สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย
เดิมที สายนี้คือ 26ก มีนบุรี – เอกมัย เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2553
ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้รถเมล์มีวิ่งบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทดแทนรถเมล์สาย 154 ที่เลิกวิ่งไปแล้ว
กับต้องลดจำนวนรถเมล์ฟรีที่วิ่งในเส้นทางหลักอย่าง มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัย ไปในตัว แต่ก็สร้างวีรกรรม
ในการไม่รับผู้โดยสารบนถนนเส้นนี้ ไว้มากพอสมควร
ในช่วงปลายปี 2560 ทางเขตการเดินรถที่ 2 ได้นำตัว “ก” ออก ก็เลยกลายเป็น สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย นับแต่นั้นมา
หากใครที่จะไปเอกมัย ต้องสังเกตป้ายหน้ารถให้ดี ไม่งั้นขึ้นผิดคันได้ รอก็นานมากๆ เพราะจะออกมาแค่ช่วงเช้า-เย็น
สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง
แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 88 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ธิติวัชขนส่ง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก.
จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้
จากเดิมที่สุดสายตรงแฟลตทุ่งครุ ปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปยัง วัดคลองสวน, อบต. คลองสวน
และต่อมาขยายเส้นทางไปจนถึง มจธ. บางขุนเทียน ซึ่งมีระยะทางไกลมากๆ
ในปี 2562 สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง
เหลือรถวิ่งเพียง 5 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 3 คัน ไปช่วยสาย 75 วิ่ง
สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า (ขสมก. วิ่งถนนราชพฤกษ์)
รถเมล์สายนี้ วิ่งโดยเขตการเดินรถที่ 7 แต่ก็มีจำนวนรถเพียงไม่กี่คัน เส้นทางหลักๆ อยู่บนถนนราชพฤกษ์
ซึ่งปกติเป็นถนนที่คนรอขึ้นรถเมล์น้อยอยู่แล้ว โดยจะได้คนมากหน่อย ก็ช่วงเช้า-เย็น มากกว่าเวลาอื่นๆ
จุดเริ่มต้นของ สาย 64 อู่นครอินทร์ – พระปิ่นเกล้า ที่ดำเนินการโดย ขสมก. เกิดขึ้นมาเพื่อให้สาย 64 เดินรถได้ครบถ้วนตามสัมปทาน
(เดิมสาย 64 ขสมก. ขายสัมปทานไปในช่วงปรับลดขนาดขององค์กรในปี 2541-2543 โดยให้รถร่วมบริการวิ่ง
ภายหลัง กรมการขนส่งทางบกปรับเส้นทางแบบวงกลม เป็น วงกลมนนทบุรี – สนามหลวง – ราชพฤกษ์
เมื่อรถร่วมบริการไม่วิ่ง ขสมก. จึงต้องจัดรถสายนี้เพื่อให้วิ่งตามสัมปทานแทน มิฉะนั้นจะถูกปรับ)
ในปี 2562 สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง
แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 143 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ลาดกระบัง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว
ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้ เริ่มให้บริการในวันที่ 10 มกราคม 2556
โดย ขสมก. กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี
เริ่มแรกวิ่งในเส้นทาง มีนบุรี – เคหะฉลองกรุง (ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของสาย 143 เดิม ภายหลังเป็น 143ก)
ต่อมาจึงขยายเส้นทางไปเป็น แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง
ในปี 2562 สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่
รถเมล์สาย 165 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ในเส้นทาง พุทธมณฑลสาย 3 – สนามหลวง (วิ่งเส้นถนนเพชรเกษม)
