สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เชอร์ลี เมสัน (Shirley Mason) ต้นฉบับซีบิล
เชอร์ลี เมสัน หรือ ซีบิล อิสซาเบล ดอร์เซ็ตต์ (Sybil Isabel Dorsett ) ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกที่เรื่องของเธอถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ มินิซีรีส์ทางโทรทัศน์ และเป็นหนังสือขายดีในชือ ซีบิล (Sybil)
สาเหตุของอาการป่วยของเมสัน เกิดจากการถูกแม่แท้ๆ ทารุณกรรมทางเพศด้วยวิธีโหดร้ายเกินกว่าจะบอกเล่าได้
เธอเล่าให้คุณหมอประจำตัวฟังว่า เธอจำได้ว่าเธอมักตื่นขึ้นมาในโรงแรมนอกเมืองที่เธอไม่รู้จัก จำไม่ได้ว่ามาถึงที่นี่ได้ยังไง บางครั้งก็ยืนงงๆ อยู่หน้าชั้นสินค้าที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่งเธอไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเธอเป็นคนพังมันกับมือ จิตแพทย์ระบุว่า เชอร์ลี เมสัน เป็นโรคหลายบุคลิกที่มีตัวตนถึง 16 ตัวตนด้วยกัน
หลังจากนั้นเรื่องราวของเธอก็ปรากฎเป็นหนังสือ เป็นภาพยนตร์ ทำให้เธอกลายเป็นคนดัง จนเกิดเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอป่วยจริงหรือไม่ บางคนก็คิดว่าเธอนั้นหลอกลวงเพราะอยากมีชื่อเสียง และคุณหมอก็เห็นดีเห็นงามจึงฝังเรื่องโรคหลายบุคลิกใส่สมองเธอ
เมสันเสียใจกับข้อกล่าวหานี้มาก เธอจึงเขียนจดหมายหาหมอของเธอเพื่อบอกว่า เธอสร้างตัวตนขึ้นมาเพื่อหลอกทุกคน แต่หมอกลับบอกเธอว่า สมองเธอต่างหากที่สร้างเรื่องมาหลอกตัวเองว่าเธอไม่ได้ป่วย สุดท้ายเมสันยอมรับในโรคหลายบุคลิกของตัวเธอ และเข้ารับการบำบัดกับคุณหมอต่อไป
ในฉากสุดท้ายของมินิซีรีส์ ซีบิล ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดั่งเจ้าหญิงนิยาย แต่ในชีวิตจริงเมสันกลับต้องพึ่งพิงคุณหมอประจำตัวต่อไป เธอมีอาการติดยาและไม่สามารถทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1988 เชอร์ลี เมสันก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเต้านม
หลุยส์ วิเวต์ (Louis Vivet ) ต้นแบบด็อกเตอร์จีคอลและมิสเตอร์ไฺฮด์
จากเรื่อง STRANGE CASE OF DR. JEKYLL AND MR. HYDE
หลุยส์ วิเวต์ ชาวฝรั่งเศส ชายหนุ่มคนแรกที่ได้รับการระบุว่าเป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่งเกิดจากการถูกแม่แท้ๆ ทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก
เมื่อแม่ไม่ไยดี เขาจึงกลายเป็นเด็กเสเพล และเข้าๆ ออกๆ สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนตั้งแต่ 8 ขวบ จนกระทั่งอายุ 17 ปี ในขณะที่เริ่มงานในไร่องุ่น งูพิษตัวหนึ่งได้เข้ารัดแขนซ้ายเขา แม้มันจะไม่ได้กัด แต่เหตุการณ์นี้สร้างความหวาดกลัวให้กับวิเวต์จนเขาหมดสติไป และเมื่อตื่นขึ้นมาก็พบร่างกายตั้งแต่ส่วนสะโพกลงไปกลับกลายเป็นอัมพาต
ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากนั้นประมาณหนึ่งปีกว่าๆ เขาก็กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่สิ่งที่น่าแปลกใจมากกว่าการเดินได้ นั่นคือ การปรากฏบุคลิกภาพอีกหนึ่งตัวตนของวิเวต์ เมื่อช่วงเป็นอัมพาต วิเวต์คือชายหนุ่มสุภาพ จิตใจดี หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตัดเสื้อในโรงพยาบาลบำบัดทางจิต แต่เมื่อเขากลายเป็นวิเวต์ที่เดินได้ เขาก็เปลี่ยนไปเป็นคนก้าวร้าว ขี้โมโห และยังจำใครในโรงพยาบาลไม่ได้อีก วิเวต์สลับบุคลิกทั้งสองออกมาโลกภายนอก โดยเขาบอกหมอว่า เขาจำช่วงเวลาที่เป็นอัมพาตไม่ได้เลยสักนิด
จนกระทั่งวิเวต์ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการของโรคหลายบุคลิกจริง หมอพบว่า เขามีบุคลิกที่แตกต่างกันถึง 10 ตัวตน เช่น ชายหนุ่มผู้ใจดีในสถานะคนอัมพาตด้านล่าง ชายหนุ่มขี้โมโหในช่วงเวลาที่เดินได้ บางบุคลิกขี้เกียจ บางบุคลิกขยันขันแข็ง และมีบางบุคลิกที่ไม่ได้เป็นอัมพาตด้านล่างแต่เป็นอัมพาตที่ซีกซ้ายของร่างกายด้วย
เรื่องราวของหลุยส์ วิเวต์ สิ้นสุดการบันทึกเป็นหลักฐานทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 1886 โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด
คริส คอสท์เนอร์ ไซส์มอร์ (Chris Costner Sizemore)
หญิงสาวที่เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนตร์เรื่องThe Three Faces of Eve
คริส คอสท์เนอร์ ไซส์มอร์ จากเมืองเอดเกอร์ฟิลด์ (Edgefield) รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ประเทศสหรัฐอเมริกา เธอก็เป็นหนึ่งคนที่ประสบปัญหาภาวะบุคลิกแตกแยก แต่แตกต่างจากผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะในวัยเด็กเธอไม่เคยถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจมาก่อน เรียกได้ว่าเป็นเด็กหญิงที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขที่สุดในเมืองเลยก็ว่าได้
แต่เมื่อปี ค.ศ. 1929 เธอเป็นโรคซึมเศร้าจากเหตุการณ์สะเทือนใจสุดเศร้าของครอบครัว และหลังจากอาการของโรคหลายบุคลิกก็ตามมา เธอบอกว่า เมื่อเวลาที่เธอรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจ เธอมักจะให้บุคลิกเด็กผู้หญิงผมแดงคนหนึ่งออกมาเผชิญโลก และบ่อยครั้งที่เธอจะหูแว่วได้ยินเสียงบุคลิกอื่นๆ คุยกับตัวเธอเองในหัวตลอดเวลา
จนเมื่ออายุ 20 ปี เธอเข้ารับการบำบัดทางจิต หลังจากที่คลอดลูกสาวคนแรกชื่อ แทฟฟี่ (Taffy) เนื่องมาจากบุคลิกหนึ่งที่ชื่อว่า อีฟ แบล็ก (Eve Black) ปรากฏตัวมาบีบคอลูกสาวที่ยังเล็กของเธอ แต่โชคยังดีที่ บุคลิกด้านดีที่ชื่อ อีฟ ไวท์ (Eve White)สลับตัวออกมาช่วยไว้ทัน
หลังจากนั้นเธอก็เข้ารับการบำบัดเป็นเวลากว่า 25 ปี แตกบุคลลิกออกมาได้ถึง 22 ตัวตนด้วยกัน และพบแพทย์มากว่า 8 คน โดยหนึ่งในนั้นคือ คุณหมอ โทนี่ ไซทอส (Dr. Tony Tsitos) ได้รวมบุคลิกของเธอทั้งหมดจนกลายเป็นคนคนเดียวได้ในที่สุด
คริส คอส์ทเนอร์ ไซส์มอร์ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2016
Cr.https://www.amarinbooks.com
