รมต.ดิจิทัล รับมีขบวนการกุข่าวทำลาย “ร.อ.ธรรมนัส” ติดคุกในซิดนีย์ รอเจ้าตัวแจ้งความ
ปอท. พร้อมตรวจสอบต้นตอข่าว “ร.อ.ธรรมนัส” ถูกตัดสินจำคุก 4 ปี ชี้ เป็นเรื่องเสียหายส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดกับรัฐบาล รอเจ้าตัวมาแจ้งความ รมต.ดิจิทัล รับมีทำเป็นขบวการ
วันนี้ (10 ก.ย.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยกรณีสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกตัดสินจำคุก 4 ปี เพราะลักลอบนำเฮโรอีนเข้าซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเสียหายส่วนบุคคลของ ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งจะต้องเดินทางมาแจ้งความดำเนินคดีด้วยตนเอง เพราะไม่ได้เกิดความเสียหายต่อรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการที่ ร.อ.ธรรมนัส สังกัดอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส ระบุว่า มีขบวนการในต่างประเทศคอยต้องการล้มล้างทำลายชื่อเสียงของตัวเองนั้น ด้าน นายพุทธิพงษ์ เผยว่า น่าจะเป็นความจริง เนื่องจากการแถลงข่าวปฏิบัติการทำลายล้างข่าวปลอมของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ส่วนใหญ่ก็มีเครือข่ายอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุหรือขบวนการที่จะต้องการล้มล้างและทำลายชื่อเสียงของ ร.อ.ธรรมนัส ทั้งนี้ ทางกระทรวงดิจิทัลฯ และ ปอท. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งหากมีการเข้ามาแจ้งความดำเนินคดีหรือให้ข้อมูลกับทางกระทรวงดิจิทัลฯ ก็พร้อมที่จะดำเนินการตรวจสอบให้
ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก ปอท. กล่าวว่า ปอท. ช่วยดำเนินการสืบสวนสอบสวนตรวจสอบหาแหล่งที่มาของสื่ออวตาร หรือ สื่อปลอม และข่าวดังกล่าวทันที หาก ร.อ.ธรรมนัส เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ ทาง ปอท. อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ตำรวจไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติหากผู้เสียหายจะเป็นฝั่งใดก็ตามก็พร้อมดำเนินการทางคดีให้กับทุกคน
https://mgronline.com/crime/detail/9620000087145
ทลายล้างข่าวปลอมตามปฏิบัติการ “09.09.2019 ” 9 จุดทั่วประเทศ
MGR online - ปอท.-ดิจิทัล แถลงผลจับกุมตาม “ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม 09.09.2019 ” 9 จุดทั่วประเทศ จำนวน 9 คดี ยันมีหลายรูปแบบทั้งข่าวการเมือง-ความมั่นคง -ภัยพิบัติ และข่าวหลอกลวง
วันนี้ (10 ก.ย.) เวลา 15.00 น. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อีดี.) พร้อมด้วย น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. และ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก ปอท. ร่วมแถลงการปิดล้อมจับกุมเพจเฟซบุ๊กข่าวปลอม 9 คดี ใน “ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม 09.09.2019”
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยก่อนมาก ประชาชนใช้เวลาการเข้าถึงข้อมูลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วก็แฝงมาด้วยข่าวปลอม อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 19 ส.ค. – 9 ก.ย. 2562 มีเป้าหมายการปิดล้อมตรวจค้นจำนวน 9 จุดทั่วประเทศ ดังนี้ 1."ข่าวประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษระเบิด 7 จุดในกรุงเทพมหานคร" ได้เข้าตรวจค้นบ้านพักย่านบางพลัด โดยผู้ต้องหารับสารภาพว่าเป็นผู้กระทำการดังกล่าวจริง จริงแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2."นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ" โดยจับกุมผู้ต้องหาชาวไนจีเรีย 3 ราย ชาวไทย 2 ราย แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นมาติดต่อคู่ค้า มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท 3."หลอกรักออนไลน์ (โรแมนซ์ สแกม)" จับกุมผู้ต้องหา 1 ราย ใน จ.พระนครศรีอยุธยา มูลค่าความเสียหายกว่าล้านบาท