เป็นรถเมล์สายที่หาขึ้นยากอีกหนึ่งสาย และเส้นทางเหมือนคู่แฝดอย่างสาย 91ก อีกทั้งยังเปลี่ยนเส้นทางบ่อยครั้งมาก
ในปี 2546 ขสมก. ได้มีมติขยายเส้นทางสาย 165 ให้ยาวขึ้นเป็น พุทธมณฑลสาย 3 – บรมราชชนนี – สนามหลวง
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2549 เปลี่ยนเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – เขตบางกอกใหญ่ ในเดือนมกราคม 2551
ปรับเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – ศาลาธรรมสพน์ – เขตบางกอกใหญ่ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เปลี่ยนเส้นทางอีก
เป็น พุทธมณฑลสาย 2 – พุทธมณฑลสาย 3 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ ตามอู่ที่ย้ายไปใหม่
ในปี 2562 สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน
แต่วิ่งจริงๆ
เพียง 3 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 5 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก
สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์
สายนี้ แรกเริ่มเดิมทีเป็นรถเมล์ วงกลมทดลองวิ่ง (สาย B1 / B2) วิ่งวนซ้าย วนขวา
ที่กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี ทดลองวิ่ง เพื่อให้มีรถเมล์บริการบนถนนหทัยราษฏร์
ถนนเลียบคลองสอง และถนนคู้บอน จนกลายมาเป็นรถเมล์สาย 197 ที่เริ่มวิ่งให้บริการในวันที่ 12 กันยายน 2556
โดยเส้นทางนี้ มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน (ยอดเมื่อปี 2556) แต่ยังไม่มีรถเมล์ให้บริการ มีเพียงรถสองแถว และรถตู้
ซึ่งก็มีผู้ประกอบการรถสองแถวประท้วง อ้างว่า จะเกิดผลกระทบต่อรถสองแถวที่ให้บริการ และปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวก็มีรถติดอยู่แล้ว
ในปี 2562 สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์ เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – หมู่บ้านเธียรทอง 3
เดิมคือ ปอ.28 ที่เปิดมาพร้อมๆ กับ ปอ.29 ที่ถูกยุบเส้นทางไป (ปัจจุบันคือสาย 526)
เพื่อให้มีรถเมล์วิ่งบริการในย่านหนองจอก ถนนคู้ซ้าย ถนนคู้ขวา (ถนนทั้ง 2 เส้นนี้ เป็นถนนที่วิ่งเลียบไปกับคลองแสนแสบ
ตั้งแต่มีนบุรี ถึงหนองจอก)
แม้ว่าสาย 525 และ 526 ปัจจุบันจะเป็นรถเมล์ครีม-แดง ที่เริ่มกลับมาวิ่งอีกครั้งช่วงประมาณปี 2554 ได้
แต่ก็ถือว่าเป็นรถเมล์ที่มีความสำคัญของชาวหนองจอก และชาว ขสมก. อีกสาย เพราะหมู่บ้านเธียรทอง 3
เป็นหมู่บ้านที่พนักงาน ขสมก. อาศัยอยู่มาก สาย 525 จึงมาสุดสายที่นี่ เสมือนเป็นรถรับ-ส่งพนักงานไปในตัว
ในปี 2562 สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – ม.เธียรทอง 3 เหลือรถวิ่งเพียง 4 คัน
สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอมรินทร์
สาย 710 กับตัวเลขที่ไม่คุ้นเคยของคนรอ ด้วยเส้นทางที่เน้นวิ่งในถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก
รวมทั้งวิ่งเป็นวงกลมแบ่งเป็นวนซ้ายและวนขวา สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้บริการไม่น้อย แล้วมีจำนวนรถที่น้อย
จึงทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยมาก เท่าที่เห็น คนใช้บริการรถเมล์สายนี้เยอะอยู่เพียงแค่ช่วงหน้าโรงพยาบาลศิริราช
กับตรงวังหลัง เท่านั้น เพราะสามารถทดแทนรถเมล์สาย 57 ได้
เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2556 ปล่อยรถชั่วโมงละ 1 คัน ยกเว้นช่วง 6.00 – 7.00 น.
