สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
การที่สังคมไทยในยุคจารีตจะพัฒนาได้เท่าญี่ปุ่นสมัยเมจิได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ว่าเริ่มปฏิรูปพร้อมกัน แต่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคมด้วยครับ
พื้นฐานทางสังคมญี่ปุ่นในสมัยเอโดะที่ร่วมสมัยกับอยุทธยาและรัตนโกสินทร์มีพัฒนาการเหนือกว่าไทยหลายด้าน โดนเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปเมจิเป็นไปอย่างก้าวกระโดดมาก
ญี่ปุ่นรับแนวคิดการศึกษาจากจีนมาตั้งแต่เฮอัน แม้แรกเริ่มจะจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นสูง แต่ก็มีสถานศึกษาและสำนักคิดจำนวนมากแพร่หลายตั้งแต่โบราณ ต่อมาในสมัยเอโดะต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ มีการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับสามัญชนเรียกว่า เทระโกยะ (寺子屋) หรือสถานศึกษาในวัด ทำให้การศึกษาแพร่หลายไปในชนชั้นอื่นๆ รวมถึงชนชั้นพ่อค้าที่กำลังเฟื่องฟูในสมัยเอโดะ และผู้หญิงด้วย ส่งผลให้การศึกษายิ่งขยายตัว รัฐบาลก่อตั้งสถานศึกษาหลายแห่งจนค่อยๆ กระจายไปทั่วประเทศ จนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีชาวเมืองเอโดะมากกว่าร้อยละ ๗๐ ได้เรียนหนังสือในเทระโกยะ
ในแคว้นต่างๆ ของญี่ปุ่นก็มี ฮังโก (藩校) หรือโรงเรียนประจำแคว้น สำหรับคนในตระกูลไดเมียวและซามูไรรับใช้ นอกจากนี้ยังอาจให้คนชนชั้นอื่นเข้าศึกษาได้ด้วย มีการสอนปรัชญาขงจื่อเป็นหลัก และมีการศึกษาวิชาแขนงอื่น เช่น โกกุงะคุ (國學) หรือญี่ปุ่นศึกษา และ รังงะกุ (蘭学) หรือ ตะวันตกศึกษา ซึ่งตั้งควบคู่ไปกับเทระโกยะ ระบอบการศึกษาของญี่ปุ่นส่งผลให้ในสมัยเอโดะมีนักคิดนักเขียนและนักปรัชญาเกิดขึ้นจำนวนมาก
อัตราการรู้หนังสือของชาวญี่ปุ่นจึงสูงกว่าคนไทยมาตั้งแต่โบราณ มีการประเมินว่าในปลายสมัยเอโดะ มีสถานศึกษามากกว่าหนึ่งหมื่นแห่ง มีนักเรียนประมาณ ๗๕,๐๐๐ คน ผู้ชายร้อยละ ๕๐ และผู้หญิงร้อยละ ๒๐ ของทั้งประเทศสามารถอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้
ในขณะที่สังคมไทยสมัยโบราณก่อนรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีการก่อตั้งสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เน้นศึกษาด้วยการฝากตัวตามวัดหรือกับผู้รู้เฉพาะด้านมากกว่า การเรียนสอนแค่พออ่านออกเขียนได้และวิชาเลข มีแต่โรงเรียนของมิชชันนารีซึ่งค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม การศึกษาไม่ได้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นใต้ปกครองที่สภาพทางสังคมไม่เอื้อมให้เรียนหนังสือ
แม้แต่ชนชั้นปกครองก็ไม่ได้เรียนหนังสือมากนัก เพราะส่วนมากการรับราชการสืบต่อกันอยู่ในตระกูล และถือคติกันว่าวิชาหนังสือเป็นวิชาสำหรับเสมียน ผู้มีบรรดาศักดิ์สูงไม่จำเป็นต้องรู้ลึกซึ้ง เพราะมีเสมียนเขียนให้อยู่แล้ว
