(ถามปัญหาธรรม)ไม่ค่อยเข้าใจอยากรบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายคำบรรยายของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับธรรมะคือหน้าที่ให้ด้วยค่ะขอบคุณมากค่ะ
ทำงานให้สนุกได้อย่างไร
โดย ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ
ธรรมบรรยาย ให้แก่นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์
ณ ลานหินโค้ง โมกขพลาราม ไชยา
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗
คัดลอกจาก www.geocities.com/Tokyo/Ginza/9697/workfun.html
ท่านที่เป็นนักศึกษาและสนใจในธรรมะ ทั้งหลาย
เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดกันกลางดิน ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษ คือพระพุทธเจ้าท่านประสูติกลางดิน พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้กลางดิน ท่านก็สอนกลางดิน อยู่กลางดิน ที่อยู่กลางดิน แล้วก็นิพพานกลางดิน เราจึงถือว่า แผ่นดินนี้เป็นสัญลักษณ์ ที่อยู่อาศัยที่ทุกอย่าง เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า นี่ขอให้มีความสนใจในข้อนี้ด้วย
การอยู่บนตึกบนอาคารราคาแพง คือเรียนในมหาวิทยาลัยตึกราคาแพงนั้น ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระศาสดาทุกองค์ของทุกศาสนาก็ว่าได้ ล้วนแต่อยู่กลางดินนับตั้งแต่เกิดกลางดินและตายกลางดิน อย่างที่ว่ามาแล้ว ฉะนั้นขอให้มีจิตใจชนิดที่เข้ารูปกันได้กับแผ่นดิน แล้วจิตใจของท่านทั้งหลาย ก็จะเหมาะที่จะฟังธรรมะและเข้าใจธรรมะ ถ้าจิตใจมันบินระเหเร่ร่อนไปสวรรค์วิมาน ไปอะไรอยู่ละก็ยากมากที่จะเข้าใจธรรมะ ฉะนั้นขอให้ถือเป็นสิ่งพิเศษที่ได้ประสบ แล้วก็จดจำไว้ในในใจตลอดไป ถึงการที่ได้มานั่งกลางดินที่นี่และวันนี้ เอามือลูบดินในฐานะเป็นสิ่งสูงสุด อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธองค์นั้นทรงประสูติกลางดิน อยู่กลางดิน นิพพานกลางดิน
และให้มองเห็นอีกแง่หนึ่งว่า ดินเป็นที่ตั้งของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย จะได้สัตว์เป็นคน เป็นต้นไม้ เป็นวัตถุสิ่งของ ก็ล้วนแต่ตั้งอยู่บนพื้นดิน แผ่นดินเป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง มีความหมายเหมือนกับธรรมะ ซึ่งเป็นที่รองรับแห่งสิ่งทั้งปวง แผ่นดินมีความหมายเหมือนกับธรรมะ ซึ่งควรจะกำหนดไว้ด้วย เป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง ธรรมะ หมายถึงสิ่งซึ่งเป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง เกิดมาจากธรรมะหรือธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ในที่สุดมันก็แตกดับไปตามธรรมชาติ จึงถือว่า แผ่นดินนี้เป็นเหมือนกับธรรมะ ธรรมะเหมือนกับแผ่นดิน ในฐานะที่เป็นที่ตั้งที่รองรับ ที่เกิด ที่ดับ แห่งสิ่งทั้งปวง
เอาละ ที่นี้เราก็จะพุดกันถึงหัวข้อที่ท่านทั้งหลายขอร้อง คือหัวข้อที่ว่า การงานคืออะไร? จะทำงานให้สนุกและเป็นสุขในการทำงานได้อย่างไร? หัวข้อนี้ดีมาก หรือดีที่สุดที่จะต้องพูดกัน ในฐานะพื้นฐานทั่วไปสำหรับทุกคนและก็ได้พูดเรื่องนี้อยู่และก็อธิบายให้ชัดเจน ให้ละเอียด ให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป ว่าจะมีความสุขในการงานได้อย่างไร
การงานคือหน้าที่ ที่ต้องทำ
สิ่งแรกที่สุดที่จะต้องทราบก็คือว่า การงาน นั้นน่ะ คืออะไรกันเสียก่อน การงานมีความหมายกว้างๆ ที่ทำกันในทางโลกๆ ทางชาวบ้าน ก็ทำการงาน โดยเฉพาะก็คืออาชีพ นี้ก็เรียกว่า การงาน ภิกษุบรรพชิตก็ทำกัมมัฏฐาน ซึ่งแปลว่าที่ตั้งแห่งการงาน ก็ทำการงาน แปลว่า ทั้งฆราวาสและทั้งบรรพชิต ก็ล้วนแต่ ทำการงาน นี่ไปดูที่ตรงนั้นก่อน
