เผยผลสำรวจเมืองที่มีค่าครองชีพสูงในโลกปี 2562 กรุงเทพฯ ไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก 19 ของเอเชีย และ 2 ของอาเซียน โดยยังพบว่าครัวเรือนมีรายจ่ายสูงกว่า 2.1 หมื่นบาท ขณะที่มีรายได้เฉลี่ย 2.6 หมื่นบาท ทั้งนี้พบข้อมูลว่าการเรียนจบสูงๆ เงินเดือนก็ยิ่งมาก และการเปลี่ยนงานบ่อยยังทำให้เงินเดือนยิ่งพุ่ง
กรุงเทพฯ เมืองค่าครองชีพสูง
จากการเปิดเผยผลสำรวจอัตราค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 (2019 Cost of Living) โดยเมอร์เซอร์ พบว่าในปี 2562 เมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก (รวมค่าใช้จ่ายในการเช่าที่พักอาศัย) มีถึง 8 เมืองที่อยู่ในเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยที่มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดย ฮ่องกง ยังคงครองตำแหน่งแชมป์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินที่ตรึงไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 โตเกียว ที่รั้งตำแหน่งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน และอันดับ 3 สิงคโปร์ ซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับ 4 เมื่อปีก่อน
ส่วน กรุงเทพฯ ก็ถือว่าเป็นเมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงติดอันดับโลก ในอันดับ 40 ซึ่งไต่ขึ้นมา 12 อันดับจากปีที่แล้ว สูงกว่าเมืองใหญ่อย่างวอชิงตัน ไมอามี มิลาน ปารีส บอสตัน กระทั่งซิดนีย์ โดยมีปัจจัยมาจากการย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยจากเมืองอื่นๆ และผลของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ โดยมีผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินและภาวะเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ครัวเรือนไทยมีรายจ่าย 21,346 บาท/เดือน
ขณะที่ค่าครองชีพของคนไทยจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2561 ครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21,346 บาท/เดือน ลดลง 0.4% จากปี 2560 ที่มี 21,437 บาท/เดือน สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายของคนในครัวเรือนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น อาจมีผลกระทบมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาสินค้าทางการเกษตรที่ยังมีความไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายรัฐสวัสดิการมาช่วยพยุงก็ตาม
โดยครัวเรือนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (3 จังหวัด จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ) มีค่าใช้จ่าย 33,408 บาท/เดือน เพิ่มขึ้น 0.9% จากปี 2560 ที่มี 33,126 บาท ซึ่งถือว่ามีค่าครองชีพสูงกว่าภาคอื่นๆ สำหรับค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนเฉลี่ย 6,602 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นจากในปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ 6,540 บาท/เดือน
สำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค โดยรายจ่ายที่เกิดขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อาหาร เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) และยาสูบ รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน, การเดินทางและยานพาหนะ, ของใช้ส่วนบุคคล เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และการสื่อสาร
คนไทยมีรายจ่ายเบียดรายได้
หากดูรายได้ของครัวเรือนไทย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2560 พบว่ามีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 26,946 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2558 ที่มี 26,915 บาท/เดือน (สำรวจทุกๆ 2 ปี) ขณะที่ในปี 2562 ได้มีการประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 ระดับ ตั้งแต่ 308-330 บาท/วัน ซึ่งกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้รับ 325 บาท/วัน หรือคิดเป็น 9,750 บาท/เดือน ส่วนที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งชูนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ได้ในอัตราวันละ 400-425 บาท/วัน ล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ได้เผยว่ายังไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน เพราะการขยับขึ้น 400-425 บาทในทีเดียวจะมีผลกระทบต่อภาคเอกชน พรรคจึงจะเสนอให้ขึ้นค่าแรงในลักษณะขั้นบันได ก็จะใช้กับนโยบายค่าแรงของปริญญาตรีขั้นต่ำ 20,000 บาท/คน ส่วนผู้ที่จบอาชีวะ 18,000 บาท/คน จึงเท่ากับว่าคงต้องรอดูท่าทีต่อไป
