แฟ้มรหัส ‘Conplan 888’
อาจฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร่างแผนการรับมือหายนะจากซอมบี้จริง ๆ โดยใช้ชื่อรหัสว่า ‘Conplan 8888-11 Counter-Zombie Dominance’ โดยเป็นแฟ้มเอกสารที่ถูกเก็บไว้ที่ตึกเพนตากอน สำหรับเนื้อหาภายในแฟ้มเอกสารนั้นจะถูกระบุอย่างชัดเจนว่า ‘เอกสารฉบับนี้ไม่ได้ถูกร่างขึ้นมาเพื่อเป็นเรื่องโจ๊ก’ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการโจมตีของผีดิบและซอมบี้อย่างจริงจัง
สำหรับภารกิจของแผนการ ‘Conplan 888’ นั้นมี 3 ภารกิจหลักสำคัญ อันได้แก่ ปกป้องพลเรือนจากการโจมตีโดยกองทัพซอมบี้ เตรียมพร้อมแผนการรับมือกองทัพผีดิบ และอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ขณะที่กองทัพซอมบี้ระบาด
นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงการศึกษารูปแบบของซอมบี้ ในกรณีที่เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมา จุดแข็งและจุดอ่อน รวมไปถึงอาวุธที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อรับมือซอมบี้ โดยมีกำกับประเด็นสำคัญไว้ว่า ‘ยิงเข้าที่ศีรษะ เพื่อทำลายสมองของพวกมัน’
เจ้าหน้าที่เพนตากอนระบุว่า หากเกิดหายนะกองทัพซอมบี้ระบาดขึ้นมาจริง ๆ คงไม่มีหน่วยรบภาคพื้นดินใดสามารถต้านทานกองกำลังผีดิบเดินได้เรือนแสนอย่างแน่นอน นอกจากนี่ศูนย์บัญชาการและที่ตั้งทางทหารจะถูกกองทัพซอมบี้ทำลายภายในวันเดียวอีกด้วย!
อย่างไรก็ตาม เด็กนักเรียนในสหรัฐฯ จำนวนมากต่างรู้สึกขบขันถึงแผนการดังกล่าว แต่พวกเขาก็ให้ความสนใจและสนุกไปกับมัน เพราะแผนการ
‘Conplan 888’ ตั้งอยู่พื้นฐานความเป็นไปได้ในโลกของความจริง แม้มันอาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวไป แต่ใครเลยจะรู้ว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แต่อย่างน้อยเด็ก ๆ และประชาชนอเมริกันและทั่วโลกยังอุ่นใจได้บ้างว่ารัฐบาลมีแผนการรับมือซอมบี้ที่รอบคอบไว้รองรับแล้ว
Cr. SpokeDark.TV
ปฏิบัติการ Ivy Bells
"Ivy Bells" หนึ่งในปฏิบัติการลับสุดยอดของอเมริกาในการแอบดักฟังการสื่อสารจากสายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียต
ในระหว่างช่วงสงครามเย็นอเมริกาหมดหวังที่จะรู้ถึงศักยภาพของขีปนาวุธข้ามทวีป หรือ ICBM รวมถึงศักยภาพในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ของอดีตสหภาพโซเวียต จนกระทั่งในปี 1970 อเมริกาได้ตรวจพบแนวสายเคเบิลใต้ทะเลที่กองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตใช้ในการสื่อสารระหว่างฐานทัพเรือภาคพื้นแปซิฟิกที่ Petropavlovsk กับศูนย์บัญชาการกองทัพเรือที่ วลาดิวอสต็อก
สายเคเบิ้ลนี้วางอยู่ใต้ทะเลโอคอสท์ ซึ่งอยู่ระหว่างคาบสมุทร Kamchatka กับแผ่นดินใหญ่ โดนกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตได้วางโครงข่ายอุปกรณ์ตรวจจับเสียงใต้น้ำเพื่อคอยตรวจจับการรุกล้ำน่านน้ำของเรือดำน้ำข้าศึก