ถ้าไม่เข้าใจก็ดูต่อไปว่า มันหมายถึงอะไร? มันก็หมายถึงสิ่งที่ต้องทำ คิดดูเถอะ การงานมันแปลว่า สิ่งที่ต้องทำ หรือควรกระทำ หรือระบุได้เลยว่า ต้องทำ ถ้าไม่ทำการงานมันก็คือตาย ไม่ทำการงาน อยู่เฉยๆ เท่านั้นแหละ มันก็ไม่ต้องกินอะไร แล้วมันก็ต้องตาย นี้ก็ต้องทำการงาน การเคลื่อนไหว การบริหารร่างกาย การทำงานหาอาหารมาเลี้ยงชีวิต ก็เรียกว่าการงาน
ที่นี้ก็เห็นได้ว่า การงาน นั้นคือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ต้องทำนั้นเรียกว่า หน้าที่ หน้าที่ จำคำว่า หน้าที่ หน้าที่ ไว้ให้ดี ถ้าเข้าใจคำว่าหน้าที่ แล้วจะเข้าใจสูงขึ้นไปถึงคำว่า ธรรมะ ธรรมะ คุณอาจจะไม่เคยเล่าเรียน ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า คำว่า ธรรมะ ธรรมะนั้นแปลว่าหน้าที่ เพราะว่าในโรงเรียน ในหนังสือเรียน จะพูดกันแต่ว่าธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เท่านี้มันไม่พอ มันไม่ถูกด้วย เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ธรรมะนี้ เขาพูดกัน เขามีกัน เขาใช้กันอยู่ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด คำว่า ธรรมะ ธรรมะ นี้มีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิด เขาหมายถึงหน้าที่ หน้าที่ นั่นน่ะคือธรรมะ คือพอมนุษย์พ้นจากความป่าเถื่อน พ้นจากความเป็นคนป่ามาพอสมควรแล้ว ก็มีมนุษย์ที่สังเกตเห็นว่า เออ มันมีสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ที่ต้องทำน่ะ เขาเรียกสิ่งนั้นโดยภาษาของเขาสมัยนั้นว่า ธรรมะ ซึ่งเป็นคำโบราณ เก่าแก่ ดึกดำบรรพ์ที่สุดว่าธรรมะ ธรรมะ ธรรมะ แปลว่า หน้าที่ เมื่อคนเล็งเห็นหน้าที่ หรือความจำเป็นของหน้าที่ เขาก็เรียกสิ่งนั้นว่า ธรรมะ ธรรมะ ฉะนั้นให้รู้กันเสียไว้ทีก่อนว่า ธรรมะนั้นคือหน้าที่
เขาก็พูดกันเรื่องหน้าที่ พูดกันเรื่องหน้าที่ คำพูดนี้มากขึ้นๆ จนเป็นระบบคำสอน เป็นระบบ ก็เรียกว่าธรรมะ แปลว่า หน้าที่ แต่มันมิได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นมันมากขึ้นๆ สูงขึ้น ดีขึ้นๆ คำว่า ธรรมะมันก็มากขึ้น ดีขึ้นและสูงขึ้น จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาในโลก ท่านก็สอนเรื่องหน้าที่คือธรรมะนี่สูงขึ้นไปจนถึงสูงสุด คือบรรลุมรรคผลนิพพาน ฉะนั้น ขอให้เข้าใจความหมายของคำว่า หน้าที่ หน้าที่ คือคำว่า ธรรมะ ธรรมะ นั่นแหละ คือหน้าที่มันก็มีแต่ว่า คำสอนเรื่องหน้าที่ ตามแบบของสำนักนั้น ตามแบบสำนักนี้ ตามแบบสำนักโน้น ซึ่งมีอยู่หลายสำนัก ฉะนั้น เขาจึงระบุบว่า ชอบธรรมะของใคร? ชอบธรรมะของพระสมณโคดม หรือชอบธรรมะของศาสนาชื่ออะไร? ทุกศาสนาล้วนแต่สอนเรื่องหน้าที่ แต่ท่านสอนกันเฉพาะในระดับสูง ไม่ลดลงมาถึงระดับต่ำ เช่าทำนา ทำไร่ ฉะนั้นสิ่งที่เราได้ยิน เรียกว่า ธรรม ธรรมะนั้นจึงได้ยินพูดกันแต่เรื่องระดับสูง ไปสวรรค์ บรรลุมรรคผลนิพพานทั้งนั้น แต่ที่จริงธรรมะระดับต่ำ ทำไร่ทำนา ของชาวไร่ชาวนานี้ เขาก็เรียกว่าธรรมะเหมือนกัน คือธรรมะของฆราวาส ธรรมะของชาวไร่ ธรรมะของชาวนา แล้วแต่ว่าเป็นหน้าที่ชนิดไหน ก็ธรรมะชนิดนั้น ที่เป็นชั้นสูงก็เรียกว่า กรรมฐานสำหรับบรรพชิต สำหรับภิกษุสามเณร ทำกรรมฐานก็คือทำงาน หรือทำหน้าที่ จึงเห็นได้ชัดว่า ธรรมะ คือหน้าที่ ธรรมะ คือหน้าที่