และช่วง 17.00 – 18.00 น. จะปล่อยรถชั่วโมงละ 2 คัน
เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552)
ต่อมาโครงการก็ล้มไม่เป็นท่า โดย ขสมก. ก็มีนโยบายที่ต้องการนำรถเมล์ฟรีไปเปิดสายใหม่ๆ อยู่แล้ว สาย 710
วงกลมอรุณอมรินทร์ – ถ.กาญจนาภิเษก ถึงเกิดขึ้น และดำเนินงานโดย เขตการเดินรถที่ 5
ในปี 2562 สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอัมรินทร์ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน
แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 6 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก
สาย
720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2
ดำเนินการโดยเขตการเดินรถที่ 5 สลับวิ่งวนซ้ายและวนขวา โดยรถเมล์สายนี้ จะได้คนเยอะก็ช่วงถนนเพชรเกษมเท่านั้น
สายนี้ แต่เดิมนั้นคือรถเมล์สาย 193 ที่เปิดขึ้นมาใหม่ตามกำหนดของประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อให้ผู้โดยสารมีรถเมล์ไปยังถนนกัลปพฤกษ์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากรถมีน้อย
หลังจากที่กรมการขนส่งทางบก ปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 รถเมล์สาย 193 จึงเปลี่ยนเลขสายเป็น 720 ในภายหลัง
ในปี 2562 สาย 720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2 เหลือรถวิ่งเพียง 2 คัน
สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า
สายนี้เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 7 อีกทั้งเส้นทางเดินรถที่ค่อนข้างยาว จึงแทบไม่เห็นใครรอขึ้นรถเมล์สายนี้เลยในช่วงระหว่างทาง
โดยจะได้คนแค่เพียงช่วงต้นสายและปลายสายเท่านั้น
เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดจะปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552)
เริ่มวิ่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2556
สายนี้วิ่งในส่วนของถนนราชพฤกษ์เกือบตลอดทั้งสาย ตั้งแต่ช่วงบางหว้า
ก่อนจะเลี้ยวเข้าไปถนนชัยพฤกษ์ สุดสายที่บริเวณใต้สะพานพระราม 4 (ฝั่งถนนชัยพฤกษ์) ซึ่งนับว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกมากๆ
ของคนที่อยู่ในย่านปากเกร็ด แล้วต้องการเข้าเมืองมาต่อรถไฟฟ้าบริเวณ BTS บางหว้า ไม่ต้องเสียเวลารถติดในเมือง
ในปี 2562 สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า เหลือรถวิ่งเพียง 3 คัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความข้อมูลจาก_ https://th.carro.co/blog/10-bmta-bus-wait-long-time/
10 สาย รถเมล์ของขสมก.ที่รอนานที่สุด
เดิมที สายนี้คือ 26ก มีนบุรี – เอกมัย เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2553
ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้รถเมล์มีวิ่งบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทดแทนรถเมล์สาย 154 ที่เลิกวิ่งไปแล้ว
กับต้องลดจำนวนรถเมล์ฟรีที่วิ่งในเส้นทางหลักอย่าง มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัย ไปในตัว แต่ก็สร้างวีรกรรม
ในการไม่รับผู้โดยสารบนถนนเส้นนี้ ไว้มากพอสมควร
ในช่วงปลายปี 2560 ทางเขตการเดินรถที่ 2 ได้นำตัว “ก” ออก ก็เลยกลายเป็น สาย 26 มีนบุรี – เอกมัย นับแต่นั้นมา
หากใครที่จะไปเอกมัย ต้องสังเกตป้ายหน้ารถให้ดี ไม่งั้นขึ้นผิดคันได้ รอก็นานมากๆ เพราะจะออกมาแค่ช่วงเช้า-เย็น
สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง
แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 88 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ธิติวัชขนส่ง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว ทาง ขสมก.
จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้
จากเดิมที่สุดสายตรงแฟลตทุ่งครุ ปรับเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปยัง วัดคลองสวน, อบต. คลองสวน
และต่อมาขยายเส้นทางไปจนถึง มจธ. บางขุนเทียน ซึ่งมีระยะทางไกลมากๆ
ในปี 2562 สาย 88 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน – ท่าดินแดง
เหลือรถวิ่งเพียง 5 คัน แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 3 คัน ไปช่วยสาย 75 วิ่ง
สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า (ขสมก. วิ่งถนนราชพฤกษ์)
รถเมล์สายนี้ วิ่งโดยเขตการเดินรถที่ 7 แต่ก็มีจำนวนรถเพียงไม่กี่คัน เส้นทางหลักๆ อยู่บนถนนราชพฤกษ์
ซึ่งปกติเป็นถนนที่คนรอขึ้นรถเมล์น้อยอยู่แล้ว โดยจะได้คนมากหน่อย ก็ช่วงเช้า-เย็น มากกว่าเวลาอื่นๆ
จุดเริ่มต้นของ สาย 64 อู่นครอินทร์ – พระปิ่นเกล้า ที่ดำเนินการโดย ขสมก. เกิดขึ้นมาเพื่อให้สาย 64 เดินรถได้ครบถ้วนตามสัมปทาน
(เดิมสาย 64 ขสมก. ขายสัมปทานไปในช่วงปรับลดขนาดขององค์กรในปี 2541-2543 โดยให้รถร่วมบริการวิ่ง
