💗 รีวิวการบริจาคเลือดแมว : เคยคิดกลัวกับการที่ต้องพาน้องแมวไปบริจาคเลือด แต่พอไปบริจาคแล้วไม่น่ากลัว ไม่น่ากังวลอย่างที่คิด เพราะคุณหมอทำอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย กว่าจะรู้ว่าเลือดแมวของเราจะสามารถบริจาคได้หรือไม่ ตรวจเยอะมาก ทั้งสุขภาพ ทั้งความเข้ากันได้ของเลือด คุณภาพเลือดแมว หมอก็ตรวจแล้วส่งไปห้องเจาะเลือด เพื่อดูค่าเลือดว่าสมบูรณ์ดีและเลือดเข้ากับแมวได้ไหม รออยู่สักประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผล OK ก็เลยส่งตัวไปห้องบริจาคเลือด ตอนเอาเลือดหมอวางยาสลบด้วย ได้เลือดมา 45 cc
พอบริจาคเสร็จ ก็จะสลึมสลืออยู่และหมอให้น้ำเกลือ เฝ้าจนกลับมาปกติ ก็เลยกลับบ้านได้
อยู่ รพ. 4-5 ชั่วโมง ทั้งตรวจร่างกาย-test เลือด-วางยาสลบ-เจาะเลือด-รอให้ฟื้น พอฟื้นก็ร่าเริงปกติ ที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ ป้อนยาบำรุงเลือด
🚩 สรุป คือ การบริจาคเลือดแมว ดีมาก ปลอดภัย ทำแล้วรู้สึกชื่นใจสำหรับเจ้าของ (ใจแมวถ้าเค้ารู้ว่าเค้าได้มีโอกาสช่วยเพื่อนแมวด้วยกันเขาก็คงภูมิใจในเลือดเขา) พาแมวไปบริจาคเลือดให้แมวป่วยที่ต้องการกันเถอะค่ะ 😻 ถ้าแมวเราบริจาคได้แสดงว่าแมวเราแข็งแรงพร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อนแมวด้วยกัน
แมวของคุณ ช่วยชีวิตแมวป่วยได้นะคะ
ให้เลือด = ให้ชีวิต
ต่อชีวิตให้น้องๆด้วยนะคะ
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน "เลือด" คือสิ่งที่สิ่งมีชีวิตต้องการใช้ต่อชีวิตให้อยู่รอด และสัตว์ก็ไม่ต่างกับมนุษย์ ดังที่ทุกคนเห็นว่า ปัจจุบันประชากรสัตว์เลี้ยงยอดฮิต อย่างเช่น สุนัข และแมว เพิ่มจำนวนขึ้นมาก แต่หากสัตว์เหล่านั้นเกิดประสบอุบัติเหตุ หรือป่วยหนักจนต้องได้รับการผ่าตัด แต่เกิดไม่มีเลือดสำรอง คุณเจ้าของทั้งหลายจะทำอย่างไรล่ะ?
นั่นจึงเป็นที่มาของ "ธนาคารเลือด" สำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ในเมืองไทยมีโรงพยาบาลไม่กี่แห่งที่มีเลือดสัตว์เก็บสำรองไว้ อย่างเช่นที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งเปิดรับสำรองเลือดให้น้องหมา-น้องแมวมานานเกือบ 12 ปีแล้ว แต่ถึงกระนั้น เลือดก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดแคลน เพราะเจ้าของสัตว์เลี้ยงมักไม่ค่อยพาสัตว์เลี้ยงมาบริจาคเลือด ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้ว่ามีธนาคารเลือดของสัตว์ก็เป็นได้
นายสัตว์แพทย์ เสลภูมิ ไพเราะ หัวหน้าหน่วยธนาคารเลือด และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เลือดที่สำรองไว้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เข้ามาสูงมากในแต่ละวัน อย่างเช่นเมื่อสองปีก่อน มีสุนัขป่วยต้องการเลือด 3,000 ราย แต่มีเจ้าของพามาบริจาคแค่ 900 ราย เมื่อนำเลือดมาปั่นแยกเป็นน้ำเลือด เกล็ดเลือด ก็จะแบ่งไปช่วยสุนัขได้เพียง 1,800 รายเท่านั้นเอง
สำหรับเลือดที่ได้รับบริจาคมานั้น ธนาคารเลือดจะนำเลือดไปปั่น แล้วสำรองไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอความต้องการใช้เลือดแต่ละประเภท คือ