ทีนี้ดูกันต่อไปจากคำว่า หน้าที่ คำว่า หน้าที่ก็คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตทุกชนิดและทุกระดับ ชีวิตทุกระดับ จะเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดรัยฉาน กระทั่งเป็นต้นไม้ต้นไล่อย่างนี้ มันมีชีวิตทั้งนั้นแหละ ถ้ามีชีวิตมันก็ต้องมีหน้าที่ แล้วมันก็ต้องทำหน้าที่ ถ้ามันไม่ทำหน้าที่มันก็ตาย ลองคนไม่ทำหน้าที่มันก็ตาย ไม่เคลื่อนไหว ไม่บริหารกาย ไม่กินอาหาร ไม่อะไรต่างๆ มันก็ตาย สัตว์ก็เหมือนกัน จึงเรียกได้ว่า ชีวิตมันอยู่ได้ด้วยหน้าที่ ด้วยการทำหน้าที่ หน้าที่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต หน้าที่ก็คือธรรมะอย่างที่ว่ามาแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมะก็คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิตนั่นเอง
เราต้องมองเห็นความสำคัญ ความสูงสุด ประเสริฐที่สุด ของสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ แล้วก็ชอบหน้าที่ บูชาหน้าที่ จึงชอบการงาน ขอบการงาน เห็นการงานเป็นสิ่งสูงสุด ไม่เหมือนกับคนโง่ทั้งหลายที่ไม่ชอบทำหน้าที่ อย่างอุดมคติของคนบางพวกว่า ไม่ต้องทำงาน แต่ต้องได้เงิน ต้องการเงิน ต้องได้เงิน นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง อย่าไปออกชื่อเขาเลย ลัทธิชนิดนั้นเขามีอยู่ในโลกนี้ ไม่ต้องทำการงาน แต่ต้องการเงิน แล้วก็ต่อสู้ แย่งชิงเพื่อให้ได้เงินโดยไม่ต้องทำการงาน หรือทำการงานแต่น้อยที่สุด มันก็มีการต่อสู้ระหว่างชนกรรมมาชีพกะนายทุน พวกหนึ่งต้องการทำงานน้อยที่สุด เอาเงินมากที่สุด นี่เพราะเขาไม่มองเห็นอย่างเรามองเห็นว่า หน้าที่มันเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับมนุษย์ ฉะนั้นขอให้ทำให้เต็มที่ ทำให้สุดเหวี่ยง สุดความสามารถ แล้วปัญหาก็จะหมด มันก็ไม่เกิดการต่อต้านชนิดนี้กันให้ลำบากกันไปทั้งโลก
เราก็จะอยู่ในพวกที่ไม่ชอบทำงาน ไม่บูชาการงาน ด้วยก็ได้ เพราะเราก็ยังโง่อยู่ ไม่รู้ว่าหน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ เราอยากทำงานแต่น้อย เราก็ไปทำงานสาย แล้วก็กลับบ้านเร็ว นั้นคือคนที่ไม่รู้ว่าหน้าที่คืออะไร ถ้ารู้ว่าหน้าที่คือสิ่งสูงสุด ประเสริฐที่สุดของสิ่งมีชีวิต เราก็พอใจแล้วก็ทำ อันนั้นจะเป็นเหตุให้ทำการงานสนุก
ผลของการทำหน้าที่คือความรอด
เดี๋ยวนี้อยากจะพูดไปในความหมายของหน้าที่ หน้าที่ คือสิ่งจำเป็นของสิ่งที่มีชีวิต ผลของมันคือความรอด ดูที่หน้าที่ แล้วก็ดูผลของหน้าที่ ก็คือความรอด ฉะนั้นช่วยจำคำว่า ความรอด นี้ไว้ให้ดีๆ ทุกศาสนา ทุกศาสนาในโลก ก็จะมีจุดหมายปลายทาง เรียกตรงกันเหมือนกันหมดว่า ความรอด จนพูดได้ว่า มีความรอดตามแบบของพุทธศาสนา มีความรอดตามแบบคริสตศาสนา ความรอดตามแบบศาสนาอิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ซิกซ์ อะไรก็สุดแท้ ล้วนแต่มุ่งที่ความรอดๆ ด้วยกันทั้งนั้น
นี่ของที่ศาสนาเหมือนกัน หรือตรงกัน ก็คือว่าสอนหน้าที่เพื่อความรอด ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราถือพระพุทธศาสนา ก็มีหน้าที่ตามแบบพุทธศาสนา มีความรอดตามแบบพุทธศาสนา ดับทุกข์สิ้นเชิงตามแบบของพุทธศาสนา ดับทุกข์สิ้นเชิงตามแบบของพุทธศาสนา แต่ก็ไม่พ้นที่จะเรียกว่า ความรอด ความรอด ความหลุดพ้น สวนโมกข์นี้ก็เอาคำนี้มาใช้เป็นชื่อ เป็นชื่อ โมกฺข โมกข์ แปลว่า รอด หลุดพ้น เหมือนกัน
