ตะกร้าหมากแห่งความทรงจำ
ภาพจำในวัยเด็กของเรานั้นล้วนต่างกันไป วิถีชีวิตการเลี้ยงดูที่อบอวนไปด้วยไออุ่นสายใยแห่งความรักความห่วงใยที่มอบให้แก่กันในครอบครัว ช่างเป็นความทรงจำที่ไม่อาจเลือนหายไปทางใจ…
ผู้สร้างสรรค์ น.ส.สุธาสินี แสวงกิจ
นางสาว สุธาสินี แสวงกิจ เกิดเมื่อวันที่ อายุ 22 ภูมิลำเนาเป็นคนภาคอีสาน จังหวัด ขอนแก่น ปัจจุบันได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทายาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา “ในวัยเด็กของข้าพเจ้า ในวัยตอนเด็กพ่อกับแม่ต้องออกไปทำงานไปเช้าเย็นกลับ เกือบทุกวัน ยายจึงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้ามา และได้สังเกตเห็นว่ายายพกตะกร้าไม้ถือติดตัว ไปด้วยทุกที่ ไม่ว่ายายจะไปวัดไปตลาด ก็จะพกไปไม่เคยห่างมือ ซึ่งตะกร้านั้นเป็นตะกร้า หมากพลูที่ยายเอาไว้สำหรับกินหมาก วันเวลาเดินไปข้างหน้าเสมอไม่เคยย้อนกลับและเวลาก็ได้นำพาให้บางสิ่งบางอย่างหรือคนบางคนได้จากไปเช่นกันเมื่อคุณยายของเธอเสียชีวิต ภาพเหล่านั้นก็ค่อยๆหายไปกลายเป็นภาพจำในวัยเด็กของเธอ” ผู้สร้างสรรค์ผลงานกล่าวไว้...
ภาพผลงานวันจัดแสดง
จากภาพจำสู่แรงบันดาลใจ
ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกิดเป็นความสนใจเกี่ยวกับภาพจำในวัยเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เห็นภาพเหล่านี้แล้วและปัจจุบันการกินหมากนั้นไม่นิยมเท่ากับสมัยก่อน จนกลายเป็นวัตถุที่ทำให้นึกถึงความผูกพันธุ์ในอดีตที่มีต่อคนที่รักและได้จากไปแล้ว
แรงบันดาลใจสู่แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
ต้องการจะถ่ายทอดเรื่องราวสิ่งที่ในปัจจุบันได้หายไปให้กลับมามีอีกครั้ง เพราะเคยมีความผูกพันธุ์และแสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของวัตถุที่ปรากฏอยู่ในความทรงจำ
ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม โดยใช้เทคนิควาดเส้นขาวดำและใช้สีของปูขาวปูนแดงระบายฉากหลัง เพื่อถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของคุณยายผู้ล่วงลับกับตะกร้าหมากพลูคู่ใจของท่าน
วันแสดงงาน 15 กันยายน 2562 ชื่อผลงาน ภาพจำที่ไม่อาจลืม ณ.มหาวิทายาลัยพะเยา
ภาพผลงานวันจัดแสดง
โดยแต่ละภาพมีความแตกต่างกันไปแต่เนื้อหาเรื่องราวเดียวกัน ภาพที่ 1 ประกอบด้วยตะกร้าหมาก ถาดหมากพร้อมเครื่องเคียง และหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานอาจต้องการสื่อให้ทราบว่า ไม่ว่าคุณยายท่านจะทำอะไรหรือไปไหน คุณยายท่านก็จะพกหมากพลูไปด้วยตลอด คล้ายกับผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะสื่อว่า ในขณะที่คุณยายท่านจะนั่งหรือนอนพักผ่อนย่อยใจก็จะต้องมีหมากไว้เคี้ยวอยู่ตลอด และแน่นอนว่า
ภาพผลงานวันจัดแสดง
ภาพที่ 2 ผู้สร้างสรรค์ผมงานได้วาดภาพคุณยายที่ถือตะกร้าหมากไว้ที่แขนข้างขวา ผู้สร้างสรรค์ต้องการจะสื่อเรื่องราวคล้ายกับภาพแรกคือ ไม่ว่าท่านจะเดินไปไหนท่านก็จะพกตะกร้าหมากไปด้วย