เผยเรียนจบสูง เงินเดือนยิ่งมาก
ขณะที่ อีไอซี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สมัครงานในไทยพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับเงินเดือนของผู้สมัครงาน โดยเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นของผู้ที่จบระดับมัธยมปลายหรือต่ำกว่าจะอยู่ที่ราว 14,000 บาท ขณะที่ระดับปริญญาตรี เฉลี่ยที่ 17,000 บาท โดยระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปคือ ระดับปริญญาโท 24,000 บาท และปริญญาเอก 36,000 บาท ตามลำดับ
ขณะเดียวกันยังพบว่ายิ่งผู้สมัครงานเกรดสวยก็ยิ่งได้รับเงินเดือนมากด้วย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของเงินเดือนระหว่างผู้สมัครงานที่จบระดับปริญญาตรี ซึ่งได้เกรดเฉลี่ยน้อย ระหว่าง 2.00-2.50 กับผู้ที่ได้เกรดเฉลี่ยสูง ระหว่าง 3.50-4.00 พบว่า ผู้ที่ได้เกรดสูงจะได้เงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่าประมาณ 1,700 บาท และ ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากเรียนจบ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ได้เกรดสูงจะมีเงินเดือนสูงกว่าผู้ที่ได้เกรดน้อย ทั้งเงินเดือนเริ่มต้น และอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่า
อย่างไรก็ดี เกรดเฉลี่ยตอนปริญญาตรีอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของความแตกต่างดังกล่าวที่เกิดขึ้น หากแต่เกรดเฉลี่ยอาจเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งถึงคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้สมัครแต่ละคนที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานซึ่งส่งผลถึงเงินเดือนที่ได้รับในท้ายที่สุด
เปลี่ยนงานบ่อย เงินเดือนยิ่งพุ่ง
ขณะเดียวกัน อีไอซียังระบุถึงความถี่ของการเปลี่ยนตำแหน่งงานว่ามีความสัมพันธ์กับเงินเดือนที่สูงขึ้นด้วย เนื่องจากพบว่าข้อมูลประวัติการทำงานของผู้สมัครมีแนวโน้มบ่งชี้ระดับเงินเดือน ซึ่งข้อมูลนั้นจะประกอบไปด้วยตำแหน่งงานที่เคยทำในแต่ละช่วงเวลาและเงินเดือนในตำแหน่งงานนั้น การเปลี่ยนตำแหน่งงานอาจเป็นได้ทั้งกรณีได้รับตำแหน่งงานใหม่ในบริษัทเดียวกัน เช่น จากการย้ายฝ่ายหรือการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร รวมไปถึงการย้ายที่ทำงาน เป็นต้น
โดยกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 2 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งงาน 1-3 ครั้ง จะมีเงินเดือนในงานล่าสุดโดยเฉลี่ยสุดสูงกว่า 20-40% เมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงาน อย่างไรก็ตามผู้ที่มีการเปลี่ยนงานถึง 4 ครั้ง เงินเดือนในงานล่าสุดจะสูงกว่าเพียง 10% เมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงาน ซึ่งอาจสะท้อนว่าการเปลี่ยนงานบ่อยเกินไปขณะที่อายุงานยังน้อยก็ไม่ได้ส่งผลดีเพิ่มขึ้น
ขณะที่กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 2 ปีขึ้นไป ความถี่ของการเปลี่ยนตำแหน่งงานซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งการเลื่อน-ย้ายตำแหน่งภายในองค์กร หรือการย้ายที่ทำงาน มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงานอย่างชัดเจน เป็นการสะท้อนถึงความสามารถและประสบการณ์การทำงานที่มากขึ้นของผู้สมัคร อันนำไปสู่การเลื่อนตำแหน่งในองค์กรหรือการได้โอกาสในการย้ายงานที่บ่อยขึ้นซึ่งนำไปสู่เงินเดือนที่มากขึ้น
คุณอิเลีย โบนิก - ประธานธุรกิจ Career เมอร์เซอร์
“ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ทักษะการทำงานเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) และการเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรทั่วโลก องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการโยกย้ายพนักงานไปยังต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่องค์กรได้ เกิดข้อดีสำหรับทั้งตัวพนักงานเองและองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางอาชีพ ประสบการณ์ในระดับโลก การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งการมอบข้อเสนอค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลและมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน จะทำให้องค์กรสามารถสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจได้จากการโยกย้ายพนักงาน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bltbangkok.com/CoverStory/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
อึ้ง!!!!! กรุงเทพฯ ค่าครองชีพอันดับ 40 ของโลก สูงกว่าวอชิงตัน ไมอามี มิลาน ปารีส บอสตัน ซิดนีย์