ในปี 1970 James F. Bradley Jr หัวหน้าทีมปฏิบัติการใต้ทะเลของหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือสหรัฐ ตัดสินใจที่จะเริ่มปฏิบัติการที่จะ tap สายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตที่เพิ่งค้นพบจากการค้นหาซากเรือดำน้ำ K-129
รูปแสดงชุดอุปกรณ์ดักฟังที่เป็นแค่ปลอกหุ้มสายเคเบิ้ลไว้ และใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าในการอ่านข้อมูลที่วิ่งในสาย จึงเป็นที่มาของชื่อปฎิบัติการ Ivy Bell หูฟังที่เลื้อยพันเพื่อแอบฟังนั่นเอง
การที่จะเข้าทำปฏิบัติการโดยไม่ให้ทาง กองทัพเรือของโซเวียตระแคะระคาย จึงได้มีการส่งเรือดำน้ำ USS Halibut เข้าไปในพื้นที่โดยทำทีเป็นว่าเข้าเก็บกู้ซากขีปนาวุธ SS-N-12 Sandbox supersonic anti-ship missile (AShM) ทั้งนี้ภารกิจเก็บกู้ซากขีปนาวุธก็เป็นเรื่องจริง ซากชิ้นส่วนขีปนาวุธกว่า 2 ล้านชิ้นที่เก็บกู้ได้ถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยกองทัพเรือ เพื่อทำการ RE Engineering ปฏิบัติการนี้ยาวนานกว่า 10 ปีโดยไม่ถูกระแคะระคาย
จนกระทั่งในปี 1981กองทัพโซเวียตจึงจับได้และขนอุปกรณ์ไปเก็บไว้ ต่อมาในปี 1999 อุปกรณ์ wiretap ที่ใช้ในปฎิบัติการนี้ได้ถูกนำมาตั้งแสดงต่อสาธารณะที่ Great Patriotic War Museum ในกรุงมอสโคว
Cr.
https://www.blockdit.com/articles/5d5c1e65c58b2d14fa307401
ปฏิบัติการป๊อปอาย (Operation Popeye)
‘ปฏิบัติการป๊อปอาย’ ภารกิจสร้างฝนเทียมในสมรภูมิรบสงครามเวียดนาม ที่ภายหลังถูกวิพากษ์จารณ์อย่างหนักจนเป็นเรื่องต้องห้าม
สงครามเวียดนาม เป็นการสู้รับที่ได้ชื่อว่ามียุทธวิธีในการรบที่หลากหลายมาที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ เวียดนามทำให้โลกใช้ยุทธศาสตร์ด้านภูมิประเทศ ที่แม้แต่กองทัพสหรัฐฯ ที่เหนือกว่ามากยังเสียเปรียบ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงถูกนำมาใช้ในสำหรับ “สร้างฝนเทียม”
เป็นโครงการที่อนุมัติโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศอย่างลับๆ ซึ่งดำเนินการในช่วงสงครามเวียดนาม โดยมีภารกิจหลักคือ การยืดฤดูฝนบริเวณเวียดนามตอนเหนือให้นานออกไป เพื่อให้การเดินทางของกองกำลังเวียดนามและการเคลื่อนย้ายอาวุธเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงภัยน้ำป่าที่รุนแรงสร้างความเสียหายให้กับกองกำลังเวียดนามเหนือตลอดฤดูฝนให้นานจากเดิมขึ้นเป็นเวลา 30-45 วัน
ภารกิจนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1967 และดำเนินต่อไปตลอดช่วงฤดูฝน (มีนาคม-พฤศจิกายน) หน่วยที่ได้รับมอบหมายคือ ฝูงบินลาดตระเวนสภาพอากาศที่ 54 ของกองทัพสหรัฐฯ ได้นำเครื่องบิน C-130 จำนวน 3 ลำ และ เครื่องบิน F4-C จำนวน 2 ลำ บินสร้างก้อนเมฆเหนือน่านฟ้าเวียดนามและชายแดนสปป. ลาว วันละ 2 เที่ยว ก่อนกลับมาประจำอยู่ที่ จ.อุดรธานี และฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ที่เกาะกวม ภารกิจนี้ได้สิ้นสุดลงในปี 1972 หลังปฏิบัติภารกิจมาต่อเนื่องถึง 6 ช่วงฤดูฝน
