ตาแหลวแป๋ว ภูมิปัญญาจากบรรพบรุษสู่โมบายแขวนผสมผสานรูปแบบใหม่

ตาแหลวแป๋ว ภูมิปัญญาจากบรรพบรุษสู่โมบายแขวนผสมผสานรูปแบบใหม่
 
ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ผลงานรูปแบบใหม่ที่จะเข้าถึงคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น “ตาแหลว” เครื่องรางล้านนาเก่าแก่จากหลากหลายพื้นที่สู่โมบายแขวนทันสมัย ผลงานของ “นางสาว เกศินี พูนแก้ว” นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปะกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะและออกแบบ ได้นำเสนอพัฒนาตาแหลวในรูปแบบใหม่



 ผลงานตาแหลวแป๋ว (1)



 ผลงานตาแหลวแป๋ว (2)

เกศินี เกิดและเติบโตที่จังหวัดน่าน ที่เป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรมล้านนาอันน่าสนใจ ในจังหวัดน่านตาแหลวถูกนำมาห้อยหน้าประตูบ้านเรือน เพื่อเป็นเครื่องรางป้องกันสิ่งชั่วร้ายเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องความเป็นความตาย ภูตผีวิญญาณ ชาวน่านเชื่อกันว่าตาแหลวจะทำให้ดวงวิญญาณและสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในบ้าน หรือแสดงอาณาเขตศักดิ์สิทธิ์และหวงห้าม เกศินีเธอเห็นว่าวัฒนธรรมเกี่ยวกับตาแหลวเหล่านี้กำลังจางหายไปตามกาลเวลา จึงหยิบยกเอารูปลักษณ์การจักสานที่เป็นเอกลักษณ์ของตาแหลวมาสร้างเป็นโมบายแขวนสำหรับประดับตกแต่ง เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ และมีความสวยงามของตัวตาแหลวขึ้นและดึงดูความสนใจ



 เกศินี พูนแก้ว ผู้สร้างสรรค์ผลงานตาแหล่วแป๋ว

ต๋าแหลว หรือ ตาแหลว เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ จะทำจากตอกหนึ่งก้านที่หักไปมาเป็นแฉก หรือจะทำจากตอกหลายก้านมาสานรวมกันเป็นแฉกก็ได้ สำหรับ คำว่า ต๋าแหลว หรือ ตาเหลว เป็นภาษาเหนือ แต่ถ้าจะเรียกชื่อเป็นภาษากลาง ก็คือ เฉลว ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์เป็นสัญลักษณ์บอกสถานที่ ในอดีตภาคกลางใช้เฉลว เป็นเครื่องบอกด่านเก็บภาษีอากรทางน้ำ หรือที่เรียกว่าการเก็บจังกอบ ถ้าเห็นสัญลักษณ์ เฉลวอยู่ที่ท่า แสดงว่าท่านี้เป็นด่านจังกอบ
แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อล่ะก็ เฉลว จะเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์บ่งบอกถึงเขตห่วงห้าม เขตป้องกันสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดี ชาวบ้านจะนำเฉลวมาประกอบพิธีต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ อาทิ การสู่ขวัญข้าว สืบชะตา ทำบุญบ้าน ทำบุญเมือง มัดติดหน้าบ้าน ปักบนหม้อยา ปักไว้ในที่ไม่ใช้ผีผ่านและที่สำคัญในการประกอบการปลุกเสกที่เป็นพุทธคุณ หรือ พุทธาภิเสก ก็จะมีเฉลวมัดติดกลับรั่ว ๔ ทิศ สำหรับให้พระสงฆ์เจริญมนต์พุทธาภิเษกที่เรียกว่า ราชวัตร เฉลวถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งหวงห้ามอันมีเจ้าของอยู่แล้ว เป็นสัญลักษณ์ความพิเศษอีกด้วย โดยเฉพาะหม้อต้มยาหลังจากปิดหรือไม่ปิด
ด้วยใบตองอ่อนก็ดี จะมีการปักเฉลวเล็กไว้บนหม้อต้มยา มีนัยว่าเพื่อบอกว่าหม้อนี้คือยาต้มนะไม่ใช้น้ำต้มหรือแกงต้ม แต่ทางความเชื่อแล้วหม้อยามีครูบาอาจารย์มีสิ่งศักดิ์สิทธิสถิตอยู่ เพื่อรักษาคุณยาที่ต้มทั้งปวง โบราณจารย์กล่าวว่าอย่าให้ผีข้ามหม้อยา เพราะจะทำให้ยาต้มเสื่อมคุณประโยชน์ ดังนั้นเฉลวเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ป้องกันผีร้ายหรือสิ่งชั่วร้ายทำลายคุณของยา ในการสู่ขวัญข้าว เฉลวถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันมีให้ผีร้ายเข้ามาทำลายพระแม่โพสพ
ที่มา : https://archive.clib.psu.ac.th/online-exhibition/Khwuankhoa/page14.html



