บทความตามใจฉัน ฉลาดเกมโกง แบงค์กับการอบรมเยาว์ชนของไทย(คำเตือน สปอยล์จนถึงตอนจบ)
บทความนี้ผู้เขียนเคยเขียนไว้เมื่อไปดูหนัง “ฉลาดเกมโกง” เมื่อราว ๆ พฤษภาคม 2017 ก่อนที่จะเริ่มเขียน “บทความตามใจฉัน”
แล้วลืมทิ้งไว้จนกระทั้งมาเจอ ด้วยความที่ไม่อยากปล่อยให้สิ่งที่เขียนไว้ฝุ่นจับอยู่ในคอมก็เลยปรับแต่งแล้วเอามาโพสเพื่อให้ได้อ่านกัน
ได้ไปดู “ฉลาดเกมส์โกง” มาแล้ว ส่วนตัวผู้เขียนเป็นพวกชอบหนังที่มีประเด็น ตั้งคำถามมาให้คิดต่อหลังหนังจบ
เรื่องนี้ถือว่าทำสำเร็จ ไปดูมาแล้วมีประเด็นให้คิดต่อมากมายจนนอนไม่ค่อยหลับ
แต่ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุดคือตัวละครที่ชื่อว่าแบงค์
โดยประเด็นที่ผู้เขียนคิดและเขียนลงในบทความนี้คือ การอบรมเยาว์ชนของไทย
(คำเตือน สปอยล์จนถึงตอนจบ)
แบงค์ถือเป็นตัวละครที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุดในเรื่อง
เรื่องเล่าถึงแบงค์ว่าเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งมากอีกคนหนึ่งในโรงเรียน แต่มีฐานะยากจน
ครอบครัวทางแบงค์ลำบากยิ่งกว่าลิน ที่เป็นนางเอกเสียอีก
ในการเรียน ถ้าลินคืออันดับหนึ่ง แบงค์คือที่หนึ่งร่วมหรืออย่างแย่ก็อันดับสองแบบหายใจรดต้นคอ
เป็นทั้งเพื่อนร่วมแข่งขันทางวิชาการและคู่แข่งสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
เป็นคนที่ยึดมั่นในระเบียบและความถูกต้องและความดี
ตั้งใจเรียน ช่วยธุรกิจซักรีดของทางบ้าน ซักผ้าแทนแม่ที่ซักจนมือเปื่อย ขี่มอไซค์ไปรับ-ส่งผ้า กตัญญูต่อบุพการี
เรียกได้ว่าแบงค์เป็นตัวแทนของ “เยาวชนไทยในอุดมคติ” ของเหล่าพ่อแม่ผู้ปกครองเลยทีเดียว
คำสอนเยาวชนของไทยอันหนึ่งที่มักใช้สอนกันบ่อย ๆ คือ
“จงทำในสิ่งที่ดี”, “เลือกทำในสิ่งที่ดี”
แบงค์เองก็เลือกทำในสิ่งที่ดีเหมือนกัน
แบงค์ไม่ยอมให้เพื่อนลอกข้อสอบ
แบงค์เห็นเพื่อนจะลอกข้อสอบลินก็แอบไปเตือน
แบงค์แอบบอกอาจารย์ว่าเพื่อนจะลอกข้อสอบลิน
แต่เราๆมักไม่ได้สอนสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งให้แก่เด็ก
ประโยคในรูปแปลได้ว่า
“เรามีอิสระที่จะเลือก แต่ไม่เป็นอิสระจากผลของสิ่งที่เราเลือก”
เราสอนแต่ให้เด็กทำดีแต่แทบไม่สอนให้เด็กคำนึงถึงหรือเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะตามมาเลย
เพราะเราสอนกันว่า เมื่อทำดี ย่อม ได้ดี
ไม่ต้องไปคิดมากถึงผลที่จะตามมา มันย่อมดีอยู่แล้ว