ในปี 1971 สำนักข่าวชื่อดังของสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยภารกิจสร้างฝนเทียมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานต่างๆ มากมาย แก่กองทัพสหรัฐฯ ไม่นาน ปฏิบัติการป๊อปอายเหนือน่านฟ้าของสปป.ลาว ก็ถูกยกเลิกในทันที
หลังจากสิ้นสุดสงครามกองทัพสหรัฐฯ ถูกสภาคองเกรสกดดันและวิจารณ์อย่างหนัก ต่อมาสมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ประชุมและมีมติร่าง “อนุสัญญาสากลว่าด้วยการห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพอาการเพื่อทำการสงครามหรือทางการทหาร” ขึ้นมาโดยมีผลบังคับใช้ในปี 1978 นับแต่นั้นเป็นต้นมา
Cr.SpokeDark.TV
ปฏิบัติการเนื้อสับ (Operation Mincemeat)
ต้นปี ค.ส.1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังเตรียมพร้อมจะบุกดินแดนในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน โดยจะจู่โจมทางแอฟริกาเหนือจุดหมายของสัมพันธมิตรคือ เกาะซิซิลี เพื่อที่จะให้การบุกประสบความสำเร็จจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ศัตรูไม่ทันตั้งตัว นายทหารอังกฤษจึงวางแผน โดยชื่อรหัสว่า"Operation Mincemeat " โดยนำเอาศพศพหนึ่งมาจากโรงเก็บศพในกรุงลอนดอน แลัวเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามใหม่หมด
ศพถูกแต่งตัวโดยเอาเครื่องแบบมาสวมให้มีเอกสารในกระเป๋าระบุว่า เขาคือพันตรี วิลเลียม มาร์ติน ผู้ส่งข่าวทางทหาร มีกระเป็าเอกสารล่ามด้วยโซ่ติดกับมือ ข้างในกระเป๋าจารชนชั้นเซียนของอังกฤษซุกเอกสารปลอมไว้ บอกว่าเป้าหมายของการบุกคือกรีซไม่ใช่ซิซิลี แลัวเรือดำน้ำอังกฤษก็นำร่าง"พันตรี วิลเลียม มาร์ติน"ไปทิ้งนอกชายฝั่งสเปน
ทำให้ดูเหมือนกับว่า เขาเป็นผู้ส่งข่าวทางทหารที่เสียชีวิตจากเครื่องบินตก แลัวก็เป็นไปตามคาดเจ้าหน้าที่ของสเปนนำเอาเอกสารนั้นไปให้พวกเยอรมัน ฝ่ายเยอรมันหลงกลโดยสิ้นเชิง ข่าวนี้ถูกส่งไปให้ฮิตเลอร์อย่างรวดเร็ว ฮิตเลอร์จึงให้ถือเอาการป้องกันหลังบ้านตนเองเกาะกรีซเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด กองบัญชาการระดับสูงสุดของเยอรมันส่งหน่วยยานเกราะไปที่นั่น ฮิตเลอร์ยังได้ส่งจอมพลเออร์วิน รอมเมล ผู้ได้ฉายา"จิ้งจอกทะเลทราย"ไปยังกรุงเอเธนส์เพื่อวางแผนป้องกันและบัญชาการรบ แต่การสงครามในกรีซย่อมจะไม่เกิดขึ้น
กองกำลังภายใต้การนำของนายพลเบอร์นาร์ด มอนโกเมอรี่ และนายพล จอร์จ แพตตัน ยกพลขึ้นบกที่ซิซฺลี ซึ่งกองทัพเยอรมันและอิตาลียังไม่พร้อมที่จะรับมือ ชัยชนะจึงได้มาด้วยความช่วยเหลือของชายผู้ได้เสียชีวิตไปแลัว ต่อมานาวาเอก Ewen Montagu ผู้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนั้นได้นำเรื่องนี้ไปเขียนเป็นหนังสือชื่อ"The Man Who Never Was"ในปี 1953 ต่อมาในปี 1956 ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยใช้ชื่อเดียวกัน...
