การทุบทำลาย พระพุทธรูป หรือ ผ้าเหลืองในพระพุทธศาสนา

ในวัยเด็ก
ครอบครัวผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ผมจึงได้เติบโตมาในสังคมพหุวัฒนธรรม
กล่าวคือเรียนรู้ว่าคนในวัฒนธรรมต่างๆ
ก็จะมีการปฏิบัติตัวเพื่อแสดงออกต่อสิ่งที่อยู่ในใจไม่เหมือนกัน

(ยกตัวอย่างเช่นการจับหัวการเอาขาชี้
ในบางวัฒนธรรมถือเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้
ในบางวัฒนธรรมถือเป็นเรื่องธรรมดาเป็นต้น)

ตัวผมเอง ก็สมาทานศาสนาพุทธ
สมัยเด็ก ชอบไหว้พระ ใส่สายสิญจน์ผูกไว้ที่ข้อมือ

จำได้ว่ามีอยู่คราวหนึ่งเมื่ออายุห้าขวบ
สายสิญจน์เกิดขาด

สายสิญจน์ ดังกล่าว เป็นจีวรพระ


ด้วยความว่าตามประเพณีจีนเวลาเราจะถวายของให้แก่เซียนหรือเจ้า
เรามักจะใช้วิธีเผาด้วยความเคารพและความเชื่อที่ว่าของนั้นจะขึ้นสู่สวรรค์
น้อมถวายแด่เทพเทวดาเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

ดังนั้นผมจึงถามผู้ใหญ่ไปบ้านว่าสายสิญจน์ขาดแล้วควรจะนำไปทิ้งขยะ
หรือทำประการใดกับสายสิญจน์นั้นดี เพื่อที่จะไม่เป็นบาป

ทางญาติผู้ใหญ่ก็แนะนำให้เอาไปเผา
เพื่อน้อมถวายคืนพระในสวรรค์

แต่เมื่อผมนำสายสิญจน์ไปเผา 
พี่สาวซึ่งเกิดเมืองไทยและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมไทยก็ทำท่าตกใจ
และเข้ามาตีมือผมอย่างแรงพร้อมทั้งด่าว่าทำลายพระศาสนา

อันนี้เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
เชื่อว่าในคำสอนทางศาสนาพุทธ การทำลายศาสนวัตถุเป็นเรื่องบาป

แต่ในพระสูตร เคยมีกรณี นางสนมคนหนึ่งเผากองฟาง
ลามไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าที่นั่งสมาธิอยู่หลังกองฟาง

กรณีนางสนมมิได้มีความตั้งใจในตอนแรกนั้นจึงไม่บาป

ดังนั้นการวางใจในทางศาสนาพุทธจึงเป็นเรื่องสำคัญ
การกระทำหนึ่งถ้ากระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ถึงการกระทำนั้นจะเผาร่างกายพระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่เป็นเรื่องบาป
ในทางตรงข้ามหากแม้นขณะมือยกไหว้พระพุทธรูปแต่ถ้าในใจคิดด่าทออันนั้นก็ถือเป็นบาป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่