[SR] รีวิว Surly ECR - The Extremely Cool Rig จักรยานทัวร์ริ่งทางลุย

🚲 เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา อิ่มมีโอกาสนำ Surly ECR ของเฮียหมา แห่ง ร้านจักรยาน Bok Bok Bike (https://www.facebook.com/BokBokBike.Thailand/) ไปออกทริป #ป่าแป๋บันเทิง จัดโดยเจ้าพ่อนุ Pnuc Chaijinda แห่ง Triple Cats Cycle ! ได้ลองของจริงแล้ว Surly ECR จะโดนใจเราไหม ตามไปดู!

เส้นทาง ป่าแป๋ - แม่แว - กิ่วเสือ - งิ้วเฒ่า - สะเมิง 
Day 1 : นั่งรถ** เชียงใหม่ - อบต. ป่าแป๋ 🚲
ปั่น** ป่าแป๋ - ปางมะโอ - ปางขุม - แม่แว ~22km.
Day 2 : แม่แว - บ้านกิ่วเสือ - บ้านงิ้วเฒ่า - สะเมิง ~35km.🚲


เส้นทางนี้ พี่นุส่งมาให้เราดูแล้วก็บอกว่า “เป็นไงมั่งน้อง เส้นทางโอเคไหม?” เราก็ตอบไปว่า “เอ้า ไม่รู้สิ ก็ดีมั้งพี่ ไม่เคยไป 555” แล้วแกก็ตอบกลับมาว่า “เออใช่ พี่ก็ไม่เคยไปเหมือนกัน !” ปัดโธ่ว !! เราโดนเจ้าพ่อนุเล่นซะแล้ว ความพิเศษของเส้นทางนี้คือ

1) เป็นทางลูกรัง 60% ถนนลาดยาง/คอนกรีต 40% เละ ๆ มันส์ ๆ เรียกว่ามาครบทุกรสชาติ
2) 🌧️ ช่วงนี้ เป็นหน้าฝน เส้นทางที่เราไปส่วนใหญ่ เป็นทางลูกรัง สนุกสนานบันเทิงกันเลยทีเดียว
3) เส้นทางลัดเลาะตามหมู่บ้านกลางป่า และหุบเขา วิวที่ได้จะเป็นวิวนาขั้นบันไดสวย ๆ ต้นไม้เขียว ๆ และวิถีชีวิตชาวบ้านในแถบนั้น 🚲


- มีหมู่บ้านอยู่บ้าง แต่ร้านค้าไม่เยอะ ควรเตรียมอาหาร และน้ำดื่มไปให้พอ

Surly ECR - Extremely Comfy Ride
หลังจากอยู่กับ Surly ECR คันนี้มา 3 วันเต็ม ๆ ได้ลองใช้งานจริง ในเส้นทาง off-road สุดบันเทิง ก็มักจะมีคนมาถามว่า ECR เป็นยังไง? มันคือ Ogre ที่ใส่ยางได้ใหญ่ขึ้นมั้ย? มันคือ Krampus ที่โหลดของได้เหรอ? และมีคำถามอีกมากมาย ....เอาเป็นว่า

Surly ECR เป็นจักรยานที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก

👍 นอกจากจะเป็น Extremely Cool Rig - จักรยานสุดแจ่มแมวแล้ว ยังเป็น จักรยานที่ให้ความรู้สึก Extremely Comfy Ride อีกด้วย! 


