ใช้อาวุธนิวเคลียร์ ทำลายพายุ Hurricane ไม่ได้!!! หน่วยงานสมุทรศาสตร์ USA ระบุ หลังลือว่า Trump มีแนวคิดนี้!!!
28/8/2019
หลังจากที่มีรายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์
เป็นเครื่องมือในการทำลายเฮอร์ริเคนทิ้งเสียก่อนที่มันพัดขึ้นฝั่ง
ล่าสุดสำนักงานสมุทรศาสตร์สหรัฐฯ ออกมาชี้ว่าไม่ใช่ความคิดที่ดี
เว็บไซต์ข่าว Axios เป็นผู้เผยแพร่รายงานข่าวว่านายทรัมป์ได้สอบถามถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้กับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงแห่งชาติหลายคน
แต่นายทรัมป์ปฏิเสธว่าไม่ได้เสนอให้ทำเช่นนั้น อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมาก ได้พากันใช้แฮชแท็ก #ThatsHowTheApocalypseStarted (อาจแปลได้ว่า นั่นคือต้นเหตุของหายนะโลก) ไปแล้ว
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ
(National Oceanic and Atmospheric Administration–NOAA)
ระบุว่าการทำเช่นนั้นจะ “ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง”
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ มักประสบภัยพิบัติจากเฮอร์ริเคนที่พัดขึ้นฝั่งและสร้างความเสียหายรุนแรง
บริเวณชายฝั่งทางตะวันออก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหยิบยกเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคนขึ้นมาพูดถึง
การใช้นิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคนจะส่งผลกระทบอย่างไร
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ ระบุว่า การใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคน
“อาจจะไม่ได้ช่วยทำให้พายุอ่อนกำลังลง” และ
“ฝุ่นกัมมันตรังสีก็จะกระจายตัวอย่างรวดเร็วตามแรงลม และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต่าง ๆ”
นอกจากนี้การทำเช่นนั้น ยังต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาล
ขณะที่การปลดปล่อยความร้อนของเฮอร์ริเคน 1 ลูก เทียบได้กับระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 10 เมกะตัน 1 ลูก
ที่ระเบิดทุก ๆ 20 นาที แต่การจัดการกับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในใจกลางมหาสมุทรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
เฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ พัดถล่มชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว
“การทำลายพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่น ก่อนที่มันจะมีโอกาสทวีกำลัง
เป็นเฮอร์ริเคนก็ทำได้ยากเช่นกัน” สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ ระบุ
“แต่ละปีมีมรสุมก่อตัวในแถบแอตแลนติกราว 80 ลูก แต่มีเพียงประมาณ 5 ลูกที่กลายเป็นเฮอร์ริเคนในปีนั้นๆ
ไม่มีวิธีการใดที่จะบอกได้ล่วงหน้าว่า พายุลูกไหนจะกลายเป็นเฮอร์ริเคนหรือไม่”
แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแค่ไหน
แนวคิดเรื่องการระเบิดเฮอร์ริเคนก่อนที่จะพัดขึ้นฝั่ง เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950
โดยนักวิทยาศาสตร์ของทางการสหรัฐฯ เองเป็นผู้เสนอแนะ
ในปี 1961 นายฟรานซิส ไรเชลเดอร์เฟอร์ หัวหน้าสำนักงานสภาพอากาศของสหรัฐฯ
กล่าวสุนทรพจน์ที่สโมสรนักข่าวแห่งชาติ (National Press Club) ตอนหนึ่งว่า
เขา “จินตนาการได้ถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้ระเบิดนิวเคลียร์
ทำลายเฮอร์ริเคนในทะเลที่ห่างไกลสักวันหนึ่ง”
เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก รายงานว่านายไรเชลเดอร์เฟอร์ กล่าวอีกว่า
สำนักงานบริการสภาพอากาศสหรัฐฯ
จะคิดเรื่องจัดหาอาวุธนิวเคลียร์ก็ต่อเมื่อ “เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่”
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ กล่าวว่ามักจะมีการเสนอแนะแนวคิดนี้ขึ้นมาในช่วงฤดูเฮอร์ริเคน
ฤดูเฮอร์ริเคนสหรัฐฯ เกิดขึ้นเมื่อใด
ฤดูเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนไปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน
โดยช่วงที่รุนแรงที่สุดคือเดือนกันยายน ตอนที่อุณหภูมิในทะเลมีระดับสูงสุด
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ เพิ่งออกมาเตือนในเดือนนี้ว่า ขณะนี้มีสภาพแวดล้อม ที่จะทำให้เกิดเฮอร์ริเคนขึ้นได้มากกว่าปกติ โดยทำนายว่า จะเกิดพายุหมุนเขตร้อน ได้ราว 10-17 ลูก ในจำนวนนี้ 5-9 ลูก จะก่อตัวกลายเป็นเฮอร์ริเคน โดยอาจจะเป็นเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ 2-4 ลูก
จนถึงขณะนี้ มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นแล้ว 4 ลูกในปีนี้ ได้แก่ พายุโซนร้อนแอนเดรีย แบร์รี ชานทาล และดอเรียน
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_2840957
ใช้อาวุธนิวเคลียร์ ทำลายพายุ Hurricane ไม่ได้!!! หน่วยงานสมุทรศาสตร์ USA ระบุ หลังลือว่า Trump มีแนวคิดนี้!!!