https://board.postjung.com/979144
ปฏิบัติการ ‘เฟรชแมน’ (Freshman)
ในวันที่ 19 พ.ย. 1942 มีปฏิบัติการพลีชีพของทหารหน่วยหนึ่ง ที่ปูทางไปสู่ความสำเร็จของ กันเนอร์ไซด์ และภารกิจอื่นๆ เหล่าทหารหาญอาสาเข้าไปเสี่ยงชีวิตในแดนข้าศึก เพื่อทำภารกิจโจมตีที่พวกเขาไม่รู้แม้กระทั่งว่ามีเป้าหมายอะไร หรือกำลังไป ณ ที่แห่งใด ภายใต้ปฏิบัติการที่มีชื่อว่า ‘เฟรชแมน’ (Freshman)
ความล้ำหน้าของกองทัพนาซีเยอรมนีนำหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรในเรื่องการวิจัยระเบิดปรมาณูอยู่ถึง 2 ปี นักวิทยาศาสตร์เยอรมนีสามารถแยกอะตอมของธาตุยูเรเนียมได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1938 และยึดเหมืองแร่ยูเรเนียมแห่งเดียวในทวีปยุโรป ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 1940 เยอรมนีบุกนอร์เวย์ ยึดแหล่งจัดหาน้ำมวลหนัก ‘ดิวทีเรียม ออกไซด์’ แห่งเดียวในโลก
เดือนต่อมาฮิตเลอร์ ได้ยึดบริษัทสัญชาติเบลเยียมที่ทำเหมืองแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในเบลเจียนคองโก (ชื่อเดิมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) และส่งยูเรเนียมความบริสุทธิ์สูง จำนวนกว่า 2,000 ตันไปยัง ‘สถาบัน ไคเซอร์ วิลเฮล์ม’ ในกรุงเบอร์ลิน ที่นักวิทยาศาสตร์ของ ‘อูรันเฟอเรน’ (uranverein) หรือโครงการอาวุธนิวเคลียร์เยอรมัน กำลังขะมักเขม้นสร้างเตาปฏิกรณ์
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในยุคนั้น และประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ แห่งสหรัฐฯ หวาดกลัวว่ากองทัพนาซีเยอรมัน จะได้รับชัยชนะในการสร้างอาวุธมหาประลัยนี้ จึงมีเป้าหมายให้ทำลาย โรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำมวลหนัก ‘เวมอร์ค’ ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ราบสูง ‘ฮาร์ดังเกอร์’ ซึ่งถูกหิมะปกคลุมและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตอนกลางของประเทศนอร์เวย์ ในแผนปฏิบัติการ เฟรชแมน คือให้ทหาร 36 นายทุกชั้นยศจากกองพลส่งกำลังทางอากาศ โดยสารเครื่องร่อนขนส่ง (glider) 2 ลำ ไปทำลาย
ปฏิบัติการนี้ ประกอบด้วย เครื่องร่อนขนส่ง ‘เอเอส.51 ฮอร์ซา’ 2 ลำ ซึ่งจะถูกปล่อยโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด ‘ฮาลิแฟ็กซ์’ ที่ความสูงประมาณ 700 ไมล์ เหนือเป้าหมาย โดยมีทีม เกราซ์ คอยนำทางหน่วยคอมมานโดด้วยสัญญาณไฟ และเรดาร์นำทาง ‘รีเบกกา-ยูเรกา’ ไปยังจุดลงที่บึง สโกลันด์ บริเวณชายฝั่งทะเลสาบมอส ซึ่งกลายเป็นน้ำแข็ง ห่างจากโรงไฟฟ้า เวมอร์ค ราว 8 ไมล์ จากนั้นหน่วยคอมมานโดจะใช้จักรยานพับได้เดินทางไปยังจุดหมาย พร้อมระเบิดที่เพียงพอจะทำลายอาคารคอนกรีตสูง 8 ชั้นแห่งนี้แต่ภารกิจล้มเหลว ลูกเรือที่รอดชีวิตแม้จะบาดเจ็บหนัก ก็โดนทหารเยอรมันจับตัวไปทรมานตลอด 48 ชั่วโมง เพื่อให้เปิดเผยข้อมูล และถูกประหารชีวิตจนคนสุดท้าย