 ตาแหลวรูปแบบดัเดิม
(ที่มา : http://3.bp.blogspot.com/-9CezgXNaKY4/UeVZ7i1L9UI/AAAAAAAAAJI/2bmkW6z0wUg/s1600/dscf4494.jpg)

วัสดุที่นำมารังสรรค์งานได้แก่
1. ไม้ไผ่
2. เชือกย้อมสี
เทคนิคเป็นงานไม้และเชือก โดยเป็นงานฝีมือและใช้ทักษะการขึ้นรูปโครงไม้ให้ได้รูปทรงกลมหลากหลายวง ต่างขนาดกันทั้งเล็กและใหญ่ ตรงกลางวงกลมใช้ไม้ไผ้จักสานในรูปแบบตาแหลวที่คุ้นเคยและประดับด้วยพู่ที่ทำจากเชือกย้อมสีอันเป็นรูปแบบของโมบายแขวนสมัยใหม่เป็นรูปทรงที่คล้ายๆกับศาสตร์ตะวันตก ที่เราคุ้ยเคยกันอีกนั้นก็คือ ตาข่ายดักฝัน (Dreamcatcher)
เกศินีบอกว่าที่ทำในรูปแบบคล้ายคลึงกับตาข่ายดักฝันเพราะทั้งสองมีความเชื่อเหมือนกันว่าสามารถดักจับสิ่งชั่วร้ายและสิ่งที่ไม่ดีได้ จึงนำเอกลักษณ์ของทั้งสองรูแบบมาผสมกันจึงเกิดเป็นผลงานชิ้นนี้

เครื่องรางล้านนา สามารถต่อยอดได้มากกว่านี้อีกไหม?
ใบบริบทของล้านนาและภาคเหนือ ตาแหลว ไม่ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามแตะต้อง แค่ก็เป็นวัตถุที่ใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะได้เห็นตาแหลว ในรูปแบบอื่น ๆมากกว่านี้ ทั้งรูปทรง การใช้งาน วัสดุ สีสัน หากนำสิ่งเหล่านี้มาผสมผสานกับตาแหลวดั้งเดิม ก็จะได้ผลงานศิลปะในรูปแบบใหม่ๆที่ยังคงความเป็นล้านนา และยังคงความเป็นบริบทของตาแหลวทื่น่าสนใจ

อิทธิพลของศิลปะวัฒนธรรมล้านนากับผลงานศิลปะสมัยใหม่
ในช่วงปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่านักออกแบบและนักเรียนศิลปะมักจะมีการ วิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อ คือค่านิยมเดิมๆ และนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ และเหล่านักเรียนศิลปะที่เกิดและเติบโตในภาคเหนือก็มักจะมองหาสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย กลิ่นอายเดิมๆ บรรยากาศของบ้านเกิดมารังสรรค์เป็นผลงานเช่นกัน นอกจากนี้ วัฒนธรรมล้านนาที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง ความเป็นล้านนาที่เกือบถูกกลบลบหายไปเพราะความเป็นไทย ในปัจจุบันที่เราไม่ได้เคร่งเครียดกับความเป็นไทยมากมายขนาดนั้น ความเป็นล้านนาจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าค้นหา กลายเป็นประเด็นใหม่ๆที่น่าจับมาพูดคุยและนำเป็นประเด็นการทำงานมากขึ้น
ผู้จัดทำ
59121165 กฤตภาส ประภาอินทร์
59120197 ณิชาภัทร สุทธิ
59120119 จุฑามาศ สิทธิเจริญ
59120052 กัลยรัตน์ ระวังยศ
59120063 เกศินี พูนแก้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่