10 วิธีเล่นเพื่อพัฒนาสมองลูกเล่นอะไรกับลูกแล้วลูกฉลาดบ้าง

กระทู้คำถาม
เล่นอะไรกับลูกแล้วลูกฉลาดบ้างนะ มาดู 10 เกมที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ ฉลาด เติบโตสมวัย วิธีเล่นเพื่อพัฒนาสมองลูกจะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
เคล็ดลับฝึกสมองลูก
1. ทายชื่อสิ่งของ
สำหรับเจ้าตัวน้อยแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบใหม่นี้ล้วนแต่ดูน่าสนใจไปเสียหมด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถเริ่มต้นพัฒนาสมองลูกได้ด้วยวิธีง่าย ๆ
แค่หาวัตถุที่ปลอดภัย และดูน่าสนใจสักชิ้น มาถือไว้ข้างหน้าลูก ให้ลูกได้ดู และถามลูกว่า “รู้ไหมว่านี่คืออะไร?” แล้วค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังว่ามันคืออะไร และอย่าลืมอธิบายถึงคุณลักษณะอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย อย่างเช่น “นี่คือแอปเปิ้ล มันเป็นผลไม้ที่มีสีแดง และมีลักษณะเป็นทรงกลม” แล้วคุณจะประหลาดใจ ที่เจ้าตัวเล็กสามารถเรียนรู้ และรู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เล่นสัมผัส
ลองให้ลูกน้อยของคุณ เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัส โดยอาจจะหาของเล่นที่มีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น ตุ๊กตานุ่ม ๆ หรือหุ่นที่มีรูปทรงต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นของเล่นที่มีผิวเรียบ หรือของเล่นที่มีผิวหยาบ แต่อย่าลืมตรวจดูให้แน่ใจว่า ไม่มีวัตถุใดที่มีขอบคมที่จะทำให้เกิดอันตรายกับลูกได้
จากนั้นก็นำของเล่น หรือวัตถุที่เตรียมไว้ นำมาวางให้ลูกได้จับเล่น พร้อมทั้งนั่งอธิบายโดยใช้คำศัพท์ง่าย ๆ อย่างเช่น เหนียว นุ่ม เรียบ หยาบ หรือลื่น เป็นต้น
3. เล่นดมกลิ่น
ในช่วงแรก ๆ นั้น พัฒนาการทางด้านการมองเห็นของทารกจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเมื่อเข้าสู่ช่วง 4-6 เดือน ทารกก็จะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านการได้กลิ่นที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ลูกน้อยของคุณจะเริ่มเกิดความสนใจเมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น
คุณพ่อคุณแม่สามารถหาสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว ที่มีกลิ่น อย่างเช่น แอปเปิ้ล สบู่อาบน้ำเด็กที่มีกลิ่นอ่อน ๆ มาไว้ใกล้ ๆ จมูกของลูก ให้ลูกได้ลองดม พร้อมทั้งพูดคุยกับลูก ถามลูกว่าได้กลิ่นอะไร แล้วค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังถึงกลิ่นต่าง ๆ แต่ถ้าลูกน้อยเบ้หน้าหนีก็อย่าไปฝืนนะครับ เพราะลูกอาจจะไม่ชอบกลิ่นนั้น หรือกลิ่นนั้นอาจจะแรงเกินไปสำหรับทารก
4. เล่นจ๊ะเอ๋
การเล่นจ๊ะเอ๋กับทารก เป็นการเล่นที่ทำให้เห็นว่า สมอง และความคิดของลูกกำลังทำงานอยู่ ซึ่งลูกจะแสดงออกโดยการยิ้ม หัวเราะ ที่เป็นการสื่อให้เห็นถึงความพึงพอใจและมีความสุข ซึ่งในช่วงอายุ 2-4 เดือน ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการด้านสังคม ด้วยการตอบสนองการยิ้ม หรือส่งเสียงตอบได้
การเล่นจ๊ะเอ๋ จะแสดงพัฒนาการขั้นพื้นฐานของเด็กได้เป็นอย่างดี ทารกในวัย 6 เดือน อาจจะตกใจเมื่อพ่อแม่เล่นจ๊ะเอ๋ด้วย แล้วพ่อแม่หายไป เหลือแต่ผ้า หรือมีฝ่ามือมาปิดหน้า จนเมื่อหน้าแม่หรือพ่อกลับมา ลูกก็จะทำหน้าประหลาดใจ
การเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก จึงเท่ากับเป็นการฝึกให้ลูกได้รู้จักการคิด และใช้สมองทั้งซีกซ้าย และขวา เพื่อการวิเคราะห์  ทำให้สมองมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าลูกอาจจะตอบกลับมาไม่เป็นคำพูดในตอนนี้ แต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของลูกก็เปรียบเสมือนคำพูดที่ใช้สื่อสารกับพ่อแม่นั่นเอง
5. เล่นซ่อนของในมือ
