Joker (Todd Phillips, 2019) คะแนน B+ (8.5/10)
"เพราะสังคมแวดล้อมเกินเยียวยา" ต้องยอมรับว่าเราไม่รู้สึกอินกับพล็อตเรื่องของ Joker ในฉบับตีความใหม่ครั้งนี้มากนัก จะด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของหนังที่จับพลัดจับผลูให้ตัวละครประสบปัญหาทางจิตภายใต้สังคมเสื่อมโทรมหรือกระทั่งมุมมองด้านศีลธรรมความดี แสงสว่างของความหวังที่มีเพียงน้อยนิดในเรื่อง ส่วนหนึ่งมาจากบทภาพยนตร์ของหนังที่ไม่ได้สะเทือนอารมณ์ความรู้สึกหรือดาร์กเข้าขั้นจิตตกไปเป็นอาทิตย์ สำหรับเราความหม่นหมองของหนังเรื่องนี้หรือความประสาทเสียเกิดจากการแสดงของ 'วาคีน ฟินิกซ์' และท่าทีของตัวละครโจ๊กเกอร์ที่เป็นผู้ป่วยทางจิตคนหนึ่งเริ่มต้นก่อเหตุร้าย ท่าทีที่ทำให้เราที่เป็นคนดูรู้สึกสงสารหรือคล้อยตามไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวโจ๊กเกอร์ได้อย่างไม่สงสัย การแสดงของวาคีน ฟินิกซ์ พาเราไปสู่คำถามปลายเปิดว่าเราจะร่วมยินดีกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเรื่องหรือเป็นเพียงความวุ่นวายที่ไม่น่ายินดี เหนือสิ่งอื่นใดความยอดเยี่ยมของ 'วาคีน ฟินิกซ์' สมควรน่าชื่นชมจนไปถึงน่ายกย่องและควรค่าแก่การพูดถึงไปอีกนาน
นอกจากความน่าเศร้าในสภาพป่วยทางจิตของตัวละครโจ๊กเกอร์ รอยแผลที่เปิดให้เห็นจิตใจตัวละครและผลกระทบจากสังคม ผลกระทบจากแม่ตัวเอง ที่หนังค่อย ๆ เฉลยคลี่คลายให้เราเห็นนั้นช่วยส่งให้เราตั้งคำถามเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำครั้งนี้ แน่นอนว่า ปัญหาที่หนังนำเสนอไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนรวยกับคนจน คนจรจัด ความสกปรกของบ้านเมือง และเมืองที่เต็มไปด้วยเศษซากให้คนจนได้อยู่อาศัย เมืองที่กำลังจะล่มสลาย ความหวังที่ผิดด้าน จากดำเป็นขาว จากขาวกลายเป็นดำ สภาพเมืองก็อตแธมในเวอร์ชั่นนี้จึงดูมืดบอดสุด ๆ ซึ่งเหมาะสมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดคนอย่าง 'โจ๊กเกอร์' ขึ้นมา และโจ๊กเกอร์ในสังคมแบบนี้ก็ถูกเชิดชูให้เป็นฮีโร่ ความน่าสนใจที่หนังนำเสนอสะท้อนคำถามให้คนถกเถียงต่อว่าคนแบบโจ๊กเกอร์สามารถเกิดขึ้นมาได้อีกกี่คนในบ้านเมืองแบบนี้
คำถามที่น่าสนใจคือเบื้องหลังความโหดร้ายและการหยิบปืนมายิงคนเกิดจากอะไร หรือความไม่ปกติทางอารมณ์ของคนโรคจิตมีผลกระทบมาจากอะไร ซึ่งหนังให้ภาพชัดเจนและอธิบายได้ค่อนข้างละเอียดว่าทำไม โจ๊กเกอร์ เวอร์ชั่นนี้จึงกลายเป็นคนแบบนี้ เส้นทางความป่วยของตัวเองและการพยายามเอาชนะความป่วยนำพาไปสู่ทางออกแบบไหน สำหรับเราความป่วยไข้ของโจ๊กเกอร์เกิดจากสังคมแวดล้อมที่เกินเยียวยา โจ๊กเกอร์คือฮีโร่ของ 'ก็อตแธม' ในวันที่ไม่มี ‘แบทแมน’ เป็นประเด็นที่ดีและสดมากในจักรวาลตัวร้ายและฮีโร่ อย่างไรก็ตาม หนังยังมีข้อเสียในจังหวะเล่าเรื่องและโยงไปถึงชนชั้นทางสังคมที่จงใจเกินไป ทำให้เราไม่อินหรือคล้อยตามไปกับประเด็นชนชั้นที่หนังทิ้งไว้ในท้ายเรื่องและรู้สึกเฉย ๆ พอสมควรเมื่อหนังจบลง