เชอร์ลี เมสัน หรือ ซีบิล อิสซาเบล ดอร์เซ็ตต์ (Sybil Isabel Dorsett ) ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกที่เรื่องของเธอถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ มินิซีรีส์ทางโทรทัศน์ และเป็นหนังสือขายดีในชือ ซีบิล (Sybil)
สาเหตุของอาการป่วยของเมสัน เกิดจากการถูกแม่แท้ๆ ทารุณกรรมทางเพศด้วยวิธีโหดร้ายเกินกว่าจะบอกเล่าได้
เธอเล่าให้คุณหมอประจำตัวฟังว่า เธอจำได้ว่าเธอมักตื่นขึ้นมาในโรงแรมนอกเมืองที่เธอไม่รู้จัก จำไม่ได้ว่ามาถึงที่นี่ได้ยังไง บางครั้งก็ยืนงงๆ อยู่หน้าชั้นสินค้าที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่งเธอไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเธอเป็นคนพังมันกับมือ จิตแพทย์ระบุว่า เชอร์ลี เมสัน เป็นโรคหลายบุคลิกที่มีตัวตนถึง 16 ตัวตนด้วยกัน
หลังจากนั้นเรื่องราวของเธอก็ปรากฎเป็นหนังสือ เป็นภาพยนตร์ ทำให้เธอกลายเป็นคนดัง จนเกิดเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอป่วยจริงหรือไม่ บางคนก็คิดว่าเธอนั้นหลอกลวงเพราะอยากมีชื่อเสียง และคุณหมอก็เห็นดีเห็นงามจึงฝังเรื่องโรคหลายบุคลิกใส่สมองเธอ
เมสันเสียใจกับข้อกล่าวหานี้มาก เธอจึงเขียนจดหมายหาหมอของเธอเพื่อบอกว่า เธอสร้างตัวตนขึ้นมาเพื่อหลอกทุกคน แต่หมอกลับบอกเธอว่า สมองเธอต่างหากที่สร้างเรื่องมาหลอกตัวเองว่าเธอไม่ได้ป่วย สุดท้ายเมสันยอมรับในโรคหลายบุคลิกของตัวเธอ และเข้ารับการบำบัดกับคุณหมอต่อไป
ในฉากสุดท้ายของมินิซีรีส์ ซีบิล ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดั่งเจ้าหญิงนิยาย แต่ในชีวิตจริงเมสันกลับต้องพึ่งพิงคุณหมอประจำตัวต่อไป เธอมีอาการติดยาและไม่สามารถทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1988 เชอร์ลี เมสันก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเต้านม
หลุยส์ วิเวต์ (Louis Vivet ) ต้นแบบด็อกเตอร์จีคอลและมิสเตอร์ไฺฮด์
จากเรื่อง STRANGE CASE OF DR. JEKYLL AND MR. HYDE
หลุยส์ วิเวต์ ชาวฝรั่งเศส ชายหนุ่มคนแรกที่ได้รับการระบุว่าเป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่งเกิดจากการถูกแม่แท้ๆ ทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก
เมื่อแม่ไม่ไยดี เขาจึงกลายเป็นเด็กเสเพล และเข้าๆ ออกๆ สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนตั้งแต่ 8 ขวบ จนกระทั่งอายุ 17 ปี ในขณะที่เริ่มงานในไร่องุ่น งูพิษตัวหนึ่งได้เข้ารัดแขนซ้ายเขา แม้มันจะไม่ได้กัด แต่เหตุการณ์นี้สร้างความหวาดกลัวให้กับวิเวต์จนเขาหมดสติไป และเมื่อตื่นขึ้นมาก็พบร่างกายตั้งแต่ส่วนสะโพกลงไปกลับกลายเป็นอัมพาต
ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากนั้นประมาณหนึ่งปีกว่าๆ เขาก็กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่สิ่งที่น่าแปลกใจมากกว่าการเดินได้ นั่นคือ การปรากฏบุคลิกภาพอีกหนึ่งตัวตนของวิเวต์ เมื่อช่วงเป็นอัมพาต วิเวต์คือชายหนุ่มสุภาพ จิตใจดี หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตัดเสื้อในโรงพยาบาลบำบัดทางจิต แต่เมื่อเขากลายเป็นวิเวต์ที่เดินได้ เขาก็เปลี่ยนไปเป็นคนก้าวร้าว ขี้โมโห และยังจำใครในโรงพยาบาลไม่ได้อีก วิเวต์สลับบุคลิกทั้งสองออกมาโลกภายนอก โดยเขาบอกหมอว่า เขาจำช่วงเวลาที่เป็นอัมพาตไม่ได้เลยสักนิด