28/8/2019
หลังจากที่มีรายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์
เป็นเครื่องมือในการทำลายเฮอร์ริเคนทิ้งเสียก่อนที่มันพัดขึ้นฝั่ง
ล่าสุดสำนักงานสมุทรศาสตร์สหรัฐฯ ออกมาชี้ว่าไม่ใช่ความคิดที่ดี
เว็บไซต์ข่าว Axios เป็นผู้เผยแพร่รายงานข่าวว่านายทรัมป์ได้สอบถามถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้กับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงแห่งชาติหลายคน
แต่นายทรัมป์ปฏิเสธว่าไม่ได้เสนอให้ทำเช่นนั้น อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมาก ได้พากันใช้แฮชแท็ก #ThatsHowTheApocalypseStarted (อาจแปลได้ว่า นั่นคือต้นเหตุของหายนะโลก) ไปแล้ว
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ
(National Oceanic and Atmospheric Administration–NOAA)
ระบุว่าการทำเช่นนั้นจะ “ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง”
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ มักประสบภัยพิบัติจากเฮอร์ริเคนที่พัดขึ้นฝั่งและสร้างความเสียหายรุนแรง
บริเวณชายฝั่งทางตะวันออก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหยิบยกเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคนขึ้นมาพูดถึง
การใช้นิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคนจะส่งผลกระทบอย่างไร
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ ระบุว่า การใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำลายเฮอร์ริเคน
“อาจจะไม่ได้ช่วยทำให้พายุอ่อนกำลังลง” และ
“ฝุ่นกัมมันตรังสีก็จะกระจายตัวอย่างรวดเร็วตามแรงลม และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต่าง ๆ”
นอกจากนี้การทำเช่นนั้น ยังต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาล
ขณะที่การปลดปล่อยความร้อนของเฮอร์ริเคน 1 ลูก เทียบได้กับระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 10 เมกะตัน 1 ลูก
ที่ระเบิดทุก ๆ 20 นาที แต่การจัดการกับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในใจกลางมหาสมุทรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
เฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์ พัดถล่มชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว
“การทำลายพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่น ก่อนที่มันจะมีโอกาสทวีกำลัง
เป็นเฮอร์ริเคนก็ทำได้ยากเช่นกัน” สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ ระบุ
“แต่ละปีมีมรสุมก่อตัวในแถบแอตแลนติกราว 80 ลูก แต่มีเพียงประมาณ 5 ลูกที่กลายเป็นเฮอร์ริเคนในปีนั้นๆ
ไม่มีวิธีการใดที่จะบอกได้ล่วงหน้าว่า พายุลูกไหนจะกลายเป็นเฮอร์ริเคนหรือไม่”
แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแค่ไหน
แนวคิดเรื่องการระเบิดเฮอร์ริเคนก่อนที่จะพัดขึ้นฝั่ง เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950
โดยนักวิทยาศาสตร์ของทางการสหรัฐฯ เองเป็นผู้เสนอแนะ
ในปี 1961 นายฟรานซิส ไรเชลเดอร์เฟอร์ หัวหน้าสำนักงานสภาพอากาศของสหรัฐฯ
กล่าวสุนทรพจน์ที่สโมสรนักข่าวแห่งชาติ (National Press Club) ตอนหนึ่งว่า
เขา “จินตนาการได้ถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้ระเบิดนิวเคลียร์
ทำลายเฮอร์ริเคนในทะเลที่ห่างไกลสักวันหนึ่ง”
เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก รายงานว่านายไรเชลเดอร์เฟอร์ กล่าวอีกว่า
สำนักงานบริการสภาพอากาศสหรัฐฯ
จะคิดเรื่องจัดหาอาวุธนิวเคลียร์ก็ต่อเมื่อ “เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่”
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ กล่าวว่ามักจะมีการเสนอแนะแนวคิดนี้ขึ้นมาในช่วงฤดูเฮอร์ริเคน
ฤดูเฮอร์ริเคนสหรัฐฯ เกิดขึ้นเมื่อใด
ฤดูเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนไปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน
โดยช่วงที่รุนแรงที่สุดคือเดือนกันยายน ตอนที่อุณหภูมิในทะเลมีระดับสูงสุด
สำนักงานบริหารสมุทรศาสตร์ฯ เพิ่งออกมาเตือนในเดือนนี้ว่า ขณะนี้มีสภาพแวดล้อม ที่จะทำให้เกิดเฮอร์ริเคนขึ้นได้มากกว่าปกติ โดยทำนายว่า จะเกิดพายุหมุนเขตร้อน ได้ราว 10-17 ลูก ในจำนวนนี้ 5-9 ลูก จะก่อตัวกลายเป็นเฮอร์ริเคน โดยอาจจะเป็นเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ 2-4 ลูก
จนถึงขณะนี้ มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นแล้ว 4 ลูกในปีนี้ ได้แก่ พายุโซนร้อนแอนเดรีย แบร์รี ชานทาล และดอเรียน
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_2840957