ศรัทธา กับความงมงาย แตกต่างกันตรงไหน?
๑. ความศรัทธา คือ เราเชื่อ แต่ต้องมีเหตุผล เข้าใจ รู้จักความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไป มีผู้รู้ชี้แจงพิสูจน์ในแต่ละขั้นตอนบางโอกาส
๒. ความงมมาย คือ ถูกใจของฉัน ไม่ฟังเหตุผลของคนอื่น ตามใจตนเอง
เราไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เราไปปิดกั้นตัวเอง นี่เรียกว่าเป็นตัวอคติ เป็นมิจฉา เราต้องเปิดฟังความคิดเห็นของคนอื่น แล้วมาวิเคราะห์
แต่สมมติว่าของเราถูก แต่ไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นถ้าเป็นเช่นนี้ล่ะ?
ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของเราถูกต้อง เราก็ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะว่าเป็นกฎแห่งธรรม ถ้าเราไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นก็ถือว่าเป็นอคติทันที ต่อให้เราถูกแค่ไหนก็ตาม
แต่ถ้าเราเปิดการรับฟัง เรารับฟังแล้ว เราวิเคราะห์แล้ว เราไม่เอาตามความคิดเห็นเช่นนั้นก็ไม่เป็นไร
เราบอกว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องงมงาย เช่น
๑) ความเชื่อในเรื่องโชคร้าย
๒) ความเชื่อในเรื่องลางดีลางร้าย
๓) ความเชื่อในเรื่องเคราะห์ดี เคราะห์ร้ายหรือบังเอิญ
๔) ความเชื่อในเรื่องดวงดี ดวงร้าย
๕) ความเชื่อในสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
๖) ความเชื่อในเทพเจ้า สิ่งดลบันดาล
๗) ความเชื่อเกี่ยวกับพระภูมิเจ้าที่ ผีบ้าน ผีเรือน
๘) ความเชื่อที่ซัดทอดแต่กรรมตะพึดตะพือ
๙) ความเชื่อในเวทมนต์คาถาอาคม นะหน้าทอง เสน่ห์ยาแฝด
๑๐) ความเชื่อในทางโหราศาสตร์และยึดติดพึ่งพาจนเลยเถิดไป
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้เราบอกว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่ในภูมิของเขา เขาบอกว่าเขายังต้องการอยู่ เราต้องอย่าลืมภูมิ หรือดอกบัว ๔ เหล่า ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในการพิจารณาของบุคคล
ในความหมายทั้ง ๑๐ ข้อดังกล่าวนี้ มีความถูกต้องอยู่แล้ว เช่น เรื่องโชคร้าย โชคดี ความหมายก็ชัดเจนในตัว เราต้องไปเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดี กับเหตุการณ์ดี ก็ขึ้นกับคำว่าวิบากแห่งกรรม แต่ในเมื่อมีวิบากแห่งกรรมแล้วเราจะต้องมาพบเจอสิ่งที่ไม่ดีอย่างนี้ เราบอกว่าเขางมงาย ก็ในภูมิของเขา เขาเชื่อกันอย่างนี้ แต่ภูมิเราสูงกว่าก็ไม่ใช่ แต่ภูมิอย่างนี้ต้องการที่จะไปแก้กรรม แก้ชง ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะเขายังต้องการราวบันได ถ้าเขาไม่แก้เขาไม่สบายใจ
งมงายหรือไม่งมงาย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยในภูมินั้นๆ ที่เขาต้องทำ เราไม่ไปวุ่นวาย ถ้าภูมิเราอยู่สูงเราก็อยู่สูงไป แต่ภูมิข้างล่างก็ต้องค่อยๆ ไต่ขึ้นไปเอง
เช่น ภูมิของคนๆ นี้เขายังต้องกินเนื้อสัตว์ แต่ถ้าเราไปบอกว่าไม่ให้เขากินเนื้อสัตว์ ก็ไม่ได้แล้ว แต่ภูมิคนๆ นั้นเขากินเจได้ เขาพ้นตรงนี้ไปแล้วก็ไม่เห็นเป็นไร เขากินเจก็กินไป ส่วนเรากินเนื้อสัตว์ก็กินไป เราจะไปทู่ซี้ให้กินเหมือนกับเรา อย่างนี้ไม่ได้
วัวยังต้องกินหญ้าอยู่ แล้วเสือกินเนื้อ แล้วจะมาบอกให้เสือมากินหญ้าอย่างนี้ได้ไหม? ก็ไม่ได้ ก็เพราะว่ายังต้องเป็นภูมิของเขา เราก็ต้องปล่อยไป
