พระพุทธรูปศิลา สมัยทวารวดี
เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ชุดหนึ่ง มี จำนวน ๕ องค์ สร้างเป็นหินทรายสีขาว ๔ องค์ และอีก ๑ องค์เป็นหินทรายสีเขียว แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม โดยเชื่อว่า ๔ องค์แรก ซึ่งมีลักษณะและขนาด เดียวกันประดิษฐานในจระนำของซุ้มเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ส่วนองค์ที่ ๕ อาจอยู่ในวิหาร พระพุทธรูปทั้งหมดอยู่ในสภาพชำรุดแตกหัก เป็นชิ้นส่วน ได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ใน ภายหลัง และเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานตาม ที่ต่างๆ คือ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม เป็นองค์ที่ สมบูรณ์ที่สุด องค์ที่ ๒ ประดิษฐานที่บริเวณลานประทักษิณด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ องค์ที่ ๓ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร องค์ที่ ๔ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และองค์ที่ ๕ ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปศิลาทรายขาว หรือหินทรายสีขาวทั้ง ๔ องค์ เป็นปางทรงแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา) ด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ประทับนั่งห้อยพระบาท ทั้งท่านั่งและการครองผ้าได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะและสมัยปาละ ส่วนลักษณะพระพักตร์สร้างเป็นแบบพื้นเมืองแล้ว
พระพุทธรูปศิลา สมัยทวารวดี สมัยอดีตงดงาม
เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ชุดหนึ่ง มี จำนวน ๕ องค์ สร้างเป็นหินทรายสีขาว ๔ องค์ และอีก ๑ องค์เป็นหินทรายสีเขียว แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม โดยเชื่อว่า ๔ องค์แรก ซึ่งมีลักษณะและขนาด เดียวกันประดิษฐานในจระนำของซุ้มเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ส่วนองค์ที่ ๕ อาจอยู่ในวิหาร พระพุทธรูปทั้งหมดอยู่ในสภาพชำรุดแตกหัก เป็นชิ้นส่วน ได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ใน ภายหลัง และเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานตาม ที่ต่างๆ คือ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม เป็นองค์ที่ สมบูรณ์ที่สุด องค์ที่ ๒ ประดิษฐานที่บริเวณลานประทักษิณด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ องค์ที่ ๓ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร องค์ที่ ๔ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และองค์ที่ ๕ ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปศิลาทรายขาว หรือหินทรายสีขาวทั้ง ๔ องค์ เป็นปางทรงแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา) ด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ประทับนั่งห้อยพระบาท ทั้งท่านั่งและการครองผ้าได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะและสมัยปาละ ส่วนลักษณะพระพักตร์สร้างเป็นแบบพื้นเมืองแล้ว