Surly บอกเอาไว้ว่า ECR เป็น Off-road long touring bike ที่ถูกออกแบบมาให้ลุยได้ และปั่นสบายเมื่อต้องเดินทางไกล ๆ 
สิ่งที่รู้สึกได้จัง ๆ เลยคือ 

1) เวลาลงเขา เรารู้สึกมั่นใจยิ่งตอนเจอหินเจอกรวด ปั่นผ่านสบาย ๆ 

2) เวลาปั่นขึ้นเขาที่เป็นทาง Off-road ก็ควบคุมได้ดี แต่ถ้าเจอหินก้อนใหญ่มาก ๆ หรือทางชันมาก ๆ ก็ลงจูงดีกว่า 

3) รู้สึกปั่นสนุก ตอบสนองการควบคุมเราได้ดี และไม่รู้สึกน่วม หลังจากผ่านทาง off-road มาทั้งวัน 👍

Surly ECR มี Geometry ที่น่าสนใจมาก
1) หางหลังสั้นกว่า Surly Ogre แต่เท่ากับ Krampus ทำให้การควบคุมรถของ ECR เป็นไปได้เฉียบกว่า ไวกว่านั่นเอง

2) องศาท่อคอชันน้อยกว่า Surly Ogre แม้อาจจะต้องใช้แรงในการควบคุมมากกว่า แต่ก็ช่วยเพิ่มความมั่นคงเวลาลงเขาไว ๆ หรือเจอทางหินทางลูกรังหนัก ๆ ได้

3) Fork rake มากกว่า Ogre นิดหน่อย ซึ่งส่งผลให้มี Wheelbase ที่ยาวขึ้น ส่งผลโดยตรงให้ ECR เหมาะกับการขี่แบบ Long Touring หรือ Endurance ได้ดีขึ้น

4) มี BB Drop ต่ำกว่า Ogre ทำให้การควบคุมรถ เวลาเจอทางโหด ๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงของผู้ปั่น (Rider’s center of gravity) จะอยู่ต่ำลง
ECR ถูกออกแบบมาให้ใส่ยาง Plus Size โดยเฉพาะ ทำให้มี Clearance ระหว่างเฟรมกับยางมากขึ้น เวลาเจอทางเละ ๆ แล้วขี้โคลนไปติดวงล้อ เราก็ยังสามารถไปต่อได้



ถึก / ทน / ลุยได้ / เดินทางไกลได้ / ปั่นสบาย / ใช่เลย Surly ECR

Plus-tire bike platform !

ความพิเศษของ ECR คือ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับยาง Plus size 
XS - S - M ใช้ได้กับ 27.5+
M - L - XL ใช้ได้กับ 29+ 

Surly ECR ที่อิ่มใช้ในทริปนี้ ใส่ยาง Teravail Coronado 27.5x3.0

มันหนืดไหม เอ้า...แน่สิ ถ้าเทียบกับยางหน้าแคบกว่า เจ้านี่ใช้พลังงานเราเยอะกว่าแน่นอน เวลาเจอทางราดยาง หรือทางขึ้นเขา แต่เรากลับชอบนะ เพราะมันทำให้เรารู้สึกอยากพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงขึ้น เพื่อสนุกไปกับมัน ......เอ่อ..น้องอิ่มครับ ถ้ามันหนืดกว่า แล้วน้องอิ่มใช้ทำไมครับ....อ๋ออออ ค่ะพี่ ตามมาเดี๋ยวน้องอิ่มอธิบาย

1) ฮั่นแน่ ! ยางหน้ากว้างขึ้น ... ส่งผลให้มี Rolling Diameter ที่มากขึ้น หากเราสามารถมีแรงขับเคลื่อนมันได้แล้ว แน่นอนหล่ะว่ามันจะไปได้ไวกว่าวงล้อที่เล็กกว่า หรือ ยางที่มีหน้าแคบกว่า 💨

2) หน้ายางกว้างขึ้น มีแรงดึง (traction) ผ่านอุปสรรค เช่นก้อนหิน ได้ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้นแน่นอน

3) Teravail Coronado 27.5x3.0 ที่ใช้ในทริปนี้ เติมลมสเป็คต่ำสุดได้ที่ 25 psi ทำให้การปั่นบนทางลูกรังนุ่มนวลขึ้น และช่วยลดแรงกระแทกเวลาเข้าทาง off-road ได้

4) ยางหน้ากว้างขึ้น จะช่วยเพิ่ม BB Height เพื่อไปชดเชยกับ BB Drop ที่ต่ำลงของ Surly ECR (ตามที่พูดถึงก่อนหน้า) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง เวลาบันไดไปฟาดหิน หรือ รากไม้เวลาเข้าทาง off-road ได้นั่นเอง