แม้ปฏิบัติการนี้ จะประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และมีทหารเสียชีวิตไปถึง 41 นาย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก เพราะเยอรมันรู้แล้วว่า โรงงานเวมอร์ค ตกเป็นเป้าหมายโจมตี แต่การบุกของเฟรชแมนก็ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะ, ความยืดหยุ่น และความเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศและเครื่องร่อน รวมทั้งเน้นย้ำถึงความล้มเหลวของอุปกรณ์ ส่งผลให้มีการพัฒนา เรดาร์ รีเบกกา-ยูเรกา รุ่นใหม่ชื่อว่า ‘มาร์ค 2’ (MK-II) ซึ่งช่วยให้ภารกิจทางอากาศในเวลาต่อมาประสบความสำเร็จถึง 95%
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1134522
เปิดปฏิบัติการลับสุดยอดที่เกิดขึ้นจริง
อาจฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร่างแผนการรับมือหายนะจากซอมบี้จริง ๆ โดยใช้ชื่อรหัสว่า ‘Conplan 8888-11 Counter-Zombie Dominance’ โดยเป็นแฟ้มเอกสารที่ถูกเก็บไว้ที่ตึกเพนตากอน สำหรับเนื้อหาภายในแฟ้มเอกสารนั้นจะถูกระบุอย่างชัดเจนว่า ‘เอกสารฉบับนี้ไม่ได้ถูกร่างขึ้นมาเพื่อเป็นเรื่องโจ๊ก’ ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการโจมตีของผีดิบและซอมบี้อย่างจริงจัง
สำหรับภารกิจของแผนการ ‘Conplan 888’ นั้นมี 3 ภารกิจหลักสำคัญ อันได้แก่ ปกป้องพลเรือนจากการโจมตีโดยกองทัพซอมบี้ เตรียมพร้อมแผนการรับมือกองทัพผีดิบ และอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ขณะที่กองทัพซอมบี้ระบาด
นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงการศึกษารูปแบบของซอมบี้ ในกรณีที่เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมา จุดแข็งและจุดอ่อน รวมไปถึงอาวุธที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อรับมือซอมบี้ โดยมีกำกับประเด็นสำคัญไว้ว่า ‘ยิงเข้าที่ศีรษะ เพื่อทำลายสมองของพวกมัน’
เจ้าหน้าที่เพนตากอนระบุว่า หากเกิดหายนะกองทัพซอมบี้ระบาดขึ้นมาจริง ๆ คงไม่มีหน่วยรบภาคพื้นดินใดสามารถต้านทานกองกำลังผีดิบเดินได้เรือนแสนอย่างแน่นอน นอกจากนี่ศูนย์บัญชาการและที่ตั้งทางทหารจะถูกกองทัพซอมบี้ทำลายภายในวันเดียวอีกด้วย!
อย่างไรก็ตาม เด็กนักเรียนในสหรัฐฯ จำนวนมากต่างรู้สึกขบขันถึงแผนการดังกล่าว แต่พวกเขาก็ให้ความสนใจและสนุกไปกับมัน เพราะแผนการ ‘Conplan 888’ ตั้งอยู่พื้นฐานความเป็นไปได้ในโลกของความจริง แม้มันอาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวไป แต่ใครเลยจะรู้ว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แต่อย่างน้อยเด็ก ๆ และประชาชนอเมริกันและทั่วโลกยังอุ่นใจได้บ้างว่ารัฐบาลมีแผนการรับมือซอมบี้ที่รอบคอบไว้รองรับแล้ว
Cr. SpokeDark.TV
ปฏิบัติการ Ivy Bells
"Ivy Bells" หนึ่งในปฏิบัติการลับสุดยอดของอเมริกาในการแอบดักฟังการสื่อสารจากสายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียต
ในระหว่างช่วงสงครามเย็นอเมริกาหมดหวังที่จะรู้ถึงศักยภาพของขีปนาวุธข้ามทวีป หรือ ICBM รวมถึงศักยภาพในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ของอดีตสหภาพโซเวียต จนกระทั่งในปี 1970 อเมริกาได้ตรวจพบแนวสายเคเบิลใต้ทะเลที่กองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตใช้ในการสื่อสารระหว่างฐานทัพเรือภาคพื้นแปซิฟิกที่ Petropavlovsk กับศูนย์บัญชาการกองทัพเรือที่ วลาดิวอสต็อก