จนกระทั่งวิเวต์ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการของโรคหลายบุคลิกจริง หมอพบว่า เขามีบุคลิกที่แตกต่างกันถึง 10 ตัวตน เช่น ชายหนุ่มผู้ใจดีในสถานะคนอัมพาตด้านล่าง ชายหนุ่มขี้โมโหในช่วงเวลาที่เดินได้ บางบุคลิกขี้เกียจ บางบุคลิกขยันขันแข็ง และมีบางบุคลิกที่ไม่ได้เป็นอัมพาตด้านล่างแต่เป็นอัมพาตที่ซีกซ้ายของร่างกายด้วย
เรื่องราวของหลุยส์ วิเวต์ สิ้นสุดการบันทึกเป็นหลักฐานทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 1886 โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเสียชีวิตด้วยสาเหตุใด
คริส คอสท์เนอร์ ไซส์มอร์ (Chris Costner Sizemore)
หญิงสาวที่เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนตร์เรื่องThe Three Faces of Eve
คริส คอสท์เนอร์ ไซส์มอร์ จากเมืองเอดเกอร์ฟิลด์ (Edgefield) รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ประเทศสหรัฐอเมริกา เธอก็เป็นหนึ่งคนที่ประสบปัญหาภาวะบุคลิกแตกแยก แต่แตกต่างจากผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะในวัยเด็กเธอไม่เคยถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจมาก่อน เรียกได้ว่าเป็นเด็กหญิงที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขที่สุดในเมืองเลยก็ว่าได้
แต่เมื่อปี ค.ศ. 1929 เธอเป็นโรคซึมเศร้าจากเหตุการณ์สะเทือนใจสุดเศร้าของครอบครัว และหลังจากอาการของโรคหลายบุคลิกก็ตามมา เธอบอกว่า เมื่อเวลาที่เธอรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจ เธอมักจะให้บุคลิกเด็กผู้หญิงผมแดงคนหนึ่งออกมาเผชิญโลก และบ่อยครั้งที่เธอจะหูแว่วได้ยินเสียงบุคลิกอื่นๆ คุยกับตัวเธอเองในหัวตลอดเวลา
จนเมื่ออายุ 20 ปี เธอเข้ารับการบำบัดทางจิต หลังจากที่คลอดลูกสาวคนแรกชื่อ แทฟฟี่ (Taffy) เนื่องมาจากบุคลิกหนึ่งที่ชื่อว่า อีฟ แบล็ก (Eve Black) ปรากฏตัวมาบีบคอลูกสาวที่ยังเล็กของเธอ แต่โชคยังดีที่ บุคลิกด้านดีที่ชื่อ อีฟ ไวท์ (Eve White)สลับตัวออกมาช่วยไว้ทัน
หลังจากนั้นเธอก็เข้ารับการบำบัดเป็นเวลากว่า 25 ปี แตกบุคลลิกออกมาได้ถึง 22 ตัวตนด้วยกัน และพบแพทย์มากว่า 8 คน โดยหนึ่งในนั้นคือ คุณหมอ โทนี่ ไซทอส (Dr. Tony Tsitos) ได้รวมบุคลิกของเธอทั้งหมดจนกลายเป็นคนคนเดียวได้ในที่สุด
คริส คอส์ทเนอร์ ไซส์มอร์ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2016
Cr.https://www.amarinbooks.com
แสดงความคิดเห็น
“2,500 คนในร่างเดียว”หลายบุคลิกเพื่อความอยู่รอด
(คำเตือน : บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทารุณกรรมและล่วงละเมิดทางเพศเด็ก)
