สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
น้อง Keichun
บาทหลวงฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาขอพำนักในไทย
สมัยพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ทรงอนุญาต
ด้วยเหตุผลที่จารึกในบันทึกประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ
พระบรมราโชบายทางการเมืองการปกครอง ซึ่งมี
หลายชนชาติได้เข้ามาค้าขายกับไทยยุคนั้น
ความสัมพันธ์ไทยกับฝรั่งเศส ออกแนวเผยแพร่
ศาสนา เมื่อนักบวชเรียนตนเอง ออกเสียง ฟะ รอง เซ
จึงเป็นที่มา คำว่า ฝรั่งเศส ที่คนไทยเลียนเสียงตาม
ทำนองเดียวกัน เมื่อนักบวชเผยแพร่ศาสนาเป็น
ผู้สอน จึงมีคำในภาษาฝรั่งเศส ที่เรียกคน อัง เกล
แผลงมาเป็น อังกฤษ ในที่สุด
ในยุคก่อน มีเรือสินค้า นำมาจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ในภาษาที่ใช้สนทนา โดยผู้ทำการค้าขายและนักบวช
จึงเรียกชื่อ เป็นเสียงที่มีอยู่ในคำของภาษาฝรั่งเศส
ตามบุคคลต่างชาติ ที่เริ่มแนะนำสินค้าของชาตินั้นๆ
ถ้าแท็กเข้าห้อง ประวัติศาสตร์ และภาษาไทย
จะมีผู้ศึกษาเฉพาะสาขามาอธิบายได้ลึกละเอียดแน่
ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน มีคำเรียกชื่อเช่นนั้น
ตามกลุ่มคนทางตะวันตกที่มาติดต่อสัมพันธ์เช่นกัน
จากบทบาททางการเมือง การแพร่ศาสนา และพาณิชย์
ถ้าจะถามว่า ประเทศเหล่านั้นพิเศษอย่างไรหรือ
ขอให้พิจารณาจากมุมของความสัมพันธ์ในยุคโบราณ
การเริ่มต้นโดยบทบาทผู้นำศาสนานิกายตะวันตกมา
สู่ชาวบ้านชาวเมืองไทย ย่อมสืบทอดทางอารยธรรม
ผสมในรูปแบบการสื่อสาร ฝังรากในภาษาแต่โบราณ
คุณเป็นคนช่างสังเกตดีมาก ในภาษาของไทย
ยังมีคำยืม คำจากบาลี สันสกฤต จำนวนมหาศาล
เพราะพระพุทธศาสนา มีต้นทางมาจากอินเดีย
คำศัพท์เขมรในคำไทยมากมาย เพราะใกล้ชิดกัน
เหมือนกับยุคนี้ วัยรุ่นรู้จักคำเกาหลี ญี่ปุ่น ตามดารา
ภาษาจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมสังคม
แต่เมื่อใดมีการกำหนดเป็นแบบแผน โดยราชบัณฑิต
คำศัพท์นั้น จะจารึกอยู่ถาวร และเพิ่มคำอธิบายที่มา
เข่น คำโบราณ คำบาลี สันสกฤต เป็นต้น
มีคำโรมันและคำสันสกฤต จำนวหนึ่ง ที่รากศัพท์
คล้ายกันมาก จึงทำให้คำในภาษาคนละทวีป
มีความเป็นธรรมที่จะออกเสียงหรือสะกดใกล้เคียงกัน
ขอตอบให้แนวทางค้นคว้าพอสังเขป
อย่างที่บอก ภาษามากับมนุษย์ต่างถิ่น และวิชาชีพเขา
เมื่อเขียนลงในจารึกของคนรุ่นเก่า จึงเป็นคำในพื้นที่
ศักดิ์สิทธิ์ คำศัพท์ในศาสนา และคำที่ใช้ในราชสำนัก
จึงติดมาจนปัจจุบัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสากล
บาทหลวงฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาขอพำนักในไทย
สมัยพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ทรงอนุญาต
ด้วยเหตุผลที่จารึกในบันทึกประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ
พระบรมราโชบายทางการเมืองการปกครอง ซึ่งมี
หลายชนชาติได้เข้ามาค้าขายกับไทยยุคนั้น
ความสัมพันธ์ไทยกับฝรั่งเศส ออกแนวเผยแพร่
ศาสนา เมื่อนักบวชเรียนตนเอง ออกเสียง ฟะ รอง เซ
จึงเป็นที่มา คำว่า ฝรั่งเศส ที่คนไทยเลียนเสียงตาม
ทำนองเดียวกัน เมื่อนักบวชเผยแพร่ศาสนาเป็น
ผู้สอน จึงมีคำในภาษาฝรั่งเศส ที่เรียกคน อัง เกล
แผลงมาเป็น อังกฤษ ในที่สุด
ในยุคก่อน มีเรือสินค้า นำมาจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ในภาษาที่ใช้สนทนา โดยผู้ทำการค้าขายและนักบวช
จึงเรียกชื่อ เป็นเสียงที่มีอยู่ในคำของภาษาฝรั่งเศส
ตามบุคคลต่างชาติ ที่เริ่มแนะนำสินค้าของชาตินั้นๆ
ถ้าแท็กเข้าห้อง ประวัติศาสตร์ และภาษาไทย
จะมีผู้ศึกษาเฉพาะสาขามาอธิบายได้ลึกละเอียดแน่
ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน มีคำเรียกชื่อเช่นนั้น
ตามกลุ่มคนทางตะวันตกที่มาติดต่อสัมพันธ์เช่นกัน
จากบทบาททางการเมือง การแพร่ศาสนา และพาณิชย์
ถ้าจะถามว่า ประเทศเหล่านั้นพิเศษอย่างไรหรือ
ขอให้พิจารณาจากมุมของความสัมพันธ์ในยุคโบราณ
การเริ่มต้นโดยบทบาทผู้นำศาสนานิกายตะวันตกมา
สู่ชาวบ้านชาวเมืองไทย ย่อมสืบทอดทางอารยธรรม
ผสมในรูปแบบการสื่อสาร ฝังรากในภาษาแต่โบราณ
คุณเป็นคนช่างสังเกตดีมาก ในภาษาของไทย
ยังมีคำยืม คำจากบาลี สันสกฤต จำนวนมหาศาล
เพราะพระพุทธศาสนา มีต้นทางมาจากอินเดีย
คำศัพท์เขมรในคำไทยมากมาย เพราะใกล้ชิดกัน
เหมือนกับยุคนี้ วัยรุ่นรู้จักคำเกาหลี ญี่ปุ่น ตามดารา
ภาษาจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมสังคม
แต่เมื่อใดมีการกำหนดเป็นแบบแผน โดยราชบัณฑิต
คำศัพท์นั้น จะจารึกอยู่ถาวร และเพิ่มคำอธิบายที่มา
เข่น คำโบราณ คำบาลี สันสกฤต เป็นต้น
มีคำโรมันและคำสันสกฤต จำนวหนึ่ง ที่รากศัพท์
คล้ายกันมาก จึงทำให้คำในภาษาคนละทวีป
มีความเป็นธรรมที่จะออกเสียงหรือสะกดใกล้เคียงกัน
ขอตอบให้แนวทางค้นคว้าพอสังเขป
อย่างที่บอก ภาษามากับมนุษย์ต่างถิ่น และวิชาชีพเขา
เมื่อเขียนลงในจารึกของคนรุ่นเก่า จึงเป็นคำในพื้นที่
ศักดิ์สิทธิ์ คำศัพท์ในศาสนา และคำที่ใช้ในราชสำนัก
จึงติดมาจนปัจจุบัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสากล
ความคิดเห็นที่ 17
โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนชาติอื่นๆ และทรงอิทธิพลในภูมิภาคมายาวนานถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาษาโปรตุเกสกลายเป็นภาษากลาง (lingual franca) ที่ใช้ติดต่อกับชาติตะวันตกในภูมิภาคนี้ครับ
สำหรับสยามก็ปรากฏหลักฐานว่าใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลางติดต่อกับชาติตะวันตกมายาวนาน ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ยังต้องเขียนเป็น ๓ ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโปรตุเกส ในฉบับภาษาไทยมีการแปลทับศัพท์ภาษาโปรตุเกส เช่น เรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า "อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี" ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสคือ envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลสนธิสัญญาฉบับภาษาฝรั่งเศส ได้แปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง
ในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) หรือ โกษาปาน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๙ มีหลายคำที่เรียกทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส เช่น
- อีงบาศโคร มาจากภาษาโปรตุเกสคือ embaixador หรือ ambassador ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทูต
- ฝีดาวู มาจากภาษาโปรตุเกสคือ fidalgo (ฟิดาลกู) ตรงกับคำว่า hidalgo ในภาษาสเปน หมายถึงชนชั้นผู้ดี
- อีศปาญะ มาจาก ภาษาโปรตุเกสคือ Espanha แปลว่าชาวสเปน
- ซัวเอศเลนเซีย มาจากภาษาโปรตุเกสคือ Suá Excellencia แปลว่า ฯพณฯ
บันทึกของพระอธิการ เดอ ชัวซีย์ (François Timoléon, abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ.๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญ
และถึงแม้ว่าโปรตุเกสจะเสื่อมอำนาจในแถบนี้ไปแล้วก็ปรากฏว่าไทยยังคงใช้ภาษาโปรตุเกสมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างที่ปรากฏว่าสนธิสัญญาเบอร์นีในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังทำเป็น ๔ ภาษาคือไทย อังกฤษ โปรตุเกส มลายู เช่นเดียวกับสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ค.ศ. ๑๘๓๓ ระหว่างสยามกับสหรัฐอเมริกาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังต้องเขียนเป็น ๔ ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาโปรตุเกส กว่าที่ภาษาอังกฤษจะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาค ก็ช่วงยุคล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ครับ
ด้วยเหตุนี้ การเรียกชื่อประเทศส่วนใหญ่จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกตามภาษาอังกฤษ แต่อาจเรียกด้วยชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นได้ครับ นอกจากนี้หลายประเทศสยามก็รู้จักมาก่อนติดต่อกับชาติตะวันตกเสียอีกครับ
อังกฤษ ปรากฏเรียกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา (อาจมีสะกดเป็น อังกริด หรืออื่นๆ) มีการสันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์เดิมคือ Angles ส่วนตัวแล้วผมไม่คิดว่ามาจาก Inglês ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง เพราะออกเสียงไม่เหมือนเสียทีเดียวครับ และไม่น่ามาจาก anglais ในภาษาฝรั่งเศส เพราะคำนี้ปรากฏหลักฐานในภาษาไทยก่อนฝรั่งเศสเข้ามาในสยาม แต่น่าจะรับมาจากอินเดียที่รับมาจากโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง เพราะในภาษาฮินดีเรียกชาวอังกฤษว่า aṅgrez (अंग्रेज़) หรือ aṅgrezī (अंग्रेज़ी)
แต่ก็มีผู้เสนอว่าน่าจะมาจากคำว่า Anglish ในภาษาอังกฤษโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในคำที่ใช้เรียกชาวอังกฤษในภาษาพูด โดยคำนี้มีความหมายถึงภาษาอังกฤษดั้งเดิมที่ไม่มีภาษาต่างประเทศเจือปน
ฝรั่งเศส เอกสารในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งเป็นยุคแรกที่ฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาสยาม เรียกแยกระหว่างชื่อประเทศกับชื่อภาษาและชนชาติ โดยเรียกชื่อประเทศว่า ฝรังษ สันนิษฐานว่ามาจาก França ในภาษาโปรตุเกส เรียกชื่อภาษาและชนชาติว่า ฝรังเสด สันนิษฐานว่ามาจาก Francês ในภาษาโปรตุเกส แต่ภายหลังเรียกรวมเป็น ฝรั่งเศส ทั้งหมด
ฝรังษ อาจเพี้ยนมาจากภาษาฝรั่งเศสโดยตรงก็ได้ เพราะบันทึกออกพระวิสุทสุนธรมีการแปลทับศัพท์ Vive le Roi de France ว่า "วีเลรัวเดฝรังษ" ตรงกัน ทั้งนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ยังใช้ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง (Middle french) ออกเสียงอักษร r เหมือน ร อยู่
โปรตุเกส พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมส่งไปถึงอุปราชเมืองกัวเรียกว่า ปรตุการ สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์เรียกว่า ปตุกการ จดหมายเหตุรับราชทูตโปรตุเกส พ.ศ. ๒๓๒๙ สมัยรัชกาลที่ ๑ เรียก ฝารังปัศตุกัน ซึ่งเข้าใจว่าเพี้ยนมาจาก Portugal ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง
มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ปรากฏเพี้ยนเป็น พุทะเกต พุทเกต แต่ยังเรียกประเทศว่า ปะตูกัน ในรัชกาลที่ ๔ ปรากฏเรียก ปอตุกัล โปรตุคอล โปรคุเกส โปรตุเคส จนกลายเป็น โปรตุเกส แบบปัจจุบัน จึงเข้าใตว่าในสมัยรัตนโกสินทร์เปลี่ยนมาเรียกชื่อโปรตุเกสตามคำว่า Português แทน