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เผยอีกว่า 4."แอบอ้างข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย" หลอกลวงขายสินค้าออนไลน์ อาทิ โทรศัพท์ และเสื้อผ้า มูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท จับกุมผู้ต้องหา 3 คน ในพื้นที่จ.มหาสารคาม และจ.สมุทรสาคร 5."แอบอ้างเป็นลูกสาวของประธานาธิบดีของประเทศจีน” จับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก 1 ราย พร้อมทำการตรวจยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ได้ในบ้านพักพื้นที่อ.บ่อผุด จ.สุราษฎร์ธานี 6."ข่าวแม่น้ำโขงแห้ง ปลาสูญพันธุ์" จับกุมผู้ต้องหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จในบ้านพัก อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี และได้นำตัวมาดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14(2)
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เผยต่อว่า 7."หลอกขายผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟฟ้า" จับกุมขบวนการต่างชาติ พร้อมตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายจำนวนมาก ภายในโกดังเก็บสินค้าในพื้นที่อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอ.พานทอง จ.ชลบุรี มาดำเนินคดีตามกฎหมาย 8."แอบอ้างนามสกุลนายกรัฐมนตรี หลอกขายของออนไลน์" จับกุมผู้ต้องหาหลอกขายสินค้าทางออนไลน์ เพื่อหวังให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งกระทำมาแล้วเป็นเวลาสี่เดือน มูลค่าความเสียหายนับแสนบาท และ 9."เพจเฟซบุ๊ก รับสมัครนักรบล้มล้างการปกครอง" เจ้าหน้าที่นำหมายค้นของศาลจังหวัดนนทบุรี เข้าตรวจค้นที่บ้านพักย่านเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ได้พบกับผู้กระทำความผิดเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ และรับว่าได้กระทำจริง จึงได้นำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
"สำหรับข่าวปลอมหรือ Fake News แบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1.กลุ่มเกรียนหรือนักเลงคีย์บอร์ดโพสต์ข้อความสร้างกระแสเพื่อความสนุกส่วนตัว 2.กลุ่มหวังรายได้ นำภาพดารา ผู้มีชื่อเสียง โพสต์สร้างกระแส หวังยอดติดตามเพื่อโฆษณา 3.กลุ่มสร้างความเกลียดชัง โพสต์ข้อความดูหมิ่น ยุยง ปลุกปั่นหรือกลุ่ม Hate Speech และ 4.กลุ่มหลอกลวง นำเข้าข้อมูลเท็จ หลอกขายสินค้า" โฆษก ปอท. กล่าว
ด้าน นายพุทธิพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ บก.ปอท. ติดตามตรวจค้นพื้นที่ 9 จุด โดยปัจจุบันข่าวปลอมมีหลายรูปแบบไม่ใช่เฉพาะข่าวการเมืองแต่รวมถึงข่าวที่กระทบความมั่นคง ข่าวภัยพิบัติ หรือข่าวหลอกลวง ทั้งนี้ หากประชาชนจะโพสต์ข้อความ แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตสามารถทำได้แต่ไม่ควรสร้างความเกลียดชัง และไม่เกิดความเสียหายต่อสังคม แต่หากกระทบบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนกรณีเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า "รับอุปการะเด็กจากแม่ที่ท้องไม่พร้อม" ที่มีการโพสขอรับอุปการะเด็กแลกกับเงินนั้น ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ แต่จะดำเนินการตรวจสอบเพราะเชื่อว่าอาจมีอีกหลายเพจที่มีการกระทำในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) จะตรวจสอบว่าเข้าข่ายการกระทำผิดค้ามนุษย์หรือไม่
https://mgronline.com/crime/detail/9620000087121
เตือนแล้วนะ อย่าเอาข่าวปลอมมาเผยแพร่