สายเคเบิ้ลนี้วางอยู่ใต้ทะเลโอคอสท์ ซึ่งอยู่ระหว่างคาบสมุทร Kamchatka กับแผ่นดินใหญ่ โดนกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตได้วางโครงข่ายอุปกรณ์ตรวจจับเสียงใต้น้ำเพื่อคอยตรวจจับการรุกล้ำน่านน้ำของเรือดำน้ำข้าศึก
ในปี 1970 James F. Bradley Jr หัวหน้าทีมปฏิบัติการใต้ทะเลของหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือสหรัฐ ตัดสินใจที่จะเริ่มปฏิบัติการที่จะ tap สายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตที่เพิ่งค้นพบจากการค้นหาซากเรือดำน้ำ K-129
รูปแสดงชุดอุปกรณ์ดักฟังที่เป็นแค่ปลอกหุ้มสายเคเบิ้ลไว้ และใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าในการอ่านข้อมูลที่วิ่งในสาย จึงเป็นที่มาของชื่อปฎิบัติการ Ivy Bell หูฟังที่เลื้อยพันเพื่อแอบฟังนั่นเอง
การที่จะเข้าทำปฏิบัติการโดยไม่ให้ทาง กองทัพเรือของโซเวียตระแคะระคาย จึงได้มีการส่งเรือดำน้ำ USS Halibut เข้าไปในพื้นที่โดยทำทีเป็นว่าเข้าเก็บกู้ซากขีปนาวุธ SS-N-12 Sandbox supersonic anti-ship missile (AShM) ทั้งนี้ภารกิจเก็บกู้ซากขีปนาวุธก็เป็นเรื่องจริง ซากชิ้นส่วนขีปนาวุธกว่า 2 ล้านชิ้นที่เก็บกู้ได้ถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยกองทัพเรือ เพื่อทำการ RE Engineering ปฏิบัติการนี้ยาวนานกว่า 10 ปีโดยไม่ถูกระแคะระคาย
จนกระทั่งในปี 1981กองทัพโซเวียตจึงจับได้และขนอุปกรณ์ไปเก็บไว้ ต่อมาในปี 1999 อุปกรณ์ wiretap ที่ใช้ในปฎิบัติการนี้ได้ถูกนำมาตั้งแสดงต่อสาธารณะที่ Great Patriotic War Museum ในกรุงมอสโคว
Cr.https://www.blockdit.com/articles/5d5c1e65c58b2d14fa307401
ปฏิบัติการป๊อปอาย (Operation Popeye)
‘ปฏิบัติการป๊อปอาย’ ภารกิจสร้างฝนเทียมในสมรภูมิรบสงครามเวียดนาม ที่ภายหลังถูกวิพากษ์จารณ์อย่างหนักจนเป็นเรื่องต้องห้าม
สงครามเวียดนาม เป็นการสู้รับที่ได้ชื่อว่ามียุทธวิธีในการรบที่หลากหลายมาที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ เวียดนามทำให้โลกใช้ยุทธศาสตร์ด้านภูมิประเทศ ที่แม้แต่กองทัพสหรัฐฯ ที่เหนือกว่ามากยังเสียเปรียบ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงถูกนำมาใช้ในสำหรับ “สร้างฝนเทียม”
เป็นโครงการที่อนุมัติโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกระทรวงการต่างประเทศอย่างลับๆ ซึ่งดำเนินการในช่วงสงครามเวียดนาม โดยมีภารกิจหลักคือ การยืดฤดูฝนบริเวณเวียดนามตอนเหนือให้นานออกไป เพื่อให้การเดินทางของกองกำลังเวียดนามและการเคลื่อนย้ายอาวุธเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงภัยน้ำป่าที่รุนแรงสร้างความเสียหายให้กับกองกำลังเวียดนามเหนือตลอดฤดูฝนให้นานจากเดิมขึ้นเป็นเวลา 30-45 วัน
ภารกิจนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1967 และดำเนินต่อไปตลอดช่วงฤดูฝน (มีนาคม-พฤศจิกายน) หน่วยที่ได้รับมอบหมายคือ ฝูงบินลาดตระเวนสภาพอากาศที่ 54 ของกองทัพสหรัฐฯ ได้นำเครื่องบิน C-130 จำนวน 3 ลำ และ เครื่องบิน F4-C จำนวน 2 ลำ บินสร้างก้อนเมฆเหนือน่านฟ้าเวียดนามและชายแดนสปป. ลาว วันละ 2 เที่ยว ก่อนกลับมาประจำอยู่ที่ จ.อุดรธานี และฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ที่เกาะกวม ภารกิจนี้ได้สิ้นสุดลงในปี 1972 หลังปฏิบัติภารกิจมาต่อเนื่องถึง 6 ช่วงฤดูฝน
