ทหารอเมริกันเพียงคนเดียวที่ร่วมรบกับสหายศึกรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 2

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

.

Joseph Beyrle หรือชื่อเล่นว่า Jumpin’ Joe
เคยแหกคุกนาซีเยอรมันได้ถึง 3 ครั้ง
เช่นเดียวกับการเอาตัวรอดจากการสอบสวนของหน่วยตำรวจลับ Gestapo
ท่านได้พบกับจอมพล Georgy Zhukov และต่อมาได้หลงใหลชื่นชอบชีวิตแบบชาวรัสเซีย
และอาหารแบบ Buckwheat  ของรัสเซียมาก
(ข้าวผสมธัญพืชต้มอาหารยอดนิยมชาวรัสเซีย)

“ เรื่องราวทั้งหมดนี้ดูเหมือนนวนิยายสงครามโลกครั้งที่ 2  และมันเหลือเชื่อมากเกินไป  ”
มีการบอกเล่าชะตากรรมและประวัติความเป็นมาเรื่องนี้บน  YouTube
เกี่ยวกับผลงานที่ประสบความสำเร็จของ Joseph Beyrle  ทหารพลร่มชาวอเมริกัน
ที่ร่วมหัวจมท้ายและเป็นสหายร่วมรบกับกองทัพแดงในปี 1945 และนี่เป็นเรื่องจริง
และนี่คือ ทหารอเมริกันเพียงคนเดียวที่เคยต่อสู้กับพวกนาซีเยอรมัน
ทั้งในแนวรบด้านตะวันออกและตะวันตกร่วมกับกองทัพแดง
ลูกของ Joseph Beyrle ยังจดจำได้และเชื่อมั่นจนทุกวันนี้ว่า
ท่าน คือ วีรบุรุษที่แท้จริงที่ไม่มีใครเสมอเหมือนและไม่มีใครทำได้อีก


.
การกระโดดร่มที่โชคร้าย
.

Joe Jumpin  คือ ฉายาที่ท่านได้รับจากการกระโดดที่ไร้ที่ติของท่าน
ด้วยการรักษาความกล้าหาญของท่าน พร้อมกับความเยือกเย็น
จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับท่านในวันที่ 6 มิถุนายน 1944
ในการรุกไปที่แนวหน้าแห่งที่  2 ใน Normandy

Joseph Beyrle วัย 20 ปีในตอนนั้นพร้อมกับทหารพลร่ม 24,000 นาย
ร่วมกันเป็นแนวหน้าในการโดดร่มลงไปรบกับนาซีเยอรมันใกล้กับชายฝั่งฝรั่งเศส
แต่โชคชะตาเล่นตลก เพราะการกระหน่ำยิงด้วยปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของศัตรู
ทำให้เครื่องบินต้องบินเลยไปจากเป้าหมายที่กำหนดไว้
และท่านต้องกระโดดร่วมลงบนหลังคาของโบสถ์ในหมู่บ้านชาวเยอรมัน

ท่านโชคร้ายที่ต้องดิ้นรนหาทางออกเพียงผู้เดียว
โดยอยู่ในแนวหลังของกองทัพนาซีเยอรมันที่ห่างไกลจากสนามรบ
แม้ว่า Joe Jumpin เพิ่งจะผ่านการสู้รบกับพวกศัตรูก่อนหน้านี้
เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่ Normandy
โดยท่านได้รับมอบหมายภารกิจให้ส่งมอบทองคำ
ให้กับฝ่ายต่อต้านชาวฝรั่งเศสเป็นเงินทุนสำรองไว้ในการสู้รบ

RIA Novosti  ได้สัมภาษณ์  John Beyrle ลูกชายของท่าน
(เอกอัครราชทูตประจำรัสเซียระหว่างปี 2008 ถึง 2012)
" พ่อของท่านพยายามจะติดต่อกับทหารคนอื่น ๆ ของอเมริกา
แต่โชคร้ายในวันที่ 3 ขณะที่ท่านคลานผ่านพุ่มไม้หนาทึบ
ท่านก็เผชิญหน้ากับพวกชาวเยอรมันซึ่งได้จับท่านไปเป็นเชลยศึก "

