สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ตอบคุณ okb
ก่อนอื่นเลย ต้องขอให้เข้าใจว่า สิ่งที่จะเขียนนี้
ไม่ใช่การดูแคลนระบบจัดการบริหารงานของบริษัทไทย
แต่จากคำถามของคุณ เหมือนข้ามสองประเด็นสำคัญ
ที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน การประกันสภาวะตกงาน
และเรื่องความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนงานในวัย 50 ปี
รวมทั้งสวัสดิการภาคกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอาชีพ
เพื่อให้เข้าใจตรงประเด็น ก่อนที่คนทำงานบริษัทมีชื่อ
จะหล่นลงไปเป็นคนขายของริมทาง หรือตั้งชุ้มในตลาด
ตามโจทย์ของคุณ ไม่เปิดทางเลือกให้คนตอบอธิบาย
จะเอาการกำจัดความรู้สึกตกต่ำทางสถานะการเงิน
เป็นประเด็น เรื่องนั้น ไม่ใช่วิธีที่ต่างประเทศแก้ปัญหา
ในระดับต้น ประเทศพัฒนาแล้ว เขาจะเตรียมป้องกัน
ปัญหาไว้หลายชั้น ก่อนที่จะปล่อยให้คนทำงานล้มเหลว
ในกรณีบริษัทล้มละลาย ก่อนจะปลดพนักงาน ต้องมี
การกระทำตามขัอสัญญาว่าจ้าง ถ้าพนักงานเคลมประกัน unemployment benefits and insurance
ขอไม่ลงละเอียดนะ จะยาวเกิน คือพูดง่ายๆ คนตกงาน
ที่เคยทำงาน จะมีสิทธิ์ตามกฎหมายรัฐ ที่จะได้รับเงิน
ไปจนกว่าจะหางานใหม่ได้ ในช่วงระยะที่กำหนดตาม
คุณสมบัติ หากไม่ใช่ความผิดพนักงาน บริษัทต้องจ่าย
เป็นเบี้ยเลี้ยงสวัสดิผล และในกรณีบริษัทล้มละลาย
แล้วไม่มีจ่าย หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงต่อคนหมู่มาก
อันนั้นจะมีกองทุนสวัสดิการพนักงาน ที่ภาคเอกชนหรือ
หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องบริหารไฟแนนซ์
เขาจะมีทางเลือกให้กับบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้น
ในแง่ปัจเจกบุคคล กลุ่มชาวต่างชาติในต่างประเทศ
ที่เคยทำงานในออฟฟิศ ในระยะเวลาที่นานกว่า 25 ปี
ระดับการศึกษาสูง คงมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่พออายุ
เพียง 50 ปี แล้วจะไปตกจุดเร่ขายของริมทางเท้า
ซึ่งทำไม่ได้ ตามกฎเมืองและกฎพื้นที่และกฎพาณิชย์
ไม่ใช่เมืองไทย นึกจะหาบอะไรไปตามซอยก็ได้ตามใจ
พนักงานออฟฟิศในต่างประเทศ จะไม่ฝ่าฝืนกติกานี้
เพราะมีทางเลือกอื่น มีระบบวางแผนป้องกันหนี้สิน
และระบบทดรองจ่ายหนี้ หรือระบบที่อยู่อาศัยคนจน
ระบบที่อยู่อาศัยคนชรา ซึ่งยังมีสวัสดิการสุขภาพ
และหน่วยสวัสดิการอาหาร ที่เรียกว่า food bank
เพราะฉะนั้น คุณคิดเอง ว่าบริษัทล้ม คนฝรั่งหมดตัว
เป็นภาพที่คุณนึกเอง โดยเอาไปเทียบกับเหตุในไทย
ซึ่งถามว่ามีคนที่สถานะการเงินพลิกแล้วต้องเร่ร่อน
มากเพียงใด จากสถิติ ปีที่แล้ว โฮมเลสสหรัฐ 0.17 %
ตัวเลขห้าแสนกว่าคน จากประชากรสามร้อยสามสิบล้าน นักประชากรศาสตร์ ระบุว่า อีก 40 ปี พลเมืองสหรัฐจะเพิ่มเป็น 400 ล้านคน โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด นั่นหมายถึงระบบทั้งหมดจะป้องกันและแก้ปัญหา
ในประเทศพัฒนาแล้ว มีการสร้างหมู่บ้านสวัสดิการ
เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ทั้งวัยเกษียณไม่ทำงาน หรือป่วยไข้
และหมู่บ้าน 55 ที่ยังทำงานแต่ในชุมชนนี้ไม่มีวัยอ่อน
และเป็นโครงการพัฒนาแรงงานอายุมากกว่า 55-65 ปี
ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง พึ่งพาตนเองได้ ให้มีรายได้ที่ดี
ซึ่งสร้างมานานกว่า 60-70 ปี บางพื้นที่นานกว่านี้มาก
แปลว่า ในต่างประเทศ เขาดูแลคนกลุ่มสูงวัยมาตลอด
เพื่อป้องกันสภาพไร้บ้าน หรือปราศจากคนดูแลยามชรา
หากจะมีขึ้น คนเหล่านี้จะมาสู่พื้นที่ซีเนียร์คอมมิวนิตี้
ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ตกทุกข์ได้ยาก จะเข้าไปอยู่
ในภาคประชาสงเคราะห์ หรือหน่วยดูแลคนทุพพลภาพ
มีทั้งอพาร์ตเมนต์ที่อยู่ใกล้คลีนิค และหรือมีพยาบาล
ในหมู่บ้านคนชรา ซึ่งเป็นองค์กรที่บริหารอย่างมีระบบ
มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สิ่งแวดล้อมดีมากอยู่ในธรรมชาติ
และหมู่บ้านสูงวัยบางที่ มีแต่อดีตคนระดับแพทย์ต่างๆ
หรือศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยท้อปเท็นเท่านั้นก็มี
คุณประเมินค่าราคาชีวิตของคนอายุ 50 ในต่างประเทศ
ต่ำกว่าความเป็นจริงมากนะ เพราะพนักงานตามบริษัท
มีความรู้พื้นฐาน และมีประสบการณ์นำไปพัฒนาต่อได้
ไม่ใช่เด็กจบม สามตามตจว พอตกงานเลยหมดอนาคต
ในต่างประเทศ มีงานอาชีพมากมาย ถ้าอยู่ถูกกฎหมาย
ย้ายถิ่นฐานหางานได้ ก่อนปิดบริษัท ต้องแจ้งล่วงหน้า
ให้หาช่องทางใหม่ บางแห่งแจ้งกันก่อนนานพอสมควร
ทุกตำแหน่งงานมีสัญญา ทุกหน่วยแผนกมีแผนเลื่อนขั้น
ทำกลางคืนมีสวัสดิการภาคค่ำ ทำได้เกินวัย 75 ปีก็มี
ตราบใดที่ยังไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อหน่วยงานนั้นๆ
คนๆหนึ่งทำได้หลายงาน ตราบใดที่ถูกต้องและสุจริต
ก่อนจะจบงานที่หนึ่ง เขาส่งเรซูเม่ไปที่อื่นได้อีกหลายที่
อนาคตไม่หมดกันง่าย ถ้าบุคคลนั้นยังสามารถทำงาน
สำหรับการขายของ ที่จริงขำมากเลย ที่เห็นคำถาม
เพราะบ้านเศรษฐีก็เปิดการาจเซล แบบทำเล่นๆเห็นๆ
ยิ่งช่วงนี้ ใกล้เทศกาล บ้านสวยๆ ที่ผู้มีอันจะกินอยู่
เขาเปิดโรงรถ เอาของคริสตัล คริสตมาส เครื่องโชว์
ของประดับออกมาตั้งโต๊ะหน้าบ้าน มีตุ๊กตาสวยและถูก
คนขายยิ้มแย้มดี จอดรถแวะดูเล่น ไม่มีใครอายที่ขาย
แทบเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนจะเปลี่ยนแปลง ขายของ
เพราะจะย้ายบ้าน หรือเปลี่ยนงาน เปลี่ยนถิ่นที่อยู่ใหม่
ส่วนเรื่องจุกจิกที่คุณอยากรู้ ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์
อะไรที่จะต้องสนใจ เจ้าถิ่น ปากหอยปากปูอะไรแบบนั้น
คือ เอาอย่างนี้ดีกว่าไหม ต่างประเทศมีระบบแก้ไข
สุขภาพจิตของคนจร หรือคนไร้บ้านไร้งานอย่างไรบ้าง
จากสถิติ ที่ค้นมา มีmental illness ยึ่สิบห้าเปอร์เซนต์
ในกลุ่มคนพเนจร ซึ่งส่วนมากรากฐานมาจากความยากจนอยู่ก่อน มาจากการขาดที่อยู่เพราะไม่มีงาน
มาแต่แรก ทีตัวอย่างน้อยมาก ที่คนเคยทำงานออฟฟิศ
ที่มีการศึกษาเฉพาะสาขา จะลงไปตรงนั้น สมมุติขาด