เจนี เฮย์นส์ วัย 49 ปีถูกพ่อแท้ ๆ ผู้ให้กำเนิด ข่มขืน ทรมาน และทำร้ายร่างกายเป็นประจำ ตั้งแต่เธอยังมีอายุได้ไม่กี่ขวบ เจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลียถึงกับเอ่ยปากว่า กรณีของเธอถือเป็นคดีล่วงละเมิดทำร้ายเด็กที่โหดร้ายทารุณที่สุดคดีหนึ่งของประเทศ
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เจนีได้มีโอกาสเข้าให้ปากคำต่อศาลเพื่อดำเนินคดีเอาผิดกับพ่อ แม้ในวันนั้นจะมีเธอขึ้นเบิกความในฐานะผู้เสียหายเพียงคนเดียว แต่ในระหว่างการให้ปากคำที่ยาวนานกว่าสองชั่วโมง กลับมีพยานอีกถึง 6 คนเข้าร่วมให้การด้วย โดยที่ศาลไม่ได้นัดหมายหรือล่วงรู้ถึงพยานบุคคลเหล่านี้มาก่อน พวกเขาพูดผ่านร่างและเสียงของเจนีซึ่งเปลี่ยนบุคลิกจนกลายเป็นคนละคน
นักจิตวิทยาบอกว่า เหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นผลพวงจากการที่เจนีถูกทำร้ายทรมานติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สภาพจิตใจของเธอต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะที่คนทั่วไปยากจะทานทนได้
เพื่อที่จะแยกตัวตนของเธอออกมา และไม่ต้องรับรู้ความเจ็บปวดที่ถูกกระทำอยู่ทุกวี่วัน เจนีจึงสร้างบุคคลในจินตนาการขึ้นมาแทนที่ตัวเองเป็นจำนวนมากถึง 2,500 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีบุคลิกภาพแตกต่างกันออกไปคนละแบบ
กรณีของเจนีถือว่าเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียหรืออาจจะเป็นครั้งแรกของโลก ที่เหยื่อผู้ถูกกระทำซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลายบุคลิก (MPD/DID) ใช้ตัวตนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวตนดั้งเดิมให้การต่อศาล จนสามารถเอาผิดอาชญากรที่ทำร้ายตนได้ โดยศาลนครซิดนีย์มีคำพิพากษาจำคุกนายริชาร์ด เฮย์นส์ วัย 74 ปี พ่อของเจนีเป็นเวลา 45 ปีด้วยกัน
ถูกล้างสมองให้หวาดกลัวตลอดเวลา
ครอบครัวของเจนีย้ายถิ่นฐานจากกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ไปอยู่ที่ออสเตรเลียในปี 1974 ขณะที่เธอมีอายุได้ 4 ขวบ พ่อของเจนีเริ่มลงมือทำร้ายเธอมาก่อนหน้านั้นสักพักแล้ว และหลังจากย้ายบ้านมาพฤติกรรมของเขายิ่งรุนแรงขึ้นจนเข้าขั้นซาดิสม์ (sadism) หรือมีความสุขที่ได้ทำร้ายผู้อื่นและเห็นผู้อื่นเจ็บปวด
JENI HAYNES ตัวตนในจินตนาการที่มากมายถึง 2,500 บุคลิก เป็นวิธีปกป้องตัวตนที่แท้จริงจากการถูกทำร้ายเจนีให้การต่อศาลเรื่องที่พ่อทำร้ายเธอเกือบทุกวันว่า "พ่อทำอย่างนั้นโดยคิดคำนวณและวางแผนไว้แล้วเป็นอย่างดี เขาจงใจทำและมีความสุขรื่นเริงกับทุกนาทีที่ได้ทำลงไป"
"พ่อได้ยินฉันขอร้องอ้อนวอนให้เขาหยุด ได้ยินเสียงฉันร้องไห้ ได้เห็นความเจ็บปวดและหวาดกลัว ได้เห็นทั้งเลือดและบาดแผลที่เขาทำกับฉัน แต่ในวันต่อมาพ่อก็จะทำแบบเดิมอีก"
พ่อของเจนีล้างสมองลูกสาวให้เชื่อว่า เขาสามารถอ่านใจของเธอได้ โดยขู่ว่าจะฆ่าแม่และพี่น้องของเธอเสีย หากเธอบังอาจแม้แต่จะคิดถึงเรื่องที่ตัวเองถูกทำร้าย และไม่ควรจะคิดบอกเรื่องนี้กับใครทั้งสิ้น
