ภาษาเมี่ยนดังเดิมจะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่ ?
RATTANAKORNN SRISAKDAA
“เผ่าเมี่ยน” หรืออีกชื่อ “เย้า” เป็นชนเผ่าที่อยู่ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ ใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน กำแพงเพรช ตาก เชียงใหม่ เพรชบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย เป็นต้น โดยเผ่าเมี่ยนจะมีลักษณะการแต่งกายเฉพาะของตัวเองโดยที่ผู้หญิงจะนุ่งใส่กางเกงสีน้ำเงินป่นดำ ด้านหน้าของกางเกงจะมีการปักลวดลายซึ่งลวดลายของเผ่าเมียนนั้นส่วนมากจะมาจากสิ่งของรอบตัว และจากธรรมชาติแวดล้อมซะส่วนมากส่วนเสื้อจะมีเสื้อคุมสีดำยาวถึงข้อเท้าด้านหน้าของของเสื้อจะมี ไหมพรมสีแดงที่รอบคอยาวลงมาถึงช่วงหน้าท้องผ่าครึ่งส่วนช่วงศีรษะนั้นจะต้องพันผ้าสีแดงก่อนตาม ด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนชุดของผู้ชายจะเป็นเสื้อสีดำช่วงอกไขว้แบบเสื้อคนจีนโดยจะมีกระดุมอยู่ที่ คอ รักแร้ สะโพก ตรงปลายแขนเสื้อจะมีเส้นไหมสีแดงส่วนกางเกงจะเป็นกางเกงขายาวสีดำขลิบขอบ กางเกงด้วยเส้นไหมสีแดง อีกทั้งเผ่าเมี่ยนยังมีภาษาการพูดเป็นของตัวเองซึ่งจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีนธิ เบต ปัจจุบันภาษาเมี่ยนนั้นได้ผ่านการพัฒนากลายเป็นภาษาถิ่นย่อยเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู ภาษาลักจา
ลักษณะการเเต่งกายของเผ่าเมี่ยน
ซึ่งปัจจุบันชาวเมี่ยนที่รู้ภาษานั้นมีไม่มากสาเหตุมาจากครอบครัวเผ่าเมี่ยนหลายพื้นที่นั้นได้ย้าย ไปตั้งถิ่นฐานหรือหาที่อยู่ใหม่ส่วนมากจะอยู่ในแถบตัวเมืองของจังหวัดต่าง ๆ และเหตุนี้เองจึงทำให้เด็ก เผ่าเมี่ยนรุ่นใหม่นั้นไม่ค่อยรู้จักภาษาเผ่าของตนเองเนื่องจากการเรียนการพูดเป็นภาษาไทย เเละอีกหนึ่งปัญหาภาษาของเผ่าเมี่ยนนั้นคือมีแต่ภาษาพูดเเต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นของตัวเองหรือเผ่าเมี่ยนบางพื้นที่นั้นใช้ภาษาเมี่ยนนั้นเป็นภาษาจีน คาดว่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กหรือวัยรุ่นยุคใหม่ที่เป็นเผ่าเมี่ยนพูดภาษาถิ่นกำหนดของตัวเองไม่ได้
ประวัติผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ชื่อนาย รัตนากร ศรีศักดา ปัจจุบันอายุ 21 ปี เกิดวันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2541
ที่อยู่ อ.ตาคลี ต.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ปัจจุบันศึกษาอยู่ มหาวิทยาวัยพะเยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เเละศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะเเละการออกแบบ ชั้นปีที่ 4
ภาพถ่ายของผู้สร้างสรรค์ผลงาน
เเรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์