เลือดสดและเลือดแช่เย็น (Whole blood) และเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Packed Red Cells) จะนำไปใช้ในกรณีที่สัตว์มีอาการโลหิตจางอย่างรุนแรง หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือประสบอุบัติเหตุจนเสียเลือดอย่างรุนแรง
น้ำเลือด (Plasma) นำไปใช้ในกรณีสัตว์ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด โรคเลือดบางชนิด ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ หรือกรณีพิเศษอื่น ๆ
เกล็ดเลือด (Platelet) ใช้กับสัตว์ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ หรือมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด
นายสัตว์แพทย์ เสลภูมิ กล่าวต่อว่า สัตว์ที่เคยบริจาคเลือดไปแล้ว ก็ต้องเว้นไปอีก 3-5 เดือน จึงจะกลับมาบริจาคเลือดใหม่ได้ ซึ่งก็ยิ่งทำให้จำนวนเลือดที่มีสำรงไว้น้อยลง ทางธนาคารเลือดจึงต้องใช้วิธีการประชาสัมพันธ์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้เจ้าของพาสัตว์เลี้ยงมาบริจาคเลือดให้มากขึ้น
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจอยากรู้แล้วว่า สัตว์เลี้ยงของตัวเองจะสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่ โดยสัตว์ที่จะสามารถบริจาคเลือดได้ ต้องมีคุณสมบัติคือ
1. สุนัขหรือแมวจะต้องมีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 1- 8 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศและพันธุ์
2. ถ้าเป็นสุนัขต้องมีน้ำหนักมากกว่า 17 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนแมวต้องมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
3. มีประวัติการทำวัคซีนครบ
4. ปราศจากโรคติดต่อทางเลือด เช่นโรคพยาธิเม็ดเลือด โรคแท้งติดต่อในสุนัข พยาธิหนอนหัวใจ และโรคติดเชื้อไวรัสในแมว เป็นต้น
5. ไม่เคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ในระยะ 1- 2 เดือนก่อนบริจาคเลือด
6. ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง กรณีที่มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนบริจาค
7. ในกรณีที่ทำวัคซีนประจำปี ควรเว้นระยะเวลาอย่างต่ำ 3 สัปดาห์ก่อนนำสุนัขมาบริจาค
8. ไม่มีเห็บหมัด หรือโรคผิวหนัง
9. สุขภาพฟันดี ไม่มีคราบหินปูน
วิธีการบริจาคเลือด
สำหรับใครที่จะพาสัตว์เลี้ยงไปบริจาคเลือด ก่อนอื่นเลย ในมื้อเช้า สัตว์เลี้ยงต้องงดอาหารก่อนบริจาค หลังจากนั้น สัตวแพทย์จะตรวจสุขภาพ โดยซักประวัติการทำวัคซีนและเก็บเลือดไปตรวจสุขภาพในเบื้องต้น เมื่อทุกอย่างพร้อม คุณหมอจะโกนขนบริเวณคอและฆ่าเชื้อ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุนัข (ในกรณีที่สุนัขขนยาวอาจมองไม่เห็นบริเวณที่โกนเลยก็ได้) หลังจากบริจาคเลือดแล้ว สุนัขจะได้รับสารน้ำทดแทนในปริมาณใกล้เคียงกับที่สูญสียน้ำไป (หรืออาจไม่จำเป็นต้องรับก็ได้)
ข้อควรรู้
- ในการบริจาค 1 ครั้ง สุนัขจะบริจาคได้ 350-450 มิลลิลิตร ซึ่งเท่ากับ 1 ยูนิต หรือเทียบได้ประมาณ 10 - 20 มิลลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนแมวจะบริจาคได้ 40-50 มิลลิลิตรต่อตัว
- สุนัขและแมวสามารถบริจาคเลือดได้ทุก ๆ 5 เดือน
บริจาคเลือดแล้ว...ได้อะไร?
1.ร่างกายของสุนัขและแมวจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมา ทำให้สุขภาพแข็งแรง
2.สัตว์เลี้ยงได้รับการตรวจเลือดและเช็คสุขภาพประจำทุก ๆ 4 - 5 เดือน ในกรณีที่ผลเลือดผิดปกติทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที
3.สัตว์เลี้ยงจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพยาธิหัวใจทุกครั้ง
4.สัตว์เลี้ยงจะได้รับยาบำรุงเลือด อาหารเม็ด พร้อมของที่ระลึก
5.ได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด
6.ได้ช่วยเหลือเพื่อนสัตว์เลี้ยง หรือบางกรณีสัตว์เลี้ยงของท่านอาจมีเหตุจำเป็นต้องการใช้เลือดเอง
7.สัตว์เลี้ยงจะได้รับวัคซีนประจำปีฟรี ตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้บริจาคโลหิต
อย่าลืมนะคะ "เลือดทุกหยด ช่วยชุบชีวิตเพื่อนสัตว์ด้วยกัน" เจ้าของคนใดมีจิตเมตตา ก็พาสัตว์เลี้ยงของท่านมาบริจาคเลือดได้
ขอเชิญชวนพาน้องแมว-น้องหมาไปบริจาคเลือดกันเถอะค่ะ
พอบริจาคเสร็จ ก็จะสลึมสลืออยู่และหมอให้น้ำเกลือ เฝ้าจนกลับมาปกติ ก็เลยกลับบ้านได้
อยู่ รพ. 4-5 ชั่วโมง ทั้งตรวจร่างกาย-test เลือด-วางยาสลบ-เจาะเลือด-รอให้ฟื้น พอฟื้นก็ร่าเริงปกติ ที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ ป้อนยาบำรุงเลือด
🚩 สรุป คือ การบริจาคเลือดแมว ดีมาก ปลอดภัย ทำแล้วรู้สึกชื่นใจสำหรับเจ้าของ (ใจแมวถ้าเค้ารู้ว่าเค้าได้มีโอกาสช่วยเพื่อนแมวด้วยกันเขาก็คงภูมิใจในเลือดเขา) พาแมวไปบริจาคเลือดให้แมวป่วยที่ต้องการกันเถอะค่ะ 😻 ถ้าแมวเราบริจาคได้แสดงว่าแมวเราแข็งแรงพร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อนแมวด้วยกัน
แมวของคุณ ช่วยชีวิตแมวป่วยได้นะคะ
ให้เลือด = ให้ชีวิต
ต่อชีวิตให้น้องๆด้วยนะคะ
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน "เลือด" คือสิ่งที่สิ่งมีชีวิตต้องการใช้ต่อชีวิตให้อยู่รอด และสัตว์ก็ไม่ต่างกับมนุษย์ ดังที่ทุกคนเห็นว่า ปัจจุบันประชากรสัตว์เลี้ยงยอดฮิต อย่างเช่น สุนัข และแมว เพิ่มจำนวนขึ้นมาก แต่หากสัตว์เหล่านั้นเกิดประสบอุบัติเหตุ หรือป่วยหนักจนต้องได้รับการผ่าตัด แต่เกิดไม่มีเลือดสำรอง คุณเจ้าของทั้งหลายจะทำอย่างไรล่ะ?
นั่นจึงเป็นที่มาของ "ธนาคารเลือด" สำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ในเมืองไทยมีโรงพยาบาลไม่กี่แห่งที่มีเลือดสัตว์เก็บสำรองไว้ อย่างเช่นที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งเปิดรับสำรองเลือดให้น้องหมา-น้องแมวมานานเกือบ 12 ปีแล้ว แต่ถึงกระนั้น เลือดก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดแคลน เพราะเจ้าของสัตว์เลี้ยงมักไม่ค่อยพาสัตว์เลี้ยงมาบริจาคเลือด ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้ว่ามีธนาคารเลือดของสัตว์ก็เป็นได้
นายสัตว์แพทย์ เสลภูมิ ไพเราะ หัวหน้าหน่วยธนาคารเลือด และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เลือดที่สำรองไว้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เข้ามาสูงมากในแต่ละวัน อย่างเช่นเมื่อสองปีก่อน มีสุนัขป่วยต้องการเลือด 3,000 ราย แต่มีเจ้าของพามาบริจาคแค่ 900 ราย เมื่อนำเลือดมาปั่นแยกเป็นน้ำเลือด เกล็ดเลือด ก็จะแบ่งไปช่วยสุนัขได้เพียง 1,800 รายเท่านั้นเอง
สำหรับเลือดที่ได้รับบริจาคมานั้น ธนาคารเลือดจะนำเลือดไปปั่น แล้วสำรองไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอความต้องการใช้เลือดแต่ละประเภท คือ
เลือดสดและเลือดแช่เย็น (Whole blood) และเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Packed Red Cells) จะนำไปใช้ในกรณีที่สัตว์มีอาการโลหิตจางอย่างรุนแรง หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือประสบอุบัติเหตุจนเสียเลือดอย่างรุนแรง