ในปี 1971 สำนักข่าวชื่อดังของสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยภารกิจสร้างฝนเทียมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยงานต่างๆ มากมาย แก่กองทัพสหรัฐฯ ไม่นาน ปฏิบัติการป๊อปอายเหนือน่านฟ้าของสปป.ลาว ก็ถูกยกเลิกในทันที
หลังจากสิ้นสุดสงครามกองทัพสหรัฐฯ ถูกสภาคองเกรสกดดันและวิจารณ์อย่างหนัก ต่อมาสมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ประชุมและมีมติร่าง “อนุสัญญาสากลว่าด้วยการห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพอาการเพื่อทำการสงครามหรือทางการทหาร” ขึ้นมาโดยมีผลบังคับใช้ในปี 1978 นับแต่นั้นเป็นต้นมา
Cr.SpokeDark.TV
ปฏิบัติการเนื้อสับ (Operation Mincemeat)
ต้นปี ค.ส.1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังเตรียมพร้อมจะบุกดินแดนในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน โดยจะจู่โจมทางแอฟริกาเหนือจุดหมายของสัมพันธมิตรคือ เกาะซิซิลี เพื่อที่จะให้การบุกประสบความสำเร็จจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ศัตรูไม่ทันตั้งตัว นายทหารอังกฤษจึงวางแผน โดยชื่อรหัสว่า"Operation Mincemeat " โดยนำเอาศพศพหนึ่งมาจากโรงเก็บศพในกรุงลอนดอน แลัวเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามใหม่หมด
ศพถูกแต่งตัวโดยเอาเครื่องแบบมาสวมให้มีเอกสารในกระเป๋าระบุว่า เขาคือพันตรี วิลเลียม มาร์ติน ผู้ส่งข่าวทางทหาร มีกระเป็าเอกสารล่ามด้วยโซ่ติดกับมือ ข้างในกระเป๋าจารชนชั้นเซียนของอังกฤษซุกเอกสารปลอมไว้ บอกว่าเป้าหมายของการบุกคือกรีซไม่ใช่ซิซิลี แลัวเรือดำน้ำอังกฤษก็นำร่าง"พันตรี วิลเลียม มาร์ติน"ไปทิ้งนอกชายฝั่งสเปน
ทำให้ดูเหมือนกับว่า เขาเป็นผู้ส่งข่าวทางทหารที่เสียชีวิตจากเครื่องบินตก แลัวก็เป็นไปตามคาดเจ้าหน้าที่ของสเปนนำเอาเอกสารนั้นไปให้พวกเยอรมัน ฝ่ายเยอรมันหลงกลโดยสิ้นเชิง ข่าวนี้ถูกส่งไปให้ฮิตเลอร์อย่างรวดเร็ว ฮิตเลอร์จึงให้ถือเอาการป้องกันหลังบ้านตนเองเกาะกรีซเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด กองบัญชาการระดับสูงสุดของเยอรมันส่งหน่วยยานเกราะไปที่นั่น ฮิตเลอร์ยังได้ส่งจอมพลเออร์วิน รอมเมล ผู้ได้ฉายา"จิ้งจอกทะเลทราย"ไปยังกรุงเอเธนส์เพื่อวางแผนป้องกันและบัญชาการรบ แต่การสงครามในกรีซย่อมจะไม่เกิดขึ้น
กองกำลังภายใต้การนำของนายพลเบอร์นาร์ด มอนโกเมอรี่ และนายพล จอร์จ แพตตัน ยกพลขึ้นบกที่ซิซฺลี ซึ่งกองทัพเยอรมันและอิตาลียังไม่พร้อมที่จะรับมือ ชัยชนะจึงได้มาด้วยความช่วยเหลือของชายผู้ได้เสียชีวิตไปแลัว ต่อมานาวาเอก Ewen Montagu ผู้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการครั้งนั้นได้นำเรื่องนี้ไปเขียนเป็นหนังสือชื่อ"The Man Who Never Was"ในปี 1953 ต่อมาในปี 1956 ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยใช้ชื่อเดียวกัน...