๓. ความเชื่อ คือ การยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๔. ความยินยอม คือ ไม่ต่อต้านสิ่งที่เราศรัทธานั้น เราจะไม่สงสัยในสิ่งนั้น ถ้าสงสัยก็ถือว่าต่อต้าน ถ้าเรามีคำถามในใจที่จะเข้าใจกระจ่างชัดในสิ่งที่เราศรัทธานั้น ถือว่าไม่เป็นการต่อต้าน คือ เราไม่เข้าใจแล้วเราถามเพื่อเพิ่มเติม ไม่ใช่เราต่อต้าน ปฏิเสธ
บางครั้งการต่อต้านก็เป็นสิ่งดี ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งไม่ดี แต่ต่อต้านให้อยู่ในความพอเหมาะ พอต่อต้านขาดความพอเหมาะก็จะเข้าสู่ตัววิจิกิจฉา คือ ลังเลสงสัยทันที พอเรามีตัวลังเลสงสัยเพิ่มไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ อรตี
ถ้าเป็นตัวอรตี คือ แม้ว่าถูกก็ยังต่อต้าน แล้วก็ยังเหนืออีกขั้นหนึ่งคือ พยายามชักจูงให้เขาเชื่อตาม เป็นตัวที่ร้ายกาจมาก แม้แต่ในโบสถ์ในวิหาร ยังมีรูปภาพอรตีติดอยู่ในวิหาร คือ ตอนนี้พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ก็มีธิดามาร ๓ องค์ มายั่วยวนพระพุทธเจ้า คือ นางตัณหา นางราคะ นางอรตี ที่นำมาวาดเขียนก็เพื่อเป็นอนุสสติให้เราได้คิดเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจเรา
การยินยอม มี ๓ อย่างดังนี้
๔.๑ ยอมด้วยเงื่อนไข เช่น มาช่วยอะไรเราได้ มีผลประโยชน์ต่อเราได้ก็ย่อมด้วยเงื่อนไข
๔.๒ ยอมด้วยสมยอม คือ เพราะเราสู้ไม่ได้ หรือภูมิไม่ถึงเขาจึงยอม แต่ถ้าหากว่าเราสู้ได้เมื่อไหร่ หรือภูมิสูงขึ้นกว่าเขาก็จะไม่ยอมแล้ว
๔.๓ ยอมด้วยความศรัทธา นับถือ
๕. ความนับถือ เทิดทูน คือ ยกย่อง, เชิดชูอย่างเคารพ.
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ศรัทธา กับความงมงาย แตกต่างกันตรงไหน?
๑. ความศรัทธา คือ เราเชื่อ แต่ต้องมีเหตุผล เข้าใจ รู้จักความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไป มีผู้รู้ชี้แจงพิสูจน์ในแต่ละขั้นตอนบางโอกาส
๒. ความงมมาย คือ ถูกใจของฉัน ไม่ฟังเหตุผลของคนอื่น ตามใจตนเอง
เราไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เราไปปิดกั้นตัวเอง นี่เรียกว่าเป็นตัวอคติ เป็นมิจฉา เราต้องเปิดฟังความคิดเห็นของคนอื่น แล้วมาวิเคราะห์
แต่สมมติว่าของเราถูก แต่ไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นถ้าเป็นเช่นนี้ล่ะ?
ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของเราถูกต้อง เราก็ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะว่าเป็นกฎแห่งธรรม ถ้าเราไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นก็ถือว่าเป็นอคติทันที ต่อให้เราถูกแค่ไหนก็ตาม
แต่ถ้าเราเปิดการรับฟัง เรารับฟังแล้ว เราวิเคราะห์แล้ว เราไม่เอาตามความคิดเห็นเช่นนั้นก็ไม่เป็นไร
เราบอกว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องงมงาย เช่น
๑) ความเชื่อในเรื่องโชคร้าย
๒) ความเชื่อในเรื่องลางดีลางร้าย
๓) ความเชื่อในเรื่องเคราะห์ดี เคราะห์ร้ายหรือบังเอิญ
๔) ความเชื่อในเรื่องดวงดี ดวงร้าย
๕) ความเชื่อในสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
๖) ความเชื่อในเทพเจ้า สิ่งดลบันดาล
๗) ความเชื่อเกี่ยวกับพระภูมิเจ้าที่ ผีบ้าน ผีเรือน
๘) ความเชื่อที่ซัดทอดแต่กรรมตะพึดตะพือ
๙) ความเชื่อในเวทมนต์คาถาอาคม นะหน้าทอง เสน่ห์ยาแฝด
๑๐) ความเชื่อในทางโหราศาสตร์และยึดติดพึ่งพาจนเลยเถิดไป
