ไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู้ฤดูหนาวบ้านเราแล้ว ไม่รู้ว่าจะหนาวนานไหม อยากจะออกไปท่องเที่ยวหาสถานที่เป็นดอยสูงทางภาคเหนือ ที่อากาศเย็นสบาย นอนดูดาวบนท้องฟ้า และทางช้างเผือก หาตามทริปจัดไปเที่ยวไม่มีที่ไหนจัดไปนอนดูดาวกันเลย บังเอินไปเจอทริปของสมาคมดาราศาสตร์ไทย เขาลงประชาสัมพันธ์จัดไปดูดาว และทางช้างเผือก บนดอยเสมอดาว จังหวัดน่าน (ตรงสเป๊กเราเลย) วันที่ 22-24 พจิกายน 2562 นอกจากไปนอนดูดาว ทางช้างเผือกบนดอยเสมอดาวแล้ว ยังไปท่องเที่ยวในตัวจังหวัดน่านด้วย เช่น วัดภูมินทร์ ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง "กระซิบรักบรรลือโลก" , พระบรมธาตุแช่แห้ง, วัดมิ่งเมือง, พิพิธภัณฑ์สถานแ่งชาติน่าน ที่มี "พญางาช้างดำ" พระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอีกด้วย เป็นทริปที่น่าสนใจม๊ากมาก เราจึงนำข้อมูลมาฝากพื่อนๆ ในกระทู้นี้เพื่อท่านใดจะไปนอนดูดากับเรา
ดาราศาสตร์สัญจร “ลมหนาวเวียงน่าน ดอยเสมอดาว”
ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
เดือนพฤศจิกายนเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ท้องฟ้าเปิดแจ่มใส ลมหนาวเย็นพัดมา เป็นเดือนแห่งท่องเที่ยวสัมผัสกับธรรมชาติขุนเขา ไปสำรวจท้องฟ้านอนดูดาว ดูทางช้างเผือก ดูดาวตก หาดาวชาละวันดาวฤกษ์ชื่อไทย ไปรับลมหนาวบนดอยสูงทางภาคเหนือ กิจกรรมครั้งนี้จะพาท่านไปท่องเที่ยวสถานที่สำคัญในตัวเมืองน่าน และไปนอนดูดาว ล่าทางช้างเผือกกันอีกครั้ง ผู้ที่พลาดไปกับทริปครั้งก่อน สถานที่ที่จะพาไปนอนดูดาวที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่นอนดูดาวที่ดีที่สุด 1 ใน 10 สถานที่ดูดาว ของประเทศไทย ที่ใครๆ ได้ยินชื่อดอยแห่งนี้แล้ว ก็อยากจะไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต ที่นั่นคือ “ดอยเสมอดาว” อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน “ดอยเสมอดาว” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเหมาะกับการดูดาวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นลานกว้าง มีลานดูดาวบนสันเขา เห็นดาวเต็มท้องฟ้าระยิบระยับเหมือนท่านอยู่ท่ามกลางทะเลดาว สถานที่แห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ สามารถเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในที่เดียวกัน เช้าเห็นทะเลหมอก
และยังได้เห็นแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ได้อีกด้วย
สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางกับเรา ไปท่องเที่ยวกับกิจกรรม ดาราศาสตร์สัญจร ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่าน ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตคนเมืองน่าน ตามหา “ปู่ม่าน ย่าม่าน” (กระซิบรักบันลือโลก) ที่วัดภูมินทร์ สักการะศาลหลักเมืองที่ วัดมิ่งเมือง สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ชมพระยางาช้างดำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นของโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน มีแห่งเดียวในไทย กินลม ชมวิว รับลมหนาว นอนดูดาว ดูทางช้างเผือก ดูดาวตก บนดอยสูงที่ “ดอยเสมอดาว” กับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่านครั้งนี้กันกับ “ลมหนาวเวียงน่าน ดอยเสมอดาว” วันศุกร์ที่ 22 – วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2562 (แรม 12 ค่ำ) ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน ดอยเสมอดาว เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีความสูงประมาณ 888 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดเด่นของดอยเสมอดาว คือเป็นดอยสูงมีลานเปิดกว้าง ที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตกได้ในสถานที่เดียวกัน มีจุดชมวิว ลานดูดาวบนสันเขา เป็นสถานที่ดูดาว ที่เห็นดาวได้ชัดเจน และทางช้างเผือกเห็นได้ชัดที่สุดเพราะไม่มีแสงไฟตัวเมืองมารบกวน เหมาะกับการนอนดูดาว ถ่ายภาพดาวและทางช้างเผือก ที่ติด 1 ใน 10 เป็นสถานที่ดูดาวที่ดีที่สุดของประเทศไทย นอกจากกิจกรรมนอนดูดาว ชมทางช้างเผือกแล้ว ดูดาวตก สถานที่ที่ใกล้เคียง ไม่ไกลนักคือ “ผาหัวสิงห์” เป็นหินผาที่มองเห็นเป็นหัวสิงโต ข้างบนเป็นจุดชมวิวดูได้รอบทิศ 360 องศา และที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศรีน่าน มีสถานที่ท่องเที่ยวคือ “ผาชู้” บนยอดผาชู้มีธงชาติไทยอยู่ข้างบนจึงมีที่มา “สายธงชาติที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย” และยังพาท่านไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวจังหวัดน่าน เช่น สักการะศาลหลักเมืองที่วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเยือนเมืองน่าน, วัดภูมินทร์ ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” หรือภาพกระซิบรัก บันลือโลก สักการะพระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งที่หันพระพักตร์ทั้ง 4 ด้าน, วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ที่บรรจุ พระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคล, ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของไทยเป็นของโบราณเก่าแก่ของ เมืองน่าน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน, วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิด ปีเถาะ(ปีกระต่าย), คืนวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เราจะไปนอนค้างคืนบนดอยเสมอดาว(นอนเต็นท์ของอุทยานฯ) ทำกิจกรรมเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น, ใช้แผนที่ฟ้า, สังเกตลักษณะของกลุ่มดาว, ดูทางช้างเผือก, วัตถุท้องฟ้า กระจุกดาว วัตถุ M ต่างๆ, ดาราจักรเพื่อนบ้าน แอนดรอเมดา, ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ชมวงแหวน ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีเคียงคู่กับดาวศุกร์ (ก่อนลับขอบฟ้าช่วงเย็น) วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2562 วันเดินทางกลับมาแวะ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ
กำหนดการเดินทาง
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
20:30 น. – พร้อมกันมาลงทะเบียน ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)
21:00 น. – ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย สู่จังหวัดน่าน
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
07:00 น. – ถึงจังหวัดน่าน มาทานอาหารเช้าที่โรงแรมเทวราช ทำธุระส่วนตัว หรือมาช๊อปปิ้งกาดเช้าตรงข้ามโรงแรม
08:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะศาลหลักเมือง หรือที่ชาวพื้นเมืองน่านรียกว่า“เสามิ่ง” หรือเสามิ่งเมือง จึงเป็นที่มาที่เรียกว่า วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเมืองน่าน ชมพระอุโบสถล้านนาร่วมสมัย ลวดลายปูนปั้นสีขาวอันวิจิตรอลังการสกุลช่างเชียงแสนโบราณ ในวิหารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพตำนานประวัติเมืองน่าน
08:30 น. – ออกเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของประเทศไทย เป็นของโบราณที่เก่าแก่หาชมได้ยากเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของเมืองน่าน ชมเกี่ยวกับชาติพันธุ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพื้นเมืองภาคเหนือรวมทั้งเครื่องใช้ของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
09:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน)
09:30 น. – ออกเดินทางไปนมัสการพระจตุรพักตร์นาคสะดุ้ง พระประธานที่หันพระพักตร์ออกทั้ง 4 ด้าน ที่วัดภูมินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามหนึ่งเดียวของไทย ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงจัตุรมุข ภาพชาดกในพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจหลายภาพ แต่มีภาพเด่นอยู่หนึ่งภาพ เป็นภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน จึงเป็นที่มาของภาพ “กระซิบรักบันลือโลก”
10:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
10:20 น. – ถึงวัดพระธาตุแช่แห้ง พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน องค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย
11:00 น. – เดินทางไปทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารเฮือนเจ้านาง ริมแม่น้ำน่าน พักผ่อนตามอัธยาศัย
12:00 น. – ออกเดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
14:30 น. – ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลงทะเบียนเยี่ยมชม พบเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เดินชม ผาชู้ ที่มีสายธงชาติที่ยาวที่สุดประเทศไทย ชมวิวรอบๆ ที่ทำการอุทยานฯ แล้วออกเดินทางไปยังดอยเสมอดาวที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ
15:00 น. – ถึงดอยเสมอดาว พักผ่อนตามอัธยาศัย นำสัมภาระไว้ในเต็นท์ที่อุทยานฯจัดไว้ให้ที่ลานกางเต็นท์ของอุทยาน
15:30 น. – พร้อมกันที่ลานดูดาวบนสันเขาเริ่มกิจกรรมการบรรยาย การดูดาวเบื้องต้น การขึ้นและตกของดวงดาว ทรงกลมท้องฟ้าการวัดมุมดาว การใช้แผนที่ดาวอย่างถูกต้อง การใช้กล้องโทรทรรศน์ การใช้กล้องสองตา (กล้องส่องทางไกล) ค่ำคืนนี้เราจะสำรวจดูอะไรบ้าง การสังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ สังเกตลักษณะของทางช้างเผือก และเทคนิคการถ่ายภาพดาว และทางช้างเผือก
16:30 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย จะเดินชมวิวถ่ายภาพบนดอยเสมอดาว หรือจะถ่ายภาพกับผาหัวสิงห์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน ชมดวงอาทิตย์ตกบนดอยเสมอดาว สังเกตแสงจักรราศี (Zodiacal Light) หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว (ถ้าไม่มีเมฆทางทิศตะวันตก)
17:00 น. – รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย ช่วงเวลานี้ก่อนดวงอาทิตย์ตกเป็นช่วงที่ท้องฟ้าทิศตะวันตกสวยงามมาก
18:00 น. – มาพร้อมกันที่บนสันเขาลานดูดาว สำรวจท้องฟ้าจริงดวงดาวปรากฏให้เห็น มาดูดาวเคราะห์ 3 ดวงผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีเคียงคู่กับดาวศุกร์ กันก่อนที่ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงนี้จะตกลับขอบฟ้าไปก่อนทางทิศตะวันตก นั่นคือเราจะมีเวลาดูดาวเคราะห์ 3 ดวงนี้ได้เพียง 1 ชั่วโมง ชมดาราจักรเพื่อนบ้านที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาราจักรแอนดรอเมดา อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา สังเกตกลุ่มดาวทางขั้วฟ้าเหนือ และทางซีกฟ้าใต้ โดยใช้แผนที่ฟ้า(แผนที่ดาว) วัดมุมดาว หากลุ่มดาวที่บอกตำแหน่งทิศเหนือ สังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ ตำแหน่งเส้นต่างๆ บนท้องฟ้า สังเกตวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ เช่น M57 (เนบิวลาวงแหวน), M1 (เนบิวลาปู) ซุปเปอร์โนวาในอดีต, กระจุกดาวคู่, สังเกตทางช้างเผือก
22:00 น. – รับประทานอาหารว่าง กาแฟ, โอวัลติน ร้อนๆ คลายความหนาวกัน มีขนมปังปิ้งด้วย