รายได้จริงๆ ก็ย้ายถิ่นฐาน ไปหางานที่เปิดรับอยู่ทั่วไป
เข้าใจที่เขียนนี้ใช่ไหม คือ ประเทศที่มีการบริหาร
ของภาครัฐที่ให้การศึกษาต่อเยาวชนมาอย่างใส่ใจ
จะมีการรองรับในทุกระดับ โดยฐานงานอาชีพต่างๆ
และโอกาสในการป้องกันความล้มเหลวทางการเงิน
จะมีสูงขึ้น ตามระดับของวิชาชีพเป็นขั้นๆไป ทุกคนที่
ผ่านการทำงาน จ่ายภาษีให้รัฐ มีสวัสดิการตามกำหนด
ในวัยชราเบิกออกมาใช้คู่กับรายได้ กู้เงินลงทุนใหม่ได้
ทำธุรกิจย่อยๆได้เอง หรือช่องทางอื่นๆ ทำงานอิสระได้
แม้แต่การเคลมล้มละลาย ไม่ใช่หมดเนื้อหมดตัวจบสิ้น
แต่กฎหมายช่วยให้บรรเทาหนึ้สิน และดำรงชีวิตอยู่ได้
ตรงนี้ที่คุณต้องอันเดอร์สแตนด์ให้ดี ไม่เหมือนที่ไทย
ล้มละลายฆ่าตัวตาย หรือเอาปี๊บคลุมหัว โน ค่ะ โน
คุณสามารถอยู่ได้สบายเป็นสิบปี ที่เขากำหนดเป็นคนที่
เคลมล้มละลาย เช่นร้านไทยล้มละลายตัวเองมีเกลื่อน
พอครบกำหนด ทำงานใหม่สร้างเครดิตใหม่ ช้าไปบ้าง
พอทำงานได้ ธนาคารให้กู้เงินได้ ก็มีชีวิตใหม่ได้อย่างดี
ระหว่างล้มละลาย มีที่อยู่และมีรถ ไม่ใช่ถูกยึดหมดทุกอย่าง อันนี้ใครๆก็ค้นข้อมูลกฎหมายได้นะ ถ้าสนใจจะรู้
นั่นคือเป้าประสงค์ คือช่วยให้ดำรงชีวิตได้เพื่อตั้งตัวต่อ
คนมากมายไปเคลมล้มละลายตนเอง รัฐล้มละลายยังมี
ไม่ใช่การลงจบแบบละครไทย เพราะระบบบริหารต่าง
ความอับอายของวัฒนธรรมหนึ่ง ตัดสินคนทั้งโลกไม่ได้
น้อยมากๆ ที่จะเป็นตามจินตนาการของคุณ คือไปจบ
ที่นั่งขายของทางเท้า แล้วอับอาย เพราะสถานะเปลี่ยน
คุณต้องคิดด้วยว่า ต่างประเทศ เขาคิดปัญหานี้มาแล้ว
และจัดระบบทุกอย่าง ให้คนที่มีการศึกษามีชีวิตที่ดีขึ้น
ถ้าคนทำงานมากเท่าไร รัฐบาลก็ได้ภาษีไปบำรุงพัฒนา
สถิติของคนแบบที่คุณอิมเมจิ้น น่าจะเป็นฝรั่งดองติดยา
ไม่ใช่ฝรั่งมีความรู้ ฝรั่งที่เก่งจริงพึ่งตนเองมาตลอดชีวิต
ต่อให้ความรู้น้อย ก็มีสกิลสักอย่าง ก่อนจะลงข้างถนน
มีอีกหลายช่องทางที่เปิดให้เลือก แต่ถ้ายังสนใจมาก
ว่าคนตกทุกข์ได้ยากเขาแก้ปัญหาจิตใจอย่างไร มี
คำตอบอยู่เหมือนกัน ชุมชนแต่ละแห่งจะบริจาคทาน
และในตลาดนัด หรือจุดขายของ จะบอกให้ว่า ของแพง
กว่าตามร้านก็ปรากฏ และมักจะพบว่า บริษัทที่คุมพื้นที่
เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งเขต เรียกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ใครเคยไปฟาร์มเมอร์ จะสังเกตเห็นนะ มีระบบพื้นที่
และระเบียบในการจำหน่าย ตามกติกาสาธารณสุข
ผ่านขั้นตอน เรียกว่า คนตรงนั้นทำงานสุจริตตามกติกา
ไม่มีคำว่าอับอาย แถมมีความรู้ด้านผลิตผลการเกษตร
สูงกว่าชาวเมือง คุณอย่าเอาความรู้สึกตนเองไปตัดสิน
ว่าคนทำงานแบกหามรับจ้าง หรือค้าขายแบกะดินนั้น
ล้วนน่าอายกว่าคนบนห้องแอร์ ทัศนคติของคนไทย
จะเอามาใช้กับวัฒนธรรมผสมของคนแผกพันธุ์ไม่ได้
อีกอย่าง ระบบเงินออมทรัพย์ในธนาคารต่างประเทศ
มีดีลใหม่ๆให้ลูกค้าตลอดเวลา คนที่ทำงานมาถึง 50
จะผ่านความรู้ทางการบริหารการเงินมาพอสมควรแน่
ฝากเงินหมื่นได้เงินหลายร้อย ในระบบบัญชีเปิดใหม่