ท่านติดคุกอยู่ 4 เดือนก่อนที่จะส่งโปสการ์ดให้ทางบ้าน
เพื่อแจ้งให้ทราบว่าท่านยังไม่ได้เสียชิวิต
แต่คนที่เสียชีวิตคงเป็นสายลับเยอรมันที่เอาป้ายชื่อทหารของท่านไป
และถูกยิงตายที่ชายหาด Utah ในวันที่ 10 มิถุนายน 1944



Beyrle ในฐานะเชลยศึกปี 1944

.
เช่นเดียวกับนักโทษเชลยศึกรายอื่น ๆ
Joseph Beyrle  ก็ถูกค่อย ๆ อพยพย้ายไปทางตะวันออก
เมื่อกองพันธมิตรรุกตีโต้กลับมาและปลดปล่อยดินแดนฝรั่งเศสจากนาซีเยอรมัน

เรื่องที่เหลือเชื่อคือ ท่านสามารถหลบหนีการถูกจองจำได้ถึง 3  ครั้ง
ครั้งแรก พยายามกลับมาที่ Normandy
เมื่อขบวนรถไฟถูกทหารอเมริกันโจมตี
และท่านสามารถหลบหนีออกมาได้ท่ามกลางความโกลาหล
แต่เสียดายที่ท่านถูกตะครุบตัวและถูกจับได้ในวันรุ่งขึ้น

ไม่นานหลังจากนั้นในปี 1944
ท่านก็สามารถหลบหนีได้อีกครั้ง
คราวนี้จากค่ายเชลยศึกในโปแลนด์

“ พ่อเก่งมากในการเล่นพนันโยนลูกเต๋า
และที่สำคัญพ่อไม่ใช่นักสูบบุหรี่
นักโทษในค่ายเชลยศึกต่างใช้บุหรี่
ในการเล่นการพนันแทนการใช้เงินสด
และท่านเล่นชนะพนันได้ถึง 40 ห่อ
ทำให้ท่านกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านบุหรี่เลย "
John Beyrle  กล่าว


รายละเอียดนักโทษของนาซีเยอรมัน
.

ขึ้นรถไฟผิดขบวน

ท่านใช้บุหรี่พวกนี้เป็นประโยชน์ในการหลบหนี
ด้วยการติดสินบนทหารนาซีเยอรมัน
"  โดยทหารยามต่างยืนหันหลังให้
ขณะที่ท่านกับเพื่อนของท่านไต่กำแพงรั้วลวดหนาม
แต่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในการหลบหนี
ทั้งกลุ่มกับขึ้นขบวนรถไฟผิดขบวน
รถไฟแทนที่จะมุ่งหน้าไปยัง Warsaw
ที่ซึ่งจะสามารถติดต่อกับฝ่ายต่อต้านนาซีเยอรมันได้
แต่ทุกคนต่างลงเอยที่ Berlin 
และตกอยู่ภายใต้เงื่อมมือของตำรวจลับ Gestapol

(เรื่องนี้อาจจะเป็นแรงบันดาลใจในฉากหนึ่งในภาพยนตร์
แหกค่ายมฤตยู  The Great Escape
ที่เชลยศึกหลบหนีขึ้นรถโดยสารแล้วเกิดพลั้งปากพูดภาษาอังกฤษ
เลยถูกจับกุมคุมขังอีกครั้งเพราะเผลอพูดภาษาอังกฤษบนรถโดยสาร

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

The Great Escape (1963) Original Trailer
.

ทูตสวรรค์ไม่พูดภาษาเยอรมัน

Joseph Beyrle เกือบเสียชีวิตจากการถูกทรมาน/ถูกซ้อม
อาการบาดเจ็บของท่านสาหัสมากในตอนนั้น
เพราะบรรพบุรุษของท่านอพยพจากแคว้น Bavaria เยอรมันไปยังสหรัฐอเมริกา
ทำให้ท่านต้องกลายเป็นผู้ทรยศต่อมาตุภูมิชาวเยอรมัน
แต่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสอบสวนและซักถามต่างล้มเหลวในเรื่องนี้