"แม้แต่โลกส่วนตัวภายในจิตใจของฉันพ่อก็ยังบุกรุกเข้ามา ฉันไม่เคยรู้สึกปลอดภัยได้เลย แม้กระทั่งในความคิดของตัวเอง" เจนีกล่าว "ฉันคิดวิเคราะห์ไม่ได้อีกแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ฉันหาบทสรุปไม่ได้"
ด้วยความกลัวว่าพ่อจะอ่านความคิดของเธอออก เวลาที่เจนีนึกถึงเรื่องครอบครัวหรือเรื่องที่ถูกทำร้าย เธอจะพยายามกลบเกลื่อนและซ่อนมันไว้ในรูปของการร้องเพลงในใจ หรือนึกถึงเนื้อเพลงยอดนิยม เช่นเพลงของวง Culture Club "เธออยากทำร้ายฉันจริงหรือ" (Do you really want to hurt me)
JENI HAYNES นายริชาร์ด เฮย์นส์ กับลูก 3 คน ซึ่งรวมถึงเจนี (คนขวาสุด)พ่อของเจนียังห้ามเธอร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียน เพื่อไม่ให้มีคนจับพิรุธเรื่องที่เขาทำร้ายลูกได้ เจนีจึงเรียนรู้ที่จะทำตัวให้ลีบเล็กและนิ่งเงียบมากที่สุดเวลาอยู่ที่โรงเรียน เพื่อไม่ให้ตัวเองโดดเด่นเป็นที่สังเกตของบรรดาผู้ใหญ่ ซึ่งมันจะทำให้เธอถูกพ่อลงโทษ เหมือนกับครั้งที่ครูสอนว่ายน้ำมาขอกับพ่อให้เจนีเข้ารับการฝึกเป็นพิเศษ เพราะเห็นว่ามีความสามารถในทางนี้
พ่อยังไม่ยอมให้เจนีไปโรงพยาบาลหลังถูกข่มขืนหรือทุบตีอีกด้วย ทำให้บาดแผลของเธอกลายเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพตลอดชีวิต แพทย์บอกว่าเธอมีความเสียหายถาวรทั่วร่างกาย ทั้งที่กราม ลำไส้ รูทวาร กระดูกก้นกบ รวมทั้งการมองเห็นด้วย โดยเมื่อปี 2011 เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดให้ลำไส้ใหญ่มีช่องเปิดออกมาทางหน้าท้อง เพื่อเป็นรูทวารใหม่สำหรับการขับถ่าย
การทำร้ายทรมานดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนเจนีมีอายุได้ 11 ปี ครอบครัวของเธอย้ายถิ่นฐานกลับมาที่สหราชอาณาจักรอีกครั้ง และพ่อกับแม่ของเธอหย่าร้างกันหลังจากนั้นไม่นานในปี 1984 เจนีเชื่อว่าไม่มีใครรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น แม้แต่แม่ของเธอเอง
กลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด
ดร. แพม สตาฟโรปูลอส ผู้เชี่ยวชาญกรณีเด็กถูกล่วงละเมิดบอกว่า "โรคหลายบุคลิกนั้นพบได้มากกับกรณีเด็กถูกทำร้ายอย่างรุนแรง ในสภาพแวดล้อมที่ควรจะปลอดภัยและวางใจได้เช่นบ้านหรือโรงเรียน"
"ความผิดปกตินี้เป็นเหมือนกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่เด็กแยกตัวเองออกจากความรุนแรง ยิ่งเด็กอายุน้อยลงและถูกกระทำทารุณมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคหลายบุคลิกยิ่งมีสูงขึ้นเท่านั้น"
JENI HAYNES ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็ก เจนีบอกว่าเธอคือ "ซิมโฟนี" เด็กหญิงวัยสี่ขวบเจนีบอกว่า บุคคลแรกที่เธอรู้จักในฐานะอีกตัวตนหนึ่งของเธอก็คือ "ซิมโฟนี" เด็กหญิงอายุ 4 ขวบที่พูดด้วยเสียงแหลมสูงอย่างรวดเร็วแทบลืมหายใจ "เวลาที่พ่อทำร้ายฉัน จริง ๆ แล้วเขากำลังทำร้ายซิมโฟนี เธอรู้สึกเจ็บปวดในทุกนาทีที่พ่อทำแบบนั้น"
"เวลาที่มันเกิดขึ้น ตัวตนอื่น ๆ ของฉันจะเดินออกมาจากด้านหลัง และเบี่ยงเบนความสนใจไปจากตัวฉัน พวกเขาคือเกราะป้องกันไม่ให้พ่อทำร้ายฉันได้"
เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี แม้แต่ "ซิมโฟนี" เองก็เริ่มจะมีตัวตนอื่น ๆ ของเธอเพิ่มขึ้นมาด้วยกว่าหลายร้อยคน โดยแต่ละคนจะมีบุคลิกต่างกันออกไปเพื่อรองรับสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น "มัสเซิล" วัยรุ่นชายร่างสูงสวมเสื้อแขนสั้นโชว์กล้าม จะปรากฏตัวขึ้นเพื่อปกป้องเจนีหรือซิมโฟนีอย่างใจเย็นในเวลาที่ถูกทำร้ายรุนแรงเป็นพิเศษ หรือ "ลินดา" หญิงสาวร่างระหงสวมกระโปรงบานแบบย้อนยุคที่ทั้งเฉลียวฉลาดและสง่างาม ก็มักจะปรากฏตัวขึ้นบ่อยครั้งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนและเพื่อนฝูง
ในการให้ปากคำต่อศาลเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เจนีและตัวตนอื่น ๆ ของเธออีก 6 คนรวมทั้งเด็กหญิงซิมโฟนี ได้ร่วมกันบอกเล่าแง่มุมต่าง ๆ ของการถูกล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้พ่อของเจนีถูกตั้งข้อหาเอาผิดรวมทั้งสิ้นถึง 367 ข้อหา ซึ่งรวมถึงข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี, ล่วงเกินทางเพศ, และบังคับร่วมเพศทางทวารหนัก
บ้านที่ผู้เป็นพ่อก่อเหตุทารุณกรรมเจนี ตั้งอยู่ในเมืองกรีนเอเคอร์ ทางตะวันตกของนครซิดนีย์อัยการและผู้พิพากษาได้รับฟังความเห็นจากนักจิตวิทยา ซึ่งช่วยอธิบายไขความกระจ่างถึงอาการของโรคหลายบุคลิก รวมทั้งให้คำแนะนำเพื่อประเมินว่าถ้อยคำของเจนีเชื่อถือได้แค่ไหน
นักจิตวิทยาบอกว่าสิ่งที่ตัวตนอื่น ๆ ของเจนีให้การมานั้น แท้ที่จริงก็คือบันทึกความทรงจำของเธอที่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี โดยไม่ถูกลบเลือนไปจากสมองเหมือนผู้ป่วยอื่นที่ได้รับเหตุกระทบกระเทือนรุนแรงต่อจิตใจ คำให้การที่แม่นยำเหล่านี้ทำให้พ่อของเจนีต้องยอมรับสารภาพต่อข้อหาที่ร้ายแรงที่สุด 25 ข้อหา ในวันที่สองของการพิจารณาคดีเท่านั้น
ไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการยุติธรรม
ดร. เคที เคเซลแมน ประธานมูลนิธิ Blue Knot Foundation ของออสเตรเลีย ซึ่งให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากการถูกทารุณกรรมในวัยเด็กบอกว่า "กรณีของเจนีถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศาลยอมรับฟังคำให้การจากตัวตนอื่น ๆ ของโจทก์ที่ป่วยด้วยโรคหลายบุคลิก และนำมาประกอบการพิจารณาคดีจนสามารถลงโทษเอาผิดกับอาชญากรได้"
JENI HAYNES พ่อของเจนียอมรับสารภาพต่อข้อหาที่ร้ายแรงที่สุด 25 ข้อหา ในวันที่สองของการพิจารณาคดีแต่กว่าที่เจนีจะได้รับความยุติธรรม เธอต้องฝ่าฟันอุปสรรคที่เกิดจากโรคหลายบุคลิกมาแล้วอย่างมหาศาล เจนีตัดสินใจฟ้องร้องดำเนินคดีกับพ่อของเธอในปี 2009 แต่ก็ใช้เวลาร่วมสิบปีกว่าที่ตำรวจจะสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอ ต่อมาในปี 2017 พ่อของเจนีถูกส่งตัวจากอังกฤษไปรับการพิจารณาคดีที่ออสเตรเลีย แต่เขายังคงไม่ยอมรับผิดและบอกกับญาติพี่น้องว่าเจนีแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใส่ร้ายเขา