โดยภาพรวม 50 ไม่ใช่คนเฒ่าที่หมดทางสู้ชีวิตที่นี่แน่
ถ้ามีบ้านอยู่ หรือทำรีไฟแนนซ์ ระบบต่างๆจะมีทางออก
ยกเว้นชะตากรรมนำซัดจริงๆ ไม่ใช่ส่วนใหญ่ในสังคม
และในชุมชนหมู่บ้าน 55 บางพื้นที่มีออดิทอเรี่ยมใหญ่
เปิดให้เป็นสถานที่เลือกตั้ง มีองค์กรให้งบประมาณ
ส่งเสริมบริการฟรีทาง health care และ activiities
คนวัยทำงานที่ยังมีรายได้ประจำ จะบริหารและบริการ
ในแต่ละชุมชนอย่างมีประสิทธิผลเป็นสวัสดิการสังคม
มีความปลอดภัยทางชัยภูมิ และมีกฎของการอยู่ร่วมกัน
พลเมืองที่โตมา ในเมือง จะมีตาข่ายรองรับอยู่หลายชั้น
แต่ก็เป็นความจริง ว่าชนชั้นกลางลำบากมากในสมัยนี้
และตัองออกจากพื้นที่สุขสบายเพราะแพ้พิษเศรษฐกิจ
ปัญหาทางจิตใจแก้ไขได้ และทางที่ดีกว่าคือป้องกัน
ก่อนที่จะไปถึงตรงจุดศูนย์ จะต้องเข้ากระบวนการ
ที่จะรักษาสถานภาพการเงิน ถ้าใช้สิทธิทางไหนได้ก็ทำ
เราคิดว่า คำถามของคุณ เกิดจากการมองทางออกไม่มี
จึงไม่ถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิแรงงานหรือประกันต่างๆ
เพราะสังคมในเมืองไทย ไม่ได้มีตาข่ายรองรับในทุกด้าน ขำๆนะ คือ สะพานโกลเด้นเกท ยังมาถึงยุคที่
สร้างโครงตาข่ายไม่ให้คนไปกระโดดลงไปตายสะดวก
เหมือนยุคก่อน คือ อะไรที่จะช่วยป้องกันวิกฤตได้ก่อน
ต่างประเทศเขาจะคิดถึงการบริการเพื่อมนุษยชาติค่ะ
ลดทอนสภาพคนหมดหนทาง คืองานประชาสงเคราะห์
กับหน่วยงานทั้งหลายเพื่อสิทธิทางสังคม ช่วยกันดูแล
ก่อนที่คนของเขา จะตกระกำ หรืออยู่ในภาวะนั้นแล้ว
ถ้าเป็นพลเมืองของประเทศ สิทธิจะปกป้องได้ตามกฎ
และที่สำคัญ สิทธิที่ลูกจ้างจะฟ้องร้องกรณีไม่เป็นธรรม
ความรู้เรื่องสิทธิจึงเป็นปรากฏการณ์ปกติในทุกวงการ
ต่างจากเมืองไทยมาก บางเรื่องจำกัดสิทธิพนักงานล่าง
และหรือไม่บอกให้ทราบด้วยว่ามีสิทธิ์อะไรที่พึงได้รับ
ทางเลือกก็มีน้อย เพราะประเทศเล็ก ถ้าตั้งคำถามใดๆ
เปรียบเทียบการ แก้ไขปัญหาต่างๆ กับระบบต่างชาติ
ยังห่างไกลอีกหลายช่วง โดยเฉพาะสวัสดิการผู้สูงอายุ
และการเปิดโอกาสในการทำงานแก่ประชาชนทั่วไป
ที่เราสงสัยคือ ทำไมคุณถึงต้องสร้างคำถามให้เกิด
ภาพจุดตกต่ำของชาวต่างชาติ ในจินตนาการเช่นนั้น
โดยกำหนดจุดสุดท้ายมาตายตัวเลย แทนที่จะถามว่า
บริษัทล้มละลาย จัดการอย่างไรกับพนักงานของเขา
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือระบบรัฐมาดูแลหรือไม่
พนักงานมีสิทธิ์อย่างไรในการได้รับความคุ้มครอง ฯ
ก่อนอื่นเลย ต้องขอให้เข้าใจว่า สิ่งที่จะเขียนนี้
ไม่ใช่การดูแคลนระบบจัดการบริหารงานของบริษัทไทย
แต่จากคำถามของคุณ เหมือนข้ามสองประเด็นสำคัญ
ที่เกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน การประกันสภาวะตกงาน
และเรื่องความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนงานในวัย 50 ปี
รวมทั้งสวัสดิการภาคกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอาชีพ
เพื่อให้เข้าใจตรงประเด็น ก่อนที่คนทำงานบริษัทมีชื่อ
จะหล่นลงไปเป็นคนขายของริมทาง หรือตั้งชุ้มในตลาด
