต้องให้ผู้ขายเค้าย้ายออกจากบ้านที่ขายให้เรียบร้อยก่อนเด้อ พอทำเสร็จเราก็ไม่ทำบัตรปชช. ใหม่เลยจ้าจะได้ไม่เสียเวลาไหนๆลางานไปแล้ว
1. เรายื่นกู้เกินราคาบ้านที่ขายจริงแต่ในสัญญาจะซื้อจะขายเราทำกับผู้ขายเป็นราคาที่ยื่นกู้เลยโดยไม่ได้มีอะไรป้องกันตัวเองว่าถ้าเรากู้ผ่านแล้วคนขายตุกติกเอาราคานั้นเป็นราคาขายจริงจะทำอย่างไร? เราเลยคิดว่าควรมีสัญญาต่อท้ายป้องกันไว้อีกฉบับประมาณว่าราคาในสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เพื่อใช้ยื่นกู้เท่านั้นแต่ราคาซื้อขายจริงคือราคาเท่าไหร่(แต่หาข้อมูลก่อนนะว่ามันทำได้ไหมหรือถูกหลักกฏหมายหรือเปล่า555+) แต่ตอนยื่นกู้เราก็ไม่ต้องยื่นให้ธนาคารแต่ทำไว้เป็นสัญญาเพื่อความสบายใจของเรา ---ตอนแรกเราก็ไม่ได้ชะล่าใจอะไรแต่พอเริ่มติดต่อกับคนขายไปสักพักก็รู้สึกแปลกๆที่คนขายไม่ยอมแจ้งว่าบ้านติดจำนองแล้วก็ติดต่อไปก็มีท่าทางแปลกๆ แต่พอจะมารู้ทีหลังว่าทางผู้ขายก็กลัวเราโกงทางเราเองก็กลัวเค้าโกง5555+ หลอนไปกันใหญ๋
2. ก่อนจะเซ็นต์สัญญาจะซื้อจะขายอ่านให้ละเอียดถ้าเป็นไปได้ช่วยกันร่างกับผู้ขายเพราะถ้าผู้ขายเป็นคนร่างสัญญาก็จะเอื้อไปทางผู้ขายอยู่แล้ว ตกลงกันให้เรียบร้อยชัดเจนว่าเราจะได้อะไรบ้างจากการซื้อขายครั้งนี้ เช่น ค่าเปลี่ยนชื่อมิเตอร์ไฟฟรี(ของเราต้อ
ไปเปลี่ยนชื่อมิเตอร์ไฟ เสียเงินประมาณ 2,XXX บาท)/ค่าเปลี่ยนชื่อมิเตอร์น้ำฟรี (อันนี้ของเราไม่เปลี่ยนเพราะมันเป็นชื่อของโครงการแต่แรก)/ได้แอร์/ได้เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2.1 หากต้องการเปลี่ยนชื่อมิเตอร์น้ำ-ไฟ ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ (จำไม่ได้แล้วง่าว่าครบใหม่ลองโทรฯไปสอบถามการไฟฟ้า-การประปาอีกทีเด้อ)
2.1.1 สำเนาบัตรปชช.เรา 1 ฉบับ
2.1.2 บิลค่าน้ำเดือนล่าสุดขอจากผู้ขาย 1 ใบ
2.1.3 สัญญาซื้อขายที่เราทำกับทางธนาคารตัวจริง(ถ่ายสำเนาไปเผื่อ 1 ฉบับ)
3. ตกลงกันให้ชัดเจนว่าใครจะจ่ายส่วนไหนอย่างไรเช่น ค่าโอน จ่ายคนละครึ่ง (ของเราประมาณ 20,XXX บาท) /ค่าภาษี (ประมาณ 1,XXX บาท)ส่วนใหญ่คนขายจะต้องจ่าย เป็นต้น
4. ต้องหาข้อมูลเรื่อง การคำนวณค่าโอนค่าภาษีคร่าวๆไปด้วยเพราะ เราอาจจะต้องไปจ่ายเงินสดที่กรมที่ดินเราจะได้เผื่อไปถูก ของเราเตรียมไปเผื่อเกือบ 35,XXX บาท
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้