เมื่ออาจารย์คุมสอบไม่ทำอะไร แบงค์ตัดสินใจทำสิ่งที่ดี
บอก ผอ.โรงเรียนเรื่องเพื่อนลอกข้อสอบลิน
ผลคือลินถูกจับได้ว่าทำข้อสอบให้เพื่อน ทุจริตการสอบ
ลินโดนยกเลิกทุนเรียนฟรีและโดนตัดสิทธิ์สอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
ถึงตอนนี้ผลของการตัดสินใจของแบงค์ไม่เป็นไปตามที่ตนคิดแล้ว
ที่เลวร้ายที่สุดคือ ตัวเองโดน ผอ. ยกย่องว่าเป็นแบงค์ต่างหากที่คู่ควรกับการได้ไปสอบชิงทุนเรียนต่างประเทศครั้งนี้
ต่อหน้า ลิน ที่อยู่ในห้องด้วยกัน
ถึงตอนนี้แบงค์เองได้แต่ก้ม เบี่ยงหน้าหลบสายตาลิน
เราแทบไม่เคยสอนให้เด็กเตรียมรับกับผลลัพธ์ที่จะตามมาจากทำดี
เพราะเราสอนแต่ว่า “ทำดีย่อมได้ดี” คือถูกต้อง 100%
และสอนว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน” ไม่เป็นความจริง
ทั้งที่ในความเป็นจริง “ทำดีไม่ได้ดี” มันเป็นไปได้
ถึงตรงนี้ แบงค์มีแต่เสีย
รูปการมันสามารถมองได้ว่าแบงค์จงใจจับผิดลิน, ต่อยใต้เข็มขัดเพิ่มโอกาศให้ตนเองสอบได้ทุนเรียน
ในหนังไม่ได้เล่าถึงเรื่องของแบงค์หลังจากการฟ้องเท่าไหร่ โดยหนังเล่าแค่ว่าแบงค์ที่เพื่อนน้อยอยู่แล้วน้อยลงไปอีก
ถึงตรงนี้ ผู้เขียนอยากรู้มากว่า ความคิดของแบงค์ต่อ การทำดี เป็นอย่างไรบ้าง
แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าความยึดมั่นต่อ “การทำดี” ของแบงค์มีรอยร้าวเกิดขึ้นแล้ว
ต่อมา หนังเล่าถึงแบงค์ที่บังเอิญโดนนักเลงรุมทำร้ายจนสลบแล้วไปฟื้นที่กองขยะ
แบงค์บาดเจ็บ เข้าโรงพยาบาล
พลาดการสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
ความยึดมั่นต่อ การทำดี ของแบงค์ถูกกระหน่ำอีกครั้ง
“ทำดีได้ดีมีที่ไหน”
ความยึดมั่นต่อ การทำดี ของแบงค์ ร้าวลึก เกินเยียวยา
ความฝันที่จะได้เรียนต่อต่างประเทศ ไปเมืองนอก เรียนจบหางาน เลี้ยงแม่ ให้แม่ได้สบาย จากไปแล้ว
ดังนั้นพอลินมาชวนเข้าทีมโกงสอบ STIC แบงค์ที่ปกติตัวเด็ดตีนขาดไม่ทำเรื่องแบบนี้
ยอมฟังข้อเสนอและรับงาน
ด้วยประโยคเด็ดของลินที่ปรากฏในตัวอย่างหนัง
“ถึงแกจะไม่โกง ชีวิตก็จะโกงแกอยู่ดี”
ให้ตายสิ ตอนลินพูดประโยคนี้ ผู้เขียนนึกถึง Batman the dark knight เลย
ตอนที่โจ๊กเกอร์คุยกับฮาวี่ในโรงพยาบาล
ฉากและประโยคในตำนานที่ทำให้ white knight แห่งกอดแท่ม ก้าวเข้าสู่ด้านมืดในที่สุด
การเตรียมแผนและฝึกซ้อมเริ่มขึ้น ทุกอย่างไปได้ดีจนพัฒน์หลุดข้อมูลสำคัญมาว่า
ที่แท้พัฒน์เองเป็นคนส่งนักเลงไปทำร้ายแบงค์ เพื่อบีบให้แบงค์เข้าร่วมทีม