Joseph Beyrle รำลึกได้ว่า มีครั้งหนึ่งท่านตื่นขึ้นมาในตอนดึก
และเห็นคนชุดคลุมสีขาวยืนอยู่เหนือท่าน
ปฏิกิริยาแรกของท่าน คือ ท่านต้องตายแล้วอย่างแน่นอน
และกำลังเดินทางไปสู่สรวงสวรรค์
" แต่ดูเหมือนว่า  ผมไม่ได้อยู่ในสรวงสวรรค์
เพราะทูตสวรรค์ไม่พูดภาษาเยอรมัน "
ข้อความตาม Thomas Taylor นักเขียนชีวประวัติของท่าน

ขบวนรถไฟได้ขนส่งกลับไปยังค่ายกักกันในโปแลนด์
ซึ่งท่านทำตัวแตกต่างกับนักโทษในขบวนรถไฟรายอื่น ๆ
(มักจะอดตายและหนาวตายจากตู้โดยสารที่ย่ำแย่มาก)
Joseph Beyrle สามารถอยู่รอดและต่อสู้ได้

คราวนี้การหลบหนีของทานเป็นผลมาจาก
ความขัดแย้งระหว่างทหารนาซีเยอรมัน(Wehrmacht)
ที่เรียกร้องให้ Gestapo มอบท่านให้กลับคืนมายังค่ายกักกันโปแลนด์
จากข้อมูลของ Thomas Taylor เขียนว่า
พวกทหารนาซีเยอรมันเริ่มรู้แล้วว่า สงครามใกล้จะยุติแล้ว
และพวกทหารนาซีเยอรมันต้องรับผิดชอบต่อชีวิตเชลยศึก
(อาจจะต้องการพ้นผิดเพราะปล่อยให้เชลยศึกหลบหนีได้
แต่สามารถนำกลับมาที่คุกได้อีกครั้ง ก็จะได้รับโทษสถานเบา)




ผลการตรวจสุขภาพของ Joe Beyrle โดยเสนารักษ์ชาวรัสเซีย
ที่แสดงรายละเอียดบาดแผลของท่าน
.

สหายชาวอเมริกัน

ในเดือนมกราคมปี 1945
Joseph Beyrle ก็หลบหนีอีกครั้ง
จากคุก Stalag 3-C ใน Alt Drewitz เยอรมันนี
คราวนี้แอบซ่อนตัวไปกับถังขยะขนาดใหญ่
ท่านพยายามหลบเลี่ยงการใช้เข็มทิศ
แต่ใช้การค้นหาทิศทางเสียงปืนใหญ่ของรัสเซีย
ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้กับคุกที่นั่น

เมื่อท่านพบกับทหารโซเวียตรัสเซีย
ท่านยกมือเปล่าขึ้น  พร้อมกับเดินเข้าไปหาทหารรัสเซีย
และพูดประโยคเดียวที่ท่านรู้คือ
“ Ya Amerikanskiy tovarisch ! ”
(ผมเป็นสหายชาวอเมริกัน)
ด้วยความหวังว่าจะไม่ถูกยิงตายในที่นั้น

ทหารกองทัพแดงต่างประหลาดใจและแทบจะไม่เชื่อเลยว่า
จะพบ Joseph Beyrle  ทหารชาวอเมริกันในสนามรบแห่งนี้
จึงจัดหาล่ามเพื่อทำการแปลภาษาอเมริกันเป็นภาษารัสเซีย
และซักถามประวัติความเป็นมาของ Joseph Beyrle
และยิ่งประหลาดใจมากขึ้นไปอีกว่า Joseph Beyrle
ไม่ต้องการกลับไปสมทบกับกองทหารอเมริกัน
แต่ต้องการร่วมรบกับกองทัพแดงเพื่อต่อสู้กับนาซีเยอรมัน
และต้องการพิชิตชัยและบุกยึดนครหลวง Berlin
(สัญลักษณ์อำนาจการปกครองของนาซีเยอรมัน)