💮💮💮มาลาริน/รมต.ดิจิทัล รับมีขบวนการกุข่าวทำลาย “ร.อ.ธรรมนัส” ติดคุกในซิดนีย์ รอเจ้าตัวแจ้งความ ปอท.แถลงผลจับข่าวปลอม
ปอท. พร้อมตรวจสอบต้นตอข่าว “ร.อ.ธรรมนัส” ถูกตัดสินจำคุก 4 ปี ชี้ เป็นเรื่องเสียหายส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดกับรัฐบาล รอเจ้าตัวมาแจ้งความ รมต.ดิจิทัล รับมีทำเป็นขบวการ
วันนี้ (10 ก.ย.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยกรณีสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกตัดสินจำคุก 4 ปี เพราะลักลอบนำเฮโรอีนเข้าซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเสียหายส่วนบุคคลของ ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งจะต้องเดินทางมาแจ้งความดำเนินคดีด้วยตนเอง เพราะไม่ได้เกิดความเสียหายต่อรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการที่ ร.อ.ธรรมนัส สังกัดอยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส ระบุว่า มีขบวนการในต่างประเทศคอยต้องการล้มล้างทำลายชื่อเสียงของตัวเองนั้น ด้าน นายพุทธิพงษ์ เผยว่า น่าจะเป็นความจริง เนื่องจากการแถลงข่าวปฏิบัติการทำลายล้างข่าวปลอมของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ส่วนใหญ่ก็มีเครือข่ายอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุหรือขบวนการที่จะต้องการล้มล้างและทำลายชื่อเสียงของ ร.อ.ธรรมนัส ทั้งนี้ ทางกระทรวงดิจิทัลฯ และ ปอท. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งหากมีการเข้ามาแจ้งความดำเนินคดีหรือให้ข้อมูลกับทางกระทรวงดิจิทัลฯ ก็พร้อมที่จะดำเนินการตรวจสอบให้
ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก ปอท. กล่าวว่า ปอท. ช่วยดำเนินการสืบสวนสอบสวนตรวจสอบหาแหล่งที่มาของสื่ออวตาร หรือ สื่อปลอม และข่าวดังกล่าวทันที หาก ร.อ.ธรรมนัส เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ ทาง ปอท. อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ตำรวจไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติหากผู้เสียหายจะเป็นฝั่งใดก็ตามก็พร้อมดำเนินการทางคดีให้กับทุกคน
https://mgronline.com/crime/detail/9620000087145
ทลายล้างข่าวปลอมตามปฏิบัติการ “09.09.2019 ” 9 จุดทั่วประเทศ
MGR online - ปอท.-ดิจิทัล แถลงผลจับกุมตาม “ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม 09.09.2019 ” 9 จุดทั่วประเทศ จำนวน 9 คดี ยันมีหลายรูปแบบทั้งข่าวการเมือง-ความมั่นคง -ภัยพิบัติ และข่าวหลอกลวง
วันนี้ (10 ก.ย.) เวลา 15.00 น. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อีดี.) พร้อมด้วย น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. และ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. ในฐานะโฆษก ปอท. ร่วมแถลงการปิดล้อมจับกุมเพจเฟซบุ๊กข่าวปลอม 9 คดี ใน “ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม 09.09.2019”
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยก่อนมาก ประชาชนใช้เวลาการเข้าถึงข้อมูลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วก็แฝงมาด้วยข่าวปลอม อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 19 ส.ค. – 9 ก.ย. 2562 มีเป้าหมายการปิดล้อมตรวจค้นจำนวน 9 จุดทั่วประเทศ ดังนี้ 1."ข่าวประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษระเบิด 7 จุดในกรุงเทพมหานคร" ได้เข้าตรวจค้นบ้านพักย่านบางพลัด โดยผู้ต้องหารับสารภาพว่าเป็นผู้กระทำการดังกล่าวจริง จริงแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2."นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ" โดยจับกุมผู้ต้องหาชาวไนจีเรีย 3 ราย ชาวไทย 2 ราย แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นมาติดต่อคู่ค้า มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท 3."หลอกรักออนไลน์ (โรแมนซ์ สแกม)" จับกุมผู้ต้องหา 1 ราย ใน จ.พระนครศรีอยุธยา มูลค่าความเสียหายกว่าล้านบาท