ที่นี้ความรอดนั้นก็มี ๒ ระดับ ระดับทั่วไป เป็นความรอดทางร่างกาย รอดทางร่างกาย ระดับสูงขึ้นมา คือความรอดทางจิตใจ รอดทางร่างกาย ก็คือไม่ตาย แล้วก็สบาย ร่างกายอยู่ในสภาพที่ดี นี่รอดทางกายมีเท่านี้ คือไม่ตาย แล้วก็อยู่ในสภาพที่ดี เท่านี้มันไม่พอ มันมีจิตใจอีกส่วนหนึ่ง มันยังมีปัญหาถูกกลุ้มรุมด้วยความทุกข์ ด้วยกิเลส ด้วยกรรม ด้วยอะไรต่างๆ ต้องรอดทาง จิตใจอีกชั้นหนึ่งด้วย รอดชั้นที่ ๒ คือรอดทางจิตใจ ถ้ารอดทางจิดใจ แล้วจิตใจก็พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในทางจิตใจ นี่เป็นความรอดที่ศาสนาทุกศาสนามุ่งหมาย ของพุทธศาสนาก็ไปจนถึงบรรลุนิพพาน พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากปัญหาทุกชนิด นี่ความรอดสูงสุดอยู่ที่นี่
รวมความแล้ว ความรอดมีอยู่ ๒ ความหมาย คือรอดทางกายและรอดทางจิตใจและรอดนี้เป็นผลของหน้าที่ ของการทำหน้าที่ หรือการทำการงานนั่นเอง ดังนั้น เรามองดูทีเดียวตลอดว่า การงานก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความรอด ทั้งทางกายและทางจิต เราต้องการงานทั้งทางการและทางจิต จึงจะรอดทั้งสองทาง
เดี๋ยวนี้คน ชาวบ้านธรรมดารู้จักแต่รอดทางกาย เขาก็ทำกันแต่รอดทางกาย แล้วทำกันจนเฟ้อ จนกลายเป็นผิดไปเสีย คือมันเกินรอดไปเสีย แทนที่จะเป็นรอดทางกายมันกลายเป็นฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อทางกาย จนเงินเดือนไม่พอใช้ นี่มีเกินความรอดไปเสียอีก มันเกินความหมายของคำว่าความรอด มันกลายเป็นบำรุงบำเรอฟุ้งเฟ้อแก่ทางร่างกาย ก็เลยกลายเป็นทาส เป็นทาสทางร่างกาย เป็นทาสของร่างกาย เป็นทาสของกิเลส แทนที่จะเป็นความรอดมันกลายเป็นทาส เป็นความติด ติดคุกติดตะรางของกิเลสนั้น ฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าไปบำรุงบำเรอทางร่างกายอย่างที่ทำกันแล้วมันก็จะรอด หรือมันก็จะดี คิดดูเถอะคนที่หลงใหลเรื่องความสุขทางเนื้อหนังนั้น ก็ไปติดคุกติดตะราง เป็นทาสของร่างกายทั้งนั้นแหละ ต้องหามา บำรุงร่างกายเกินพอดี อย่างที่เรามีๆ กันอยู่ในบ้านในเรือนมีสิ่งที่ไม่จำเป็นเยอะแยะไปหมด นั้นมันคือความโง่ ไปหามาเพื่อบำรุงบำเรอทางกาย แล้วมันก็เกินความรอดทางกาย กลายเป็นความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อในร่างกาย ก็ได้เป็นทาส เรื่องมันก็จบกันแหละ ถ้าทางกายมันก็ยังผิด แล้วทางจิตมันก็ผิด
เดี๋ยวนี้เราทำให้ร่างกายอยู่สบาย เหมาะสมที่จะทำการงาน มีสุขภาพดีก็พอแล้ว ทีนี้เวลาเรี่ยวแรง ทรัพย์สมบัติที่เหลือจากนั้น ก็ขวนขวายเพื่อทำความรอดในทางจิตใจต่อไป จึงศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะอยู่เป็นประจำ
นี่เรียกว่า ทำการงานทั้งทางกายและทางจิตใจนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ให้พอดี หรือให้เหมาะสม แต่ถ้าทำด้วยความไม่อยากทำ ไม่ทำดีกว่า ไปทำงานก็สาย กลับมาก็โกงเวลา นี้เรียกว่าคน ไม่ซื่อตรง คนไม่รู้หน้าที่การงานว่าคืออะไร ไม่บูชาการงาน คนอย่างนี้มันน่าละอายสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมันไม่เคยโกงเวลา ไม่เคยโกงหน้าที่สัตว์เดรัจฉาน คนนี่ตัวโกงเวลา โกงหน้าที่การงาน แม้ที่เป็นของตนเองก็ยังโกงคือขี้เกียจ ที่เป็นข้าราชการด้วยแล้วยิ่งได้โกงกันใหญ่เลย
อันที่จริงยังมีมากกว่านี้อีกค่ะก๊อผมาไม่หมดเพราะตรงนี้จุได้แค่10,000ตัวอักษรเองค่ะ อันนี้ลิ้งนะคะ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-08.htm
ต้องขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งค่ะที่ช่วยอธิบายให้ผู้ไม่รู้ได้ทราบค่ะ