ภาพผลงานวันจัดแสดง
และในส่วนภาพที่ 3 ผู้สร้างสรรค์ได้วาดภาพอุปกรณ์ที่ใช่ในการกินหมาก ประกอบไปด้วย กระโถนบ้วนน้ำหมาก ใบพลู หมาก ครก ผู้สร้างสรรค์ต้องการแสดงภาพให้เห็นถึงองค์ประกอบของหมากพลูและเครื่องเคียงว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เป็นการถ่ายทอดภาพจำในช่วงขณะที่คุณยายได้เตรียมอุปกรณ์ที่จะรับประทานหมากในแต่ละวัน
ภาพผลงานวันจัดแสดง
ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกเทคนิควาดเส้นขาวดำ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นชัดว่าเรื่องราวหมากพลูของคุณยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อในอดีต และยังคงเป็นภาพจำต่อผู้สร้างสรรค์ต่อไปไม่อาจลืม ในส่วนการนำเอาปูนขาวปูนแดงมาทาเป็นกรอบรอบภาพวาดเส้นนั้น แสดงให้เป็นถึงกลิ่นไอของความเป็นหมากพลูที่คอยเป็นเครื่องตอบย้ำว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรมที่อดีตเคยนิยมและปัจจุบันได้กำลังเลือนหาย
ความรู้สึกต่อผลงาน
ผลงานสร้างสรรค์ทำให้หวนระลึกอดีตถึงวัฒนธรรมการกินหมาก เป็นทั้งสิ่งที่สร้างความสุขให้ผู้สูงวัย ขณะเดียวกันก็เป็นแฟชั่นอีกด้วย เพราะถ้าหากหนุ่มสาวคนไหนที่ฟันไม่ดำก็ถือว่าเชยเป็นอย่างมาก จึงทำให้วัยรุ่นและคนสูงอายุในสมัยก่อนแข่งกันฟันดำ แม้ปัจจุบันการกินหมากพลูจะถูกยกเลิก หรือบริโภคกันในกลุ่มเล็กๆ แต่ถ้ามองในแง่ของเศรษฐกิจ ก็สามารถเพาะปลูกและส่งผลออกได้ ผลงานสร้างสรรค์อาจเป็นเสมือนการบันทึกว่าเมื่อครั้งเคยมีวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยเพราะเมื่อคนรุ่งเก่าหมดไปคนรุ่งใหม่อาจจะไม่มีทางรับรู้หรือหลงลืมไปว่าเคยมีวัฒนธรรมนี้เคยเกิดขึ้นมา
(ที่มา :
https://www.thaihealth.or.th/Content )
ภาพประกอบ : (ที่มาhttp://blackbitter.blogspot.com/2013/08/blog-post.html)
สังคมที่เปลี่ยนไปค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมด้วย ผลงานการสร้างสรรค์นี้อาจต้องการเหน็บแนมต่อสังคมไทยในปัจจุบันที่ว่า มีสิ่งใหม่มาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยวหรือสิ่งของทันสมัยที่เบี่ยงแบนความสนใจจากความเป็นวิถีชีวิตประเพณีไทยในแบบดั้งเดิมของไทยในแต่ก่อน ซึ่งตอกย้ำถึงวัฒนธรรมหมากพลูของที่เป็นบรรพชนรุ่นก่อนที่กำลังจะเลื่อนหายจากขนบธรรมเนียมประเทศไทยจางหายไปในที่สุด เพราะไม่ว่าตำราหรือการเรียนการสอนของไทยน้อยครั้งที่จะได้เห็นบทความเกี่ยวกับเรื่องหมากพลูเหล่านี้ อาจส่งผลทำให้คนรุ่นหลังลืมและไม่รู้จักหมากพลูในท้ายที่สุด
ผลงานของผู้สร้างสรรค์มีความคล้ายคลึงกับผลงาน “วิถี ชีวิต : ทุกข์และสุขมีร่วมกัน”ของคุณสุวรรณี สารคณา เป็นผลงานจิตรกรรม ผลงานวาด เส้น และ จิตรกรรมสื่อผสม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักความผูกพันของคนในครอบครัว ความสุข ที่เกิดจากผู้คนในครอบครัวเดียวกัน ที่มีความรักความอบอุ่นให้แก่กันและกันด้วยความจริงใจ แม้ชีวิต ต้องเผชิญกับความทุกข์แต่ยังคงได้รับความสุขร่วมกันเสมอ ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์จากความสุขที่เรียบง่ายในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยในชนบทอีสาน
ตัวผลงานที่ต้องการพยายามสื่อให้เห็นถึงความรักความคิดถึงโดยใช่สีของปูนแดงแต่ถึงผลงานจะสื่อออกมาตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการแต่กลับยังสื่อไม่มากพอเพื่อให้คนดูนั้นนึกถึงภาพจำนั้น ถ้าผลงานชิ้นนี้มีการแทรกซึมของสีปูนแดงเข้ามาในรูปวาดแล้วมันอาจจะมีผลต่อความรู้สึงที่มันเหมือนความรักความทรงจำที่ยังแฝงเข้าไปในเรื่องราวนั้นๆก็อาจจะเป็นไปได้ ลักษณะของพื้นผิวที่ปูนแดงติดมีการลอกขาดหายไปมันทำให้ภาพนั้นมีบางสิ่งบางอย่างที่มีความเก่าน่าสนใจแม่กระทั้งรอยของการแตกทำให้นึกถึงฝาผนังบ้านเก่าๆที่มีเรื่องราวแฝงอยู่
ภาพผลงานศิลปิน : สุวรรณี สารคณา
( ที่มา :
https://ngbangkok.wordpress.com/2011/03/29 )
ผลงานของผู้สร้างสรรค์มีความคล้ายคลึงกันตรงที่ว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต อย่างผลงานของคุณสุวรรณี สารคณา ได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านอิริยาบถที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จากความสุขที่เรียบง่ายในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยในชนบทอีสาน ซึ่งผลงานของผู้สร้างสรรค์ก็ได้ถ่ายเรื่องราววิถีชีวิตเหมือนกัน โดยเล่าผ่านเรื่องของคุณยายที่ชอบเคี้ยวหมากพลูเป็นชีวิตจิตใจ เรื่องราวของทั้งสองผลงานล้วนเกิดจากภาพจำที่เกิดขึ้นในวิถีการใช้ชีวิตของพวกเขาทั้งสิ้น
วิภาดา เหล่าเขตการณ์ , ศุภากร คำจ้อย , สุธาสินี แสวงกิจ , ประภาพร มูลอินต๊ะ
เนื้อหาผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431
ตะกร้าหมากแห่งความทรงจำ
ภาพจำในวัยเด็กของเรานั้นล้วนต่างกันไป วิถีชีวิตการเลี้ยงดูที่อบอวนไปด้วยไออุ่นสายใยแห่งความรักความห่วงใยที่มอบให้แก่กันในครอบครัว ช่างเป็นความทรงจำที่ไม่อาจเลือนหายไปทางใจ…
ผู้สร้างสรรค์ น.ส.สุธาสินี แสวงกิจ
นางสาว สุธาสินี แสวงกิจ เกิดเมื่อวันที่ อายุ 22 ภูมิลำเนาเป็นคนภาคอีสาน จังหวัด ขอนแก่น ปัจจุบันได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทายาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา “ในวัยเด็กของข้าพเจ้า ในวัยตอนเด็กพ่อกับแม่ต้องออกไปทำงานไปเช้าเย็นกลับ เกือบทุกวัน ยายจึงเป็นผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้ามา และได้สังเกตเห็นว่ายายพกตะกร้าไม้ถือติดตัว ไปด้วยทุกที่ ไม่ว่ายายจะไปวัดไปตลาด ก็จะพกไปไม่เคยห่างมือ ซึ่งตะกร้านั้นเป็นตะกร้า หมากพลูที่ยายเอาไว้สำหรับกินหมาก วันเวลาเดินไปข้างหน้าเสมอไม่เคยย้อนกลับและเวลาก็ได้นำพาให้บางสิ่งบางอย่างหรือคนบางคนได้จากไปเช่นกันเมื่อคุณยายของเธอเสียชีวิต ภาพเหล่านั้นก็ค่อยๆหายไปกลายเป็นภาพจำในวัยเด็กของเธอ” ผู้สร้างสรรค์ผลงานกล่าวไว้...
ภาพผลงานวันจัดแสดง
จากภาพจำสู่แรงบันดาลใจ
ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกิดเป็นความสนใจเกี่ยวกับภาพจำในวัยเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เห็นภาพเหล่านี้แล้วและปัจจุบันการกินหมากนั้นไม่นิยมเท่ากับสมัยก่อน จนกลายเป็นวัตถุที่ทำให้นึกถึงความผูกพันธุ์ในอดีตที่มีต่อคนที่รักและได้จากไปแล้ว
แรงบันดาลใจสู่แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
ต้องการจะถ่ายทอดเรื่องราวสิ่งที่ในปัจจุบันได้หายไปให้กลับมามีอีกครั้ง เพราะเคยมีความผูกพันธุ์และแสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของวัตถุที่ปรากฏอยู่ในความทรงจำ
ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม โดยใช้เทคนิควาดเส้นขาวดำและใช้สีของปูขาวปูนแดงระบายฉากหลัง เพื่อถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของคุณยายผู้ล่วงลับกับตะกร้าหมากพลูคู่ใจของท่าน
วันแสดงงาน 15 กันยายน 2562 ชื่อผลงาน ภาพจำที่ไม่อาจลืม ณ.มหาวิทายาลัยพะเยา
ภาพผลงานวันจัดแสดง
โดยแต่ละภาพมีความแตกต่างกันไปแต่เนื้อหาเรื่องราวเดียวกัน ภาพที่ 1 ประกอบด้วยตะกร้าหมาก ถาดหมากพร้อมเครื่องเคียง และหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานอาจต้องการสื่อให้ทราบว่า ไม่ว่าคุณยายท่านจะทำอะไรหรือไปไหน คุณยายท่านก็จะพกหมากพลูไปด้วยตลอด คล้ายกับผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะสื่อว่า ในขณะที่คุณยายท่านจะนั่งหรือนอนพักผ่อนย่อยใจก็จะต้องมีหมากไว้เคี้ยวอยู่ตลอด และแน่นอนว่า
ภาพผลงานวันจัดแสดง
ภาพที่ 2 ผู้สร้างสรรค์ผมงานได้วาดภาพคุณยายที่ถือตะกร้าหมากไว้ที่แขนข้างขวา ผู้สร้างสรรค์ต้องการจะสื่อเรื่องราวคล้ายกับภาพแรกคือ ไม่ว่าท่านจะเดินไปไหนท่านก็จะพกตะกร้าหมากไปด้วย
ภาพผลงานวันจัดแสดง
และในส่วนภาพที่ 3 ผู้สร้างสรรค์ได้วาดภาพอุปกรณ์ที่ใช่ในการกินหมาก ประกอบไปด้วย กระโถนบ้วนน้ำหมาก ใบพลู หมาก ครก ผู้สร้างสรรค์ต้องการแสดงภาพให้เห็นถึงองค์ประกอบของหมากพลูและเครื่องเคียงว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เป็นการถ่ายทอดภาพจำในช่วงขณะที่คุณยายได้เตรียมอุปกรณ์ที่จะรับประทานหมากในแต่ละวัน
ภาพผลงานวันจัดแสดง
ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกเทคนิควาดเส้นขาวดำ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นชัดว่าเรื่องราวหมากพลูของคุณยายเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อในอดีต และยังคงเป็นภาพจำต่อผู้สร้างสรรค์ต่อไปไม่อาจลืม ในส่วนการนำเอาปูนขาวปูนแดงมาทาเป็นกรอบรอบภาพวาดเส้นนั้น แสดงให้เป็นถึงกลิ่นไอของความเป็นหมากพลูที่คอยเป็นเครื่องตอบย้ำว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรมที่อดีตเคยนิยมและปัจจุบันได้กำลังเลือนหาย
ความรู้สึกต่อผลงาน
ผลงานสร้างสรรค์ทำให้หวนระลึกอดีตถึงวัฒนธรรมการกินหมาก เป็นทั้งสิ่งที่สร้างความสุขให้ผู้สูงวัย ขณะเดียวกันก็เป็นแฟชั่นอีกด้วย เพราะถ้าหากหนุ่มสาวคนไหนที่ฟันไม่ดำก็ถือว่าเชยเป็นอย่างมาก จึงทำให้วัยรุ่นและคนสูงอายุในสมัยก่อนแข่งกันฟันดำ แม้ปัจจุบันการกินหมากพลูจะถูกยกเลิก หรือบริโภคกันในกลุ่มเล็กๆ แต่ถ้ามองในแง่ของเศรษฐกิจ ก็สามารถเพาะปลูกและส่งผลออกได้ ผลงานสร้างสรรค์อาจเป็นเสมือนการบันทึกว่าเมื่อครั้งเคยมีวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นในสังคมไทยเพราะเมื่อคนรุ่งเก่าหมดไปคนรุ่งใหม่อาจจะไม่มีทางรับรู้หรือหลงลืมไปว่าเคยมีวัฒนธรรมนี้เคยเกิดขึ้นมา
(ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content )
ภาพประกอบ : (ที่มาhttp://blackbitter.blogspot.com/2013/08/blog-post.html)
สังคมที่เปลี่ยนไปค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมด้วย ผลงานการสร้างสรรค์นี้อาจต้องการเหน็บแนมต่อสังคมไทยในปัจจุบันที่ว่า มีสิ่งใหม่มาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยวหรือสิ่งของทันสมัยที่เบี่ยงแบนความสนใจจากความเป็นวิถีชีวิตประเพณีไทยในแบบดั้งเดิมของไทยในแต่ก่อน ซึ่งตอกย้ำถึงวัฒนธรรมหมากพลูของที่เป็นบรรพชนรุ่นก่อนที่กำลังจะเลื่อนหายจากขนบธรรมเนียมประเทศไทยจางหายไปในที่สุด เพราะไม่ว่าตำราหรือการเรียนการสอนของไทยน้อยครั้งที่จะได้เห็นบทความเกี่ยวกับเรื่องหมากพลูเหล่านี้ อาจส่งผลทำให้คนรุ่นหลังลืมและไม่รู้จักหมากพลูในท้ายที่สุด
ผลงานของผู้สร้างสรรค์มีความคล้ายคลึงกับผลงาน “วิถี ชีวิต : ทุกข์และสุขมีร่วมกัน”ของคุณสุวรรณี สารคณา เป็นผลงานจิตรกรรม ผลงานวาด เส้น และ จิตรกรรมสื่อผสม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักความผูกพันของคนในครอบครัว ความสุข ที่เกิดจากผู้คนในครอบครัวเดียวกัน ที่มีความรักความอบอุ่นให้แก่กันและกันด้วยความจริงใจ แม้ชีวิต ต้องเผชิญกับความทุกข์แต่ยังคงได้รับความสุขร่วมกันเสมอ ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์จากความสุขที่เรียบง่ายในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยในชนบทอีสาน
ตัวผลงานที่ต้องการพยายามสื่อให้เห็นถึงความรักความคิดถึงโดยใช่สีของปูนแดงแต่ถึงผลงานจะสื่อออกมาตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการแต่กลับยังสื่อไม่มากพอเพื่อให้คนดูนั้นนึกถึงภาพจำนั้น ถ้าผลงานชิ้นนี้มีการแทรกซึมของสีปูนแดงเข้ามาในรูปวาดแล้วมันอาจจะมีผลต่อความรู้สึงที่มันเหมือนความรักความทรงจำที่ยังแฝงเข้าไปในเรื่องราวนั้นๆก็อาจจะเป็นไปได้ ลักษณะของพื้นผิวที่ปูนแดงติดมีการลอกขาดหายไปมันทำให้ภาพนั้นมีบางสิ่งบางอย่างที่มีความเก่าน่าสนใจแม่กระทั้งรอยของการแตกทำให้นึกถึงฝาผนังบ้านเก่าๆที่มีเรื่องราวแฝงอยู่
ภาพผลงานศิลปิน : สุวรรณี สารคณา
( ที่มา : https://ngbangkok.wordpress.com/2011/03/29 )
ผลงานของผู้สร้างสรรค์มีความคล้ายคลึงกันตรงที่ว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต อย่างผลงานของคุณสุวรรณี สารคณา ได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านอิริยาบถที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จากความสุขที่เรียบง่ายในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยในชนบทอีสาน ซึ่งผลงานของผู้สร้างสรรค์ก็ได้ถ่ายเรื่องราววิถีชีวิตเหมือนกัน โดยเล่าผ่านเรื่องของคุณยายที่ชอบเคี้ยวหมากพลูเป็นชีวิตจิตใจ เรื่องราวของทั้งสองผลงานล้วนเกิดจากภาพจำที่เกิดขึ้นในวิถีการใช้ชีวิตของพวกเขาทั้งสิ้น
วิภาดา เหล่าเขตการณ์ , ศุภากร คำจ้อย , สุธาสินี แสวงกิจ , ประภาพร มูลอินต๊ะ
เนื้อหาผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431