รายละเอียดเกี่ยวกับคำเรียกชื่อโปรตุเกสในภาษาไทยอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ครับ http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2010/12/blog-post_13.html
จีน โดยทั่วไปสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจาก ฉิน (秦) ซึ่งเป็นชื่อรัฐทางตะวันตกของจีนในสมัยโบราณตั้งแต่ ๙๐๐ ปีคริสตกาล ก่อนที่ขยายอำนาจรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวแล้วสถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้นเมื่อ ๒๒๑ ปีก่อนคริสตกาล ในสำเนียงจีนเก่า (Old Chinese) มีการวิเคราะห์ว่าออกเสียง [dz]i[n] ภาษาบาลี-ลันสกฤตเขียนว่า จีน (อ่านว่า จีนะ) ปรากฏในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมโบราณของอินเดียก่อนคริสตกาลหลายชิ้น เช่น คัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์มนูศาสตร์ มหาภารตะ จึงอนุมานได้ว่าชื่อนี้ใช้งานเตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้ว และน่าจะก่อนที่ฉินสื่อหวงตี้สถาปนาจักรวรรดิด้วย
นอกจากนี้ก็พบในภาษาเปอร์เซียคือ จีนี (Chīnī چین) หรือ จีน (Chīn) ซึ่งเชื่อว่าถูกส่งต่อให้ภาษาบาลีสันสกฤตอีกต่อหนึ่ง คำนี้ถูกส่งต่อให้ชาติตะวันตกโดยคำว่า China ปรากฏครั้งแรกว่าใช้งานโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสสมัยต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๖ นอกจากนี้ก็ยังมีการแผลงเรียกแตกต่างกันไปในหลายประเทศ https://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_China
สำหรับไทย เข้าใจว่ารับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เพราะภูมิภาคอุษาคเนย์มีการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่โบราณครับ
เกาหลี มาจากชื่ออาณาจักร โครยอ (高麗) ที่ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เกาหลี มีหลักฐานว่าสยามเคยเจริญสัมพันธไมตรีกับเกาหลีมาตั้งแต่ปลายสมัยอาณาจักรโครยอ จึงเป็นไปได้ที่สยามจะยังเรียกชื่อเดิมอยู่แม้ว่าอาณาจักรโครยอจะล่มสลายไปแล้วถูกแทนที่ด้วยโชซอนในเวลาต่อมาครับ https://ppantip.com/topic/38483115
ญี่ปุ่น สันนิษฐานว่ามาจาก 日本 คือชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยน ออกเสียงว่า ยิดปุ้น Ji̍t-pún
พม่า พม่ามีชื่อเรียกชนชาติของตนเองแต่โบราณคือ มรน์มา (မြန်မာ) ซึ่งปัจจุบันออกเสียงว่า มฺยันมา/เมียนมา ซึ่งใช้งานแบบเป็นทางการ อีกชื่อคือ พมา (ဗမာ) มักใช้เป็นภาษาพูดซึ่งเป็นการกร่อนเสียงมาจาก มฺยันมา อีกต่อหนึ่ง พมา ก็คือคำว่า พม่า ในภาษาไทยสยาม ส่วนภาษาไท-ลาวทางเหนือนิยมเรียกว่า ม่าน
กัมพูชา มีรากศัพท์มาจาก กัมโพช (काम्बोज) ในภาษาสันสกฤต ปรากฏในศิลาจารึกของกัมพูชาใช้เป็นชื่อเรียกอาณาจักรตั้งแต่สมัยเจนละ ว่า กัมพุช หรือ กัมวุช กัมพุชา กัมพูชา ไทยรับมาจากเขมรโดยตรงครับ https://www.facebook.com/1765culture/posts/958476237562197/
แถมให้อีกอันคือ ฮอลันดา คำนี้ในเอกสารภาษาไทยโบราณเรียกว่า วิลันดา สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาภาษามลายูคือ belanda มาปรากฏใช้ ฮอลันดา ในราวรัชกาลที่ ๔ ครับ
สำหรับสยามก็ปรากฏหลักฐานว่าใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลางติดต่อกับชาติตะวันตกมายาวนาน ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ยังต้องเขียนเป็น ๓ ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโปรตุเกส ในฉบับภาษาไทยมีการแปลทับศัพท์ภาษาโปรตุเกส เช่น เรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า "อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี" ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสคือ envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลสนธิสัญญาฉบับภาษาฝรั่งเศส ได้แปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง
หน้าสุดท้ายของสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๓๐
ระบุว่าทำหนังสือสัญญา ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาปตุกกรร (โปรตุเกส)
ระบุว่าทำหนังสือสัญญา ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาปตุกกรร (โปรตุเกส)
ในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) หรือ โกษาปาน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๙ มีหลายคำที่เรียกทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส เช่น
- อีงบาศโคร มาจากภาษาโปรตุเกสคือ embaixador หรือ ambassador ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทูต
- ฝีดาวู มาจากภาษาโปรตุเกสคือ fidalgo (ฟิดาลกู) ตรงกับคำว่า hidalgo ในภาษาสเปน หมายถึงชนชั้นผู้ดี
- อีศปาญะ มาจาก ภาษาโปรตุเกสคือ Espanha แปลว่าชาวสเปน
- ซัวเอศเลนเซีย มาจากภาษาโปรตุเกสคือ Suá Excellencia แปลว่า ฯพณฯ
บันทึกของพระอธิการ เดอ ชัวซีย์ (François Timoléon, abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ.๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญ
และถึงแม้ว่าโปรตุเกสจะเสื่อมอำนาจในแถบนี้ไปแล้วก็ปรากฏว่าไทยยังคงใช้ภาษาโปรตุเกสมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างที่ปรากฏว่าสนธิสัญญาเบอร์นีในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังทำเป็น ๔ ภาษาคือไทย อังกฤษ โปรตุเกส มลายู เช่นเดียวกับสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ค.ศ. ๑๘๓๓ ระหว่างสยามกับสหรัฐอเมริกาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังต้องเขียนเป็น ๔ ภาษาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาโปรตุเกส กว่าที่ภาษาอังกฤษจะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาค ก็ช่วงยุคล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ครับ
สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ค.ศ. ๑๘๓๓
ด้วยเหตุนี้ การเรียกชื่อประเทศส่วนใหญ่จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกตามภาษาอังกฤษ แต่อาจเรียกด้วยชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นได้ครับ นอกจากนี้หลายประเทศสยามก็รู้จักมาก่อนติดต่อกับชาติตะวันตกเสียอีกครับ
อังกฤษ ปรากฏเรียกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา (อาจมีสะกดเป็น อังกริด หรืออื่นๆ) มีการสันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์เดิมคือ Angles ส่วนตัวแล้วผมไม่คิดว่ามาจาก Inglês ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง เพราะออกเสียงไม่เหมือนเสียทีเดียวครับ และไม่น่ามาจาก anglais ในภาษาฝรั่งเศส เพราะคำนี้ปรากฏหลักฐานในภาษาไทยก่อนฝรั่งเศสเข้ามาในสยาม แต่น่าจะรับมาจากอินเดียที่รับมาจากโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง เพราะในภาษาฮินดีเรียกชาวอังกฤษว่า aṅgrez (अंग्रेज़) หรือ aṅgrezī (अंग्रेज़ी)
แต่ก็มีผู้เสนอว่าน่าจะมาจากคำว่า Anglish ในภาษาอังกฤษโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในคำที่ใช้เรียกชาวอังกฤษในภาษาพูด โดยคำนี้มีความหมายถึงภาษาอังกฤษดั้งเดิมที่ไม่มีภาษาต่างประเทศเจือปน
