เมื่อคุณซื้อรถยนต์มา แล้วคุณเกิดผ่อนไม่ไหว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง กระทู้นี้จะเป็นสิ่งที่เราพบเจอมาเลยอยากมาเล่าให้ฟัง
โดยปกติ เมื่อคุณซื้อรถแล้วผ่อนปกติจนหมดมันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรที่เกิดความผิดพลาดไม่สามารถทำตามสัญญาได้
1 - 2 งวดแรก เค้าจะโทรทวงคุณ ( ให้คิดซะว่าเค้าเตือนถ้าคุณทำได้รีบไปจ่าย อย่าปล่อยให้เกินสองเดือน เพราะถ้าเข้าเกิน 3 เดือนมันจะถูกบอกเลิกสัญญาได้)
แต่ถ้ามันเกินแล้วโดนบอกเลิก นี่คือสิ่งที่จะเจอ
1. หมายศาล 2. เจรจาในศาล 3. ถ้าเค้ายอมให้ผ่อนต่อ ก็ผ่อนไป จนจบ ถ้าไม่ยอม ก็ให้ศาลท่านตัดสิน ได้ผลอย่างไรก็ทำตามนั้น
แต่!!! มันไม่จบแค่นั้นสิ
หลังจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว รถของคุณจะเปลี่ยนสถานะ จากคุณที่เคยครอบครองมันกลับไปเป็นของ ธ.ที่ให้เช่าซื้อ ผลที่ตามมาก็คือ ถ้าหากคุณสามารถหาเงินมาปิด ได้จนครบ
เมื่อถึงเวลาโอน หากยอดที่ศาลสั่งมันน้อยกว่ายอดที่ธนาคารฟ้อง ธ. จะบังคับให้คุณจ่ายส่วนต่าง ไม่งั้นมันจะไม่โอนให้คุณ ก็ต้องจำใจหามาจ่าย แต่ตรงส่วนนี้ หาเจอเจ้าหน้าที่ดี เค้าอาจจะขอส่วนลดให้คุณได้ ก็ต้องลองคุยกันดีๆ
และ หลังจากเคลียร์ธนาคารเสร็จ คุณจะต้องเตรียมเงินจ่ายภาษีรถยนต์ ในช่วงปีที่รถตกเป็นชื่อของ ธนาคารแต่เพียงผู้เดี๋ยว นั่นคือ รถเป็นของนิติบุคคล คุณต้องชำระภาษี 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระจริง พร้อมเบี้ยปรับ กล่าวคือ ถ้ารถคุณต้องเสียภาษี 3500 บาท ในเวลาปกติ แต่ถ้ามันตกเป็นของนิติบุคคลไปแล้ว คุณต้องเสียภาษี 7000 บาท!!! แม่เจ้าาาาาา อะไร กัน ขูดรีดมากที่สุด คนไม่มีอยู่แล้ว ยังจะมาเก็บนู่นนี่อีก เฮ้อ!!!
เอ๊ะ แล้วถ้าไม่สามารถผ่อนหรือปิดได้ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น
1. คุณต้องคืนรถ ในสภาพที่ศาลสั่ง ถ้าคุณไม่คืน ธ.ก็จะตามยึด ( จริงๆ ตามยึดตั้งแต่ ก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้ายังคุยกับธนาคารอยู่ เค้าก็ไม่ส่งคนออกมายึด เพราะว่าอย่างรถเจ้าของกระทู้ ไม่ชำระเป็นปี ก็ไม่มีใครมาตามนะ แต่เราก็พยายามคุยและหาทางชำระตลอด)
2. ยึดหรือคืนแล้วอย่าคิดว่ามันจะจบ ธ.มันจะเอารถคุณไปขาย ถ้าไม่ได้ตามยอดที่ศาลประเมิน หรือ ไม่ได้ตามยอดที่มันระบุบไว้ มันก็จะมาตามฟ้องคุณอีก ตามเงินจากคุณ เสียทั้งรถ เสียทั้งเงินอีกต่อ สะเทือนใจลูกหนี้เสียจริงๆ
เท่าที่รู้ก็แค่นี้ .... ถูกบ้างผิดบ้าง พิมพ์ไม่รู้เรื่องบ้างต้องขอโทษด้วย
