ปรกติถ้าพูดถึงม้าลาย เราก็คงจะนึกถึงสัตว์ที่มีลวดลายตามตัวเป็นแถบสีขาวสลับดำ อย่างที่เราคุ้นตากัน
แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่อุทยานแห่งชาติมาไซ-มารา (Maasai Mara) ในเคนยา ได้มีลูกม้าลายเกิดใหม่ที่มีลักษณะแปลกประหลาดกว่าตัวอื่น คือมีลายบนตัวเป็น "จุด" จนดูคล้ายกับกวางมากกว่าจะเป็นม้าลาย
ลูกม้าลายตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ทิรา (Tira) ตามชื่อของนายแอนโทนี ทิรา (Antony Tira) มัคคุเทศก์ประจำอุทยาน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่พบเห็นลูกม้าลายตัวนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การที่ลูกม้าลายตัวนี้มีลายเป็นจุด น่าจะเกิดจากการผ่าเหล่าที่เรียกว่า Psuedomalanism ที่ทำให้การกระจายตัวของเมลานีนในผิวหนังไม่สม่ำเสมอเหมือนกับลูกม้าลายทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่พบม้าลายแบบนี้ เพราะเคยมีรายงานว่ามีการพบม้าลายที่มีลายคล้ายจุดมาแล้วครั้งหนึ่งที่ประเทศบอตสวานาในตอนใต้ของแอฟริกา
อย่างไรก็ตาม ในโดยทั่วไปตามธรรมชาติแล้ว ลูกม้าลายที่มีลวดลายบนตัวเป็นจุดแบบนี้ จะถูกผู้ล่าหรือแมลงพาหะนำโรคมองเห็นได้ง่ายกว่าม้าลายธรรมดา ดังนั้นพวกมันจึงมักถูกล่าหรือติดโรคตายได้ง่ายกว่าม้าลายทั่วไป จึงเป็นเหตุทำให้ม้าลายที่มีลายจุดพบได้ยากในธรรมชาติ เพราะพวกมันมักจะไม่อยู่รอดมาจนได้ส่งต่อกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลานได้
ข่าวจาก :
https://www.nationalgeographic.com/animals/2019/09/zebra-pseudo-melanism-kenya-masai/
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นี่ถ้ามาอยู่เมืองไทย สงสัยป่านนี้คงมีคนแห่กันไปกราบไหว้เพื่อขอหวยกันเนืองแน่นจนเต็มอุทยานแล้วมั้ง
เจอลูกม้าลายประหลาดที่ประเทศเคนยา มีลายบนตัวเป็น "จุด" แทนที่จะเป็นแถบขาวดำ
แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่อุทยานแห่งชาติมาไซ-มารา (Maasai Mara) ในเคนยา ได้มีลูกม้าลายเกิดใหม่ที่มีลักษณะแปลกประหลาดกว่าตัวอื่น คือมีลายบนตัวเป็น "จุด" จนดูคล้ายกับกวางมากกว่าจะเป็นม้าลาย
ลูกม้าลายตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ทิรา (Tira) ตามชื่อของนายแอนโทนี ทิรา (Antony Tira) มัคคุเทศก์ประจำอุทยาน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่พบเห็นลูกม้าลายตัวนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การที่ลูกม้าลายตัวนี้มีลายเป็นจุด น่าจะเกิดจากการผ่าเหล่าที่เรียกว่า Psuedomalanism ที่ทำให้การกระจายตัวของเมลานีนในผิวหนังไม่สม่ำเสมอเหมือนกับลูกม้าลายทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่พบม้าลายแบบนี้ เพราะเคยมีรายงานว่ามีการพบม้าลายที่มีลายคล้ายจุดมาแล้วครั้งหนึ่งที่ประเทศบอตสวานาในตอนใต้ของแอฟริกา
อย่างไรก็ตาม ในโดยทั่วไปตามธรรมชาติแล้ว ลูกม้าลายที่มีลวดลายบนตัวเป็นจุดแบบนี้ จะถูกผู้ล่าหรือแมลงพาหะนำโรคมองเห็นได้ง่ายกว่าม้าลายธรรมดา ดังนั้นพวกมันจึงมักถูกล่าหรือติดโรคตายได้ง่ายกว่าม้าลายทั่วไป จึงเป็นเหตุทำให้ม้าลายที่มีลายจุดพบได้ยากในธรรมชาติ เพราะพวกมันมักจะไม่อยู่รอดมาจนได้ส่งต่อกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลานได้
ข่าวจาก : https://www.nationalgeographic.com/animals/2019/09/zebra-pseudo-melanism-kenya-masai/
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นี่ถ้ามาอยู่เมืองไทย สงสัยป่านนี้คงมีคนแห่กันไปกราบไหว้เพื่อขอหวยกันเนืองแน่นจนเต็มอุทยานแล้วมั้ง