Rohloff Equipped on Surly ECR

Surly ECR ที่อิ่มใช้ในทริปนี้ ใช้ชุดขับเคลื่อนเกียร์ดุม Rohloff Speedhub 500/14 / 14 Speed ใบจานหน้า 40T

ถ้าเทียบกันเรื่องอัตราทด สำหรับคันนี้ ยังสู้เกียร์ระบบตีนผีใบจานหน้าเล็กสุด 22T เฟืองหลังใหญ่สุด 36T ไม่ได้เลยนะ แต่เหตุผลในการเลือ ใช้ Rohloff ไม่ได้อยู่เพียงแต่ขึ้นเขาไหวหรือไม่ แต่ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ที่เราคำนึงอีกนั่นคือ

1) ใช้การเดินทางหลากรูปแบบ ทั้งขึ้นรถแดงเชียงใหม่ไปลงบ้านป่าแป๋ และเดินทางกลับจากสะเมิง หรือแม้แต่นำจักรยานขึ้นรถทัวร์เพื่อกลับกรุงเทพ ฯ ด้วยระบบเกียร์ดุมที่ทุกอย่างอยู่ด้านใน เราหมดห่วงเรื่องแรงกระแทก ที่อาจทำให้ตีนผีหัก แล้วเราไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เลย 🚌🚗🚲

2) เวลาเจอฝน ทางโคลน หมดห่วงเรื่องขี้โคลนเข้าไปติดตีนผีและเฟืองหลัง หรือ เจอทางลูกรังแล้วตีนผีไปฟาดหินหัก ทำให้เดินทางต่อไม่ได้

3) บิดเอาอย่างเดียว เวลาเปลี่ยนเกียร์ เวลาเจอเนินชัน ๆ แล้วตกใจ จะชิฟซ้ายชิฟขวางงไปหมด ถ้าใช้ Rohloff ก็บิดเปลี่ยนเกียร์เอาเลยลวกเพี่ย !!

4) เวลาเจอเนินชัน แล้วอยากหยุดปั่น พักหายใจก่อน ค่อยไปต่อ ใช้ Rohloff สามารถทำได้ง่ายดาย พอหายเหนื่อย ก็บิดไปเกียร์ที่พึงใจ แล้วออกตัวปั่นต่อได้เลย ไม่ต้องคอยยกล้อหลัง ชิฟเกียร์ แล้วหมุนล้อแบบระบบตีนผีอยู่ 🚲

🚲แล้วถ้าถามว่ามีอะไรที่อิ่มไม่ชอบบ้างหล่ะ?
นั่นสิ....มีแน่นอน 

1) ระยะ Reach ของ ECR นั้นมากกว่า Ogre เล็กน้อย และ ECR คันนี้ ใส่แฮนด์ Surly Moloko กับสเต็มยาว 90 มม. สำหรับอิ่ม และช่วงตัวของอิ่ม อิ่มว่าระยะเอื้อมมันมากเกินไป อาจทำให้รู้สึกล้าแขนบ้างเวลาเจอทางลงเขานาน ๆ ซึ่งอิ่มคิดว่า ผู้หญิงอีกหลาย ๆ คนที่ความสูงประมาณเดียวกัน และขนาดช่วงตัวใกล้เคียงกัน น่าจะรู้สึกแบบนี้

2) ถ้าทำได้ เพื่อให้เหมาะกับสรีระของเรามากขึ้น อิ่มจะเปลี่ยนสเต็มให้สั้นลง อยู่ที่ประมาณ 70 - 80 mm เพื่อลดระยะเอื้อม และ ใช้แฮนด์ Jones Loop H-Bar ซี่งมีองศา Sweep 45 องศา ซึ่งอิ่มรู้สึกว่าเหมาะกับช่วงไหล่ของอิ่ม และวางมือสบายกว่า (Surly Moloko Sweep 34 องศา และระยะ Reach มากกว่า Jones Loop H-Bar)