ตามโจทย์ของคุณ ไม่เปิดทางเลือกให้คนตอบอธิบาย
จะเอาการกำจัดความรู้สึกตกต่ำทางสถานะการเงิน
เป็นประเด็น เรื่องนั้น ไม่ใช่วิธีที่ต่างประเทศแก้ปัญหา
ในระดับต้น ประเทศพัฒนาแล้ว เขาจะเตรียมป้องกัน
ปัญหาไว้หลายชั้น ก่อนที่จะปล่อยให้คนทำงานล้มเหลว
ในกรณีบริษัทล้มละลาย ก่อนจะปลดพนักงาน ต้องมี
การกระทำตามขัอสัญญาว่าจ้าง ถ้าพนักงานเคลมประกัน unemployment benefits and insurance
ขอไม่ลงละเอียดนะ จะยาวเกิน คือพูดง่ายๆ คนตกงาน
ที่เคยทำงาน จะมีสิทธิ์ตามกฎหมายรัฐ ที่จะได้รับเงิน
ไปจนกว่าจะหางานใหม่ได้ ในช่วงระยะที่กำหนดตาม
คุณสมบัติ หากไม่ใช่ความผิดพนักงาน บริษัทต้องจ่าย
เป็นเบี้ยเลี้ยงสวัสดิผล และในกรณีบริษัทล้มละลาย
แล้วไม่มีจ่าย หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงต่อคนหมู่มาก
อันนั้นจะมีกองทุนสวัสดิการพนักงาน ที่ภาคเอกชนหรือ
หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องบริหารไฟแนนซ์
เขาจะมีทางเลือกให้กับบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้น
ในแง่ปัจเจกบุคคล กลุ่มชาวต่างชาติในต่างประเทศ
ที่เคยทำงานในออฟฟิศ ในระยะเวลาที่นานกว่า 25 ปี
ระดับการศึกษาสูง คงมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่พออายุ
เพียง 50 ปี แล้วจะไปตกจุดเร่ขายของริมทางเท้า
ซึ่งทำไม่ได้ ตามกฎเมืองและกฎพื้นที่และกฎพาณิชย์
ไม่ใช่เมืองไทย นึกจะหาบอะไรไปตามซอยก็ได้ตามใจ
พนักงานออฟฟิศในต่างประเทศ จะไม่ฝ่าฝืนกติกานี้
เพราะมีทางเลือกอื่น มีระบบวางแผนป้องกันหนี้สิน
และระบบทดรองจ่ายหนี้ หรือระบบที่อยู่อาศัยคนจน
ระบบที่อยู่อาศัยคนชรา ซึ่งยังมีสวัสดิการสุขภาพ
และหน่วยสวัสดิการอาหาร ที่เรียกว่า food bank
เพราะฉะนั้น คุณคิดเอง ว่าบริษัทล้ม คนฝรั่งหมดตัว
เป็นภาพที่คุณนึกเอง โดยเอาไปเทียบกับเหตุในไทย
ซึ่งถามว่ามีคนที่สถานะการเงินพลิกแล้วต้องเร่ร่อน
มากเพียงใด จากสถิติ ปีที่แล้ว โฮมเลสสหรัฐ 0.17 %
ตัวเลขห้าแสนกว่าคน จากประชากรสามร้อยสามสิบล้าน นักประชากรศาสตร์ ระบุว่า อีก 40 ปี พลเมืองสหรัฐจะเพิ่มเป็น 400 ล้านคน โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด นั่นหมายถึงระบบทั้งหมดจะป้องกันและแก้ปัญหา
ในประเทศพัฒนาแล้ว มีการสร้างหมู่บ้านสวัสดิการ
เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ทั้งวัยเกษียณไม่ทำงาน หรือป่วยไข้
และหมู่บ้าน 55 ที่ยังทำงานแต่ในชุมชนนี้ไม่มีวัยอ่อน
และเป็นโครงการพัฒนาแรงงานอายุมากกว่า 55-65 ปี
ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง พึ่งพาตนเองได้ ให้มีรายได้ที่ดี
ซึ่งสร้างมานานกว่า 60-70 ปี บางพื้นที่นานกว่านี้มาก
แปลว่า ในต่างประเทศ เขาดูแลคนกลุ่มสูงวัยมาตลอด
เพื่อป้องกันสภาพไร้บ้าน หรือปราศจากคนดูแลยามชรา
หากจะมีขึ้น คนเหล่านี้จะมาสู่พื้นที่ซีเนียร์คอมมิวนิตี้
ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ตกทุกข์ได้ยาก จะเข้าไปอยู่
ในภาคประชาสงเคราะห์ หรือหน่วยดูแลคนทุพพลภาพ