ญี่ปุ่นรับวิทยาการตะวันตกจากโปรตุเกสแบบเข้มข้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะปิดประเทศจากตะวันตกในเวลาต่อมา แต่ยังยอมค้าขายกับดัตช์ที่เกาะเดจิมะ ญี่ปุ่นได้รับวิทยาการตะวันตกจากดัตช์หลายอย่าง จนเกิดเป็นแขนงการศึกษาที่เรียกว่า รังงะกุ (蘭学) คือ ดัตช์ศึกษาหรือตะวันตกศึกษา มีการศึกษาวิทยาการหลายประเภททั้งภาษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กลไก ฯลฯ มีการแปลตำราของดัตช์เป็นภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และมีการก่อตั้งสำนักศึกษารังงะกุอย่างเป็นระบบ รังงะกุส่งผลต่อแนวคิดของปัญญาชนในสมัยเอโดะตอนปลายจำนวนมาก ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติเมจิในเวลาต่อมา
เทียบกับไทยซึ่งเปิดประเทศค้าขายกับชาติตะวันตกหลายชนชาติตั้งแต่อยุทธยาตอนกลาง กลับไม่มีระบบการศึกษาวิทยาการตะวันตกอย่างเป็นแบบแผนชัดเจนเลย เพิ่งมาปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีชนชั้นปกครองเริ่มศึกษาวิทยาการตะวันตกแบบจริงจัง แต่ก็เป็นการศึกษาจากมิชชันนารีเป็นรายบุคคลเท่านั้น
ระบบการปกครองของญี่ปุ่นยังเอื้อให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมมากกว่า เพราะการแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็นการกำหนดหน้าที่และการประกอบอาชีพที่ชัดเจนโดยไม่ได้เป็นการเกณฑ์แรงงานแบบไทย ชนชั้นในสังคมเมืองอย่างศิลปะและพ่อค้าจึงมีอิสระสูง โดยเฉพาะพ่อค้าที่เป็นชนชั้นต่ำแต่สามารถสร้างความมั่งคั่งและอิทธิพลจนเหนือกว่าซามูไรจนสามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจของประเทศกลายเป็น “ชนชั้นกระฎุมพี” ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของสังคมญี่ปุ่น รวมถึงชนชั้นศิลปินที่สามารถรังสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของสามัญชนจำนวนมาก เช่น ภาพเขียนแบบอุกิโยะ (浮世) ที่สะท้อนวิถีชีวิตทั่วไป หรือละครคาบูกิ (歌舞伎) ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอีกทางหนึ่ง
ในขณะที่ระบบการปกครองแบบศักดินาของไทยโบราณไม่เอื้อต่อการพัฒนา เพราะเจ้าขุนมูลนายผูกขาดทั้งการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชนชั้นใต้ปกครองส่วนใหญ่คือไพร่ในสังกัดมูลนายถูกเกณฑ์แรงงานเดือนเว้นเดือนขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพของตนเอง ได้รับการศึกษาน้อยหรืออาจไม่ได้เพราะไม่มีจำเป็นต่อสภาพสังคมในยุคนั้น ถูกจำกัดการประกอบอาชีพและการค้าขายไว้เพียงระดับย่อยเพราะชนชั้นปกครองควบคุมการค้าสเกลใหญ่แทบทั้งหมด ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อราชสำนักและศาสนาเป็นหลัก โอกาสที่ชนชั้นล่างจะยกระดับขึ้นมาขับเคลื่อนสังคมและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ แบบญี่ปุ่นจึงน้อยมากครับ
จำนวนประชากรก็แตกต่างกันหลายเท่าตัว ตอนญี่ปุ่นเริ่มเปิดประเทศมีประชากรถึง ๓๐ ล้านคน ในขณะที่สยามซึ่งมีพื้นที่มากกว่าญี่ปุ่น แต่สมัยปลายรัชกาลที่ ๕ มีประชากรเบาบางประมาณ ๘ ล้านคนเท่านั้น
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอาจจะเป็นแนวคิดและค่านิยมพื้นฐานของสังคมไทยอย่างแนวคิดเทวราชาแบบพราหมณ์-ฮินดู และพุทธเถรวาท ที่ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในทางโลกมากนักครับ
พื้นฐานทางสังคมญี่ปุ่นในสมัยเอโดะที่ร่วมสมัยกับอยุทธยาและรัตนโกสินทร์มีพัฒนาการเหนือกว่าไทยหลายด้าน โดนเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปเมจิเป็นไปอย่างก้าวกระโดดมาก
ญี่ปุ่นรับแนวคิดการศึกษาจากจีนมาตั้งแต่เฮอัน แม้แรกเริ่มจะจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นสูง แต่ก็มีสถานศึกษาและสำนักคิดจำนวนมากแพร่หลายตั้งแต่โบราณ ต่อมาในสมัยเอโดะต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ มีการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับสามัญชนเรียกว่า เทระโกยะ (寺子屋) หรือสถานศึกษาในวัด ทำให้การศึกษาแพร่หลายไปในชนชั้นอื่นๆ รวมถึงชนชั้นพ่อค้าที่กำลังเฟื่องฟูในสมัยเอโดะ และผู้หญิงด้วย ส่งผลให้การศึกษายิ่งขยายตัว รัฐบาลก่อตั้งสถานศึกษาหลายแห่งจนค่อยๆ กระจายไปทั่วประเทศ จนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีชาวเมืองเอโดะมากกว่าร้อยละ ๗๐ ได้เรียนหนังสือในเทระโกยะ
ในแคว้นต่างๆ ของญี่ปุ่นก็มี ฮังโก (藩校) หรือโรงเรียนประจำแคว้น สำหรับคนในตระกูลไดเมียวและซามูไรรับใช้ นอกจากนี้ยังอาจให้คนชนชั้นอื่นเข้าศึกษาได้ด้วย มีการสอนปรัชญาขงจื่อเป็นหลัก และมีการศึกษาวิชาแขนงอื่น เช่น โกกุงะคุ (國學) หรือญี่ปุ่นศึกษา และ รังงะกุ (蘭学) หรือ ตะวันตกศึกษา ซึ่งตั้งควบคู่ไปกับเทระโกยะ ระบอบการศึกษาของญี่ปุ่นส่งผลให้ในสมัยเอโดะมีนักคิดนักเขียนและนักปรัชญาเกิดขึ้นจำนวนมาก
อัตราการรู้หนังสือของชาวญี่ปุ่นจึงสูงกว่าคนไทยมาตั้งแต่โบราณ มีการประเมินว่าในปลายสมัยเอโดะ มีสถานศึกษามากกว่าหนึ่งหมื่นแห่ง มีนักเรียนประมาณ ๗๕,๐๐๐ คน ผู้ชายร้อยละ ๕๐ และผู้หญิงร้อยละ ๒๐ ของทั้งประเทศสามารถอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้
ในขณะที่สังคมไทยสมัยโบราณก่อนรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีการก่อตั้งสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เน้นศึกษาด้วยการฝากตัวตามวัดหรือกับผู้รู้เฉพาะด้านมากกว่า การเรียนสอนแค่พออ่านออกเขียนได้และวิชาเลข มีแต่โรงเรียนของมิชชันนารีซึ่งค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม การศึกษาไม่ได้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นใต้ปกครองที่สภาพทางสังคมไม่เอื้อมให้เรียนหนังสือ
แม้แต่ชนชั้นปกครองก็ไม่ได้เรียนหนังสือมากนัก เพราะส่วนมากการรับราชการสืบต่อกันอยู่ในตระกูล และถือคติกันว่าวิชาหนังสือเป็นวิชาสำหรับเสมียน ผู้มีบรรดาศักดิ์สูงไม่จำเป็นต้องรู้ลึกซึ้ง เพราะมีเสมียนเขียนให้อยู่แล้ว
ญี่ปุ่นรับวิทยาการตะวันตกจากโปรตุเกสแบบเข้มข้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะปิดประเทศจากตะวันตกในเวลาต่อมา แต่ยังยอมค้าขายกับดัตช์ที่เกาะเดจิมะ ญี่ปุ่นได้รับวิทยาการตะวันตกจากดัตช์หลายอย่าง จนเกิดเป็นแขนงการศึกษาที่เรียกว่า รังงะกุ (蘭学) คือ ดัตช์ศึกษาหรือตะวันตกศึกษา มีการศึกษาวิทยาการหลายประเภททั้งภาษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กลไก ฯลฯ มีการแปลตำราของดัตช์เป็นภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และมีการก่อตั้งสำนักศึกษารังงะกุอย่างเป็นระบบ รังงะกุส่งผลต่อแนวคิดของปัญญาชนในสมัยเอโดะตอนปลายจำนวนมาก ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติเมจิในเวลาต่อมา
