ผักหวานป่า

ได้สำรวจแหล่งอาศัยและการผลิตผักหวานป่าในสภาพการผลิตของเกษตรกร จากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ บึงกาฬ มุกดาหาร นครพนม เลย สกลนคร หนองบัวลำภู หนองคายอุดรธานี มากกว่า 50 แหล่ง และสำรวจผักหวานป่าในสภาพธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ในสภาพป่าเบญจพรรณ ป่าภูผาขาม อ.หนองสูง 





ได้ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหวานป่าของพืช เช่น ใบ สีใบ สีลำต้น สีเนื้อไม้ สีใบอ่อน สีผล ผลการสำรวจในครั้งนี้ สามารถพบลักษณะของผักหวานป่า เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผักหวานป่าใบใหญ่ กลุ่มผักหวานป่าใบมน และกลุ่มผักหวานป่าใบแหลม อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างของลักษณะยอดผักหวานป่า คือ ผักหวานป่าที่มียอดสีเหลืองทอง และผักหวานป่ายอดสีเขียว ผักหวานป่ามีการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริโภคเป็นอาหาร โดยใช้ส่วนยอด ดอก และผล ส่วนใหญ่นำไปแกง ผัด นึ่ง บางส่วนนำไปแปรรูปเป็นชา บางพื้นที่นำใบแก่ไปตากแห้งและบดเป็นผงนัวใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ

ได้เขียนประสบการณ์ผลิตและเรื่องราวของผักหวานป่ามากกว่า35เรื่องพร้อมแผนที่แหล่งผลิต ท่านที่สนใจสามารถติดตามได้ที่
เวริตเพส https://sarahsdot.wordpress.com
หรือยูทู ช่อง  Jeto Y.  Sarah
https://www.youtube.com/channel/UCMHww3dGsu3Oou-4bEtuy-A
เฟสบุคแฟนเพจแหล่งพันธุ์ผักหวานป่า
https://www.facebook.com/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2-1699205140326550/
ขอบคุณทุกการติดตาม และการเรียนรู้ร่วมกันที่มากขึ้นและกว้างขวาง ค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่