ถามต่อจากกระทู้นี้นะครับ
https://ppantip.com/topic/38785746
จากสมการแรงดึงดูดระหว่างมวล F = GMm/R2
ถ้าเราแทนวัตถุก้อนใหญ่ X ให้มีมวล 1.5*1013 kg และแทนมวลก้อนเล็ก โดย A มีมวล 1 kg กับ B มีมวล 1*103 kg
สมมติในสถานการณ์หนึ่ง มีวัตถุ X กับ A ห่างกับ 10 เมตร แรงดึงดูดจะมีค่าเป็น (6.67*10-11)*(1.5*1013)(1)/102 ก็จะได้ค่าเป็น 10.005 นิวตัน
ทีนี้วัตถุ X จะเคลื่อนที่ไปหาวัถตุ A ด้วยความเร่ง 10.005/1.5*1013 หรือก็คือ 6.67*10-13 m/s2
ส่วนวัตถุ A จะเคลื่อนที่ไปหาวัตถุ X ด้วยความเร่ง 10.005 m/s2
อีกสถานการณ์หนึ่งถ้าเราเปลี่ยนจากวัตถุ A ไปเป็น B
เราก็จะได้ความเร่งจาก B ไป X คือ 10.005 m/s2 เท่าเดิม ที่เปลี่ยนไปคือความเร่งของ X จะได้ 6.67*10-10 m/s2
ดังนั้นวัตถุ X-B จะชนกันก่อน X-A
แสดงว่า
เมื่อเปลี่ยนวัตถุ B เป็นวัตถุอื่น ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีมวลเท่าไร วัตถุนั้นก็จะ เคลื่อนที่เข้าหาเข้า X ด้วยความเร่ง 10.005 m/s2 เสมอใช่ไหมครับ
ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนวัตถุนั้นเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน (ที่ไม่หมุนรอบตัวเอง และไม่นับการชนของผิวดาวหรือเส้นของฟ้าเหตุการณ์) มันก็เคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่าเดิม มีแต่ความเร่งของวัตถุ X ที่เปลี่ยนไปสินะครับ
มันไม่น่าแปลกเหรอที่วัตถุมวลแค่ 1.5*1013 จะสามารถดึงหลุมดำที่มีมวลยวดยิ่งที่มีมวลเป็น 105 ถึง 109 ของดวงอาทิตย์ได้ถึง 10.005 m/s2
ซึ่งปกติแล้ววัตถุที่มีมวลมาก ก็ควรทำให้เคลื่อนที่ยากใช่ไหมครับ ถ้างั้นวัตถุ X จะเอาแรงมากมายมหาศาลขนาดนั้นมาจากไหนกัน
หรือว่าจะเป็นพลังงานมืดกับสสารมืด
ถ้าเป็นไปได้ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงกับพลังงานได้ไหมครับ
สมการแรงดึงดูดระหว่างมวลขาดอะไรไปรึป่าวครับ