ผมสงสัยมานานเเล้วว่าภาพวาดสมัยก่อน จิตรกรใช้วิธีวาดแบบไหนให้ออกมาเหมือนจริงมากที่สุด ทั้งคน สถานที่และสิ่งของ ยกตัวอย่างภาพนี้ เป็นภาพวาดบรรยากาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียในปี ค.ศ.1838 ที่มหาวิหาร Westminster ผมเห็นว่ามีรายละเอียดในภาพเยอะมาก ทั้งจำนวนคนในพิธี ที่หน้าตาก็ไม่เหมือนกัน ไหนจะเสื้อผ้า สิ่งของ เเละสถานที่อีก จิตรกรเค้าวาดออกมาได้อย่างไรเหรอครับ เพราะขณะนั้นพิธีก็คงดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่มีการหยุดอยู่นิ่งๆให้วาดแบบภาพ portrait อยู่เเล้ว แล้วอีกอย่างหน้าตาของบุคคลในภาพ จะเหมือนหน้าตาของบุคคลจริงที่ไปร่วมในงานด้วยไหมครับ มีเพื่อนๆพี่ๆคนไหนพอทราบบ้างไหมครับ ขอบคุณครับ
ที่มารูปภาพประกอบครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Coronation_of_Queen_Victoria#/media/File:Coronation_of_Queen_Victoria_28_June_1838_by_Sir_George_Hayter.jpg
ภาพวาดสมัยก่อนที่จะมีกล้องถ่ายรูป ภาพที่มีหลายๆคนรวมถึงรายละเอียดของสถานที่ จิตรกรเค้าวาดยังไงเหรอครับ