เทียบกับไทยซึ่งเปิดประเทศค้าขายกับชาติตะวันตกหลายชนชาติตั้งแต่อยุทธยาตอนกลาง กลับไม่มีระบบการศึกษาวิทยาการตะวันตกอย่างเป็นแบบแผนชัดเจนเลย เพิ่งมาปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีชนชั้นปกครองเริ่มศึกษาวิทยาการตะวันตกแบบจริงจัง แต่ก็เป็นการศึกษาจากมิชชันนารีเป็นรายบุคคลเท่านั้น
ระบบการปกครองของญี่ปุ่นยังเอื้อให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมมากกว่า เพราะการแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็นการกำหนดหน้าที่และการประกอบอาชีพที่ชัดเจนโดยไม่ได้เป็นการเกณฑ์แรงงานแบบไทย ชนชั้นในสังคมเมืองอย่างศิลปะและพ่อค้าจึงมีอิสระสูง โดยเฉพาะพ่อค้าที่เป็นชนชั้นต่ำแต่สามารถสร้างความมั่งคั่งและอิทธิพลจนเหนือกว่าซามูไรจนสามารถควบคุมระบบเศรษฐกิจของประเทศกลายเป็น “ชนชั้นกระฎุมพี” ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของสังคมญี่ปุ่น รวมถึงชนชั้นศิลปินที่สามารถรังสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของสามัญชนจำนวนมาก เช่น ภาพเขียนแบบอุกิโยะ (浮世) ที่สะท้อนวิถีชีวิตทั่วไป หรือละครคาบูกิ (歌舞伎) ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอีกทางหนึ่ง
ในขณะที่ระบบการปกครองแบบศักดินาของไทยโบราณไม่เอื้อต่อการพัฒนา เพราะเจ้าขุนมูลนายผูกขาดทั้งการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชนชั้นใต้ปกครองส่วนใหญ่คือไพร่ในสังกัดมูลนายถูกเกณฑ์แรงงานเดือนเว้นเดือนขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพของตนเอง ได้รับการศึกษาน้อยหรืออาจไม่ได้เพราะไม่มีจำเป็นต่อสภาพสังคมในยุคนั้น ถูกจำกัดการประกอบอาชีพและการค้าขายไว้เพียงระดับย่อยเพราะชนชั้นปกครองควบคุมการค้าสเกลใหญ่แทบทั้งหมด ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อราชสำนักและศาสนาเป็นหลัก โอกาสที่ชนชั้นล่างจะยกระดับขึ้นมาขับเคลื่อนสังคมและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ แบบญี่ปุ่นจึงน้อยมากครับ
จำนวนประชากรก็แตกต่างกันหลายเท่าตัว ตอนญี่ปุ่นเริ่มเปิดประเทศมีประชากรถึง ๓๐ ล้านคน ในขณะที่สยามซึ่งมีพื้นที่มากกว่าญี่ปุ่น แต่สมัยปลายรัชกาลที่ ๕ มีประชากรเบาบางประมาณ ๘ ล้านคนเท่านั้น
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอาจจะเป็นแนวคิดและค่านิยมพื้นฐานของสังคมไทยอย่างแนวคิดเทวราชาแบบพราหมณ์-ฮินดู และพุทธเถรวาท ที่ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในทางโลกมากนักครับ
แสดงความคิดเห็น
ไทยส่งคนไปศึกษาต่อประเทศฝรั่งตะวันตกเริ่ม ร.5 พร้อม กับ ญี่ปุ่นสมัยเมจิแต่ทำไมเขาคิดค้นเทคโนโลยีเองไปได้ไกลกว่าเรามาก?