23:00 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือท่านใดที่ยังไม่ง่วงอยากจะถ่ายภาพดาว อยากจะดูดาวต่อ มาดูวัตถุชนิด M เช่น
M35 กระจุกดาวเปิด, M42 เนบิวลาสว่างใหญ่ หรือเนบิวลานายพราน , M45 กระจุกดาวลูกไก่, M4 ผ่านกล้องโทรทรรศน์
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
04:00 น. – ตื่นมาดูกลุ่มดาวขึ้นมาใหม่ก่อนเช้าที่แสงรุ่งอรุณสีทองจะมา สังเกตดาวฤกษ์ดวงแรกชื่อไทย ในเอกภพคือ ดาวชาละวัน (47 Ursae Majoris) อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือกลุ่มดาวจระเข้ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ชมทางช้างเผือกที่เปลี่ยนตำแหน่ง ตามล่าหาดาวเทียมกันจะเห็นได้ดีก่อนเช้ามืด ชมดวงจันทร์เสี้ยวบางเฉียบเคียงคู่กับดาวอังคาร ชมแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ก่อนที่แสงรุ่งอรุณของดวงอาทิตย์ขึ้นขอบฟ้า เป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยากมาก รับลมเย็นไอหมอกที่สันเขา รอชมดวงอาทิตย์ขึ้น ชมทะเลหมอกที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งลอยอ้อยอิ่งบนดอยเสมอดาว ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บสัมภาระส่วนตัวให้เรียบร้อย
08:30 น. – รับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารข้างล่าง พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมตัวเดินทางออกจากดอยเสมอดาว
09:30 น. – ออกเดินทางจากดอยเสมอดาว ไปท่องเที่ยวกันต่อที่ จังหวัดแพร่
13:00 น. – ทานอาหารกลางวันระหว่างการเดินทาง
13:30 น. – ถึงจังหวัดแพร่ ไปวัดพระธาตุช่อแฮเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีขาล (เสือ) และไหว้พระเจ้าทันใจ
14:00 น. – ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
22:00 น. – ถึงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยโดยสวัสดิภาพ
หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 (รับจำนวนจำกัด 14 ท่าน)
อัตราค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมสัญจร
ประเภทที่พักเต็นท์นอนออุทยานฯอัตราค่าสมัครต่อท่าน (บาท) บุคคลทั่วไปค่าสมัครต่อท่าน(บาท) สำหรับสมาชิกฯ
เต็นท์นอน 2 ท่าน พร้อมเครื่องนอน
ที่รองนอน หมอน ถุงนอน 2 ชุด6,350.- บาท6,050.- บาท
เต็นท์นอน 1 ท่าน
ใกล้ลมหนาวมาเยือน อยากไปนอนดูดาว ทางช้างเผือก บนดอยเสมอดาว จ.น่าน
ดาราศาสตร์สัญจร “ลมหนาวเวียงน่าน ดอยเสมอดาว”
ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
เดือนพฤศจิกายนเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ท้องฟ้าเปิดแจ่มใส ลมหนาวเย็นพัดมา เป็นเดือนแห่งท่องเที่ยวสัมผัสกับธรรมชาติขุนเขา ไปสำรวจท้องฟ้านอนดูดาว ดูทางช้างเผือก ดูดาวตก หาดาวชาละวันดาวฤกษ์ชื่อไทย ไปรับลมหนาวบนดอยสูงทางภาคเหนือ กิจกรรมครั้งนี้จะพาท่านไปท่องเที่ยวสถานที่สำคัญในตัวเมืองน่าน และไปนอนดูดาว ล่าทางช้างเผือกกันอีกครั้ง ผู้ที่พลาดไปกับทริปครั้งก่อน สถานที่ที่จะพาไปนอนดูดาวที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่นอนดูดาวที่ดีที่สุด 1 ใน 10 สถานที่ดูดาว ของประเทศไทย ที่ใครๆ ได้ยินชื่อดอยแห่งนี้แล้ว ก็อยากจะไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต ที่นั่นคือ “ดอยเสมอดาว” อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน “ดอยเสมอดาว” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเหมาะกับการดูดาวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นลานกว้าง มีลานดูดาวบนสันเขา เห็นดาวเต็มท้องฟ้าระยิบระยับเหมือนท่านอยู่ท่ามกลางทะเลดาว สถานที่แห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ สามารถเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในที่เดียวกัน เช้าเห็นทะเลหมอก