3) แต่ถ้าอยากได้ความนุ่มนวล จากวัสดุโครโมลี่ของ Surly Moloko อิ่มก็จะใช้สเต็มที่สั้นกว่านั้น คือประมาณ 60 - 70 mm นั่นเองจ้า

Dirt Road Bikepacking
Bikepacking ไม่ใช่แฟชั่น แต่ Bikepacking คือการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานต่างหากนะจ๊ะ 🚲


1) การติดตั้งกระเป๋าแบบ Bikepacking จะเห็นได้ว่า กระเป๋าทุกใบ จะอยู่ติดกับเฟรมมากที่สุด ช่วยลดแรงเหวี่ยงเวลาเจอทางลูกรังได้ดี


2) กระเป๋าแบบ Bikepacking ค่อนข้างอเนกประสงค์ มีจักรยานคันไหนอยู่ ก็ลองซื้อมาติดตั้งได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงจุดติดแร็ค


3) เวลาจัดของแบบ Bikepacking ทำให้เราจัดของได้มีระเบียบมากขึ้น อะไรสำคัญก็เอาไว้ในที่หยิบจับง่าย ส่วนของที่มีน้ำหนักก็เลือกเอาไว้ตรงกลางเฟรมก่อน

สรุป !
🚲 ขอสรุปง่าย ๆ เป็น 2 ข้อเลยนะจ๊ะ


1) ใครที่อยากได้รถที่ขี่สบาย ๆ นั่งหลังเกือบตรงสักหน่อย และเป็น all-around off-road touring bike แนะนำให้เลือก Surly Ogre แต่ถ้าเน้นทางลุย ความมันส์ที่มากขึ้น แนะนำให้ลอง Surly ECR 

2) ถ้าเน้นไปทางลุย หรือมีจักรยานอยู่แล้วยังไม่อยากลงทุนซื้อแร็ค ลองดูการแพ็คของแบบ Bikepacking ไว้เป็นตัวเลือกนะคะ เหมาะเหมงสุด ๆ ไปเลยจ้า

Bike Build Highlights

- Frame & Fork: Surly ECR (Small)
- Headset: FSA Orbit XLII
- Chainring: Thorn 40T
- Handlebar: Surly Moloko 34 degree sweep
- Stem: 90 mm
- Saddle: Brooks B17 Imperial for lady
- Speedhub: Rohloff Speedhub 500/14
- Brakes: TRP Spyke (Cable Disc Brake System)
- Rims: Ryde Disc40
- Tires: Teravail Coronado 27.5x3.0
- Bikepacking Bags: APIDURA Expedition Bikepacking Bags & CONQUER Bikepacking Bags for customized frame bag



กดดูวีดีโอเส้นทาง Bikepacking ที่เราไปมาได้เลยจ้า
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ซ้าย: ทางหินทางลูกรังประมาณ 60% --- ขวา: ลุยฝนเละในวันแรก


ลุยเละในวันแรก


ทางลูกรังเป็นหลัก ทางราดยางเป็นรอง


ข้ามผ่านจากทางลูกรังไปเจอทางคอนกรีตกันบ้าง ขอบอกว่าชันสุด ๆ ไปเลยนะทางคอนกรีตเนี่ย


ปั่นฝ่าหมอกหลังฝนลงในวันแรก


ความงามของธรรมชาติ ณ สะเมิง


แก็งค์สุดซนกลับถึงตัวเมืองเชียงใหม่โดยปลอดภัยจ้า ^^

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 080-0440490 / 062-9426323 อิ่มหมี พีมันส์ รออยู่นะจ๊ะ รู้ยัง (https://www.facebook.com/Spinningbear2013/)
ชื่อสินค้า:   จักรยาน Surly ECR
คะแนน:     

SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - ได้รับสินค้ามาใช้รีวิวฟรี โดยต้องคืนสินค้าให้เจ้าของสินค้า
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่