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เผยอีกว่า 4."แอบอ้างข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย" หลอกลวงขายสินค้าออนไลน์ อาทิ โทรศัพท์ และเสื้อผ้า มูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท จับกุมผู้ต้องหา 3 คน ในพื้นที่จ.มหาสารคาม และจ.สมุทรสาคร 5."แอบอ้างเป็นลูกสาวของประธานาธิบดีของประเทศจีน” จับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก 1 ราย พร้อมทำการตรวจยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ได้ในบ้านพักพื้นที่อ.บ่อผุด จ.สุราษฎร์ธานี 6."ข่าวแม่น้ำโขงแห้ง ปลาสูญพันธุ์" จับกุมผู้ต้องหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จในบ้านพัก อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี และได้นำตัวมาดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14(2)
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เผยต่อว่า 7."หลอกขายผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟฟ้า" จับกุมขบวนการต่างชาติ พร้อมตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายจำนวนมาก ภายในโกดังเก็บสินค้าในพื้นที่อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอ.พานทอง จ.ชลบุรี มาดำเนินคดีตามกฎหมาย 8."แอบอ้างนามสกุลนายกรัฐมนตรี หลอกขายของออนไลน์" จับกุมผู้ต้องหาหลอกขายสินค้าทางออนไลน์ เพื่อหวังให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งกระทำมาแล้วเป็นเวลาสี่เดือน มูลค่าความเสียหายนับแสนบาท และ 9."เพจเฟซบุ๊ก รับสมัครนักรบล้มล้างการปกครอง" เจ้าหน้าที่นำหมายค้นของศาลจังหวัดนนทบุรี เข้าตรวจค้นที่บ้านพักย่านเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ได้พบกับผู้กระทำความผิดเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ และรับว่าได้กระทำจริง จึงได้นำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
"สำหรับข่าวปลอมหรือ Fake News แบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1.กลุ่มเกรียนหรือนักเลงคีย์บอร์ดโพสต์ข้อความสร้างกระแสเพื่อความสนุกส่วนตัว 2.กลุ่มหวังรายได้ นำภาพดารา ผู้มีชื่อเสียง โพสต์สร้างกระแส หวังยอดติดตามเพื่อโฆษณา 3.กลุ่มสร้างความเกลียดชัง โพสต์ข้อความดูหมิ่น ยุยง ปลุกปั่นหรือกลุ่ม Hate Speech และ 4.กลุ่มหลอกลวง นำเข้าข้อมูลเท็จ หลอกขายสินค้า" โฆษก ปอท. กล่าว
ด้าน นายพุทธิพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ บก.ปอท. ติดตามตรวจค้นพื้นที่ 9 จุด โดยปัจจุบันข่าวปลอมมีหลายรูปแบบไม่ใช่เฉพาะข่าวการเมืองแต่รวมถึงข่าวที่กระทบความมั่นคง ข่าวภัยพิบัติ หรือข่าวหลอกลวง ทั้งนี้ หากประชาชนจะโพสต์ข้อความ แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตสามารถทำได้แต่ไม่ควรสร้างความเกลียดชัง และไม่เกิดความเสียหายต่อสังคม แต่หากกระทบบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนกรณีเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า "รับอุปการะเด็กจากแม่ที่ท้องไม่พร้อม" ที่มีการโพสขอรับอุปการะเด็กแลกกับเงินนั้น ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ แต่จะดำเนินการตรวจสอบเพราะเชื่อว่าอาจมีอีกหลายเพจที่มีการกระทำในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) จะตรวจสอบว่าเข้าข่ายการกระทำผิดค้ามนุษย์หรือไม่
https://mgronline.com/crime/detail/9620000087121
เตือนแล้วนะ อย่าเอาข่าวปลอมมาเผยแพร่