อย่างพีค ขอตบมือให้นักเขียนบทเลย
แบงค์ที่รู้ความจริง ถอนตัว ลินเองก็ถอนตัวด้วย
แผนล่มแล้ว
แต่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก ระหว่างทางเดินกลับแบงค์ไปเจอป้ายโฆษณาที่เขียนว่า
“อนาคตแห่งการซักผ้า”
ยังพีคได้อีก ขอยืนตบมือให้นักเขียนบท
เพราะป้ายนี้คือการตั้งคำถามต่อแบงค์อีกครั้ง
ไม่มีคำพูดแต่มีพลังราวกับฉากและประโยคในตำนานที่ทำให้ Dark knight แห่งกอดแท่ม ต้องเลือก
จะทำดีแล้วให้แม่ซักผ้าจนมือเปื่อยต่อไป
หรือ
จะทำไม่ดีแต่แม่จะไม่ต้องซักผ้าจนมือเปื่อยอีกแล้ว
ถึงตรงนี้ขอพักเรื่องในหนังสักครู่ ผู้เขียนจะขอเล่าเรื่องเกมสักหน่อย
รู้จักเกม Paper please ไหมครับ
ในเกมที่เราเป็นแรงงานในประเทศคอมมิวนิสต์สมมุติประเทศหนึ่ง ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
ทุกวันเราจะต้องเอาค่าแรงส่งให้ครอบครัวเป็นค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงทำความร้อน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ถ้าทำงานช้า ตรวจคนเข้าเมืองได้น้อย ค่าแรงก็ได้น้อยลง ทำงานพลาดก็โดนตัดเงิน
เมื่อเงินไม่พอ ครอบครัวก็ต้องอยู่อย่างลำบาก ต้องอดข่าวบ้าง ทนหนาวบ้าง
บางครั้งคนในครอบครัวเกิดไม่สบายต้องไปหาหมอ รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น
แน่นอนว่าในกลุ่มผู้เข้าประเทศ ย่อมมีคนที่พยายามจะเข้าประเทศให้ได้ ทุกวิถีทาง
และเราในฐานะผู้ตรวจคนเข้าเมือง ก็มีอำนาจในการปล่อยคนเข้าประเทศได้
คุณจะรักษาความถูกต้องแล้วปล่อยให้ครอบครัวอดอยาก อยู่กับอากาศหนาว ป่วยไข้ไม่ได้รับการรักษา
หรือ
คุณจะไม่รักษาความถูกต้องแต่ครอบครัวจะอิ่มอุ่น นอนหลับ สุขภาพแข็งแรง
ถ้าคุณอยากรู้ว่าตัวเองเจอแบบนี้จะยังไงขอแนะนำให้ลองเล่นเกมที่มีการเลือกตัดสินใจแบบ dilemma (ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) แบบนี้ดู ตัวอย่างเช่นเกม detroit become human เป็นต้น
เราแทบไม่เคยสอนให้เด็กเตรียมรับปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้เลย
เรามักสอนให้เด็กมองหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด วินวินเสมอ จนเหมือนสอนให้เด็กต้องหาผลลัพธ์ที่ วินวิน happy ever after เท่านั้น
ทั้งที่หลายครั้งในชีวิตจริง เรามักต้องเลือกระหว่างผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง อยู่บ่อย ๆ
เด็กที่ถูกสอนมาให้หาผลลัพธ์แบบ วินวิน พอจะต้องเลือกผลลัพธ์แบบ ได้อย่างเสียอย่าง
ส่วนใหญ่ที่เจอ เด็กมักจะเลือกไม่ได้และจบลงที่ทำอะไรไม่ถูกและไม่เลือกอะไรเลยในที่สุด เพราะไม่อยากเสียอะไร
การไม่เลือกอะไรเลยก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งและทุกทางเลือกมีผลของมัน
กลับมาที่เรื่องราวในหนัง เมื่อแบงค์ต้องเลือก
โดยปกติคนเราเมื่อเจอทางเลือกแบบนี้ ก็มักจะเลือกในสิ่งที่สำคัญที่สุด
เหมือน batman ที่เลือกไปช่วยหญิงสาวที่ตนรัก ยอมทิ้งบุรุษผู้เป็นความหวังของก็อดแท่ม
สำหรับแบงค์ แม่คือคนสำคัญที่สุด
สำคัญยิ่งกว่าความดีหรือความถูกต้อง
สำหรับผู้เขียน แบงค์ก็ยังคงเป็นคนดี เป็นบุตรกตัญญูอยู่เหมือนเดิม
แต่เลิกจำกัดตัวเองด้วยวิธีการและยอมรับต่อผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร แล้ว
แบงค์กลับมาร่วมมืออีกครั้ง ถึงจะสร้างปัญหาให้ทีมบาง ถึงจะถูกจับได้แต่แผนก็สำเร็จ
แบงค์ได้เงินจำนวนมากมาปรับปรุงกิจการ แม่ไม่ต้องซักผ้ามือเปื่อยอีกแล้ว
แลกกับการมีประวัติทุจริตการสอบระดับนานาชาติและถูกโรงเรียนเชิญออกพร้อมลิน
ต่อมาหนังเล่าว่าแบงค์เรียนลินมาคุย ให้ร่วมมือกันโกงข้อสอบ Gat pat
เข้าสู่ด้านมืดของพลังเต็มตัว เหมือนที่ลินเคยเป็น
เลือกที่จะหาเงินด้วยวิธีการที่เร็วที่สุดและกล้าได้กล้าเสียกับผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
มันมีวิธีที่มีประสิทธิภาพ, ง่ายและเร็วที่สุดอยู่ ตนได้เรียนรู้วิธีนั้นจากลินแล้ว
สังเกตว่าในฉากนี้แม้จะเป็นที่บ้านแบงค์เองแต่ลินและผู้ชมก็ไม่เห็นแม่ของแบงค์
ผู้เขียนมองว่าแบงค์เหมือนคนที่หิวน้ำจนคอแห้ง พอได้กินน้ำก็จะกินอย่างหิวกระหายจนไม่สนอะไรอีกต่อไป
เป็นไปได้ไหมว่าตลอดมานั้นแบงค์ก็อาจจะแค่อยากได้เงินเยอะ ๆ เพื่อจะได้หนีไปจากชีวิตที่ลำบากยากจนนี่
เพื่อแม่ เพื่อความกตัญญู บางทีอาจจะกลายเป็นเพียงข้ออ้างไปแล้ว
หนังจบลงตรงที่ลินปฏิเสธเพราะต้องการถอนตัวจากธุรกิจแบบนี้
ส่วนเรื่องราวของแบงค์หลังจากนั้นปล่อยให้คนดูจินตนาการเอาเอง
แน่นอนว่าเราก็ไม่รู้ว่าแบงค์จะทำอย่างไรต่อไป
แต่ผู้เขียนเชื่อว่าแบงค์จะทำธุรกิจต่อไป อาจเพราะยังได้ไม่พอ หรือ อาจเพราะยังไม่รู้สึกว่าราคาที่ต้องจ่ายมันไม่คุ้ม
เชื่อว่าแบงค์ก็คงหาเด็กที่ทำข้อสอบได้เก่งแบบลินแต่ยากจนมาร่วมทีมได้
สืบทอดวิวาทะ “ถึงแกจะไม่โกง ชีวิตก็จะโกงแกอยู่ดี” ต่อไป
จนกว่าจะได้จนพอ หรือ เสียจนไม่คุ้ม