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้เราบอกว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่ในภูมิของเขา เขาบอกว่าเขายังต้องการอยู่ เราต้องอย่าลืมภูมิ หรือดอกบัว ๔ เหล่า ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในการพิจารณาของบุคคล
ในความหมายทั้ง ๑๐ ข้อดังกล่าวนี้ มีความถูกต้องอยู่แล้ว เช่น เรื่องโชคร้าย โชคดี ความหมายก็ชัดเจนในตัว เราต้องไปเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดี กับเหตุการณ์ดี ก็ขึ้นกับคำว่าวิบากแห่งกรรม แต่ในเมื่อมีวิบากแห่งกรรมแล้วเราจะต้องมาพบเจอสิ่งที่ไม่ดีอย่างนี้ เราบอกว่าเขางมงาย ก็ในภูมิของเขา เขาเชื่อกันอย่างนี้ แต่ภูมิเราสูงกว่าก็ไม่ใช่ แต่ภูมิอย่างนี้ต้องการที่จะไปแก้กรรม แก้ชง ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะเขายังต้องการราวบันได ถ้าเขาไม่แก้เขาไม่สบายใจ
งมงายหรือไม่งมงาย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยในภูมินั้นๆ ที่เขาต้องทำ เราไม่ไปวุ่นวาย ถ้าภูมิเราอยู่สูงเราก็อยู่สูงไป แต่ภูมิข้างล่างก็ต้องค่อยๆ ไต่ขึ้นไปเอง
เช่น ภูมิของคนๆ นี้เขายังต้องกินเนื้อสัตว์ แต่ถ้าเราไปบอกว่าไม่ให้เขากินเนื้อสัตว์ ก็ไม่ได้แล้ว แต่ภูมิคนๆ นั้นเขากินเจได้ เขาพ้นตรงนี้ไปแล้วก็ไม่เห็นเป็นไร เขากินเจก็กินไป ส่วนเรากินเนื้อสัตว์ก็กินไป เราจะไปทู่ซี้ให้กินเหมือนกับเรา อย่างนี้ไม่ได้
วัวยังต้องกินหญ้าอยู่ แล้วเสือกินเนื้อ แล้วจะมาบอกให้เสือมากินหญ้าอย่างนี้ได้ไหม? ก็ไม่ได้ ก็เพราะว่ายังต้องเป็นภูมิของเขา เราก็ต้องปล่อยไป
๓. ความเชื่อ คือ การยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๔. ความยินยอม คือ ไม่ต่อต้านสิ่งที่เราศรัทธานั้น เราจะไม่สงสัยในสิ่งนั้น ถ้าสงสัยก็ถือว่าต่อต้าน ถ้าเรามีคำถามในใจที่จะเข้าใจกระจ่างชัดในสิ่งที่เราศรัทธานั้น ถือว่าไม่เป็นการต่อต้าน คือ เราไม่เข้าใจแล้วเราถามเพื่อเพิ่มเติม ไม่ใช่เราต่อต้าน ปฏิเสธ
บางครั้งการต่อต้านก็เป็นสิ่งดี ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งไม่ดี แต่ต่อต้านให้อยู่ในความพอเหมาะ พอต่อต้านขาดความพอเหมาะก็จะเข้าสู่ตัววิจิกิจฉา คือ ลังเลสงสัยทันที พอเรามีตัวลังเลสงสัยเพิ่มไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ อรตี
ถ้าเป็นตัวอรตี คือ แม้ว่าถูกก็ยังต่อต้าน แล้วก็ยังเหนืออีกขั้นหนึ่งคือ พยายามชักจูงให้เขาเชื่อตาม เป็นตัวที่ร้ายกาจมาก แม้แต่ในโบสถ์ในวิหาร ยังมีรูปภาพอรตีติดอยู่ในวิหาร คือ ตอนนี้พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ก็มีธิดามาร ๓ องค์ มายั่วยวนพระพุทธเจ้า คือ นางตัณหา นางราคะ นางอรตี ที่นำมาวาดเขียนก็เพื่อเป็นอนุสสติให้เราได้คิดเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจเรา
การยินยอม มี ๓ อย่างดังนี้
๔.๑ ยอมด้วยเงื่อนไข เช่น มาช่วยอะไรเราได้ มีผลประโยชน์ต่อเราได้ก็ย่อมด้วยเงื่อนไข
๔.๒ ยอมด้วยสมยอม คือ เพราะเราสู้ไม่ได้ หรือภูมิไม่ถึงเขาจึงยอม แต่ถ้าหากว่าเราสู้ได้เมื่อไหร่ หรือภูมิสูงขึ้นกว่าเขาก็จะไม่ยอมแล้ว
๔.๓ ยอมด้วยความศรัทธา นับถือ
๕. ความนับถือ เทิดทูน คือ ยกย่อง, เชิดชูอย่างเคารพ.
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต