ในช่วงปลายยุค 1980 ถึงกลางยุค 1990 ในวงการเกมนั้น เริ่มมีบริษัทอื่น ๆ กลับเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดนี้มากขึ้น
ทำให้การแข่งขันในตลาดเกมคอนโซลเพิ่มความรุนแรงมากจนต่อมาถูกเรียกว่าเป็นยุค Consoles War
โดยในสงครามนี้หากมองให้ลึกลงไป
มันคือสงครามแย่งชิงทรัพยากร โดยจะขออธิบายเปรียบเทียบดังนี้
สมมุติว่าบริษัทเครื่องเกมคอนโซลแต่ละบริษัทเป็นประเทศต่าง ๆ ซึ่งต้องการที่จะครองตลาดผู้ผลิตเครื่องบินรบอันดับหนึ่งในโลก
ในการผลิตเครื่องบินนั้นแต่ละประเทศจะเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
ในการสร้างเครื่องบินรบเพื่อแย่งชิงคำสั่งซื้อและสร้างฐานลูกค้าในแต่ละประเทศ
เครื่องบินรบที่ว่าก็คือเครื่องเกมคอนโซลนั้นเอง
แต่นั้นก็แค่เครื่องเปล่า
สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจสั่งซื้อคืออาวุธต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งได้
อาวุธต่าง ๆ เหล่านั้นก็คือเกมนั้นเอง
ผู้ผลิตอาวุธนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
1. หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ผลิตอาวุธป้อนให้กับเครื่องบินรบของตน เทียบได้กับ Inhouse Developer
2. บริษัทผู้ผลิตอาวุธเอกชนที่สามารถผลิตอาวุธที่ใช้ได้กับเครื่องบินรบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายก็ได้
ซึ่งก็คือบริษัทผู้พัฒนาเกม third party นั้นเอง
การที่จะทำให้บริษัทผู้ผลิตอาวุธเอกชนเหล่านี้มาผลิตอาวุธให้นั้นมีหลายวิธี
ไม่ว่าเป็นการเจรจาชักจูง, ยื่นสิทธิ์พิเศษให้
บางครั้งบริษัทเหล่านี้ก็จะมาเสนอตัวผลิตอาวุธให้เองเนื่องด้วยเทคโนโลยีของเครื่องบินตรงตามความต้องการของบริษัท,
เครื่องบินมีการใช้งานอย่างแพร่หลายหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ
เมื่อมีพร้อมทั้งเครื่องบินและอาวุธ แต่ละประเทศก็จะโฆษณาและเสนอขายเครื่องบินและอาวุธเหล่านั้นในตลาด
หากเครื่องบินและอาวุธเหล่านั้นมีประสิทธิ์ภาพตรงตามความต้องการในราคาที่จ่ายได้
ประเทศผู้ซื้อก็จะยืนคำสั่งซื้อเข้ามา ประเทศผู้ผลิตและบริษัทผลิตอาวุธก็จะได้รับเงินค่าสินค้าบวกกำไร
ยิ่งเครื่องบินที่ขายไปนั้นมีประสิทธิ์ภาพดีและมีอาวุธคุณภาพสูงให้เลือกติดตั้งได้หลากหลายแบบเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากเท่านั้น
ซึ่งจะทำให้คำสั่งซื้อมีเพิ่มมากขึ้น อาวุธก็มีคำสั่งซื้อมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
กำไรส่วนหนึ่งจากการขายเครื่องและอาวุธเหล่านั้นก็จะถูกนำไปใช้ในการผลิตและพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ
รวมถึงการพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ต่อไป
ผู้ซื้อเครื่องบินและอาวุธดังกล่าวก็คือผู้ซื้อเครื่องเกมหรือผู้เล่น
ตรงนี้จะเห็นว่าทรัพยากรคือ เทคโนโลยี, ชิ้นส่วน Hardware, บริษัทผู้พัฒนาเกม, ฐานลูกค้า โดนผลที่ต้องการคือเงินรายได้
สาเหตุที่ต้องอธิบายแบบเปรียบเทียบนี้ก็เพราะ
เมื่อมองลงไปในประวัติศาสตร์การแข่งขันในธุรกิจนี้โดนใช้แนวคิดในมุมมองดังกล่าวจะช่วยให้ง่ายต่อการมองและแยกแยะว่าชัยชนะ,
ความพ่ายแพ้หรือ Turning Point ที่เกิดขึ้นนั้นสาเหตุมาจากอะไร
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมามองตลาดเครื่องเล่นเกมในยุคนั้นก็จะพบว่าใน Consoles War นี้ยังมีสงครามย่อยแฝงอยู่ในนั้น
นั่นคือสงครามเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ
ในเวลานั้น ผู้เล่นต้องการเกมที่คุณภาพดียิ่งขึ้น กราฟฟิกที่ดีกว่านี้ คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเดิม
ความฝันสูงสุดของผู้เล่นคือการได้เล่นเกมที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับเครื่องเกมอาเขตที่บ้านของตน
และการที่จะทำเช่นนั้นได้ย่อมหมายถึงเครื่องเล่นเกมจะต้องใช้ชิปประมวลผลที่ประสิทธิ์ภาพดีกว่าเดิม
วิธีการเพิ่มประสิทธิ์ภาพก็คือการใช้ชิปที่สามารถเข้าถึงหน่วยความจำและประมวลผลได้ดียิ่งขึ้นโดยการใช้สถาปัตยกรรม
16 Bit กับชิปประมวลผลที่ติดตั้งในเครื่องเกมนั้นเอง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อในกลุ่มผู้บริโภคขึ้นมาว่า Bit ยิ่งเยอะยิ่งดี
บริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมก็ใช้ประโยชน์จากความเชื่อนี้ในการโฆษณาและผลิตเครื่องเกมของตน
จนทำให้ในยุค Consoles War นี้เป็นสงครามที่ใช้ Bit ในการโฆษณาและแย่งชิงทรัพยากรจนเกิดนิยามเกี่ยวกับวงการเกมในยุคนี้อีกคำขึ้นมาว่า
“Bit War”
ยุคที่เปี่ยมไปด้วยความรุ่งเรื่อง, การเพลี่ยงพล่ำ, การจากลาและทิ้งไว้เพียงตำนาน
อรุณของยุคทองแห่งวงการเกมเริ่มทอแสงเยี่ยงนี้แล
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Game of Consoles 16” Prologue
ทำให้การแข่งขันในตลาดเกมคอนโซลเพิ่มความรุนแรงมากจนต่อมาถูกเรียกว่าเป็นยุค Consoles War
โดยในสงครามนี้หากมองให้ลึกลงไป
มันคือสงครามแย่งชิงทรัพยากร โดยจะขออธิบายเปรียบเทียบดังนี้
สมมุติว่าบริษัทเครื่องเกมคอนโซลแต่ละบริษัทเป็นประเทศต่าง ๆ ซึ่งต้องการที่จะครองตลาดผู้ผลิตเครื่องบินรบอันดับหนึ่งในโลก
ในการผลิตเครื่องบินนั้นแต่ละประเทศจะเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
ในการสร้างเครื่องบินรบเพื่อแย่งชิงคำสั่งซื้อและสร้างฐานลูกค้าในแต่ละประเทศ
เครื่องบินรบที่ว่าก็คือเครื่องเกมคอนโซลนั้นเอง
แต่นั้นก็แค่เครื่องเปล่า
สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจสั่งซื้อคืออาวุธต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งได้
อาวุธต่าง ๆ เหล่านั้นก็คือเกมนั้นเอง
ผู้ผลิตอาวุธนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
1. หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ผลิตอาวุธป้อนให้กับเครื่องบินรบของตน เทียบได้กับ Inhouse Developer
2. บริษัทผู้ผลิตอาวุธเอกชนที่สามารถผลิตอาวุธที่ใช้ได้กับเครื่องบินรบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายก็ได้
ซึ่งก็คือบริษัทผู้พัฒนาเกม third party นั้นเอง
การที่จะทำให้บริษัทผู้ผลิตอาวุธเอกชนเหล่านี้มาผลิตอาวุธให้นั้นมีหลายวิธี
ไม่ว่าเป็นการเจรจาชักจูง, ยื่นสิทธิ์พิเศษให้
บางครั้งบริษัทเหล่านี้ก็จะมาเสนอตัวผลิตอาวุธให้เองเนื่องด้วยเทคโนโลยีของเครื่องบินตรงตามความต้องการของบริษัท,
เครื่องบินมีการใช้งานอย่างแพร่หลายหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ
เมื่อมีพร้อมทั้งเครื่องบินและอาวุธ แต่ละประเทศก็จะโฆษณาและเสนอขายเครื่องบินและอาวุธเหล่านั้นในตลาด
หากเครื่องบินและอาวุธเหล่านั้นมีประสิทธิ์ภาพตรงตามความต้องการในราคาที่จ่ายได้
ประเทศผู้ซื้อก็จะยืนคำสั่งซื้อเข้ามา ประเทศผู้ผลิตและบริษัทผลิตอาวุธก็จะได้รับเงินค่าสินค้าบวกกำไร
ยิ่งเครื่องบินที่ขายไปนั้นมีประสิทธิ์ภาพดีและมีอาวุธคุณภาพสูงให้เลือกติดตั้งได้หลากหลายแบบเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่นิยมมากเท่านั้น
ซึ่งจะทำให้คำสั่งซื้อมีเพิ่มมากขึ้น อาวุธก็มีคำสั่งซื้อมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
กำไรส่วนหนึ่งจากการขายเครื่องและอาวุธเหล่านั้นก็จะถูกนำไปใช้ในการผลิตและพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ
รวมถึงการพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ต่อไป
ผู้ซื้อเครื่องบินและอาวุธดังกล่าวก็คือผู้ซื้อเครื่องเกมหรือผู้เล่น
ตรงนี้จะเห็นว่าทรัพยากรคือ เทคโนโลยี, ชิ้นส่วน Hardware, บริษัทผู้พัฒนาเกม, ฐานลูกค้า โดนผลที่ต้องการคือเงินรายได้
สาเหตุที่ต้องอธิบายแบบเปรียบเทียบนี้ก็เพราะ
เมื่อมองลงไปในประวัติศาสตร์การแข่งขันในธุรกิจนี้โดนใช้แนวคิดในมุมมองดังกล่าวจะช่วยให้ง่ายต่อการมองและแยกแยะว่าชัยชนะ,
ความพ่ายแพ้หรือ Turning Point ที่เกิดขึ้นนั้นสาเหตุมาจากอะไร
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมามองตลาดเครื่องเล่นเกมในยุคนั้นก็จะพบว่าใน Consoles War นี้ยังมีสงครามย่อยแฝงอยู่ในนั้น
นั่นคือสงครามเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ
ในเวลานั้น ผู้เล่นต้องการเกมที่คุณภาพดียิ่งขึ้น กราฟฟิกที่ดีกว่านี้ คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเดิม
ความฝันสูงสุดของผู้เล่นคือการได้เล่นเกมที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับเครื่องเกมอาเขตที่บ้านของตน
และการที่จะทำเช่นนั้นได้ย่อมหมายถึงเครื่องเล่นเกมจะต้องใช้ชิปประมวลผลที่ประสิทธิ์ภาพดีกว่าเดิม
วิธีการเพิ่มประสิทธิ์ภาพก็คือการใช้ชิปที่สามารถเข้าถึงหน่วยความจำและประมวลผลได้ดียิ่งขึ้นโดยการใช้สถาปัตยกรรม
16 Bit กับชิปประมวลผลที่ติดตั้งในเครื่องเกมนั้นเอง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความเชื่อในกลุ่มผู้บริโภคขึ้นมาว่า Bit ยิ่งเยอะยิ่งดี
บริษัทผู้ผลิตเครื่องเกมก็ใช้ประโยชน์จากความเชื่อนี้ในการโฆษณาและผลิตเครื่องเกมของตน
จนทำให้ในยุค Consoles War นี้เป็นสงครามที่ใช้ Bit ในการโฆษณาและแย่งชิงทรัพยากรจนเกิดนิยามเกี่ยวกับวงการเกมในยุคนี้อีกคำขึ้นมาว่า
“Bit War”
ยุคที่เปี่ยมไปด้วยความรุ่งเรื่อง, การเพลี่ยงพล่ำ, การจากลาและทิ้งไว้เพียงตำนาน
อรุณของยุคทองแห่งวงการเกมเริ่มทอแสงเยี่ยงนี้แล
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/