ฝรั่งเศส เอกสารในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งเป็นยุคแรกที่ฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาสยาม เรียกแยกระหว่างชื่อประเทศกับชื่อภาษาและชนชาติ โดยเรียกชื่อประเทศว่า ฝรังษ สันนิษฐานว่ามาจาก França ในภาษาโปรตุเกส เรียกชื่อภาษาและชนชาติว่า ฝรังเสด สันนิษฐานว่ามาจาก Francês ในภาษาโปรตุเกส แต่ภายหลังเรียกรวมเป็น ฝรั่งเศส ทั้งหมด
ฝรังษ อาจเพี้ยนมาจากภาษาฝรั่งเศสโดยตรงก็ได้ เพราะบันทึกออกพระวิสุทสุนธรมีการแปลทับศัพท์ Vive le Roi de France ว่า "วีเลรัวเดฝรังษ" ตรงกัน ทั้งนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ยังใช้ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง (Middle french) ออกเสียงอักษร r เหมือน ร อยู่
สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๓๐ มีคำว่า "ฝรังษ" และ "ฝรังเสด"
โปรตุเกส พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมส่งไปถึงอุปราชเมืองกัวเรียกว่า ปรตุการ สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์เรียกว่า ปตุกการ จดหมายเหตุรับราชทูตโปรตุเกส พ.ศ. ๒๓๒๙ สมัยรัชกาลที่ ๑ เรียก ฝารังปัศตุกัน ซึ่งเข้าใจว่าเพี้ยนมาจาก Portugal ในภาษาโปรตุเกสโดยตรง
มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ปรากฏเพี้ยนเป็น พุทะเกต พุทเกต แต่ยังเรียกประเทศว่า ปะตูกัน ในรัชกาลที่ ๔ ปรากฏเรียก ปอตุกัล โปรตุคอล โปรคุเกส โปรตุเคส จนกลายเป็น โปรตุเกส แบบปัจจุบัน จึงเข้าใตว่าในสมัยรัตนโกสินทร์เปลี่ยนมาเรียกชื่อโปรตุเกสตามคำว่า Português แทน
รายละเอียดเกี่ยวกับคำเรียกชื่อโปรตุเกสในภาษาไทยอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ครับ http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2010/12/blog-post_13.html
จีน โดยทั่วไปสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจาก ฉิน (秦) ซึ่งเป็นชื่อรัฐทางตะวันตกของจีนในสมัยโบราณตั้งแต่ ๙๐๐ ปีคริสตกาล ก่อนที่ขยายอำนาจรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวแล้วสถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้นเมื่อ ๒๒๑ ปีก่อนคริสตกาล ในสำเนียงจีนเก่า (Old Chinese) มีการวิเคราะห์ว่าออกเสียง [dz]i[n] ภาษาบาลี-ลันสกฤตเขียนว่า จีน (อ่านว่า จีนะ) ปรากฏในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมโบราณของอินเดียก่อนคริสตกาลหลายชิ้น เช่น คัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์มนูศาสตร์ มหาภารตะ จึงอนุมานได้ว่าชื่อนี้ใช้งานเตั้งแต่ก่อนคริสตกาลแล้ว และน่าจะก่อนที่ฉินสื่อหวงตี้สถาปนาจักรวรรดิด้วย
นอกจากนี้ก็พบในภาษาเปอร์เซียคือ จีนี (Chīnī چین) หรือ จีน (Chīn) ซึ่งเชื่อว่าถูกส่งต่อให้ภาษาบาลีสันสกฤตอีกต่อหนึ่ง คำนี้ถูกส่งต่อให้ชาติตะวันตกโดยคำว่า China ปรากฏครั้งแรกว่าใช้งานโดยนักเดินเรือชาวโปรตุเกสสมัยต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๖ นอกจากนี้ก็ยังมีการแผลงเรียกแตกต่างกันไปในหลายประเทศ https://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_China
สำหรับไทย เข้าใจว่ารับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เพราะภูมิภาคอุษาคเนย์มีการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่โบราณครับ
เกาหลี มาจากชื่ออาณาจักร โครยอ (高麗) ที่ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เกาหลี มีหลักฐานว่าสยามเคยเจริญสัมพันธไมตรีกับเกาหลีมาตั้งแต่ปลายสมัยอาณาจักรโครยอ จึงเป็นไปได้ที่สยามจะยังเรียกชื่อเดิมอยู่แม้ว่าอาณาจักรโครยอจะล่มสลายไปแล้วถูกแทนที่ด้วยโชซอนในเวลาต่อมาครับ https://ppantip.com/topic/38483115
ญี่ปุ่น สันนิษฐานว่ามาจาก 日本 คือชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยน ออกเสียงว่า ยิดปุ้น Ji̍t-pún
พม่า พม่ามีชื่อเรียกชนชาติของตนเองแต่โบราณคือ มรน์มา (မြန်မာ) ซึ่งปัจจุบันออกเสียงว่า มฺยันมา/เมียนมา ซึ่งใช้งานแบบเป็นทางการ อีกชื่อคือ พมา (ဗမာ) มักใช้เป็นภาษาพูดซึ่งเป็นการกร่อนเสียงมาจาก มฺยันมา อีกต่อหนึ่ง พมา ก็คือคำว่า พม่า ในภาษาไทยสยาม ส่วนภาษาไท-ลาวทางเหนือนิยมเรียกว่า ม่าน
กัมพูชา มีรากศัพท์มาจาก กัมโพช (काम्बोज) ในภาษาสันสกฤต ปรากฏในศิลาจารึกของกัมพูชาใช้เป็นชื่อเรียกอาณาจักรตั้งแต่สมัยเจนละ ว่า กัมพุช หรือ กัมวุช กัมพุชา กัมพูชา ไทยรับมาจากเขมรโดยตรงครับ https://www.facebook.com/1765culture/posts/958476237562197/
แถมให้อีกอันคือ ฮอลันดา คำนี้ในเอกสารภาษาไทยโบราณเรียกว่า วิลันดา สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาภาษามลายูคือ belanda มาปรากฏใช้ ฮอลันดา ในราวรัชกาลที่ ๔ ครับ
ความคิดเห็นที่ 4
เหตุผลคือ เพราะเราติดต่อกับประเทศเหล่านั้นมานานก่อนภาษาอังกฤษจะเข้ามาในประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ
จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นั้นมาจากภาษาจีน
จีน มาจาก 秦 อ่านว่า Chîn ในภาษาหมิ่นใต้ หมายถึง ราชวงศ์ฉิน และ 秦 ก็ถูกภาษาสันสกฤตรับไปเป็น cīna (จีนะ) กลายเป็น China ฯลฯ
เกาหลี เหมือนชื่อ เกาหลี (Gāolí; 高麗/高丽) ที่แปล (ยุค)โค-รยอ ในภาษาจีนกลาง ส่วนคำว่า โค-รยอ ก็กลายเป็น Korea ในภาษาทางยุโรป
ญี่ปุ่น มาจาก 日本 อาจจะเป็นสำเนียงฮกเกี้ยน (ยิดปุ่น) หรือไม่ก็แต้จิ๋ว (หยิกปึ้ง)
พม่า ก็รับมาจากภาษาพม่าโดยตรง (ဗမာ)
ส่วน กัมพูชา มาจากภาษาสันสกฤต काम्बोज (kāmboja) ผ่านทางภาษาเขมรโบราณ
จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นั้นมาจากภาษาจีน
จีน มาจาก 秦 อ่านว่า Chîn ในภาษาหมิ่นใต้ หมายถึง ราชวงศ์ฉิน และ 秦 ก็ถูกภาษาสันสกฤตรับไปเป็น cīna (จีนะ) กลายเป็น China ฯลฯ
เกาหลี เหมือนชื่อ เกาหลี (Gāolí; 高麗/高丽) ที่แปล (ยุค)โค-รยอ ในภาษาจีนกลาง ส่วนคำว่า โค-รยอ ก็กลายเป็น Korea ในภาษาทางยุโรป
ญี่ปุ่น มาจาก 日本 อาจจะเป็นสำเนียงฮกเกี้ยน (ยิดปุ่น) หรือไม่ก็แต้จิ๋ว (หยิกปึ้ง)
พม่า ก็รับมาจากภาษาพม่าโดยตรง (ဗမာ)
ส่วน กัมพูชา มาจากภาษาสันสกฤต काम्बोज (kāmboja) ผ่านทางภาษาเขมรโบราณ
แสดงความคิดเห็น
ประเทศเหล่านี้มันพิเศษอย่างไร ทำไมชาวไทยถึงไม่เรียกชื่อของมันตาม " ภาษาอังกฤษ "
ประเทศอังกฤษ
ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศโปรตุเกส
ประเทศจีน
ประเทศเกาหลี
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศพม่า
ประเทศกัมพูชา
ที่น่างงอีกอย่าง คือ ภาษาไทยเรียกชื่อของ
ประเทศอังกฤษ
ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศโปรตุเกส
ประเทศจีน
ได้คล้ายอย่างมากกับการออกเสียงของภาษาฝรั่งเศสและของภาษาโปรตุเกส
ประเทศอังกฤษ ออกเสียงได้คล้ายคลึงกับคำว่า Anglais และคำว่า Inglês
ประเทศฝรั่งเศส ออกเสียงได้คล้ายคลึงกับคำว่า Français และคำว่า Francês
ประเทศโปรตุเกส ออกเสียงได้คล้ายคลึงกับคำว่า Portugais และคำว่า Português
ประเทศจีน ออกเสียงได้คล้ายคลึงกับคำว่า Chine