ตัวผู้สร้างสรรค์เองก็เป็นเผ่าเมี่ยนเช่นกันโดยเขาเริ่มสนใจวัฒนธรรมทางภาษาของเผ่าเมี่ยน ซึ่งเขาต้องการจะนำเอาภาษาเมี่ยนมาเเชร์ให้กับเด็กเมี่ยนหรือวัยรุ่นเมี่ยนยุคใหม่ที่ไม่รู้จักภาษาเมี่ยน เหตุผลที่ตัวเขาอยากจะเเชร์ภาษาเพราะเขาเชื่อว่าการที่คนเมี่ยนที่พูดภาษาเมี่ยนไม่ได้นั้น เวลาที่ได้กลับมาที่ชุมชนหรือบ้านเกิดสำหรับคนที่พูดไม่ได้นั้นจะรู้สึกว่าไม่กล้าที่จะออกไปพูดคคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่เพราะผู้หลักผู้ใหญ่เมี่ยนส่วนมาก มักจะพูดคุยกันด้วยภาษาของพวกเขาเองคือภาษาเมี่ยน
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน
เนื่องจากตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นก็ไม่ทราบภาษาเมี่ยนด้วยเช่นกันเขาจึงเริ่มลงพื้นที่หาชุมชนที่เป็นเผ่าเมี่ยนเท่านั้นเเละการเดินทางนั้นได้มาถึงจุดหมายที่ หมู่บ้านเเม่หยวกหรือบ้านชนเเดน อ.งาว จ.ลำปาง เเละได้พบเจอหมอผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเขาเป็นคนที่รู้จักภาษาเเละสามารถให้ข้อมูลได้ดีที่สุด
หมอผีประจำหมู่บ้านเเม่หยวก
หมอผีชื่อ นายสุทัศน์ ผ่านสิริมงคล อายุ 69 ปี โดยตัวเขานั้นเป็นคนที่ทำพิธีกรรมต่างๆให้คนในหมู่บ้าน จากการสอบถามนั้นเขาได้บอกมาว่าภาษาพูดของคนเมี่ยนนั้นมันก็ถูกแปลมาจากภาษาจีนอีกที เพราะเหตุนี้หมอผีจึงบอกว่าภาษาเขียนของเผ่าเมี่ยนนั้นจึงไม่มีเป็นของตัวเองเละตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานก็สอบถามคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อนำมาทำเป็นงาน
วันต่อมาตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นต้องการที่จะสร้างสรรค์ออกแบบตัวการ์ตูนที่เขาสร้างคาเเร็คเตอร์ตัวละครด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าของเมี่ยนเพื่อเอามาทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์เเละเปิดเพจเฟสบุค เพื่อที่จะมาแชร์คำพูดของเมี่ยนที่พูดในชีวิตประจำวัน ที่สอบถามมาจากหมอผีมานั้นเองเเละเริ่มลงมือสเก็ตตัวการ์ตูนเพ่ือนำมาทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์ 40 แบบ
https://www.museumthailand.com ชุดเผ่าเมี่ยน
เเละต่อมาก็นำมาทำในโปรเเกรม illustrator (Ai) ตามสเก็ตที่วาดไว้ 40 แบบ เเละเริ่มวางจำหน่ายในร้านค้าสติ๊กเกอร์ไลน์ พร้อมเอาภาษาพูดของเผ่าเมี่ยนมาแปลไทยให้พร้อมพินอินเพื่อสำเนียงที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เเค่คนเมี่ยนที่ไม่รู้ภาษาได้ฝึกคำศัพท์รวมถึงคนนอกที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยนก็ได้รู้ถึงภาษาของเผ่าเมี่ยนด้วยเช่นกัน
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
รูปแบบสติ๊กกเกอร์ไลน์
คอลแล็คชั่นสติ๊กเกอร์เผ่าเมี่ยน
ตัวผู้สร้างสรรค์เองก็ไม่ได้ทำเเค่สติ๊กเกอร์ไลน์ เขาได้ทำเพจเฟสบุค “เมี่ยนคำ” ซึ่งเป็นเพจที่จะเเนะนำทั้งภาษารวมถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต บางส่วนมาให้กับคนนอกที่ไม่ใช่เผ่า ที่สนใจอีกด้วย
เพจเมี่ยนคำ
โดยจุดประสงค์ของเพจนี้เพื่อที่จะเเชร์ภาษาเมี่ยนให้คนที่สนใจ มาเเชร์ให้วันละคำ ให้เข้ากับชื่อ เมี่ยนคำ ที่มาจากภาษาเมี่ยนวันละคำเเละการทำงานของเพจเฟสบุคนั้นใช้โปรแกรม illustrator ในการทำงาน