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน "ฉลาดเกมโกง แบงค์กับการอบรมเยาว์ชนของไทย" (คำเตือน สปอยล์จนถึงตอนจบ)
บทความนี้ผู้เขียนเคยเขียนไว้เมื่อไปดูหนัง “ฉลาดเกมโกง” เมื่อราว ๆ พฤษภาคม 2017 ก่อนที่จะเริ่มเขียน “บทความตามใจฉัน”
แล้วลืมทิ้งไว้จนกระทั้งมาเจอ ด้วยความที่ไม่อยากปล่อยให้สิ่งที่เขียนไว้ฝุ่นจับอยู่ในคอมก็เลยปรับแต่งแล้วเอามาโพสเพื่อให้ได้อ่านกัน
ได้ไปดู “ฉลาดเกมส์โกง” มาแล้ว ส่วนตัวผู้เขียนเป็นพวกชอบหนังที่มีประเด็น ตั้งคำถามมาให้คิดต่อหลังหนังจบ
เรื่องนี้ถือว่าทำสำเร็จ ไปดูมาแล้วมีประเด็นให้คิดต่อมากมายจนนอนไม่ค่อยหลับ
แต่ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุดคือตัวละครที่ชื่อว่าแบงค์
โดยประเด็นที่ผู้เขียนคิดและเขียนลงในบทความนี้คือ การอบรมเยาว์ชนของไทย
(คำเตือน สปอยล์จนถึงตอนจบ)
แบงค์ถือเป็นตัวละครที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุดในเรื่อง
เรื่องเล่าถึงแบงค์ว่าเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งมากอีกคนหนึ่งในโรงเรียน แต่มีฐานะยากจน
ครอบครัวทางแบงค์ลำบากยิ่งกว่าลิน ที่เป็นนางเอกเสียอีก
ในการเรียน ถ้าลินคืออันดับหนึ่ง แบงค์คือที่หนึ่งร่วมหรืออย่างแย่ก็อันดับสองแบบหายใจรดต้นคอ
เป็นทั้งเพื่อนร่วมแข่งขันทางวิชาการและคู่แข่งสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
เป็นคนที่ยึดมั่นในระเบียบและความถูกต้องและความดี
ตั้งใจเรียน ช่วยธุรกิจซักรีดของทางบ้าน ซักผ้าแทนแม่ที่ซักจนมือเปื่อย ขี่มอไซค์ไปรับ-ส่งผ้า กตัญญูต่อบุพการี
เรียกได้ว่าแบงค์เป็นตัวแทนของ “เยาวชนไทยในอุดมคติ” ของเหล่าพ่อแม่ผู้ปกครองเลยทีเดียว
คำสอนเยาวชนของไทยอันหนึ่งที่มักใช้สอนกันบ่อย ๆ คือ
“จงทำในสิ่งที่ดี”, “เลือกทำในสิ่งที่ดี”
แบงค์เองก็เลือกทำในสิ่งที่ดีเหมือนกัน
แบงค์ไม่ยอมให้เพื่อนลอกข้อสอบ
แบงค์เห็นเพื่อนจะลอกข้อสอบลินก็แอบไปเตือน
แบงค์แอบบอกอาจารย์ว่าเพื่อนจะลอกข้อสอบลิน
แต่เราๆมักไม่ได้สอนสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งให้แก่เด็ก
ประโยคในรูปแปลได้ว่า
“เรามีอิสระที่จะเลือก แต่ไม่เป็นอิสระจากผลของสิ่งที่เราเลือก”
เราสอนแต่ให้เด็กทำดีแต่แทบไม่สอนให้เด็กคำนึงถึงหรือเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะตามมาเลย
เพราะเราสอนกันว่า เมื่อทำดี ย่อม ได้ดี
ไม่ต้องไปคิดมากถึงผลที่จะตามมา มันย่อมดีอยู่แล้ว
เมื่ออาจารย์คุมสอบไม่ทำอะไร แบงค์ตัดสินใจทำสิ่งที่ดี
บอก ผอ.โรงเรียนเรื่องเพื่อนลอกข้อสอบลิน
ผลคือลินถูกจับได้ว่าทำข้อสอบให้เพื่อน ทุจริตการสอบ
ลินโดนยกเลิกทุนเรียนฟรีและโดนตัดสิทธิ์สอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
ถึงตอนนี้ผลของการตัดสินใจของแบงค์ไม่เป็นไปตามที่ตนคิดแล้ว
ที่เลวร้ายที่สุดคือ ตัวเองโดน ผอ. ยกย่องว่าเป็นแบงค์ต่างหากที่คู่ควรกับการได้ไปสอบชิงทุนเรียนต่างประเทศครั้งนี้
ต่อหน้า ลิน ที่อยู่ในห้องด้วยกัน
ถึงตอนนี้แบงค์เองได้แต่ก้ม เบี่ยงหน้าหลบสายตาลิน
เราแทบไม่เคยสอนให้เด็กเตรียมรับกับผลลัพธ์ที่จะตามมาจากทำดี
เพราะเราสอนแต่ว่า “ทำดีย่อมได้ดี” คือถูกต้อง 100%
และสอนว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน” ไม่เป็นความจริง
ทั้งที่ในความเป็นจริง “ทำดีไม่ได้ดี” มันเป็นไปได้
ถึงตรงนี้ แบงค์มีแต่เสีย
รูปการมันสามารถมองได้ว่าแบงค์จงใจจับผิดลิน, ต่อยใต้เข็มขัดเพิ่มโอกาศให้ตนเองสอบได้ทุนเรียน
ในหนังไม่ได้เล่าถึงเรื่องของแบงค์หลังจากการฟ้องเท่าไหร่ โดยหนังเล่าแค่ว่าแบงค์ที่เพื่อนน้อยอยู่แล้วน้อยลงไปอีก
ถึงตรงนี้ ผู้เขียนอยากรู้มากว่า ความคิดของแบงค์ต่อ การทำดี เป็นอย่างไรบ้าง
แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าความยึดมั่นต่อ “การทำดี” ของแบงค์มีรอยร้าวเกิดขึ้นแล้ว
ต่อมา หนังเล่าถึงแบงค์ที่บังเอิญโดนนักเลงรุมทำร้ายจนสลบแล้วไปฟื้นที่กองขยะ
แบงค์บาดเจ็บ เข้าโรงพยาบาล
พลาดการสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
ความยึดมั่นต่อ การทำดี ของแบงค์ถูกกระหน่ำอีกครั้ง
“ทำดีได้ดีมีที่ไหน”
ความยึดมั่นต่อ การทำดี ของแบงค์ ร้าวลึก เกินเยียวยา
ความฝันที่จะได้เรียนต่อต่างประเทศ ไปเมืองนอก เรียนจบหางาน เลี้ยงแม่ ให้แม่ได้สบาย จากไปแล้ว
ดังนั้นพอลินมาชวนเข้าทีมโกงสอบ STIC แบงค์ที่ปกติตัวเด็ดตีนขาดไม่ทำเรื่องแบบนี้
ยอมฟังข้อเสนอและรับงาน
ด้วยประโยคเด็ดของลินที่ปรากฏในตัวอย่างหนัง
“ถึงแกจะไม่โกง ชีวิตก็จะโกงแกอยู่ดี”
ให้ตายสิ ตอนลินพูดประโยคนี้ ผู้เขียนนึกถึง Batman the dark knight เลย
ตอนที่โจ๊กเกอร์คุยกับฮาวี่ในโรงพยาบาล
ฉากและประโยคในตำนานที่ทำให้ white knight แห่งกอดแท่ม ก้าวเข้าสู่ด้านมืดในที่สุด
การเตรียมแผนและฝึกซ้อมเริ่มขึ้น ทุกอย่างไปได้ดีจนพัฒน์หลุดข้อมูลสำคัญมาว่า
ที่แท้พัฒน์เองเป็นคนส่งนักเลงไปทำร้ายแบงค์ เพื่อบีบให้แบงค์เข้าร่วมทีม