ภายหลัง กรมการขนส่งทางบกปรับเส้นทางแบบวงกลม เป็น วงกลมนนทบุรี – สนามหลวง – ราชพฤกษ์
เมื่อรถร่วมบริการไม่วิ่ง ขสมก. จึงต้องจัดรถสายนี้เพื่อให้วิ่งตามสัมปทานแทน มิฉะนั้นจะถูกปรับ)
ในปี 2562 สาย 64 อู่นครอินทร์ – สะพานพระปิ่นเกล้า เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง
แต่เดิมนั้นรถเมล์สาย 143 เป็นรถของรถร่วมบริการ บริษัท ลาดกระบัง จำกัด เลิกวิ่งไปแล้ว
ทาง ขสมก. จึงจำเป็นต้องจัดหารถมาวิ่งแทน เพื่อรักษาเส้นทางสัมปทานเอาไว้ เริ่มให้บริการในวันที่ 10 มกราคม 2556
โดย ขสมก. กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี
เริ่มแรกวิ่งในเส้นทาง มีนบุรี – เคหะฉลองกรุง (ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของสาย 143 เดิม ภายหลังเป็น 143ก)
ต่อมาจึงขยายเส้นทางไปเป็น แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง
ในปี 2562 สาย 143 แฮปปี้แลนด์ – พระจอมเกล้าลาดกระบัง เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่
รถเมล์สาย 165 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ในเส้นทาง พุทธมณฑลสาย 3 – สนามหลวง (วิ่งเส้นถนนเพชรเกษม)
เป็นรถเมล์สายที่หาขึ้นยากอีกหนึ่งสาย และเส้นทางเหมือนคู่แฝดอย่างสาย 91ก อีกทั้งยังเปลี่ยนเส้นทางบ่อยครั้งมาก
ในปี 2546 ขสมก. ได้มีมติขยายเส้นทางสาย 165 ให้ยาวขึ้นเป็น พุทธมณฑลสาย 3 – บรมราชชนนี – สนามหลวง
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2549 เปลี่ยนเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – เขตบางกอกใหญ่ ในเดือนมกราคม 2551
ปรับเส้นทางเป็น พุทธมณฑลสาย 2 – ศาลาธรรมสพน์ – เขตบางกอกใหญ่ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เปลี่ยนเส้นทางอีก
เป็น พุทธมณฑลสาย 2 – พุทธมณฑลสาย 3 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ ตามอู่ที่ย้ายไปใหม่
ในปี 2562 สาย 165 อู่บรมราชชนนี – พุทธมณฑลสาย 3 – สนง.เขตบางกอกใหญ่ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน
แต่วิ่งจริงๆ เพียง 3 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 5 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก
สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์
สายนี้ แรกเริ่มเดิมทีเป็นรถเมล์ วงกลมทดลองวิ่ง (สาย B1 / B2) วิ่งวนซ้าย วนขวา
ที่กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 1 เขตการเดินรถที่ 2 อู่มีนบุรี ทดลองวิ่ง เพื่อให้มีรถเมล์บริการบนถนนหทัยราษฏร์
ถนนเลียบคลองสอง และถนนคู้บอน จนกลายมาเป็นรถเมล์สาย 197 ที่เริ่มวิ่งให้บริการในวันที่ 12 กันยายน 2556
โดยเส้นทางนี้ มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน (ยอดเมื่อปี 2556) แต่ยังไม่มีรถเมล์ให้บริการ มีเพียงรถสองแถว และรถตู้
ซึ่งก็มีผู้ประกอบการรถสองแถวประท้วง อ้างว่า จะเกิดผลกระทบต่อรถสองแถวที่ให้บริการ และปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวก็มีรถติดอยู่แล้ว
ในปี 2562 สาย 197 (วงกลม) มีนบุรี – หทัยราษฎร์ เหลือรถวิ่งเพียง 1 คัน
สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – หมู่บ้านเธียรทอง 3
เดิมคือ ปอ.28 ที่เปิดมาพร้อมๆ กับ ปอ.29 ที่ถูกยุบเส้นทางไป (ปัจจุบันคือสาย 526)
เพื่อให้มีรถเมล์วิ่งบริการในย่านหนองจอก ถนนคู้ซ้าย ถนนคู้ขวา (ถนนทั้ง 2 เส้นนี้ เป็นถนนที่วิ่งเลียบไปกับคลองแสนแสบ
ตั้งแต่มีนบุรี ถึงหนองจอก)
แม้ว่าสาย 525 และ 526 ปัจจุบันจะเป็นรถเมล์ครีม-แดง ที่เริ่มกลับมาวิ่งอีกครั้งช่วงประมาณปี 2554 ได้
แต่ก็ถือว่าเป็นรถเมล์ที่มีความสำคัญของชาวหนองจอก และชาว ขสมก. อีกสาย เพราะหมู่บ้านเธียรทอง 3
เป็นหมู่บ้านที่พนักงาน ขสมก. อาศัยอยู่มาก สาย 525 จึงมาสุดสายที่นี่ เสมือนเป็นรถรับ-ส่งพนักงานไปในตัว
ในปี 2562 สาย 525 สวนสยาม – คู้ซ้าย – ม.เธียรทอง 3 เหลือรถวิ่งเพียง 4 คัน
สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอมรินทร์
สาย 710 กับตัวเลขที่ไม่คุ้นเคยของคนรอ ด้วยเส้นทางที่เน้นวิ่งในถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก
รวมทั้งวิ่งเป็นวงกลมแบ่งเป็นวนซ้ายและวนขวา สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้บริการไม่น้อย แล้วมีจำนวนรถที่น้อย
จึงทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยมาก เท่าที่เห็น คนใช้บริการรถเมล์สายนี้เยอะอยู่เพียงแค่ช่วงหน้าโรงพยาบาลศิริราช
กับตรงวังหลัง เท่านั้น เพราะสามารถทดแทนรถเมล์สาย 57 ได้
เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2556 ปล่อยรถชั่วโมงละ 1 คัน ยกเว้นช่วง 6.00 – 7.00 น.