Joe Jumpin ประสบความสำเร็จ

“ ทหารรัสเซียมอบปืนกล PPSH-41 ที่โด่งดังให้กับพ่อ
ซึ่งพ่อยอมรับว่า ปืนที่ได้รับนี้ดีกว่าปืนกล Thompson ของอเมริกา
เพราปืนกล Thompson  มักจะขัดลำกล้องในตอนยิงเป็นชุด
แต่ปืนกล PPSH  ยิงรัวได้ตลอดโดยไม่มีอาการขัดลำกล้อง
พ่อประจำอยู่ในหน่วยทหารราบของกองทัพโซเวียตรัสเซีย
เป็นหน่วยทหารราบประจำรถถังรัสเซีย
ซึ่งคือ รถถัง Sherman ที่โซเวียตรัสเซียยืมสหรัฐมาใช้ก่อน
ภายใต้ข้อตกลง ยืม - เช่า  กับกองทัพสหรัฐอเมริกา " John Beyrle ให้สัมภาษณ์

ในความทรงจำของ  Joseph Beyrle ช่วงที่ร่วมรบกับสหายศึกรัสเซีย
ท่านมองในแง่บวกที่ดีมาก ๆ กับโซเวียตรัสเซียเป็นส่วนใหญ่
ลูก ๆ ของท่านยังจำได้ว่า ท่านชื่นชอบ Buckwheat รัสเซียมาก
(ข้าวผสมธัญพืชต้มอาหารยอดนิยมชาวรัสเซีย)
และท่านชอบดื่ม Vodka อวยพรให้กับ Stalin และ Roosevelt

แต่เรื่องที่น่าเศร้า คือ ท่านได้ร่วมรบกับสหายศึกชาวรัสเซียเพียงแค่ 1 เดือน
โดยเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ นั้น  กองพันของท่านก็สามารถปลดปล่อยค่ายกักกันได้
ค่ายกักกันที่ Joseph Beyrle   เคยถูกกักขังไว้
หลังจากนั้นไม่นาน Joseph Beyrle  ก็ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีทางอากาศ
สหายของท่านยังรบคืบหน้าไปยังกรุงเบอร์ลิน
ในขณะที่ท่านต้องอยู่แนวหลังอยู่ในโรงพยาบาล

ในขณะที่ท่านเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ท่านก็ได้ไปพบกับจอมพล Georgy Zhukov
(ซึ่งมีอนุสาวรีย์ของท่านยืนตระหง่านที่จตุรัสแดงใน Moscow)
จอมพล Georgy  Zhukov ช่วยเขียนจดหมายน้อยให้กับ Joseph Beyrle
เพื่อให้แน่ใจว่า ท่านจะได้เดินทางไปยัง Moscow ได้อย่างปลอดภัย
อย่างสวัสดิภาพโดยไม่ถูกตรวจค้นและจับกุมคุมขัง
และให้ท่านเดินทางไปพบกับบรรดาเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันที่นั่น
เมื่อท่านเดินทางถึงสถานทูตอเมริกาแล้ว
Joseph Beyrle  ยิ่งประหลาดใจมากกับข้อมูลที่ว่า
ท่านถูกฆ่าตายในสนามรบตามเอกสารราชการที่ส่งไปที่บ้านท่าน
เรื่องนี้จึงทำให้ท่านถูกส่งตัวกลับไปจำคุกที่สหรัฐอเมริกา
ด้วยข้อหาที่ทางราชการคิดว่า ท่านเป็นสายลับนาซีเยอรมัน


.
เมื่อท่านได้กลับบ้านแล้ว
ทหารผ่านศึกของสองกองทัพ
ก็ใช้ชีวิตแบบชาวบ้านทั่วไป
ทำงานที่ บริษัท Brunswick Corporation
ได้แต่งงานมีบุตร 3 คน Julie, Joseph Jr, และ John
และชอบเล่าเรื่องราวสงครามให้ลูก ๆ ฟัง

ท่านเดินทางไป Moscow มากกว่า 5  ครั้ง
ท่านยังอยู่ในความทรงจำอันแสนงดงาม
ของทั้งประเทศและผู้คนทั้งสองประเทศ
หลังจากที่ท่านมตะ 12 ธันวาคม 2004
ศพของท่านถูกฝังที่สุสานหลวงทหารหาญที่
Arlington National Cemetery

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2ME6MMP
http://bit.ly/2PdL1Fr
http://bit.ly/2PjiVc1
http://bit.ly/2U7m2Tj
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่