อาจจะยาวหน่อยแต่ก็ขออภัยครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Meiji_(era)
"It inaugurated a new Western-based education system for all young people, sent students to the United States and Europe"
ญี่ปุ่นสมัยเมจิหลังสงครามโบชินจบลง พร้อมกับการโค้นล้มรัฐบาลของโชกุล ญี่ปุ่นเข้าสู่การปฏิรูปประเทศครั้งยิ่งใหญ่ มีการส่ง นักเรียนชาวญี่ปุ่นไปศึกษาต่อในสหรัฐ และ ยุโรปเป็นจำนวนมาก
ส่วนใหญ่เป็นลูกชาย ของข้าราชการ และ อดีตซามูไร ระดับสูง
ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเลย
Itō Hirobumi ประธานองคมนตรี และ นายกรัฐมนตรี คนแรก ไปศึกษาต่อ University college london อังกฤษ พร้อมกับ คณะนักเรียนคนอื่นจากแคว้น Chōshū ชื่อ Endō Kinsuke, Nomura Yakichi,Yamao Yōzō, and Inoue Monta
และ คณะรัฐบาลเมจิ คนอื่นที่ไปศึกษาต่อใน ยุโรป และ สหรัฐ Matsuki Kōan,Godai Tomoatsu (Godai Saisuke),Mori Arinori,Machida Hisanari,Komura Jutarō,Kaneko Kentarō,Hayashi Tozaburo และ Mitsukuri Dairoku
นักกฏหมายและ นักวิทยาศาสตร์/วิศวกร
Kikuchi Dairoku
Suematsu Kenchō
Inagaki Manjirō
Okura Kishichiro
Tanaka Ginnosuke
Hachisuka Mochiaki
Nanjo Bunyu
Takakusu Junjiro
Tōgō Heihachirō
Nagai Nagayoshi
นักเขียน และ นักปรัชญา
Shūzō Kuki ลูกชายคนโตของ Kuki Ryūichi ข้าราชการระดับสูง ถูกส่งไปศึกษาต่อที่อังกฤษตั้งแต่ อายุ 12 จนจบ oxford และ ไปทำงาน และ เรียนภาษาที่ฝรั่งเศส และ เยอรมัน ต่ออีก 5 ปี ก่อนกลับญี่ปุ่น
นักธุรกิจ
Kōjirō Matsukata ลูกชายคนโตของ Matsukata Masayoshi หนึ่งในนายกรัฐมลตรีคนสำคัญของญี่ปุ่นยุคนั้น ไปศึกษาต่อสหรัฐตั้งแต่เด็ก และทำงานในฝรั่งเศส และ อิตาลี พร้อมกับธุรกิจนำเข้าไวล์จากฝรั่งเศส และ อิตาลี เข้าญี่ปุ่น
อีกคำถามนึง อาจจะไม่เกี่ยวกับกระทู้นะครับแต่ที่ผมสงสัย คือ ทำไมผู้ชายญี่ปุ่นยุคนนั้นที่ไปศึกษาต่อแทบไม่มีใครแต่งงาน หรือ มีภรรยาเป็นผู้หญิงฝรั่งตะวันตกเลยครับ?
อย่างผู้ชายไทยที่ไปศึกษาต่อในยุคเดียวกันก็แต่งงานกับ ผู้หญิงฝรั่งตะวันตกหลายคนเลย
อย่าง
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สมรสกับหม่อมชาวเยอรมัน
ประยูร ภมรมนตรี มารดาเป็นชาวเยอรมัน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
พระยาภักดีภูธร
หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ (สมโภช อัศวนนท์) บิดาของ อมรา อัศวนนท์
ที่แต่งกับผู้หญิงฝรั่งใช่ว่าจะไม่มีนะครับ แต่ก็นับว่าน้อยมากกกกกก ถ้าเทียบกับจำนวนนักเรียนของญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไทยหรือสยามที่ส่งไปพร้อมกับเขาครับ
คือ
Takamine Jōkichi
Nagai Nagayoshi
Kōjirō Matsukata
แต่ส่วนใหญ่พื้นเพครอบครัวก็ไม่ได้เป็นคนใหญ่คนโตอยู่แล้วเป็นสามัญชนมีอันจะกิน
ยกเว้น
Kōjirō Matsukata สมรสกับหญิงชาวฝรั่งเศส เป็นถึงบุตรชาวคนโตของอดีตนายก
อีกคนคือ
Shūzō Kuki นักปรัชญา ที่กล่าวถึงไป ลูกชายคนโตของ Kuki Ryūichi ข้าราชการระดับสูง เคยมีเรื่องลือในสมัยนั้นว่า เคยหมั้นกับหญิงสาวชาว อิตาลี ตอนอยู่ฝรั่งเศส แต่ก็ถูกทางครอบครัวกีดกันอย่างหนัก จนสุดท้ายก็ถอนหมั้น และ กลับมาแต่งงานสาวชาวญี่ปุ่นด้วยกัน
edit: ไม่นับรวมสามัญชนคนทั่วคนระดับล่างๆไปที่อพยพไปทำงาน ตาม บราซิล อเมริกาใต้ หรือ สหรัฐ น่ะครับ