น้ำเลือด (Plasma) นำไปใช้ในกรณีสัตว์ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด โรคเลือดบางชนิด ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ หรือกรณีพิเศษอื่น ๆ
เกล็ดเลือด (Platelet) ใช้กับสัตว์ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ หรือมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด
นายสัตว์แพทย์ เสลภูมิ กล่าวต่อว่า สัตว์ที่เคยบริจาคเลือดไปแล้ว ก็ต้องเว้นไปอีก 3-5 เดือน จึงจะกลับมาบริจาคเลือดใหม่ได้ ซึ่งก็ยิ่งทำให้จำนวนเลือดที่มีสำรงไว้น้อยลง ทางธนาคารเลือดจึงต้องใช้วิธีการประชาสัมพันธ์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้เจ้าของพาสัตว์เลี้ยงมาบริจาคเลือดให้มากขึ้น
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจอยากรู้แล้วว่า สัตว์เลี้ยงของตัวเองจะสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่ โดยสัตว์ที่จะสามารถบริจาคเลือดได้ ต้องมีคุณสมบัติคือ
1. สุนัขหรือแมวจะต้องมีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 1- 8 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศและพันธุ์
2. ถ้าเป็นสุนัขต้องมีน้ำหนักมากกว่า 17 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนแมวต้องมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
3. มีประวัติการทำวัคซีนครบ
4. ปราศจากโรคติดต่อทางเลือด เช่นโรคพยาธิเม็ดเลือด โรคแท้งติดต่อในสุนัข พยาธิหนอนหัวใจ และโรคติดเชื้อไวรัสในแมว เป็นต้น
5. ไม่เคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ในระยะ 1- 2 เดือนก่อนบริจาคเลือด
6. ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง กรณีที่มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนบริจาค
7. ในกรณีที่ทำวัคซีนประจำปี ควรเว้นระยะเวลาอย่างต่ำ 3 สัปดาห์ก่อนนำสุนัขมาบริจาค
8. ไม่มีเห็บหมัด หรือโรคผิวหนัง
9. สุขภาพฟันดี ไม่มีคราบหินปูน
วิธีการบริจาคเลือด
สำหรับใครที่จะพาสัตว์เลี้ยงไปบริจาคเลือด ก่อนอื่นเลย ในมื้อเช้า สัตว์เลี้ยงต้องงดอาหารก่อนบริจาค หลังจากนั้น สัตวแพทย์จะตรวจสุขภาพ โดยซักประวัติการทำวัคซีนและเก็บเลือดไปตรวจสุขภาพในเบื้องต้น เมื่อทุกอย่างพร้อม คุณหมอจะโกนขนบริเวณคอและฆ่าเชื้อ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุนัข (ในกรณีที่สุนัขขนยาวอาจมองไม่เห็นบริเวณที่โกนเลยก็ได้) หลังจากบริจาคเลือดแล้ว สุนัขจะได้รับสารน้ำทดแทนในปริมาณใกล้เคียงกับที่สูญสียน้ำไป (หรืออาจไม่จำเป็นต้องรับก็ได้)
ข้อควรรู้
- ในการบริจาค 1 ครั้ง สุนัขจะบริจาคได้ 350-450 มิลลิลิตร ซึ่งเท่ากับ 1 ยูนิต หรือเทียบได้ประมาณ 10 - 20 มิลลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนแมวจะบริจาคได้ 40-50 มิลลิลิตรต่อตัว
- สุนัขและแมวสามารถบริจาคเลือดได้ทุก ๆ 5 เดือน
บริจาคเลือดแล้ว...ได้อะไร?
1.ร่างกายของสุนัขและแมวจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมา ทำให้สุขภาพแข็งแรง
2.สัตว์เลี้ยงได้รับการตรวจเลือดและเช็คสุขภาพประจำทุก ๆ 4 - 5 เดือน ในกรณีที่ผลเลือดผิดปกติทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที
3.สัตว์เลี้ยงจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพยาธิหัวใจทุกครั้ง
4.สัตว์เลี้ยงจะได้รับยาบำรุงเลือด อาหารเม็ด พร้อมของที่ระลึก
5.ได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด
6.ได้ช่วยเหลือเพื่อนสัตว์เลี้ยง หรือบางกรณีสัตว์เลี้ยงของท่านอาจมีเหตุจำเป็นต้องการใช้เลือดเอง
7.สัตว์เลี้ยงจะได้รับวัคซีนประจำปีฟรี ตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้บริจาคโลหิต
อย่าลืมนะคะ "เลือดทุกหยด ช่วยชุบชีวิตเพื่อนสัตว์ด้วยกัน" เจ้าของคนใดมีจิตเมตตา ก็พาสัตว์เลี้ยงของท่านมาบริจาคเลือดได้