นักวิจัยญี่ปุ่น สร้าง 'หุ่นยนต์หางมนุษย์' หวังแก้ปัญหาการทรงตัวของผู้สูงอายุ
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคโอของญี่ปุ่นเดินหน้าวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์หางมนุษย์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการทรงตัว
'ดับด์อาร์ก' หุ่นยนต์หางสีเทาความยาว 1 เมตร ที่มีความละม้ายคล้ายทั้งหางของเสือชีต้าและสัตว์มีหางอีกหลายชนิด ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ดียิ่งขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การวิ่ง และการเดินขึ้นพื้นที่ชัน
'จุนอิจิ นาเบชิมา' นักศึกษาปริญญาโทและนักวิจัยจากทีมพัฒนาหุ่นยนต์หางมนุษย์ กล่าวว่า เมื่อสวมเข้าไป หางหุ่นยนต์นี้จะเปรียบเสมือนลูกตุ้มสร้างความสมดุล เมื่อมนุษย์ขยับตัวไปด้านหนึ่ง หางจะขยับไปในทิศตรงกันข้าม
หางยนต์อัจฉริยะนี้ใช้เทคโนโลยีกล้ามเนื้อเสมือนจริงและระบบอัดอากาศเพื่อการเคลื่อนตัวถึง 8 ทิศทาง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้จะต้องพัฒนาในขั้นตอนการวิจัยอีกสักพัก
“มันคงดีถ้านำเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือในการทรงตัว” นาเบชิมา กล่าว
นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุแล้ว ทีมนักวิจัยยังอยากพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ทำงานในคลังสินค้าและต้องยกของที่มีน้ำหนักมากด้วยเช่นกัน
หุ่นยนต์ยกของหนัก ชื่อว่า HRP-2 (ม.โตเกียว)
ขณะที่หลายประเทศกำลังมองหาผู้อพยพเพื่อเข้ามาเติมเต็มอัตราคนงานที่น้อยลงเนื่องจากภาวะสังคมสูงอายุ ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นที่เผชิญปัญหานี้หนักเป็นอันดับต้นๆ ของโลกจะเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาควบคู่กันไป
อ้างอิง; CNN, Reuters
Cr.
https://voicetv.co.th/read/m7rkm1Y2H
นักวิจัยสร้าง 'หุ่นยนต์หางมนุษย์' เพื่อผู้สูงอายุ
นักวิจัยญี่ปุ่น สร้าง 'หุ่นยนต์หางมนุษย์' หวังแก้ปัญหาการทรงตัวของผู้สูงอายุ
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคโอของญี่ปุ่นเดินหน้าวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์หางมนุษย์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการทรงตัว
'ดับด์อาร์ก' หุ่นยนต์หางสีเทาความยาว 1 เมตร ที่มีความละม้ายคล้ายทั้งหางของเสือชีต้าและสัตว์มีหางอีกหลายชนิด ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ดียิ่งขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การวิ่ง และการเดินขึ้นพื้นที่ชัน
'จุนอิจิ นาเบชิมา' นักศึกษาปริญญาโทและนักวิจัยจากทีมพัฒนาหุ่นยนต์หางมนุษย์ กล่าวว่า เมื่อสวมเข้าไป หางหุ่นยนต์นี้จะเปรียบเสมือนลูกตุ้มสร้างความสมดุล เมื่อมนุษย์ขยับตัวไปด้านหนึ่ง หางจะขยับไปในทิศตรงกันข้าม
หางยนต์อัจฉริยะนี้ใช้เทคโนโลยีกล้ามเนื้อเสมือนจริงและระบบอัดอากาศเพื่อการเคลื่อนตัวถึง 8 ทิศทาง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้จะต้องพัฒนาในขั้นตอนการวิจัยอีกสักพัก
“มันคงดีถ้านำเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือในการทรงตัว” นาเบชิมา กล่าว
นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุแล้ว ทีมนักวิจัยยังอยากพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ทำงานในคลังสินค้าและต้องยกของที่มีน้ำหนักมากด้วยเช่นกัน
หุ่นยนต์ยกของหนัก ชื่อว่า HRP-2 (ม.โตเกียว)
ขณะที่หลายประเทศกำลังมองหาผู้อพยพเพื่อเข้ามาเติมเต็มอัตราคนงานที่น้อยลงเนื่องจากภาวะสังคมสูงอายุ ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นที่เผชิญปัญหานี้หนักเป็นอันดับต้นๆ ของโลกจะเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาควบคู่กันไป
อ้างอิง; CNN, Reuters
Cr.https://voicetv.co.th/read/m7rkm1Y2H