https://board.postjung.com/979144
ปฏิบัติการ ‘เฟรชแมน’ (Freshman)
ในวันที่ 19 พ.ย. 1942 มีปฏิบัติการพลีชีพของทหารหน่วยหนึ่ง ที่ปูทางไปสู่ความสำเร็จของ กันเนอร์ไซด์ และภารกิจอื่นๆ เหล่าทหารหาญอาสาเข้าไปเสี่ยงชีวิตในแดนข้าศึก เพื่อทำภารกิจโจมตีที่พวกเขาไม่รู้แม้กระทั่งว่ามีเป้าหมายอะไร หรือกำลังไป ณ ที่แห่งใด ภายใต้ปฏิบัติการที่มีชื่อว่า ‘เฟรชแมน’ (Freshman)
ความล้ำหน้าของกองทัพนาซีเยอรมนีนำหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรในเรื่องการวิจัยระเบิดปรมาณูอยู่ถึง 2 ปี นักวิทยาศาสตร์เยอรมนีสามารถแยกอะตอมของธาตุยูเรเนียมได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1938 และยึดเหมืองแร่ยูเรเนียมแห่งเดียวในทวีปยุโรป ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 1940 เยอรมนีบุกนอร์เวย์ ยึดแหล่งจัดหาน้ำมวลหนัก ‘ดิวทีเรียม ออกไซด์’ แห่งเดียวในโลก
เดือนต่อมาฮิตเลอร์ ได้ยึดบริษัทสัญชาติเบลเยียมที่ทำเหมืองแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในเบลเจียนคองโก (ชื่อเดิมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) และส่งยูเรเนียมความบริสุทธิ์สูง จำนวนกว่า 2,000 ตันไปยัง ‘สถาบัน ไคเซอร์ วิลเฮล์ม’ ในกรุงเบอร์ลิน ที่นักวิทยาศาสตร์ของ ‘อูรันเฟอเรน’ (uranverein) หรือโครงการอาวุธนิวเคลียร์เยอรมัน กำลังขะมักเขม้นสร้างเตาปฏิกรณ์
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในยุคนั้น และประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ แห่งสหรัฐฯ หวาดกลัวว่ากองทัพนาซีเยอรมัน จะได้รับชัยชนะในการสร้างอาวุธมหาประลัยนี้ จึงมีเป้าหมายให้ทำลาย โรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำมวลหนัก ‘เวมอร์ค’ ที่ตั้งอยู่ ณ ที่ราบสูง ‘ฮาร์ดังเกอร์’ ซึ่งถูกหิมะปกคลุมและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตอนกลางของประเทศนอร์เวย์ ในแผนปฏิบัติการ เฟรชแมน คือให้ทหาร 36 นายทุกชั้นยศจากกองพลส่งกำลังทางอากาศ โดยสารเครื่องร่อนขนส่ง (glider) 2 ลำ ไปทำลาย
ปฏิบัติการนี้ ประกอบด้วย เครื่องร่อนขนส่ง ‘เอเอส.51 ฮอร์ซา’ 2 ลำ ซึ่งจะถูกปล่อยโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด ‘ฮาลิแฟ็กซ์’ ที่ความสูงประมาณ 700 ไมล์ เหนือเป้าหมาย โดยมีทีม เกราซ์ คอยนำทางหน่วยคอมมานโดด้วยสัญญาณไฟ และเรดาร์นำทาง ‘รีเบกกา-ยูเรกา’ ไปยังจุดลงที่บึง สโกลันด์ บริเวณชายฝั่งทะเลสาบมอส ซึ่งกลายเป็นน้ำแข็ง ห่างจากโรงไฟฟ้า เวมอร์ค ราว 8 ไมล์ จากนั้นหน่วยคอมมานโดจะใช้จักรยานพับได้เดินทางไปยังจุดหมาย พร้อมระเบิดที่เพียงพอจะทำลายอาคารคอนกรีตสูง 8 ชั้นแห่งนี้แต่ภารกิจล้มเหลว ลูกเรือที่รอดชีวิตแม้จะบาดเจ็บหนัก ก็โดนทหารเยอรมันจับตัวไปทรมานตลอด 48 ชั่วโมง เพื่อให้เปิดเผยข้อมูล และถูกประหารชีวิตจนคนสุดท้าย
แม้ปฏิบัติการนี้ จะประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และมีทหารเสียชีวิตไปถึง 41 นาย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก เพราะเยอรมันรู้แล้วว่า โรงงานเวมอร์ค ตกเป็นเป้าหมายโจมตี แต่การบุกของเฟรชแมนก็ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะ, ความยืดหยุ่น และความเป็นไปได้ที่จะปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศและเครื่องร่อน รวมทั้งเน้นย้ำถึงความล้มเหลวของอุปกรณ์ ส่งผลให้มีการพัฒนา เรดาร์ รีเบกกา-ยูเรกา รุ่นใหม่ชื่อว่า ‘มาร์ค 2’ (MK-II) ซึ่งช่วยให้ภารกิจทางอากาศในเวลาต่อมาประสบความสำเร็จถึง 95%
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1134522