คำเตือนสำหรับหนังเรื่องนี้คือบทพูดและประโยคสนทนาในหลาย ๆ ประโยคค่อนข้างแทงใจคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือป่วยทางจิตได้พอสมควร ด้วยวิธีสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ส่วนตัวคิดว่าหนังต้องการทำหน้าที่สื่อสารข้อความเหล่านี้ให้คนปกติทั่วไปได้รับรู้และเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นต่อผู้ป่วยทางจิต หรือปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยทางจิตให้ดีขึ้น เราจึงมองเห็นประโยชน์จากไดอะล็อกของหนังมากกว่าโทษภัยที่หนังมีให้ต่อคนดู (คนทั่วไป) แต่ก็ไม่รู้ว่าผลกระทบจากประโยคที่หนังใส่มาจะมีผลต่อคนป่วยมากแค่ไหนแต่เชื่อว่ามีแน่นอน
ทั้งหมดทั้งมวล Joker เวอร์ชั่น 'วาคีน ฟินิกซ์' ของผู้กำกับ 'ท็อดด์ ฟิลลิปส์' เป็นโจ๊กเกอร์ที่ถูกตีความได้น่าสนใจและทำหน้าที่เปิดวงสนทนาพูดถึงได้อย่างดี หนังประสบความสำเร็จในระดับที่ทำให้คนสนใจพูดถึงหรือเพิ่มความเข้าใจอาการป่วยทางจิตสำหรับคนไม่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ และตัดสินคนเหล่านี้ไปก่อนที่จะรับรู้เบื้องหลังชีวิตของผู้ป่วย ท้ายสุด ไม่ว่าเนื้อหาสาระของหนังจะตั้งคำถามให้คนดูได้โต้แย้งไปไกลแค่ไหน งานภาพ ดนตรีประกอบ และการแสดงของ 'วาคีน ฟินิกซ์' สมควรลุกขึ้นปรบมือให้จริง ๆ
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Joker (Todd Phillips, 2019) รีวิวโดย MDC
"เพราะสังคมแวดล้อมเกินเยียวยา" ต้องยอมรับว่าเราไม่รู้สึกอินกับพล็อตเรื่องของ Joker ในฉบับตีความใหม่ครั้งนี้มากนัก จะด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของหนังที่จับพลัดจับผลูให้ตัวละครประสบปัญหาทางจิตภายใต้สังคมเสื่อมโทรมหรือกระทั่งมุมมองด้านศีลธรรมความดี แสงสว่างของความหวังที่มีเพียงน้อยนิดในเรื่อง ส่วนหนึ่งมาจากบทภาพยนตร์ของหนังที่ไม่ได้สะเทือนอารมณ์ความรู้สึกหรือดาร์กเข้าขั้นจิตตกไปเป็นอาทิตย์ สำหรับเราความหม่นหมองของหนังเรื่องนี้หรือความประสาทเสียเกิดจากการแสดงของ 'วาคีน ฟินิกซ์' และท่าทีของตัวละครโจ๊กเกอร์ที่เป็นผู้ป่วยทางจิตคนหนึ่งเริ่มต้นก่อเหตุร้าย ท่าทีที่ทำให้เราที่เป็นคนดูรู้สึกสงสารหรือคล้อยตามไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวโจ๊กเกอร์ได้อย่างไม่สงสัย การแสดงของวาคีน ฟินิกซ์ พาเราไปสู่คำถามปลายเปิดว่าเราจะร่วมยินดีกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเรื่องหรือเป็นเพียงความวุ่นวายที่ไม่น่ายินดี เหนือสิ่งอื่นใดความยอดเยี่ยมของ 'วาคีน ฟินิกซ์' สมควรน่าชื่นชมจนไปถึงน่ายกย่องและควรค่าแก่การพูดถึงไปอีกนาน