อย่างพีค ขอตบมือให้นักเขียนบทเลย
แบงค์ที่รู้ความจริง ถอนตัว ลินเองก็ถอนตัวด้วย
แผนล่มแล้ว
แต่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก ระหว่างทางเดินกลับแบงค์ไปเจอป้ายโฆษณาที่เขียนว่า
“อนาคตแห่งการซักผ้า”
ยังพีคได้อีก ขอยืนตบมือให้นักเขียนบท
เพราะป้ายนี้คือการตั้งคำถามต่อแบงค์อีกครั้ง
ไม่มีคำพูดแต่มีพลังราวกับฉากและประโยคในตำนานที่ทำให้ Dark knight แห่งกอดแท่ม ต้องเลือก
จะทำดีแล้วให้แม่ซักผ้าจนมือเปื่อยต่อไป
หรือ
จะทำไม่ดีแต่แม่จะไม่ต้องซักผ้าจนมือเปื่อยอีกแล้ว
ถึงตรงนี้ขอพักเรื่องในหนังสักครู่ ผู้เขียนจะขอเล่าเรื่องเกมสักหน่อย
รู้จักเกม Paper please ไหมครับ
ในเกมที่เราเป็นแรงงานในประเทศคอมมิวนิสต์สมมุติประเทศหนึ่ง ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
ทุกวันเราจะต้องเอาค่าแรงส่งให้ครอบครัวเป็นค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงทำความร้อน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ถ้าทำงานช้า ตรวจคนเข้าเมืองได้น้อย ค่าแรงก็ได้น้อยลง ทำงานพลาดก็โดนตัดเงิน
เมื่อเงินไม่พอ ครอบครัวก็ต้องอยู่อย่างลำบาก ต้องอดข่าวบ้าง ทนหนาวบ้าง
บางครั้งคนในครอบครัวเกิดไม่สบายต้องไปหาหมอ รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น
แน่นอนว่าในกลุ่มผู้เข้าประเทศ ย่อมมีคนที่พยายามจะเข้าประเทศให้ได้ ทุกวิถีทาง
และเราในฐานะผู้ตรวจคนเข้าเมือง ก็มีอำนาจในการปล่อยคนเข้าประเทศได้
คุณจะรักษาความถูกต้องแล้วปล่อยให้ครอบครัวอดอยาก อยู่กับอากาศหนาว ป่วยไข้ไม่ได้รับการรักษา
หรือ
คุณจะไม่รักษาความถูกต้องแต่ครอบครัวจะอิ่มอุ่น นอนหลับ สุขภาพแข็งแรง
ถ้าคุณอยากรู้ว่าตัวเองเจอแบบนี้จะยังไงขอแนะนำให้ลองเล่นเกมที่มีการเลือกตัดสินใจแบบ dilemma (ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) แบบนี้ดู ตัวอย่างเช่นเกม detroit become human เป็นต้น
เราแทบไม่เคยสอนให้เด็กเตรียมรับปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้เลย
เรามักสอนให้เด็กมองหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด วินวินเสมอ จนเหมือนสอนให้เด็กต้องหาผลลัพธ์ที่ วินวิน happy ever after เท่านั้น
ทั้งที่หลายครั้งในชีวิตจริง เรามักต้องเลือกระหว่างผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง อยู่บ่อย ๆ
เด็กที่ถูกสอนมาให้หาผลลัพธ์แบบ วินวิน พอจะต้องเลือกผลลัพธ์แบบ ได้อย่างเสียอย่าง