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
การจัดเเสดงผลงาน
วันที่ 13 กันยายน 2562 เป็นวันที่เเสดงผลงานที่ทำมา 2 เดือน โดยการนำเสนอนั้นตัวผู้สร้างสรรค์งานนี้ได้บอกว่า ต้องการที่จะนำเอาวัฒนธรรมทางภาษามาเเชร์ให้กับคนเมี่ยนที่พูดภาษาไม่ได้เเละคนที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยน ได้มาอ่านเเละฝึกคำศัพท์ เเละยังทำสติ๊กเกอร์มาเเจกผู้ชมงานให้ด้วยจำนวน 40 เเบบ กับอีกแบบละ 10 อัน โดยการที่จัดเเสดงคล้ายตู้ก็เพื่อจำลองหน้าจอโทรศัพท์นั่นเอง
ผลงานที่ถูกจัดเเสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดงโดยเหตุผลที่ต้องทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์เเละเพจเฟสบุคเพราะ เขาบอกว่าเฟสบุคเเละไลน์นั้นเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดสำหรับเด็กรุ่นใหม่เเละยังสามารถเข้าถึงคนนอกที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยนได้ พร้อมทั้งการเเชร์ภาษาเมี่ยนนั้นเขาได้บอกว่าถ้าคนเมี่ยนที่พูดไม่ได้ ได้ลองอ่านดูเขาเองก็คาดว่า ก็น่าจะพอรู้คำศัพท์บางคำเเละพอเข้าใจคำพูดของคนเมี่ยนได้เเต่เขาไม่ได้ถึงกับคาดหวังไว้ว่าจะต้องฟังออกทุกคำพูดได้ทุกประโยค เเค่ให้ฟังออกเป็นบางคำก็พอเเถมภาษาของเผ่าเมี่ยนนั้นยังไม่หายไปพร้อมกับอนาคตอีกด้วย
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปวิจารณ์ 181431
นาายกฤษฎา เจริญ 59120030
นายกฤษณะ เทศไทสง 59120041
นายธนวัชร คำเอี่ยม 5912010
นายรัตนากร ศรีศักดา 59120300
ภาษาเมี่ยนดังเดิมจะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่ ?
RATTANAKORNN SRISAKDAA
“เผ่าเมี่ยน” หรืออีกชื่อ “เย้า” เป็นชนเผ่าที่อยู่ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ ใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน กำแพงเพรช ตาก เชียงใหม่ เพรชบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย เป็นต้น โดยเผ่าเมี่ยนจะมีลักษณะการแต่งกายเฉพาะของตัวเองโดยที่ผู้หญิงจะนุ่งใส่กางเกงสีน้ำเงินป่นดำ ด้านหน้าของกางเกงจะมีการปักลวดลายซึ่งลวดลายของเผ่าเมียนนั้นส่วนมากจะมาจากสิ่งของรอบตัว และจากธรรมชาติแวดล้อมซะส่วนมากส่วนเสื้อจะมีเสื้อคุมสีดำยาวถึงข้อเท้าด้านหน้าของของเสื้อจะมี ไหมพรมสีแดงที่รอบคอยาวลงมาถึงช่วงหน้าท้องผ่าครึ่งส่วนช่วงศีรษะนั้นจะต้องพันผ้าสีแดงก่อนตาม ด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนชุดของผู้ชายจะเป็นเสื้อสีดำช่วงอกไขว้แบบเสื้อคนจีนโดยจะมีกระดุมอยู่ที่ คอ รักแร้ สะโพก ตรงปลายแขนเสื้อจะมีเส้นไหมสีแดงส่วนกางเกงจะเป็นกางเกงขายาวสีดำขลิบขอบ กางเกงด้วยเส้นไหมสีแดง อีกทั้งเผ่าเมี่ยนยังมีภาษาการพูดเป็นของตัวเองซึ่งจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีนธิ เบต ปัจจุบันภาษาเมี่ยนนั้นได้ผ่านการพัฒนากลายเป็นภาษาถิ่นย่อยเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู ภาษาลักจา
ลักษณะการเเต่งกายของเผ่าเมี่ยน