และช่วง 17.00 – 18.00 น. จะปล่อยรถชั่วโมงละ 2 คัน
เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552)
ต่อมาโครงการก็ล้มไม่เป็นท่า โดย ขสมก. ก็มีนโยบายที่ต้องการนำรถเมล์ฟรีไปเปิดสายใหม่ๆ อยู่แล้ว สาย 710
วงกลมอรุณอมรินทร์ – ถ.กาญจนาภิเษก ถึงเกิดขึ้น และดำเนินงานโดย เขตการเดินรถที่ 5
ในปี 2562 สาย 710 (วงกลม) ตลิ่งชัน – ราชพฤกษ์ – อรุณอัมรินทร์ เหลือรถวิ่งเพียง 8 คัน
แต่วิ่งจริงๆ เพียง 2 คัน/วัน เพราะรถเมล์อีก 6 คัน ไปช่วยสายวิ่งสาย 7ก
สาย 720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2
ดำเนินการโดยเขตการเดินรถที่ 5 สลับวิ่งวนซ้ายและวนขวา โดยรถเมล์สายนี้ จะได้คนเยอะก็ช่วงถนนเพชรเกษมเท่านั้น
สายนี้ แต่เดิมนั้นคือรถเมล์สาย 193 ที่เปิดขึ้นมาใหม่ตามกำหนดของประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อให้ผู้โดยสารมีรถเมล์ไปยังถนนกัลปพฤกษ์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากรถมีน้อย
หลังจากที่กรมการขนส่งทางบก ปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 รถเมล์สาย 193 จึงเปลี่ยนเลขสายเป็น 720 ในภายหลัง
ในปี 2562 สาย 720 (วงกลม) กัลปพฤกษ์ – พระราม 2 เหลือรถวิ่งเพียง 2 คัน
สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า
สายนี้เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 7 อีกทั้งเส้นทางเดินรถที่ค่อนข้างยาว จึงแทบไม่เห็นใครรอขึ้นรถเมล์สายนี้เลยในช่วงระหว่างทาง
โดยจะได้คนแค่เพียงช่วงต้นสายและปลายสายเท่านั้น
เป็นสายรถเมล์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจาก กรมการขนส่งทางบก คิดจะปฏิรูปรถเมล์ในปี 2552 พร้อมกับรอรถเมล์ใหม่ในช่วงนั้น
โดยใช้เลขสายตั้งแต่ 600-755 ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1950 (พ.ศ. 2552)
เริ่มวิ่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2556
สายนี้วิ่งในส่วนของถนนราชพฤกษ์เกือบตลอดทั้งสาย ตั้งแต่ช่วงบางหว้า
ก่อนจะเลี้ยวเข้าไปถนนชัยพฤกษ์ สุดสายที่บริเวณใต้สะพานพระราม 4 (ฝั่งถนนชัยพฤกษ์) ซึ่งนับว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกมากๆ
ของคนที่อยู่ในย่านปากเกร็ด แล้วต้องการเข้าเมืองมาต่อรถไฟฟ้าบริเวณ BTS บางหว้า ไม่ต้องเสียเวลารถติดในเมือง
ในปี 2562 สาย 751 สะพานพระราม 4 – สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า เหลือรถวิ่งเพียง 3 คัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้