เป็นเรื่องยากที่เจนีจะได้รับความช่วยเหลือจากใคร ๆ ในเรื่องนี้ แม้แต่จากนักบำบัดและผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา เพราะตัวตนหลายบุคลิกของเธอนั้น ทำให้เรื่องเล่าจากอดีตอันโหดร้ายไม่น่าเชื่อถือ แม้แต่กับวงการแพทย์สมัยใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหลายบุคลิกมากขึ้นแล้วก็ตาม
โรคหลายบุคลิกยังทำให้เจนีใช้ชีวิตแบบคนทั่วไปได้ลำบาก แม้จะเรียนจบถึงระดับปริญญาโทและเอกด้านกฎหมายและจิตวิทยาก็ตาม เธอยังคงหางานประจำทำไม่ได้ และปัจจุบันอาศัยอยู่กับแม่โดยทั้งสองอาศัยเงินสวัสดิการจากรัฐเลี้ยงชีพ
JENI HAYNES "ลินดา" หญิงสาวร่างระหงที่ทั้งเฉลียวฉลาดและสง่างาม เป็นอีกบุคลิกหนึ่งของเจนี"ฉันต้องใช้ชีวิตอย่างระแวดระวังตลอดเวลา พยายามเก็บซ่อนบุคลิกอื่น ๆ ที่มีไม่ให้แสดงออกมา แต่มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปิดบังตัวตนอื่น ๆ อีก 2,500 คนภายในตัวฉัน" เจนีกล่าว
"แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ฉันปรารถนาอย่างยิ่งให้เรื่องราวของตัวเองถูกเล่าขานต่อกันไป ฉันต้องการให้ความพยายามดิ้นรนต่อสู้ถึงสิบปีนี้เป็นเหมือนไฟลามทุ่ง เผาทำลายอุปสรรคกีดขวางสำหรับคนรุ่นหลังที่ต้องเดินในเส้นทางเดียวกัน"
Cr..bbc.com/thai/
จากเรื่องจริงที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพยนตร์และหนังสือเรื่องดัง
บิลลี่ มิลลิแกน (Billy Milligan)
บิลลี่ ป่วยเป็นโรคหลายบุคลิก มีสาเหตุมาจากการถูกทารุณกรรมทางเพศจากพ่อเลี้ยงในวัย 8 ขวบ ทำให้บิลลี่ต้องสร้างตัวตนใหม่ออกมาเพื่อรับมือกับโลกภายนอก โดยระหว่างสืบสวนคดี เขาค่อยๆ เปิดเผยตัวตนออกมา ไม่ว่าจะเป็น อาเธอร์ อายุ 22 ปี ชาวอังกฤษ เป็นผู้ควบคุมและกำหนดบุคลิกที่จะออกมาโลกภายนอก เป็นคนฉลาด พูดสำเนียงอังกฤษ เรเกน วาดาสโควินิช อายุ 23 ปี ชาวยูโกสลาเวีย พูดภาษาอังกฤษที่ติดสำเนียงสลาฟอย่างชัดเจน เรเกนมีความสามารถในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์และยังเป็นนักคาราเต้ชั้นยอดด้วย อัลเลน อายุ 18 ปี เป็นคนเจ้าเล่ห์ จอมบงการผู้นี้มักจะเป็นผู้ติดต่อกับคนภายนอก ทอมมี่ อายุ 16 ปี เชี่ยวชาญในการสะเดาะเครื่องพันธนาการต่าง ๆ วิลเลียม สแตนลีย์ มิลลิแกน (บิลลี่ มิลลิแกน) อายุ 26 ปี หรือบิลลี่ มิลลิแกน ตัวตนหลัก
เรื่องราวของบิลลี่ มิลลิแกน ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นหนังสืออัตชีวประวัติเรื่อง The Minds of Billy Milligan หรือ บิลลี่ มิลลิแกน ชาย 24 บุคลิก จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Amarin และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับ M. Night Shyamalan ผู้กำกับคนดังที่นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง จิตหลุดโลก (Split ) ภาพยนตร์แนวจิตวิทยาเขย่าขวัญและระทึกขวัญที่ เล่าเรื่องของ Kevin Wendell ชายผู้มี 23 บุคลิก ซึ่งได้ลักพาตัวหญิงสาววัยรุ่น 3 คน มาขังไว้ในห้องใต้ดิน
Cr.https://www.amarinbooks.com