(ถามปัญหาธรรม)ไม่ค่อยเข้าใจอยากรบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายคำบรรยายของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับธรรมะคือหน้าที่ให้ด้วยค่ะขอบคุณมากค่ะ
โดย ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ
ธรรมบรรยาย ให้แก่นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์
ณ ลานหินโค้ง โมกขพลาราม ไชยา
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗
คัดลอกจาก www.geocities.com/Tokyo/Ginza/9697/workfun.html
ท่านที่เป็นนักศึกษาและสนใจในธรรมะ ทั้งหลาย
เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดกันกลางดิน ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษ คือพระพุทธเจ้าท่านประสูติกลางดิน พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้กลางดิน ท่านก็สอนกลางดิน อยู่กลางดิน ที่อยู่กลางดิน แล้วก็นิพพานกลางดิน เราจึงถือว่า แผ่นดินนี้เป็นสัญลักษณ์ ที่อยู่อาศัยที่ทุกอย่าง เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า นี่ขอให้มีความสนใจในข้อนี้ด้วย
การอยู่บนตึกบนอาคารราคาแพง คือเรียนในมหาวิทยาลัยตึกราคาแพงนั้น ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระศาสดาทุกองค์ของทุกศาสนาก็ว่าได้ ล้วนแต่อยู่กลางดินนับตั้งแต่เกิดกลางดินและตายกลางดิน อย่างที่ว่ามาแล้ว ฉะนั้นขอให้มีจิตใจชนิดที่เข้ารูปกันได้กับแผ่นดิน แล้วจิตใจของท่านทั้งหลาย ก็จะเหมาะที่จะฟังธรรมะและเข้าใจธรรมะ ถ้าจิตใจมันบินระเหเร่ร่อนไปสวรรค์วิมาน ไปอะไรอยู่ละก็ยากมากที่จะเข้าใจธรรมะ ฉะนั้นขอให้ถือเป็นสิ่งพิเศษที่ได้ประสบ แล้วก็จดจำไว้ในในใจตลอดไป ถึงการที่ได้มานั่งกลางดินที่นี่และวันนี้ เอามือลูบดินในฐานะเป็นสิ่งสูงสุด อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธองค์นั้นทรงประสูติกลางดิน อยู่กลางดิน นิพพานกลางดิน
และให้มองเห็นอีกแง่หนึ่งว่า ดินเป็นที่ตั้งของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย จะได้สัตว์เป็นคน เป็นต้นไม้ เป็นวัตถุสิ่งของ ก็ล้วนแต่ตั้งอยู่บนพื้นดิน แผ่นดินเป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง มีความหมายเหมือนกับธรรมะ ซึ่งเป็นที่รองรับแห่งสิ่งทั้งปวง แผ่นดินมีความหมายเหมือนกับธรรมะ ซึ่งควรจะกำหนดไว้ด้วย เป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง ธรรมะ หมายถึงสิ่งซึ่งเป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง เกิดมาจากธรรมะหรือธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ในที่สุดมันก็แตกดับไปตามธรรมชาติ จึงถือว่า แผ่นดินนี้เป็นเหมือนกับธรรมะ ธรรมะเหมือนกับแผ่นดิน ในฐานะที่เป็นที่ตั้งที่รองรับ ที่เกิด ที่ดับ แห่งสิ่งทั้งปวง
เอาละ ที่นี้เราก็จะพุดกันถึงหัวข้อที่ท่านทั้งหลายขอร้อง คือหัวข้อที่ว่า การงานคืออะไร? จะทำงานให้สนุกและเป็นสุขในการทำงานได้อย่างไร? หัวข้อนี้ดีมาก หรือดีที่สุดที่จะต้องพูดกัน ในฐานะพื้นฐานทั่วไปสำหรับทุกคนและก็ได้พูดเรื่องนี้อยู่และก็อธิบายให้ชัดเจน ให้ละเอียด ให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป ว่าจะมีความสุขในการงานได้อย่างไร
การงานคือหน้าที่ ที่ต้องทำ
สิ่งแรกที่สุดที่จะต้องทราบก็คือว่า การงาน นั้นน่ะ คืออะไรกันเสียก่อน การงานมีความหมายกว้างๆ ที่ทำกันในทางโลกๆ ทางชาวบ้าน ก็ทำการงาน โดยเฉพาะก็คืออาชีพ นี้ก็เรียกว่า การงาน ภิกษุบรรพชิตก็ทำกัมมัฏฐาน ซึ่งแปลว่าที่ตั้งแห่งการงาน ก็ทำการงาน แปลว่า ทั้งฆราวาสและทั้งบรรพชิต ก็ล้วนแต่ ทำการงาน นี่ไปดูที่ตรงนั้นก่อน