นอกจากความน่าเศร้าในสภาพป่วยทางจิตของตัวละครโจ๊กเกอร์ รอยแผลที่เปิดให้เห็นจิตใจตัวละครและผลกระทบจากสังคม ผลกระทบจากแม่ตัวเอง ที่หนังค่อย ๆ เฉลยคลี่คลายให้เราเห็นนั้นช่วยส่งให้เราตั้งคำถามเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำครั้งนี้ แน่นอนว่า ปัญหาที่หนังนำเสนอไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนรวยกับคนจน คนจรจัด ความสกปรกของบ้านเมือง และเมืองที่เต็มไปด้วยเศษซากให้คนจนได้อยู่อาศัย เมืองที่กำลังจะล่มสลาย ความหวังที่ผิดด้าน จากดำเป็นขาว จากขาวกลายเป็นดำ สภาพเมืองก็อตแธมในเวอร์ชั่นนี้จึงดูมืดบอดสุด ๆ ซึ่งเหมาะสมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดคนอย่าง 'โจ๊กเกอร์' ขึ้นมา และโจ๊กเกอร์ในสังคมแบบนี้ก็ถูกเชิดชูให้เป็นฮีโร่ ความน่าสนใจที่หนังนำเสนอสะท้อนคำถามให้คนถกเถียงต่อว่าคนแบบโจ๊กเกอร์สามารถเกิดขึ้นมาได้อีกกี่คนในบ้านเมืองแบบนี้
คำถามที่น่าสนใจคือเบื้องหลังความโหดร้ายและการหยิบปืนมายิงคนเกิดจากอะไร หรือความไม่ปกติทางอารมณ์ของคนโรคจิตมีผลกระทบมาจากอะไร ซึ่งหนังให้ภาพชัดเจนและอธิบายได้ค่อนข้างละเอียดว่าทำไม โจ๊กเกอร์ เวอร์ชั่นนี้จึงกลายเป็นคนแบบนี้ เส้นทางความป่วยของตัวเองและการพยายามเอาชนะความป่วยนำพาไปสู่ทางออกแบบไหน สำหรับเราความป่วยไข้ของโจ๊กเกอร์เกิดจากสังคมแวดล้อมที่เกินเยียวยา โจ๊กเกอร์คือฮีโร่ของ 'ก็อตแธม' ในวันที่ไม่มี ‘แบทแมน’ เป็นประเด็นที่ดีและสดมากในจักรวาลตัวร้ายและฮีโร่ อย่างไรก็ตาม หนังยังมีข้อเสียในจังหวะเล่าเรื่องและโยงไปถึงชนชั้นทางสังคมที่จงใจเกินไป ทำให้เราไม่อินหรือคล้อยตามไปกับประเด็นชนชั้นที่หนังทิ้งไว้ในท้ายเรื่องและรู้สึกเฉย ๆ พอสมควรเมื่อหนังจบลง
คำเตือนสำหรับหนังเรื่องนี้คือบทพูดและประโยคสนทนาในหลาย ๆ ประโยคค่อนข้างแทงใจคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือป่วยทางจิตได้พอสมควร ด้วยวิธีสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ส่วนตัวคิดว่าหนังต้องการทำหน้าที่สื่อสารข้อความเหล่านี้ให้คนปกติทั่วไปได้รับรู้และเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นต่อผู้ป่วยทางจิต หรือปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยทางจิตให้ดีขึ้น เราจึงมองเห็นประโยชน์จากไดอะล็อกของหนังมากกว่าโทษภัยที่หนังมีให้ต่อคนดู (คนทั่วไป) แต่ก็ไม่รู้ว่าผลกระทบจากประโยคที่หนังใส่มาจะมีผลต่อคนป่วยมากแค่ไหนแต่เชื่อว่ามีแน่นอน
ทั้งหมดทั้งมวล Joker เวอร์ชั่น 'วาคีน ฟินิกซ์' ของผู้กำกับ 'ท็อดด์ ฟิลลิปส์' เป็นโจ๊กเกอร์ที่ถูกตีความได้น่าสนใจและทำหน้าที่เปิดวงสนทนาพูดถึงได้อย่างดี หนังประสบความสำเร็จในระดับที่ทำให้คนสนใจพูดถึงหรือเพิ่มความเข้าใจอาการป่วยทางจิตสำหรับคนไม่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ และตัดสินคนเหล่านี้ไปก่อนที่จะรับรู้เบื้องหลังชีวิตของผู้ป่วย ท้ายสุด ไม่ว่าเนื้อหาสาระของหนังจะตั้งคำถามให้คนดูได้โต้แย้งไปไกลแค่ไหน งานภาพ ดนตรีประกอบ และการแสดงของ 'วาคีน ฟินิกซ์' สมควรลุกขึ้นปรบมือให้จริง ๆ
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่าง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/