มีทั้งอพาร์ตเมนต์ที่อยู่ใกล้คลีนิค และหรือมีพยาบาล
ในหมู่บ้านคนชรา ซึ่งเป็นองค์กรที่บริหารอย่างมีระบบ
มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สิ่งแวดล้อมดีมากอยู่ในธรรมชาติ
และหมู่บ้านสูงวัยบางที่ มีแต่อดีตคนระดับแพทย์ต่างๆ
หรือศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยท้อปเท็นเท่านั้นก็มี
คุณประเมินค่าราคาชีวิตของคนอายุ 50 ในต่างประเทศ
ต่ำกว่าความเป็นจริงมากนะ เพราะพนักงานตามบริษัท
มีความรู้พื้นฐาน และมีประสบการณ์นำไปพัฒนาต่อได้
ไม่ใช่เด็กจบม สามตามตจว พอตกงานเลยหมดอนาคต
ในต่างประเทศ มีงานอาชีพมากมาย ถ้าอยู่ถูกกฎหมาย
ย้ายถิ่นฐานหางานได้ ก่อนปิดบริษัท ต้องแจ้งล่วงหน้า
ให้หาช่องทางใหม่ บางแห่งแจ้งกันก่อนนานพอสมควร
ทุกตำแหน่งงานมีสัญญา ทุกหน่วยแผนกมีแผนเลื่อนขั้น
ทำกลางคืนมีสวัสดิการภาคค่ำ ทำได้เกินวัย 75 ปีก็มี
ตราบใดที่ยังไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อหน่วยงานนั้นๆ
คนๆหนึ่งทำได้หลายงาน ตราบใดที่ถูกต้องและสุจริต
ก่อนจะจบงานที่หนึ่ง เขาส่งเรซูเม่ไปที่อื่นได้อีกหลายที่
อนาคตไม่หมดกันง่าย ถ้าบุคคลนั้นยังสามารถทำงาน
สำหรับการขายของ ที่จริงขำมากเลย ที่เห็นคำถาม
เพราะบ้านเศรษฐีก็เปิดการาจเซล แบบทำเล่นๆเห็นๆ
ยิ่งช่วงนี้ ใกล้เทศกาล บ้านสวยๆ ที่ผู้มีอันจะกินอยู่
เขาเปิดโรงรถ เอาของคริสตัล คริสตมาส เครื่องโชว์
ของประดับออกมาตั้งโต๊ะหน้าบ้าน มีตุ๊กตาสวยและถูก
คนขายยิ้มแย้มดี จอดรถแวะดูเล่น ไม่มีใครอายที่ขาย
แทบเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนจะเปลี่ยนแปลง ขายของ
เพราะจะย้ายบ้าน หรือเปลี่ยนงาน เปลี่ยนถิ่นที่อยู่ใหม่
ส่วนเรื่องจุกจิกที่คุณอยากรู้ ไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์
อะไรที่จะต้องสนใจ เจ้าถิ่น ปากหอยปากปูอะไรแบบนั้น
คือ เอาอย่างนี้ดีกว่าไหม ต่างประเทศมีระบบแก้ไข
สุขภาพจิตของคนจร หรือคนไร้บ้านไร้งานอย่างไรบ้าง
จากสถิติ ที่ค้นมา มีmental illness ยึ่สิบห้าเปอร์เซนต์
ในกลุ่มคนพเนจร ซึ่งส่วนมากรากฐานมาจากความยากจนอยู่ก่อน มาจากการขาดที่อยู่เพราะไม่มีงาน
มาแต่แรก ทีตัวอย่างน้อยมาก ที่คนเคยทำงานออฟฟิศ
ที่มีการศึกษาเฉพาะสาขา จะลงไปตรงนั้น สมมุติขาด
รายได้จริงๆ ก็ย้ายถิ่นฐาน ไปหางานที่เปิดรับอยู่ทั่วไป
เข้าใจที่เขียนนี้ใช่ไหม คือ ประเทศที่มีการบริหาร
ของภาครัฐที่ให้การศึกษาต่อเยาวชนมาอย่างใส่ใจ
จะมีการรองรับในทุกระดับ โดยฐานงานอาชีพต่างๆ
และโอกาสในการป้องกันความล้มเหลวทางการเงิน
จะมีสูงขึ้น ตามระดับของวิชาชีพเป็นขั้นๆไป ทุกคนที่
ผ่านการทำงาน จ่ายภาษีให้รัฐ มีสวัสดิการตามกำหนด
ในวัยชราเบิกออกมาใช้คู่กับรายได้ กู้เงินลงทุนใหม่ได้
ทำธุรกิจย่อยๆได้เอง หรือช่องทางอื่นๆ ทำงานอิสระได้
แม้แต่การเคลมล้มละลาย ไม่ใช่หมดเนื้อหมดตัวจบสิ้น
แต่กฎหมายช่วยให้บรรเทาหนึ้สิน และดำรงชีวิตอยู่ได้
ตรงนี้ที่คุณต้องอันเดอร์สแตนด์ให้ดี ไม่เหมือนที่ไทย