ถ้าไม่เข้าใจก็ดูต่อไปว่า มันหมายถึงอะไร? มันก็หมายถึงสิ่งที่ต้องทำ คิดดูเถอะ การงานมันแปลว่า สิ่งที่ต้องทำ หรือควรกระทำ หรือระบุได้เลยว่า ต้องทำ ถ้าไม่ทำการงานมันก็คือตาย ไม่ทำการงาน อยู่เฉยๆ เท่านั้นแหละ มันก็ไม่ต้องกินอะไร แล้วมันก็ต้องตาย นี้ก็ต้องทำการงาน การเคลื่อนไหว การบริหารร่างกาย การทำงานหาอาหารมาเลี้ยงชีวิต ก็เรียกว่าการงาน
ที่นี้ก็เห็นได้ว่า การงาน นั้นคือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ต้องทำนั้นเรียกว่า หน้าที่ หน้าที่ จำคำว่า หน้าที่ หน้าที่ ไว้ให้ดี ถ้าเข้าใจคำว่าหน้าที่ แล้วจะเข้าใจสูงขึ้นไปถึงคำว่า ธรรมะ ธรรมะ คุณอาจจะไม่เคยเล่าเรียน ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า คำว่า ธรรมะ ธรรมะนั้นแปลว่าหน้าที่ เพราะว่าในโรงเรียน ในหนังสือเรียน จะพูดกันแต่ว่าธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เท่านี้มันไม่พอ มันไม่ถูกด้วย เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ธรรมะนี้ เขาพูดกัน เขามีกัน เขาใช้กันอยู่ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด คำว่า ธรรมะ ธรรมะ นี้มีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิด เขาหมายถึงหน้าที่ หน้าที่ นั่นน่ะคือธรรมะ คือพอมนุษย์พ้นจากความป่าเถื่อน พ้นจากความเป็นคนป่ามาพอสมควรแล้ว ก็มีมนุษย์ที่สังเกตเห็นว่า เออ มันมีสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ที่ต้องทำน่ะ เขาเรียกสิ่งนั้นโดยภาษาของเขาสมัยนั้นว่า ธรรมะ ซึ่งเป็นคำโบราณ เก่าแก่ ดึกดำบรรพ์ที่สุดว่าธรรมะ ธรรมะ ธรรมะ แปลว่า หน้าที่ เมื่อคนเล็งเห็นหน้าที่ หรือความจำเป็นของหน้าที่ เขาก็เรียกสิ่งนั้นว่า ธรรมะ ธรรมะ ฉะนั้นให้รู้กันเสียไว้ทีก่อนว่า ธรรมะนั้นคือหน้าที่
เขาก็พูดกันเรื่องหน้าที่ พูดกันเรื่องหน้าที่ คำพูดนี้มากขึ้นๆ จนเป็นระบบคำสอน เป็นระบบ ก็เรียกว่าธรรมะ แปลว่า หน้าที่ แต่มันมิได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นมันมากขึ้นๆ สูงขึ้น ดีขึ้นๆ คำว่า ธรรมะมันก็มากขึ้น ดีขึ้นและสูงขึ้น จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาในโลก ท่านก็สอนเรื่องหน้าที่คือธรรมะนี่สูงขึ้นไปจนถึงสูงสุด คือบรรลุมรรคผลนิพพาน ฉะนั้น ขอให้เข้าใจความหมายของคำว่า หน้าที่ หน้าที่ คือคำว่า ธรรมะ ธรรมะ นั่นแหละ คือหน้าที่มันก็มีแต่ว่า คำสอนเรื่องหน้าที่ ตามแบบของสำนักนั้น ตามแบบสำนักนี้ ตามแบบสำนักโน้น ซึ่งมีอยู่หลายสำนัก ฉะนั้น เขาจึงระบุบว่า ชอบธรรมะของใคร? ชอบธรรมะของพระสมณโคดม หรือชอบธรรมะของศาสนาชื่ออะไร? ทุกศาสนาล้วนแต่สอนเรื่องหน้าที่ แต่ท่านสอนกันเฉพาะในระดับสูง ไม่ลดลงมาถึงระดับต่ำ เช่าทำนา ทำไร่ ฉะนั้นสิ่งที่เราได้ยิน เรียกว่า ธรรม ธรรมะนั้นจึงได้ยินพูดกันแต่เรื่องระดับสูง ไปสวรรค์ บรรลุมรรคผลนิพพานทั้งนั้น แต่ที่จริงธรรมะระดับต่ำ ทำไร่ทำนา ของชาวไร่ชาวนานี้ เขาก็เรียกว่าธรรมะเหมือนกัน คือธรรมะของฆราวาส ธรรมะของชาวไร่ ธรรมะของชาวนา แล้วแต่ว่าเป็นหน้าที่ชนิดไหน ก็ธรรมะชนิดนั้น ที่เป็นชั้นสูงก็เรียกว่า กรรมฐานสำหรับบรรพชิต สำหรับภิกษุสามเณร ทำกรรมฐานก็คือทำงาน หรือทำหน้าที่ จึงเห็นได้ชัดว่า ธรรมะ คือหน้าที่ ธรรมะ คือหน้าที่