เผยผลสำรวจเมืองที่มีค่าครองชีพสูงในโลกปี 2562 กรุงเทพฯ ไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก 19 ของเอเชีย และ 2 ของอาเซียน โดยยังพบว่าครัวเรือนมีรายจ่ายสูงกว่า 2.1 หมื่นบาท ขณะที่มีรายได้เฉลี่ย 2.6 หมื่นบาท ทั้งนี้พบข้อมูลว่าการเรียนจบสูงๆ เงินเดือนก็ยิ่งมาก และการเปลี่ยนงานบ่อยยังทำให้เงินเดือนยิ่งพุ่ง
กรุงเทพฯ เมืองค่าครองชีพสูง
จากการเปิดเผยผลสำรวจอัตราค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 (2019 Cost of Living) โดยเมอร์เซอร์ พบว่าในปี 2562 เมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก (รวมค่าใช้จ่ายในการเช่าที่พักอาศัย) มีถึง 8 เมืองที่อยู่ในเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยที่มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดย ฮ่องกง ยังคงครองตำแหน่งแชมป์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินที่ตรึงไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยอันดับ 2 โตเกียว ที่รั้งตำแหน่งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน และอันดับ 3 สิงคโปร์ ซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับ 4 เมื่อปีก่อน
ส่วน กรุงเทพฯ ก็ถือว่าเป็นเมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงติดอันดับโลก ในอันดับ 40 ซึ่งไต่ขึ้นมา 12 อันดับจากปีที่แล้ว สูงกว่าเมืองใหญ่อย่างวอชิงตัน ไมอามี มิลาน ปารีส บอสตัน กระทั่งซิดนีย์ โดยมีปัจจัยมาจากการย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยจากเมืองอื่นๆ และผลของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ โดยมีผลกระทบจากการผันผวนของค่าเงินและภาวะเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ครัวเรือนไทยมีรายจ่าย 21,346 บาท/เดือน
ขณะที่ค่าครองชีพของคนไทยจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2561 ครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21,346 บาท/เดือน ลดลง 0.4% จากปี 2560 ที่มี 21,437 บาท/เดือน สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายของคนในครัวเรือนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น อาจมีผลกระทบมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาสินค้าทางการเกษตรที่ยังมีความไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายรัฐสวัสดิการมาช่วยพยุงก็ตาม
โดยครัวเรือนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (3 จังหวัด จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ) มีค่าใช้จ่าย 33,408 บาท/เดือน เพิ่มขึ้น 0.9% จากปี 2560 ที่มี 33,126 บาท ซึ่งถือว่ามีค่าครองชีพสูงกว่าภาคอื่นๆ สำหรับค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อคนเฉลี่ย 6,602 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นจากในปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ 6,540 บาท/เดือน
สำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค โดยรายจ่ายที่เกิดขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อาหาร เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) และยาสูบ รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน, การเดินทางและยานพาหนะ, ของใช้ส่วนบุคคล เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และการสื่อสาร
คนไทยมีรายจ่ายเบียดรายได้
หากดูรายได้ของครัวเรือนไทย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2560 พบว่ามีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 26,946 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2558 ที่มี 26,915 บาท/เดือน (สำรวจทุกๆ 2 ปี) ขณะที่ในปี 2562 ได้มีการประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 ระดับ ตั้งแต่ 308-330 บาท/วัน ซึ่งกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะได้รับ 325 บาท/วัน หรือคิดเป็น 9,750 บาท/เดือน ส่วนที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งชูนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ได้ในอัตราวันละ 400-425 บาท/วัน ล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ได้เผยว่ายังไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน เพราะการขยับขึ้น 400-425 บาทในทีเดียวจะมีผลกระทบต่อภาคเอกชน พรรคจึงจะเสนอให้ขึ้นค่าแรงในลักษณะขั้นบันได ก็จะใช้กับนโยบายค่าแรงของปริญญาตรีขั้นต่ำ 20,000 บาท/คน ส่วนผู้ที่จบอาชีวะ 18,000 บาท/คน จึงเท่ากับว่าคงต้องรอดูท่าทีต่อไป