ล้มละลายฆ่าตัวตาย หรือเอาปี๊บคลุมหัว โน ค่ะ โน
คุณสามารถอยู่ได้สบายเป็นสิบปี ที่เขากำหนดเป็นคนที่
เคลมล้มละลาย เช่นร้านไทยล้มละลายตัวเองมีเกลื่อน
พอครบกำหนด ทำงานใหม่สร้างเครดิตใหม่ ช้าไปบ้าง
พอทำงานได้ ธนาคารให้กู้เงินได้ ก็มีชีวิตใหม่ได้อย่างดี
ระหว่างล้มละลาย มีที่อยู่และมีรถ ไม่ใช่ถูกยึดหมดทุกอย่าง อันนี้ใครๆก็ค้นข้อมูลกฎหมายได้นะ ถ้าสนใจจะรู้
นั่นคือเป้าประสงค์ คือช่วยให้ดำรงชีวิตได้เพื่อตั้งตัวต่อ
คนมากมายไปเคลมล้มละลายตนเอง รัฐล้มละลายยังมี
ไม่ใช่การลงจบแบบละครไทย เพราะระบบบริหารต่าง
ความอับอายของวัฒนธรรมหนึ่ง ตัดสินคนทั้งโลกไม่ได้
น้อยมากๆ ที่จะเป็นตามจินตนาการของคุณ คือไปจบ
ที่นั่งขายของทางเท้า แล้วอับอาย เพราะสถานะเปลี่ยน
คุณต้องคิดด้วยว่า ต่างประเทศ เขาคิดปัญหานี้มาแล้ว
และจัดระบบทุกอย่าง ให้คนที่มีการศึกษามีชีวิตที่ดีขึ้น
ถ้าคนทำงานมากเท่าไร รัฐบาลก็ได้ภาษีไปบำรุงพัฒนา
สถิติของคนแบบที่คุณอิมเมจิ้น น่าจะเป็นฝรั่งดองติดยา
ไม่ใช่ฝรั่งมีความรู้ ฝรั่งที่เก่งจริงพึ่งตนเองมาตลอดชีวิต
ต่อให้ความรู้น้อย ก็มีสกิลสักอย่าง ก่อนจะลงข้างถนน
มีอีกหลายช่องทางที่เปิดให้เลือก แต่ถ้ายังสนใจมาก
ว่าคนตกทุกข์ได้ยากเขาแก้ปัญหาจิตใจอย่างไร มี
คำตอบอยู่เหมือนกัน ชุมชนแต่ละแห่งจะบริจาคทาน
และในตลาดนัด หรือจุดขายของ จะบอกให้ว่า ของแพง
กว่าตามร้านก็ปรากฏ และมักจะพบว่า บริษัทที่คุมพื้นที่
เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งเขต เรียกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ใครเคยไปฟาร์มเมอร์ จะสังเกตเห็นนะ มีระบบพื้นที่
และระเบียบในการจำหน่าย ตามกติกาสาธารณสุข
ผ่านขั้นตอน เรียกว่า คนตรงนั้นทำงานสุจริตตามกติกา
ไม่มีคำว่าอับอาย แถมมีความรู้ด้านผลิตผลการเกษตร
สูงกว่าชาวเมือง คุณอย่าเอาความรู้สึกตนเองไปตัดสิน
ว่าคนทำงานแบกหามรับจ้าง หรือค้าขายแบกะดินนั้น
ล้วนน่าอายกว่าคนบนห้องแอร์ ทัศนคติของคนไทย
จะเอามาใช้กับวัฒนธรรมผสมของคนแผกพันธุ์ไม่ได้
อีกอย่าง ระบบเงินออมทรัพย์ในธนาคารต่างประเทศ
มีดีลใหม่ๆให้ลูกค้าตลอดเวลา คนที่ทำงานมาถึง 50
จะผ่านความรู้ทางการบริหารการเงินมาพอสมควรแน่
ฝากเงินหมื่นได้เงินหลายร้อย ในระบบบัญชีเปิดใหม่
โดยภาพรวม 50 ไม่ใช่คนเฒ่าที่หมดทางสู้ชีวิตที่นี่แน่
ถ้ามีบ้านอยู่ หรือทำรีไฟแนนซ์ ระบบต่างๆจะมีทางออก
ยกเว้นชะตากรรมนำซัดจริงๆ ไม่ใช่ส่วนใหญ่ในสังคม
และในชุมชนหมู่บ้าน 55 บางพื้นที่มีออดิทอเรี่ยมใหญ่
เปิดให้เป็นสถานที่เลือกตั้ง มีองค์กรให้งบประมาณ
ส่งเสริมบริการฟรีทาง health care และ activiities
คนวัยทำงานที่ยังมีรายได้ประจำ จะบริหารและบริการ
ในแต่ละชุมชนอย่างมีประสิทธิผลเป็นสวัสดิการสังคม
มีความปลอดภัยทางชัยภูมิ และมีกฎของการอยู่ร่วมกัน
พลเมืองที่โตมา ในเมือง จะมีตาข่ายรองรับอยู่หลายชั้น
แต่ก็เป็นความจริง ว่าชนชั้นกลางลำบากมากในสมัยนี้
และตัองออกจากพื้นที่สุขสบายเพราะแพ้พิษเศรษฐกิจ