ทีนี้ดูกันต่อไปจากคำว่า หน้าที่ คำว่า หน้าที่ก็คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตทุกชนิดและทุกระดับ ชีวิตทุกระดับ จะเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดรัยฉาน กระทั่งเป็นต้นไม้ต้นไล่อย่างนี้ มันมีชีวิตทั้งนั้นแหละ ถ้ามีชีวิตมันก็ต้องมีหน้าที่ แล้วมันก็ต้องทำหน้าที่ ถ้ามันไม่ทำหน้าที่มันก็ตาย ลองคนไม่ทำหน้าที่มันก็ตาย ไม่เคลื่อนไหว ไม่บริหารกาย ไม่กินอาหาร ไม่อะไรต่างๆ มันก็ตาย สัตว์ก็เหมือนกัน จึงเรียกได้ว่า ชีวิตมันอยู่ได้ด้วยหน้าที่ ด้วยการทำหน้าที่ หน้าที่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต หน้าที่ก็คือธรรมะอย่างที่ว่ามาแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมะก็คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิตนั่นเอง
เราต้องมองเห็นความสำคัญ ความสูงสุด ประเสริฐที่สุด ของสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ แล้วก็ชอบหน้าที่ บูชาหน้าที่ จึงชอบการงาน ขอบการงาน เห็นการงานเป็นสิ่งสูงสุด ไม่เหมือนกับคนโง่ทั้งหลายที่ไม่ชอบทำหน้าที่ อย่างอุดมคติของคนบางพวกว่า ไม่ต้องทำงาน แต่ต้องได้เงิน ต้องการเงิน ต้องได้เงิน นี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง อย่าไปออกชื่อเขาเลย ลัทธิชนิดนั้นเขามีอยู่ในโลกนี้ ไม่ต้องทำการงาน แต่ต้องการเงิน แล้วก็ต่อสู้ แย่งชิงเพื่อให้ได้เงินโดยไม่ต้องทำการงาน หรือทำการงานแต่น้อยที่สุด มันก็มีการต่อสู้ระหว่างชนกรรมมาชีพกะนายทุน พวกหนึ่งต้องการทำงานน้อยที่สุด เอาเงินมากที่สุด นี่เพราะเขาไม่มองเห็นอย่างเรามองเห็นว่า หน้าที่มันเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับมนุษย์ ฉะนั้นขอให้ทำให้เต็มที่ ทำให้สุดเหวี่ยง สุดความสามารถ แล้วปัญหาก็จะหมด มันก็ไม่เกิดการต่อต้านชนิดนี้กันให้ลำบากกันไปทั้งโลก
เราก็จะอยู่ในพวกที่ไม่ชอบทำงาน ไม่บูชาการงาน ด้วยก็ได้ เพราะเราก็ยังโง่อยู่ ไม่รู้ว่าหน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ เราอยากทำงานแต่น้อย เราก็ไปทำงานสาย แล้วก็กลับบ้านเร็ว นั้นคือคนที่ไม่รู้ว่าหน้าที่คืออะไร ถ้ารู้ว่าหน้าที่คือสิ่งสูงสุด ประเสริฐที่สุดของสิ่งมีชีวิต เราก็พอใจแล้วก็ทำ อันนั้นจะเป็นเหตุให้ทำการงานสนุก
ผลของการทำหน้าที่คือความรอด
เดี๋ยวนี้อยากจะพูดไปในความหมายของหน้าที่ หน้าที่ คือสิ่งจำเป็นของสิ่งที่มีชีวิต ผลของมันคือความรอด ดูที่หน้าที่ แล้วก็ดูผลของหน้าที่ ก็คือความรอด ฉะนั้นช่วยจำคำว่า ความรอด นี้ไว้ให้ดีๆ ทุกศาสนา ทุกศาสนาในโลก ก็จะมีจุดหมายปลายทาง เรียกตรงกันเหมือนกันหมดว่า ความรอด จนพูดได้ว่า มีความรอดตามแบบของพุทธศาสนา มีความรอดตามแบบคริสตศาสนา ความรอดตามแบบศาสนาอิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ซิกซ์ อะไรก็สุดแท้ ล้วนแต่มุ่งที่ความรอดๆ ด้วยกันทั้งนั้น
นี่ของที่ศาสนาเหมือนกัน หรือตรงกัน ก็คือว่าสอนหน้าที่เพื่อความรอด ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราถือพระพุทธศาสนา ก็มีหน้าที่ตามแบบพุทธศาสนา มีความรอดตามแบบพุทธศาสนา ดับทุกข์สิ้นเชิงตามแบบของพุทธศาสนา ดับทุกข์สิ้นเชิงตามแบบของพุทธศาสนา แต่ก็ไม่พ้นที่จะเรียกว่า ความรอด ความรอด ความหลุดพ้น สวนโมกข์นี้ก็เอาคำนี้มาใช้เป็นชื่อ เป็นชื่อ โมกฺข โมกข์ แปลว่า รอด หลุดพ้น เหมือนกัน