เผยเรียนจบสูง เงินเดือนยิ่งมาก
ขณะที่ อีไอซี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สมัครงานในไทยพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับเงินเดือนของผู้สมัครงาน โดยเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นของผู้ที่จบระดับมัธยมปลายหรือต่ำกว่าจะอยู่ที่ราว 14,000 บาท ขณะที่ระดับปริญญาตรี เฉลี่ยที่ 17,000 บาท โดยระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปคือ ระดับปริญญาโท 24,000 บาท และปริญญาเอก 36,000 บาท ตามลำดับ
ขณะเดียวกันยังพบว่ายิ่งผู้สมัครงานเกรดสวยก็ยิ่งได้รับเงินเดือนมากด้วย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของเงินเดือนระหว่างผู้สมัครงานที่จบระดับปริญญาตรี ซึ่งได้เกรดเฉลี่ยน้อย ระหว่าง 2.00-2.50 กับผู้ที่ได้เกรดเฉลี่ยสูง ระหว่าง 3.50-4.00 พบว่า ผู้ที่ได้เกรดสูงจะได้เงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่าประมาณ 1,700 บาท และ ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากเรียนจบ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ได้เกรดสูงจะมีเงินเดือนสูงกว่าผู้ที่ได้เกรดน้อย ทั้งเงินเดือนเริ่มต้น และอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่า
อย่างไรก็ดี เกรดเฉลี่ยตอนปริญญาตรีอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของความแตกต่างดังกล่าวที่เกิดขึ้น หากแต่เกรดเฉลี่ยอาจเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งถึงคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้สมัครแต่ละคนที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานซึ่งส่งผลถึงเงินเดือนที่ได้รับในท้ายที่สุด
เปลี่ยนงานบ่อย เงินเดือนยิ่งพุ่ง
ขณะเดียวกัน อีไอซียังระบุถึงความถี่ของการเปลี่ยนตำแหน่งงานว่ามีความสัมพันธ์กับเงินเดือนที่สูงขึ้นด้วย เนื่องจากพบว่าข้อมูลประวัติการทำงานของผู้สมัครมีแนวโน้มบ่งชี้ระดับเงินเดือน ซึ่งข้อมูลนั้นจะประกอบไปด้วยตำแหน่งงานที่เคยทำในแต่ละช่วงเวลาและเงินเดือนในตำแหน่งงานนั้น การเปลี่ยนตำแหน่งงานอาจเป็นได้ทั้งกรณีได้รับตำแหน่งงานใหม่ในบริษัทเดียวกัน เช่น จากการย้ายฝ่ายหรือการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร รวมไปถึงการย้ายที่ทำงาน เป็นต้น
โดยกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 2 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งงาน 1-3 ครั้ง จะมีเงินเดือนในงานล่าสุดโดยเฉลี่ยสุดสูงกว่า 20-40% เมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงาน อย่างไรก็ตามผู้ที่มีการเปลี่ยนงานถึง 4 ครั้ง เงินเดือนในงานล่าสุดจะสูงกว่าเพียง 10% เมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงาน ซึ่งอาจสะท้อนว่าการเปลี่ยนงานบ่อยเกินไปขณะที่อายุงานยังน้อยก็ไม่ได้ส่งผลดีเพิ่มขึ้น
ขณะที่กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 2 ปีขึ้นไป ความถี่ของการเปลี่ยนตำแหน่งงานซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งการเลื่อน-ย้ายตำแหน่งภายในองค์กร หรือการย้ายที่ทำงาน มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเดือนตอนเริ่มทำงานอย่างชัดเจน เป็นการสะท้อนถึงความสามารถและประสบการณ์การทำงานที่มากขึ้นของผู้สมัคร อันนำไปสู่การเลื่อนตำแหน่งในองค์กรหรือการได้โอกาสในการย้ายงานที่บ่อยขึ้นซึ่งนำไปสู่เงินเดือนที่มากขึ้น
คุณอิเลีย โบนิก - ประธานธุรกิจ Career เมอร์เซอร์
“ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ทักษะการทำงานเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) และการเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรทั่วโลก องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการโยกย้ายพนักงานไปยังต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่องค์กรได้ เกิดข้อดีสำหรับทั้งตัวพนักงานเองและองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางอาชีพ ประสบการณ์ในระดับโลก การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งการมอบข้อเสนอค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลและมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน จะทำให้องค์กรสามารถสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจได้จากการโยกย้ายพนักงาน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bltbangkok.com/CoverStory/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95