ปัญหาทางจิตใจแก้ไขได้ และทางที่ดีกว่าคือป้องกัน
ก่อนที่จะไปถึงตรงจุดศูนย์ จะต้องเข้ากระบวนการ
ที่จะรักษาสถานภาพการเงิน ถ้าใช้สิทธิทางไหนได้ก็ทำ
เราคิดว่า คำถามของคุณ เกิดจากการมองทางออกไม่มี
จึงไม่ถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิแรงงานหรือประกันต่างๆ
เพราะสังคมในเมืองไทย ไม่ได้มีตาข่ายรองรับในทุกด้าน ขำๆนะ คือ สะพานโกลเด้นเกท ยังมาถึงยุคที่
สร้างโครงตาข่ายไม่ให้คนไปกระโดดลงไปตายสะดวก
เหมือนยุคก่อน คือ อะไรที่จะช่วยป้องกันวิกฤตได้ก่อน
ต่างประเทศเขาจะคิดถึงการบริการเพื่อมนุษยชาติค่ะ
ลดทอนสภาพคนหมดหนทาง คืองานประชาสงเคราะห์
กับหน่วยงานทั้งหลายเพื่อสิทธิทางสังคม ช่วยกันดูแล
ก่อนที่คนของเขา จะตกระกำ หรืออยู่ในภาวะนั้นแล้ว
ถ้าเป็นพลเมืองของประเทศ สิทธิจะปกป้องได้ตามกฎ
และที่สำคัญ สิทธิที่ลูกจ้างจะฟ้องร้องกรณีไม่เป็นธรรม
ความรู้เรื่องสิทธิจึงเป็นปรากฏการณ์ปกติในทุกวงการ
ต่างจากเมืองไทยมาก บางเรื่องจำกัดสิทธิพนักงานล่าง
และหรือไม่บอกให้ทราบด้วยว่ามีสิทธิ์อะไรที่พึงได้รับ
ทางเลือกก็มีน้อย เพราะประเทศเล็ก ถ้าตั้งคำถามใดๆ
เปรียบเทียบการ แก้ไขปัญหาต่างๆ กับระบบต่างชาติ
ยังห่างไกลอีกหลายช่วง โดยเฉพาะสวัสดิการผู้สูงอายุ
และการเปิดโอกาสในการทำงานแก่ประชาชนทั่วไป
ที่เราสงสัยคือ ทำไมคุณถึงต้องสร้างคำถามให้เกิด
ภาพจุดตกต่ำของชาวต่างชาติ ในจินตนาการเช่นนั้น
โดยกำหนดจุดสุดท้ายมาตายตัวเลย แทนที่จะถามว่า
บริษัทล้มละลาย จัดการอย่างไรกับพนักงานของเขา
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือระบบรัฐมาดูแลหรือไม่
พนักงานมีสิทธิ์อย่างไรในการได้รับความคุ้มครอง ฯ
แสดงความคิดเห็น
ถามคนที่อยู่ต่างประเทศพวกฝรั่งพนักงานออฟฟิตที่เคยอยู่ถ้าวันหนึ่งบริษัทล้มลงแล้วต้องมาขายของริมทางหรือตลาดนัดจะทำใจยังไง
คิดว่า ตอนนั้นน่าจะพวกฝรั่ง ที่อาจจะมีทั้งเจ้าของกิจการ หรือ พนักงานออฟฟิตที่แต่งตัวดี ใส่สูท ผูกเน็กไท แต่งหน้าทาปากสวยๆ และพวกที่เคยคิดว่า อยู่ในกลุ่ม คอมฟอร์ทโซน แต่ ถ้าวันหนึ่ง บริษัทที่ ฝรั่งตัวใหญ่ๆโตๆเหล่านั้น ที่เคยอยู่มันจำเป็นต้องปิดตัว และ อายุเยอะมากๆขึ้นเกิน 50 ปี และ ผมว่าเค้าหางานออฟฟิตก็คงยากขึ้น ในยามที่เศรษฐกิจของประเทศเค้าก็กำลังย่ำแย่
และ สุดท้าย เหล่าบรรดาพวกฝรั่งตัวใหญ่ๆ โตๆ ก็ต้องไปขายของริมทาง ตลาดนัด
คือผมอยากรู้ว่า ตัวของพวกฝรั่งเหล่านั้น เค้าาจะทำใจอย่างไร (ผมเดาเอานะว่านะว่าเค้าคง จะอายๆบ้างอยู่แล้วแระ) จะสู้อย่างไรกับคนที่พร้อมมากลั่นแกล้งอยู่รอบตัว พวกปากหอย ปากปู หรือพวก เจ้าถิ่นที่ขายอยู่ก่อน หรือว่ายิ่งถ้าเจอคนรู้จัก คุณจะทำใจอย่างไรกัน ครับ
ปล. ถ้าคนไทย ท่านใดที่มีประสบการณ์มาตอบ หรือ คนที่เคยล้มตอนปี ต้มยำกุ้งของไทยเราเมื่อ ปี 2540 ก็จะดีมากเลยครับ และ แนวทางของพวกฝรั่งนี้เค้าจะทำใจ อย่างไร รวมไปถึง ฝรั่งคนที่หมดหวังได้สู้ๆต่อไป ให้ไม่อาย นะครับ ขอบคุณมากๆๆ ครับ..