และยังได้เห็นแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ได้อีกด้วย
สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางกับเรา ไปท่องเที่ยวกับกิจกรรม ดาราศาสตร์สัญจร ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่าน ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตคนเมืองน่าน ตามหา “ปู่ม่าน ย่าม่าน” (กระซิบรักบันลือโลก) ที่วัดภูมินทร์ สักการะศาลหลักเมืองที่ วัดมิ่งเมือง สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ชมพระยางาช้างดำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นของโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน มีแห่งเดียวในไทย กินลม ชมวิว รับลมหนาว นอนดูดาว ดูทางช้างเผือก ดูดาวตก บนดอยสูงที่ “ดอยเสมอดาว” กับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party ท่องเที่ยวแอ่วเมืองน่านครั้งนี้กันกับ “ลมหนาวเวียงน่าน ดอยเสมอดาว” วันศุกร์ที่ 22 – วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2562 (แรม 12 ค่ำ) ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน ดอยเสมอดาว เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีความสูงประมาณ 888 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดเด่นของดอยเสมอดาว คือเป็นดอยสูงมีลานเปิดกว้าง ที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตกได้ในสถานที่เดียวกัน มีจุดชมวิว ลานดูดาวบนสันเขา เป็นสถานที่ดูดาว ที่เห็นดาวได้ชัดเจน และทางช้างเผือกเห็นได้ชัดที่สุดเพราะไม่มีแสงไฟตัวเมืองมารบกวน เหมาะกับการนอนดูดาว ถ่ายภาพดาวและทางช้างเผือก ที่ติด 1 ใน 10 เป็นสถานที่ดูดาวที่ดีที่สุดของประเทศไทย นอกจากกิจกรรมนอนดูดาว ชมทางช้างเผือกแล้ว ดูดาวตก สถานที่ที่ใกล้เคียง ไม่ไกลนักคือ “ผาหัวสิงห์” เป็นหินผาที่มองเห็นเป็นหัวสิงโต ข้างบนเป็นจุดชมวิวดูได้รอบทิศ 360 องศา และที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศรีน่าน มีสถานที่ท่องเที่ยวคือ “ผาชู้” บนยอดผาชู้มีธงชาติไทยอยู่ข้างบนจึงมีที่มา “สายธงชาติที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย” และยังพาท่านไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวจังหวัดน่าน เช่น สักการะศาลหลักเมืองที่วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเยือนเมืองน่าน, วัดภูมินทร์ ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” หรือภาพกระซิบรัก บันลือโลก สักการะพระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งที่หันพระพักตร์ทั้ง 4 ด้าน, วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ที่บรรจุ พระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคล, ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของไทยเป็นของโบราณเก่าแก่ของ เมืองน่าน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน, วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิด ปีเถาะ(ปีกระต่าย), คืนวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เราจะไปนอนค้างคืนบนดอยเสมอดาว(นอนเต็นท์ของอุทยานฯ) ทำกิจกรรมเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น, ใช้แผนที่ฟ้า, สังเกตลักษณะของกลุ่มดาว, ดูทางช้างเผือก, วัตถุท้องฟ้า กระจุกดาว วัตถุ M ต่างๆ, ดาราจักรเพื่อนบ้าน แอนดรอเมดา, ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ชมวงแหวน ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีเคียงคู่กับดาวศุกร์ (ก่อนลับขอบฟ้าช่วงเย็น) วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2562 วันเดินทางกลับมาแวะ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ
กำหนดการเดินทาง
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
20:30 น. – พร้อมกันมาลงทะเบียน ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)
21:00 น. – ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย สู่จังหวัดน่าน
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
07:00 น. – ถึงจังหวัดน่าน มาทานอาหารเช้าที่โรงแรมเทวราช ทำธุระส่วนตัว หรือมาช๊อปปิ้งกาดเช้าตรงข้ามโรงแรม
08:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะศาลหลักเมือง หรือที่ชาวพื้นเมืองน่านรียกว่า“เสามิ่ง” หรือเสามิ่งเมือง จึงเป็นที่มาที่เรียกว่า วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเมืองน่าน ชมพระอุโบสถล้านนาร่วมสมัย ลวดลายปูนปั้นสีขาวอันวิจิตรอลังการสกุลช่างเชียงแสนโบราณ ในวิหารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพตำนานประวัติเมืองน่าน
08:30 น. – ออกเดินทางไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของประเทศไทย เป็นของโบราณที่เก่าแก่หาชมได้ยากเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของเมืองน่าน ชมเกี่ยวกับชาติพันธุ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพื้นเมืองภาคเหนือรวมทั้งเครื่องใช้ของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
09:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน)
09:30 น. – ออกเดินทางไปนมัสการพระจตุรพักตร์นาคสะดุ้ง พระประธานที่หันพระพักตร์ออกทั้ง 4 ด้าน ที่วัดภูมินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามหนึ่งเดียวของไทย ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงจัตุรมุข ภาพชาดกในพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจหลายภาพ แต่มีภาพเด่นอยู่หนึ่งภาพ เป็นภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน จึงเป็นที่มาของภาพ “กระซิบรักบันลือโลก”
10:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
10:20 น. – ถึงวัดพระธาตุแช่แห้ง พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน องค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย
11:00 น. – เดินทางไปทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารเฮือนเจ้านาง ริมแม่น้ำน่าน พักผ่อนตามอัธยาศัย
12:00 น. – ออกเดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
14:30 น. – ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลงทะเบียนเยี่ยมชม พบเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เดินชม ผาชู้ ที่มีสายธงชาติที่ยาวที่สุดประเทศไทย ชมวิวรอบๆ ที่ทำการอุทยานฯ แล้วออกเดินทางไปยังดอยเสมอดาวที่อยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ
15:00 น. – ถึงดอยเสมอดาว พักผ่อนตามอัธยาศัย นำสัมภาระไว้ในเต็นท์ที่อุทยานฯจัดไว้ให้ที่ลานกางเต็นท์ของอุทยาน
15:30 น. – พร้อมกันที่ลานดูดาวบนสันเขาเริ่มกิจกรรมการบรรยาย การดูดาวเบื้องต้น การขึ้นและตกของดวงดาว ทรงกลมท้องฟ้าการวัดมุมดาว การใช้แผนที่ดาวอย่างถูกต้อง การใช้กล้องโทรทรรศน์ การใช้กล้องสองตา (กล้องส่องทางไกล) ค่ำคืนนี้เราจะสำรวจดูอะไรบ้าง การสังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ สังเกตลักษณะของทางช้างเผือก และเทคนิคการถ่ายภาพดาว และทางช้างเผือก
16:30 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย จะเดินชมวิวถ่ายภาพบนดอยเสมอดาว หรือจะถ่ายภาพกับผาหัวสิงห์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน ชมดวงอาทิตย์ตกบนดอยเสมอดาว สังเกตแสงจักรราศี (Zodiacal Light) หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว (ถ้าไม่มีเมฆทางทิศตะวันตก)