เจ้าของกระทุ้ชำระหมดแล้วนะ เอารถกลับมาแล้ว จบจ้า
รีวิวการถูกบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
โดยปกติ เมื่อคุณซื้อรถแล้วผ่อนปกติจนหมดมันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรที่เกิดความผิดพลาดไม่สามารถทำตามสัญญาได้
1 - 2 งวดแรก เค้าจะโทรทวงคุณ ( ให้คิดซะว่าเค้าเตือนถ้าคุณทำได้รีบไปจ่าย อย่าปล่อยให้เกินสองเดือน เพราะถ้าเข้าเกิน 3 เดือนมันจะถูกบอกเลิกสัญญาได้)
แต่ถ้ามันเกินแล้วโดนบอกเลิก นี่คือสิ่งที่จะเจอ
1. หมายศาล 2. เจรจาในศาล 3. ถ้าเค้ายอมให้ผ่อนต่อ ก็ผ่อนไป จนจบ ถ้าไม่ยอม ก็ให้ศาลท่านตัดสิน ได้ผลอย่างไรก็ทำตามนั้น
แต่!!! มันไม่จบแค่นั้นสิ
หลังจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว รถของคุณจะเปลี่ยนสถานะ จากคุณที่เคยครอบครองมันกลับไปเป็นของ ธ.ที่ให้เช่าซื้อ ผลที่ตามมาก็คือ ถ้าหากคุณสามารถหาเงินมาปิด ได้จนครบ
เมื่อถึงเวลาโอน หากยอดที่ศาลสั่งมันน้อยกว่ายอดที่ธนาคารฟ้อง ธ. จะบังคับให้คุณจ่ายส่วนต่าง ไม่งั้นมันจะไม่โอนให้คุณ ก็ต้องจำใจหามาจ่าย แต่ตรงส่วนนี้ หาเจอเจ้าหน้าที่ดี เค้าอาจจะขอส่วนลดให้คุณได้ ก็ต้องลองคุยกันดีๆ
และ หลังจากเคลียร์ธนาคารเสร็จ คุณจะต้องเตรียมเงินจ่ายภาษีรถยนต์ ในช่วงปีที่รถตกเป็นชื่อของ ธนาคารแต่เพียงผู้เดี๋ยว นั่นคือ รถเป็นของนิติบุคคล คุณต้องชำระภาษี 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระจริง พร้อมเบี้ยปรับ กล่าวคือ ถ้ารถคุณต้องเสียภาษี 3500 บาท ในเวลาปกติ แต่ถ้ามันตกเป็นของนิติบุคคลไปแล้ว คุณต้องเสียภาษี 7000 บาท!!! แม่เจ้าาาาาา อะไร กัน ขูดรีดมากที่สุด คนไม่มีอยู่แล้ว ยังจะมาเก็บนู่นนี่อีก เฮ้อ!!!
เอ๊ะ แล้วถ้าไม่สามารถผ่อนหรือปิดได้ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น
1. คุณต้องคืนรถ ในสภาพที่ศาลสั่ง ถ้าคุณไม่คืน ธ.ก็จะตามยึด ( จริงๆ ตามยึดตั้งแต่ ก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้ายังคุยกับธนาคารอยู่ เค้าก็ไม่ส่งคนออกมายึด เพราะว่าอย่างรถเจ้าของกระทู้ ไม่ชำระเป็นปี ก็ไม่มีใครมาตามนะ แต่เราก็พยายามคุยและหาทางชำระตลอด)
2. ยึดหรือคืนแล้วอย่าคิดว่ามันจะจบ ธ.มันจะเอารถคุณไปขาย ถ้าไม่ได้ตามยอดที่ศาลประเมิน หรือ ไม่ได้ตามยอดที่มันระบุบไว้ มันก็จะมาตามฟ้องคุณอีก ตามเงินจากคุณ เสียทั้งรถ เสียทั้งเงินอีกต่อ สะเทือนใจลูกหนี้เสียจริงๆ
เท่าที่รู้ก็แค่นี้ .... ถูกบ้างผิดบ้าง พิมพ์ไม่รู้เรื่องบ้างต้องขอโทษด้วย
เจ้าของกระทุ้ชำระหมดแล้วนะ เอารถกลับมาแล้ว จบจ้า