“เมื่อสัตว์ป่าต้องอพยพไปอยู่บนกำแพง”

คนหากิน สัตว์หากิน (เราไม่เบียดเบียนกัน และกัน) ต้นไม้งาม คนงดงาม (งามน้ำใจ ไหลเป็นสายธารชุบชีวิต ทุกฝ่ายเบิกบานมีคน มีต้นไม้) มีสัตว์ป่าาาาาาาาาาาาาาา คุณเคยได้ยินเพลงนี้ไหม คุณนึกถึงอะไร สัตว์ป่า ต้นไม้ ความอุดมสมบูรณ์ใช่ไหม แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มันกำลังจะหายไปจากน้ำมือของมนุษย์เรานั้นเอง ที่เรียกตัวเองว่าสัตว์ประเสริฐ โดยในครั้งนี้พวกเราจะพาคุณไปรู้จักกับศิลปินสายอนุรักษ์ท่านหนึ่ง


 Facebook : Piyasak Khiaosaard
พี่มวย ปิยศักดิ์ เขียวสะอาด ศิลปิน Street Art ชาวไทย ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะลงบนกำแพงตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ ซึ่งตัวพี่มวยเอง เริ่มต้นจากการเรียนจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี2552 จนกระทั่งก็มีโอกาสได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ได้เห็นงานด้านกราฟฟิตี้ สตรีทอาร์ตที่สวยงามอย่างที่เราไม่เคยได้สนใจมาก่อน เลยตั้งใจกลับมาหาข้อมูลศึกษางานด้านนี้ต่อก็ได้เริ่มทำงานด้านนี้ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน อ้าว! กราฟฟิตี้กับสตรีทอาร์ตมันไม่เหมือนกันหรอ???
“graffiti กับ Street Art แตกต่างกันอย่างไร”
Graffiti(กราฟฟิตี้) คือ การเขียนสี พ่นสี ออกมาในรูปแบบ Fonts(ตัวอักษร) เท่านั้น ซึ่งโดยการเริ่มเขียน Taki183 ของหนุ่มชาวกรีกคนนึง ตามรถไฟและกำแพงในนิวยอร์ช สหรัฐอเมริกา

 https://www.wikiart.org/en/taki-183
Street Art(สตรีทอาร์ต) คือ การเขียนหรือพ่นหรือเทคนิคอื่น ในรูปแบบที่ไม่ใช่ Fonts(ตัวอักษร) แต่เป็นการสร้างสรรค์ในรูปแบบของตัวละครหรืออะไรก้ตามที่ไม่ใช่Fonts ซึ่งเป็นการพัฒนามาจาก Graffitiนั้นเอง ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ถึงจะแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนกันคือจะสร้างสรรค์ผลงานบนกำแพง และพื้นที่สาธารณะเหมือนกัน

 Facebook : Piyasak Khiaosaard
ตัวศิลปินเองมีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลจากเมือง ซึ่งบ้านของเขามีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดรวมถึงพื้นที่บริเวณนั้นมีสัตว์ป่าน้อยใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เขาจึงมีความพูกพันธ์กับสัตว์เป็นพิเศษ และหลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี2547 เขาได้อาศัยอยู่หอพักในซอยวัดอุโมงค์ ซึ่งยังคงพอเจอสัตว์ขนาดกลางอย่าง กวาง นกยูง งูเหลือมได้เป็นปกติ แต่หลังจากผ่านไป 5 ปี บริเวณที่เคยเป็นป่าก็กลายสภาพเป็นตึกเป็นหอพักนักศึกษา ซึ่งเขาคิดว่าต้องเป็นอะไรสักอย่างเพื่อสัตว์พวกนี้ และต้องเป็นสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด คือการทำ Street Art(สตรีทอาร์ต) ซึ่งเจตนาแรกคือการนำสัตว์มาใกล้ชิดกับสายตามนุษย์มากที่สุดแม้เพียงช่วงขณะก็ดี

 Facebook : Piyasak Khiaosaard
“จากภาพฝันสู่ความจริงอันน่าเศร้า”
หลังจากนั้นไม่นานศิลปินได้มีโอกาสเดินทางไปทำงานที่อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก ซึ่งภาพที่เขาจิตนาการณ์คือต้องมีต้นไม้ ภูเขาเขียวขจี แต่สิ่งที่เจอกับตรงกันข้าม กลายเป็นภูเขาหัวโล้น แห้งแล้ง ควันและรอยไหม้เต็มพื้นที่ ผลงานที่เขาสร้างสรรค์ก็คือ หมีเมืองไทย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากม้าเมืองทรอย หรือจากภาพยนตร์เรื่อง Ttoy

 Facebook : Piyasak Khiaosaard
แต่ผลงานหมีชิ้นนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการจะยึดเมืองใครเหมือนในภาพยนตร์ แต่เกิดจากการสร้างการประกอบของสัตว์จากการถางป่าที่เป็นบ้านของตัวเอง ทาสีให้น่าให้ถูกจริตของมนุษย์ แล้วก็ขึ้นไปแอบอยู่ข้างบน เพื่อต้องการจะรอดพ้นจากการล่าของมนุษย์

 TEDxChiangMai 2018
ซึ่งตัวศิลปินยังได้กล่าวในงาน TEDxChiangMai “ว่าเราตัดไม้ เราทำลายป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยของตัวเองเรายังพออยู่ได้ แต่ป่าคือบ้านของสัตว์ป่าถ้าไม่มีป่าพวกเขาอยู่ไม่ได้ แต่ถ้าหากวันหนึ่งเราไม่รู้จักรักษา ไม่แน่คำว่า ช้าง พูดไปลูกหลานของท่าน อาจจะนึกภาพไม่ออกก็ได้นะครับ”
ผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ ไม่ใช่แค่ทำเพื่อเป็นแบล็คกราวในการถ่ายรูปแต่ยังแฝงไปด้วยแนวคิดเชิงอนุรักษ์อีกด้วย บ้านเราจะสนใจเรื่องนี้กับอย่างจริงจังสักที ดูบ้านเราในทุกวันนี้สิครับ สัตว์ป่าไร้ที่อยู่ ภูเขา ต้นไม้นั้นกลายสภาพไปหมดแล้ว ฤดูร้อนมีแต่หมอกควัน แห้งแล้ง นั้นเพราะป่าของเรานั้นหายไปมากขึ้น เมื่อป่าหายไปสัตว์ก็มักจะหายไปด้วย ถ้าเราทุกคนไม่ช่วยกันวันข้างหน้าคงเหลือแค่ภาพสัตว์และโคลงกระดูกให้เราได้ชมเท่านั้นเหมือนอย่างในพิพิธภัณฑ์

นาย ชัยพัฒน์ เครือสาร 59120153
นาย ณัฐชนน ชนะชัย 59120186
นาย ศุภกิตติ์ เครือสาร 59120388
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
สาขา ศิลปะและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยพะเยา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่