ส่วนใหญ่ที่เจอ เด็กมักจะเลือกไม่ได้และจบลงที่ทำอะไรไม่ถูกและไม่เลือกอะไรเลยในที่สุด เพราะไม่อยากเสียอะไร
การไม่เลือกอะไรเลยก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งและทุกทางเลือกมีผลของมัน
กลับมาที่เรื่องราวในหนัง เมื่อแบงค์ต้องเลือก
โดยปกติคนเราเมื่อเจอทางเลือกแบบนี้ ก็มักจะเลือกในสิ่งที่สำคัญที่สุด
เหมือน batman ที่เลือกไปช่วยหญิงสาวที่ตนรัก ยอมทิ้งบุรุษผู้เป็นความหวังของก็อดแท่ม
สำหรับแบงค์ แม่คือคนสำคัญที่สุด
สำคัญยิ่งกว่าความดีหรือความถูกต้อง
สำหรับผู้เขียน แบงค์ก็ยังคงเป็นคนดี เป็นบุตรกตัญญูอยู่เหมือนเดิม
แต่เลิกจำกัดตัวเองด้วยวิธีการและยอมรับต่อผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร แล้ว
แบงค์กลับมาร่วมมืออีกครั้ง ถึงจะสร้างปัญหาให้ทีมบาง ถึงจะถูกจับได้แต่แผนก็สำเร็จ
แบงค์ได้เงินจำนวนมากมาปรับปรุงกิจการ แม่ไม่ต้องซักผ้ามือเปื่อยอีกแล้ว
แลกกับการมีประวัติทุจริตการสอบระดับนานาชาติและถูกโรงเรียนเชิญออกพร้อมลิน
ต่อมาหนังเล่าว่าแบงค์เรียนลินมาคุย ให้ร่วมมือกันโกงข้อสอบ Gat pat
เข้าสู่ด้านมืดของพลังเต็มตัว เหมือนที่ลินเคยเป็น
เลือกที่จะหาเงินด้วยวิธีการที่เร็วที่สุดและกล้าได้กล้าเสียกับผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
มันมีวิธีที่มีประสิทธิภาพ, ง่ายและเร็วที่สุดอยู่ ตนได้เรียนรู้วิธีนั้นจากลินแล้ว
สังเกตว่าในฉากนี้แม้จะเป็นที่บ้านแบงค์เองแต่ลินและผู้ชมก็ไม่เห็นแม่ของแบงค์
ผู้เขียนมองว่าแบงค์เหมือนคนที่หิวน้ำจนคอแห้ง พอได้กินน้ำก็จะกินอย่างหิวกระหายจนไม่สนอะไรอีกต่อไป
เป็นไปได้ไหมว่าตลอดมานั้นแบงค์ก็อาจจะแค่อยากได้เงินเยอะ ๆ เพื่อจะได้หนีไปจากชีวิตที่ลำบากยากจนนี่
เพื่อแม่ เพื่อความกตัญญู บางทีอาจจะกลายเป็นเพียงข้ออ้างไปแล้ว
หนังจบลงตรงที่ลินปฏิเสธเพราะต้องการถอนตัวจากธุรกิจแบบนี้
ส่วนเรื่องราวของแบงค์หลังจากนั้นปล่อยให้คนดูจินตนาการเอาเอง
แน่นอนว่าเราก็ไม่รู้ว่าแบงค์จะทำอย่างไรต่อไป
แต่ผู้เขียนเชื่อว่าแบงค์จะทำธุรกิจต่อไป อาจเพราะยังได้ไม่พอ หรือ อาจเพราะยังไม่รู้สึกว่าราคาที่ต้องจ่ายมันไม่คุ้ม
เชื่อว่าแบงค์ก็คงหาเด็กที่ทำข้อสอบได้เก่งแบบลินแต่ยากจนมาร่วมทีมได้
สืบทอดวิวาทะ “ถึงแกจะไม่โกง ชีวิตก็จะโกงแกอยู่ดี” ต่อไป
จนกว่าจะได้จนพอ หรือ เสียจนไม่คุ้ม
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/