ซึ่งปัจจุบันชาวเมี่ยนที่รู้ภาษานั้นมีไม่มากสาเหตุมาจากครอบครัวเผ่าเมี่ยนหลายพื้นที่นั้นได้ย้าย ไปตั้งถิ่นฐานหรือหาที่อยู่ใหม่ส่วนมากจะอยู่ในแถบตัวเมืองของจังหวัดต่าง ๆ และเหตุนี้เองจึงทำให้เด็ก เผ่าเมี่ยนรุ่นใหม่นั้นไม่ค่อยรู้จักภาษาเผ่าของตนเองเนื่องจากการเรียนการพูดเป็นภาษาไทย เเละอีกหนึ่งปัญหาภาษาของเผ่าเมี่ยนนั้นคือมีแต่ภาษาพูดเเต่ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นของตัวเองหรือเผ่าเมี่ยนบางพื้นที่นั้นใช้ภาษาเมี่ยนนั้นเป็นภาษาจีน คาดว่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กหรือวัยรุ่นยุคใหม่ที่เป็นเผ่าเมี่ยนพูดภาษาถิ่นกำหนดของตัวเองไม่ได้
ประวัติผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ชื่อนาย รัตนากร ศรีศักดา ปัจจุบันอายุ 21 ปี เกิดวันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2541
ที่อยู่ อ.ตาคลี ต.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ปัจจุบันศึกษาอยู่ มหาวิทยาวัยพะเยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เเละศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะเเละการออกแบบ ชั้นปีที่ 4
ภาพถ่ายของผู้สร้างสรรค์ผลงาน
เเรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์
ตัวผู้สร้างสรรค์เองก็เป็นเผ่าเมี่ยนเช่นกันโดยเขาเริ่มสนใจวัฒนธรรมทางภาษาของเผ่าเมี่ยน ซึ่งเขาต้องการจะนำเอาภาษาเมี่ยนมาเเชร์ให้กับเด็กเมี่ยนหรือวัยรุ่นเมี่ยนยุคใหม่ที่ไม่รู้จักภาษาเมี่ยน เหตุผลที่ตัวเขาอยากจะเเชร์ภาษาเพราะเขาเชื่อว่าการที่คนเมี่ยนที่พูดภาษาเมี่ยนไม่ได้นั้น เวลาที่ได้กลับมาที่ชุมชนหรือบ้านเกิดสำหรับคนที่พูดไม่ได้นั้นจะรู้สึกว่าไม่กล้าที่จะออกไปพูดคคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่เพราะผู้หลักผู้ใหญ่เมี่ยนส่วนมาก มักจะพูดคุยกันด้วยภาษาของพวกเขาเองคือภาษาเมี่ยน
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน
เนื่องจากตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นก็ไม่ทราบภาษาเมี่ยนด้วยเช่นกันเขาจึงเริ่มลงพื้นที่หาชุมชนที่เป็นเผ่าเมี่ยนเท่านั้นเเละการเดินทางนั้นได้มาถึงจุดหมายที่ หมู่บ้านเเม่หยวกหรือบ้านชนเเดน อ.งาว จ.ลำปาง เเละได้พบเจอหมอผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเขาเป็นคนที่รู้จักภาษาเเละสามารถให้ข้อมูลได้ดีที่สุด
หมอผีประจำหมู่บ้านเเม่หยวก
หมอผีชื่อ นายสุทัศน์ ผ่านสิริมงคล อายุ 69 ปี โดยตัวเขานั้นเป็นคนที่ทำพิธีกรรมต่างๆให้คนในหมู่บ้าน จากการสอบถามนั้นเขาได้บอกมาว่าภาษาพูดของคนเมี่ยนนั้นมันก็ถูกแปลมาจากภาษาจีนอีกที เพราะเหตุนี้หมอผีจึงบอกว่าภาษาเขียนของเผ่าเมี่ยนนั้นจึงไม่มีเป็นของตัวเองเละตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานก็สอบถามคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อนำมาทำเป็นงาน