ที่นี้ความรอดนั้นก็มี ๒ ระดับ ระดับทั่วไป เป็นความรอดทางร่างกาย รอดทางร่างกาย ระดับสูงขึ้นมา คือความรอดทางจิตใจ รอดทางร่างกาย ก็คือไม่ตาย แล้วก็สบาย ร่างกายอยู่ในสภาพที่ดี นี่รอดทางกายมีเท่านี้ คือไม่ตาย แล้วก็อยู่ในสภาพที่ดี เท่านี้มันไม่พอ มันมีจิตใจอีกส่วนหนึ่ง มันยังมีปัญหาถูกกลุ้มรุมด้วยความทุกข์ ด้วยกิเลส ด้วยกรรม ด้วยอะไรต่างๆ ต้องรอดทาง จิตใจอีกชั้นหนึ่งด้วย รอดชั้นที่ ๒ คือรอดทางจิตใจ ถ้ารอดทางจิดใจ แล้วจิตใจก็พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในทางจิตใจ นี่เป็นความรอดที่ศาสนาทุกศาสนามุ่งหมาย ของพุทธศาสนาก็ไปจนถึงบรรลุนิพพาน พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พ้นจากปัญหาทุกชนิด นี่ความรอดสูงสุดอยู่ที่นี่
รวมความแล้ว ความรอดมีอยู่ ๒ ความหมาย คือรอดทางกายและรอดทางจิตใจและรอดนี้เป็นผลของหน้าที่ ของการทำหน้าที่ หรือการทำการงานนั่นเอง ดังนั้น เรามองดูทีเดียวตลอดว่า การงานก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความรอด ทั้งทางกายและทางจิต เราต้องการงานทั้งทางการและทางจิต จึงจะรอดทั้งสองทาง
เดี๋ยวนี้คน ชาวบ้านธรรมดารู้จักแต่รอดทางกาย เขาก็ทำกันแต่รอดทางกาย แล้วทำกันจนเฟ้อ จนกลายเป็นผิดไปเสีย คือมันเกินรอดไปเสีย แทนที่จะเป็นรอดทางกายมันกลายเป็นฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อทางกาย จนเงินเดือนไม่พอใช้ นี่มีเกินความรอดไปเสียอีก มันเกินความหมายของคำว่าความรอด มันกลายเป็นบำรุงบำเรอฟุ้งเฟ้อแก่ทางร่างกาย ก็เลยกลายเป็นทาส เป็นทาสทางร่างกาย เป็นทาสของร่างกาย เป็นทาสของกิเลส แทนที่จะเป็นความรอดมันกลายเป็นทาส เป็นความติด ติดคุกติดตะรางของกิเลสนั้น ฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าไปบำรุงบำเรอทางร่างกายอย่างที่ทำกันแล้วมันก็จะรอด หรือมันก็จะดี คิดดูเถอะคนที่หลงใหลเรื่องความสุขทางเนื้อหนังนั้น ก็ไปติดคุกติดตะราง เป็นทาสของร่างกายทั้งนั้นแหละ ต้องหามา บำรุงร่างกายเกินพอดี อย่างที่เรามีๆ กันอยู่ในบ้านในเรือนมีสิ่งที่ไม่จำเป็นเยอะแยะไปหมด นั้นมันคือความโง่ ไปหามาเพื่อบำรุงบำเรอทางกาย แล้วมันก็เกินความรอดทางกาย กลายเป็นความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อในร่างกาย ก็ได้เป็นทาส เรื่องมันก็จบกันแหละ ถ้าทางกายมันก็ยังผิด แล้วทางจิตมันก็ผิด
เดี๋ยวนี้เราทำให้ร่างกายอยู่สบาย เหมาะสมที่จะทำการงาน มีสุขภาพดีก็พอแล้ว ทีนี้เวลาเรี่ยวแรง ทรัพย์สมบัติที่เหลือจากนั้น ก็ขวนขวายเพื่อทำความรอดในทางจิตใจต่อไป จึงศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะอยู่เป็นประจำ
นี่เรียกว่า ทำการงานทั้งทางกายและทางจิตใจนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ให้พอดี หรือให้เหมาะสม แต่ถ้าทำด้วยความไม่อยากทำ ไม่ทำดีกว่า ไปทำงานก็สาย กลับมาก็โกงเวลา นี้เรียกว่าคน ไม่ซื่อตรง คนไม่รู้หน้าที่การงานว่าคืออะไร ไม่บูชาการงาน คนอย่างนี้มันน่าละอายสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมันไม่เคยโกงเวลา ไม่เคยโกงหน้าที่สัตว์เดรัจฉาน คนนี่ตัวโกงเวลา โกงหน้าที่การงาน แม้ที่เป็นของตนเองก็ยังโกงคือขี้เกียจ ที่เป็นข้าราชการด้วยแล้วยิ่งได้โกงกันใหญ่เลย
อันที่จริงยังมีมากกว่านี้อีกค่ะก๊อผมาไม่หมดเพราะตรงนี้จุได้แค่10,000ตัวอักษรเองค่ะ อันนี้ลิ้งนะคะ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-08.htm
ต้องขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งค่ะที่ช่วยอธิบายให้ผู้ไม่รู้ได้ทราบค่ะ