เกมที่จะทำให้ลูกได้ฝึกพัฒนาสมองด้วยการคาดเดา คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองหาของเล่นสีสดใสมากำไว้ในมือ แล้วให้ลูกทายว่าสิ่งที่อยู่ในมือนั้นคืออะไร จากนั้นก็เฉลยพร้อมอธิบายโดยใช้คำศัพท์ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกเข้าใจ และเรียนรู้คำใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
หรืออาจจะลองกำของเล่นไว้ แล้วทำมือหมุน ๆ แล้วให้ลูกทายว่าของเล่นชิ้นนั้นอยู่มือไหน ซ้ายหรือขวา ก็จะเป็นการฝึกให้ลูกมีทักษะในการแยกแยะทิศทางได้ดีขึ้น
ติดตาม วิธีเล่นเพื่อพัฒนาสมองลูกวิธีที่ 6-10 ต่อในหน้าถัดไป >>>
6. ผ้าคลุมร่างกาย
คุณพ่อคุณแม่อาจจะหาผ้าบาง ๆ ผืนเล็ก ๆ มาคลุมอวัยวะบางส่วนของลูก เช่น คลุมขาของลูกไว้แล้วถามลูกว่า “ขาอยู่ที่ไหนนะ?” จากนั้นก็ดึกผ้าออกแล้วบอกลูกว่า “ขาอยู่นี่!” แล้วทำซ้ำกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ก็จะช่วยให้เด็กรู้จักถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
7. เล่นแยกซ้ายขวา
เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น เริ่มคลาน หรือเริ่มเดินได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองหาของเล่นที่ลูกชอบสักสามชิ้น วางไว้ด้านหน้าของลูกให้ห่างออกไปเล็กน้อย โดยวางแยกกันแบ่งเป็น ซ้าย ขวา และตรงกลาง จากนั้นก็บอกให้ลูกคลานหรือเดินไปหยิบของเล่นที่อยู่ทางด้านซ้าย ขวา หรือตรงกลาง พร้อมทั้งพยายามแนะนำลูกว่าด้านไหนคือซ้าย ด้านไหนคือขวา โดยอาจจะทำซ้ำในทิศทางเดียวกันสัก 2-3 ครั้ง และที่สำคัญ อย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกไปถูกทาง และหยิบของเล่นได้อย่างถูกต้องด้วยนะ
8. ทายของช่วยความจำ
คุณสามารถช่วยลูกน้อยให้มีพัฒนาการที่ดีทางด้านความจำได้ ด้วยวิธีการเล่นง่าย ๆ อย่างเช่น หาของเล่นมาวางไว้หน้าลูกสัก 4-5 ชิ้น แล้วให้ลูกดู แล้วจำว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นก็ใช้ผ้าปิดของเล่นไว้ แล้วนับ 1-10 แล้วจึงให้ลูกทายว่าภายใต้ผ้าคลุมนั้นมีของอะไรอยู่บ้าง
หรืออาจจะหาลูกบอลเล็ก ๆ มาวางแบ่งเป็น 3 กอง จำนวนต่างกันไป แล้วให้ลูกจำว่ากองไหนมีจำนวนลูกบอลเท่าไหร่ แล้วจึงหาแก้วทึบ หรือภาชนะมาปิด แล้วให้ลูกทาย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองสลับกองไปมา เพื่อให้ลูกได้มองและคิดตามไปด้วยก็ได้
9. ซ่อนของตามรูปทรง
หาของเล่นที่มีรูปทรงต่างกันออกไป เช่น ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงสามเหลี่ยม โดยอาจจะเลือกของเล่นที่มีสีสันสดใส แล้วนำไปซ่อนในที่ที่คิดว่าลูกจะหาเจอ และให้ลูกน้อยช่วยค้นหาโดยการพูดว่า “มีของเล่นรูปสี่เหลี่ยมสีแดงซ่อนอยู่ตรงไหนนะ?” “บนเตียงนอนมีของเล่นทรงกลมสีเหลืองหรือเปล่านะ ลองขึ้นไปหาให้พ่อกับแม่หน่อยนะจ๊ะ” เพราะคำถามเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่าง รูปทรง และสีสัน รวมไปถึงทิศทางได้

10. เล่นนิ่งชนะ
เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ มักจะได้รับการกระตุ้นอยู่ตลอด ทั้งจากพ่อแม่ หรือญาติที่มาเยี่ยม ซึ่งในบางครั้ง เด็ก ๆ ก็อาจจะต้องการเวลาที่เงียบสงบ ในการคิด และเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวของพวกเขาบ้าง เมื่อลูกน้อยโตพอที่จะเข้าใจประโยคง่าย ๆ ได้แล้ว ก็อาจจะลองบอกลูกว่า “ใครขยับตัวก่อนชนะ” หรือหากไม่เล่นเกม ก็อาจจะหาที่สงบ ๆ นั่งบนเก้าอี้โยก ให้ลูกนั่งตัก แล้วอ่านนิทานให้ลูกฟังก็ดีไม่น้อย

*ยุคนี้สมัยพ่อแม่มักจะไม่ค่อยมีเวลาแต่ก็ยังให้ลูกๆดูการ์ตูนหรือเกมสร้างสรรทักษะและสมอง
ตามลิงค์นี้เลย มีแนวทางการฝึกสมองเด็กๆเยอะมากเลย : https://www.youtube.com/channel/UC1DmVx1BXbyJLrFqsDJixhw?view_as=subscriber
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่