วันต่อมาตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นต้องการที่จะสร้างสรรค์ออกแบบตัวการ์ตูนที่เขาสร้างคาเเร็คเตอร์ตัวละครด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าของเมี่ยนเพื่อเอามาทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์เเละเปิดเพจเฟสบุค เพื่อที่จะมาแชร์คำพูดของเมี่ยนที่พูดในชีวิตประจำวัน ที่สอบถามมาจากหมอผีมานั้นเองเเละเริ่มลงมือสเก็ตตัวการ์ตูนเพ่ือนำมาทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์ 40 แบบ
https://www.museumthailand.com ชุดเผ่าเมี่ยน
เเละต่อมาก็นำมาทำในโปรเเกรม illustrator (Ai) ตามสเก็ตที่วาดไว้ 40 แบบ เเละเริ่มวางจำหน่ายในร้านค้าสติ๊กเกอร์ไลน์ พร้อมเอาภาษาพูดของเผ่าเมี่ยนมาแปลไทยให้พร้อมพินอินเพื่อสำเนียงที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เเค่คนเมี่ยนที่ไม่รู้ภาษาได้ฝึกคำศัพท์รวมถึงคนนอกที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยนก็ได้รู้ถึงภาษาของเผ่าเมี่ยนด้วยเช่นกัน
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
รูปแบบสติ๊กกเกอร์ไลน์
คอลแล็คชั่นสติ๊กเกอร์เผ่าเมี่ยน
ตัวผู้สร้างสรรค์เองก็ไม่ได้ทำเเค่สติ๊กเกอร์ไลน์ เขาได้ทำเพจเฟสบุค “เมี่ยนคำ” ซึ่งเป็นเพจที่จะเเนะนำทั้งภาษารวมถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต บางส่วนมาให้กับคนนอกที่ไม่ใช่เผ่า ที่สนใจอีกด้วย
เพจเมี่ยนคำ
โดยจุดประสงค์ของเพจนี้เพื่อที่จะเเชร์ภาษาเมี่ยนให้คนที่สนใจ มาเเชร์ให้วันละคำ ให้เข้ากับชื่อ เมี่ยนคำ ที่มาจากภาษาเมี่ยนวันละคำเเละการทำงานของเพจเฟสบุคนั้นใช้โปรแกรม illustrator ในการทำงาน
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
การจัดเเสดงผลงาน
วันที่ 13 กันยายน 2562 เป็นวันที่เเสดงผลงานที่ทำมา 2 เดือน โดยการนำเสนอนั้นตัวผู้สร้างสรรค์งานนี้ได้บอกว่า ต้องการที่จะนำเอาวัฒนธรรมทางภาษามาเเชร์ให้กับคนเมี่ยนที่พูดภาษาไม่ได้เเละคนที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยน ได้มาอ่านเเละฝึกคำศัพท์ เเละยังทำสติ๊กเกอร์มาเเจกผู้ชมงานให้ด้วยจำนวน 40 เเบบ กับอีกแบบละ 10 อัน โดยการที่จัดเเสดงคล้ายตู้ก็เพื่อจำลองหน้าจอโทรศัพท์นั่นเอง
ผลงานที่ถูกจัดเเสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดง
ผลงานที่ถูกจัดแสดงโดยเหตุผลที่ต้องทำเป็นสติ๊กเกอร์ไลน์เเละเพจเฟสบุคเพราะ เขาบอกว่าเฟสบุคเเละไลน์นั้นเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดสำหรับเด็กรุ่นใหม่เเละยังสามารถเข้าถึงคนนอกที่ไม่ใช่เผ่าเมี่ยนได้ พร้อมทั้งการเเชร์ภาษาเมี่ยนนั้นเขาได้บอกว่าถ้าคนเมี่ยนที่พูดไม่ได้ ได้ลองอ่านดูเขาเองก็คาดว่า ก็น่าจะพอรู้คำศัพท์บางคำเเละพอเข้าใจคำพูดของคนเมี่ยนได้เเต่เขาไม่ได้ถึงกับคาดหวังไว้ว่าจะต้องฟังออกทุกคำพูดได้ทุกประโยค เเค่ให้ฟังออกเป็นบางคำก็พอเเถมภาษาของเผ่าเมี่ยนนั้นยังไม่หายไปพร้อมกับอนาคตอีกด้วย
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปวิจารณ์ 181431
นาายกฤษฎา เจริญ 59120030
นายกฤษณะ เทศไทสง 59120041
นายธนวัชร คำเอี่ยม 5912010
นายรัตนากร ศรีศักดา 59120300