17:00 น. – รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย ช่วงเวลานี้ก่อนดวงอาทิตย์ตกเป็นช่วงที่ท้องฟ้าทิศตะวันตกสวยงามมาก
18:00 น. – มาพร้อมกันที่บนสันเขาลานดูดาว สำรวจท้องฟ้าจริงดวงดาวปรากฏให้เห็น มาดูดาวเคราะห์ 3 ดวงผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีเคียงคู่กับดาวศุกร์ กันก่อนที่ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงนี้จะตกลับขอบฟ้าไปก่อนทางทิศตะวันตก นั่นคือเราจะมีเวลาดูดาวเคราะห์ 3 ดวงนี้ได้เพียง 1 ชั่วโมง ชมดาราจักรเพื่อนบ้านที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาราจักรแอนดรอเมดา อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา สังเกตกลุ่มดาวทางขั้วฟ้าเหนือ และทางซีกฟ้าใต้ โดยใช้แผนที่ฟ้า(แผนที่ดาว) วัดมุมดาว หากลุ่มดาวที่บอกตำแหน่งทิศเหนือ สังเกตลักษณะกลุ่มดาวจักรราศีและกลุ่มดาวสำคัญๆ ตำแหน่งเส้นต่างๆ บนท้องฟ้า สังเกตวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ เช่น M57 (เนบิวลาวงแหวน), M1 (เนบิวลาปู) ซุปเปอร์โนวาในอดีต, กระจุกดาวคู่, สังเกตทางช้างเผือก
22:00 น. – รับประทานอาหารว่าง กาแฟ, โอวัลติน ร้อนๆ คลายความหนาวกัน มีขนมปังปิ้งด้วย
23:00 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือท่านใดที่ยังไม่ง่วงอยากจะถ่ายภาพดาว อยากจะดูดาวต่อ มาดูวัตถุชนิด M เช่น
M35 กระจุกดาวเปิด, M42 เนบิวลาสว่างใหญ่ หรือเนบิวลานายพราน , M45 กระจุกดาวลูกไก่, M4 ผ่านกล้องโทรทรรศน์
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
04:00 น. – ตื่นมาดูกลุ่มดาวขึ้นมาใหม่ก่อนเช้าที่แสงรุ่งอรุณสีทองจะมา สังเกตดาวฤกษ์ดวงแรกชื่อไทย ในเอกภพคือ ดาวชาละวัน (47 Ursae Majoris) อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือกลุ่มดาวจระเข้ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ชมทางช้างเผือกที่เปลี่ยนตำแหน่ง ตามล่าหาดาวเทียมกันจะเห็นได้ดีก่อนเช้ามืด ชมดวงจันทร์เสี้ยวบางเฉียบเคียงคู่กับดาวอังคาร ชมแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ก่อนที่แสงรุ่งอรุณของดวงอาทิตย์ขึ้นขอบฟ้า เป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยากมาก รับลมเย็นไอหมอกที่สันเขา รอชมดวงอาทิตย์ขึ้น ชมทะเลหมอกที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งลอยอ้อยอิ่งบนดอยเสมอดาว ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บสัมภาระส่วนตัวให้เรียบร้อย
08:30 น. – รับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารข้างล่าง พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมตัวเดินทางออกจากดอยเสมอดาว
09:30 น. – ออกเดินทางจากดอยเสมอดาว ไปท่องเที่ยวกันต่อที่ จังหวัดแพร่
13:00 น. – ทานอาหารกลางวันระหว่างการเดินทาง
13:30 น. – ถึงจังหวัดแพร่ ไปวัดพระธาตุช่อแฮเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีขาล (เสือ) และไหว้พระเจ้าทันใจ
14:00 น. – ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
22:00 น. – ถึงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยโดยสวัสดิภาพ
หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 (รับจำนวนจำกัด 14 ท่าน)
อัตราค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมสัญจร
ประเภทที่พักเต็นท์นอนออุทยานฯอัตราค่าสมัครต่อท่าน (บาท) บุคคลทั่วไปค่าสมัครต่อท่าน(บาท) สำหรับสมาชิกฯ
เต็นท์นอน 2 ท่าน พร้อมเครื่องนอน
ที่รองนอน หมอน ถุงนอน 2 ชุด6,350.- บาท6,050.- บาท
เต็นท์นอน 1 ท่าน