เห็นคนพูดถึงเรื่องตั๋วฟรีพนักงานการบินไทยกันเยอะ ผมก็เลยนั่งไล่อ่านดู แล้วเห็นว่า ข้อมูลนี้น่าสนใจดีเลยอยากเอามาฝากสำหรับคนที่เข้าใจว่าพนักงานการบินไทยได้ตั๋วฟรีและดูเหมือนว่าพนักงานบินฟรีกันง่ายๆ จนกลายเป็นประเด็นที่ว่าตั๋วฟรีพนักงานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบินไทยขาดทุน ลองอ่านกันดูครับข้อมูลจากเฟสบุ๊กของคุณ Aaron Puranasamriddhi
ตั๋วพนักงาน สิทธิพิเศษของพนักงานสายการบินจริงหรือ?
ทุกครั้งที่มีข่าวว่าการบินไทยขาดทุน สิ่งหนึ่งที่คนมักจะพูด (ด่า) ว่าเพราะพนักงานใช้สิทธิบินฟรีกัน สมควรเจ๊ง บลาๆๆๆ ..... จริงๆแล้วมันเป็นแบบนั้นหรือ?
พนักงานสายการบินทั่วโลก จะได้รับสวัสดิการตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ แต่ไม่ใช่ “ฟรี” เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเช่นกัน แม้ตั๋วบางอันจะถูกเรียกว่า”ตั๋วฟรี” ก็ตาม
สิทธิการใช้ตั๋วเหล่านี้ มาหลังตั๋วผู้โดยสารทุกประเภท แม้ผู้โดยสารจะซื้อตั๋วโปรโมชั่นที่ถูกแสนถูกก็ตาม นั้นแปลว่า ถ้าผู้โดยสารซื้อตั๋วขึ้นเครื่องมาเต็มลำ ใครที่ใช้ตั๋วพนักงานจะตกเครื่องทันที ดังนั้นพนักงานจึงต้องเลือกบินในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว หรือวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เพราะโอกาสตกเครื่องสูงมาก แล้วคิดดูว่า แต่ละครอบครัวจะมีวันหยุดไปเที่ยวตรงกันก็ช่วงวันหยุดยาว แต่คนอื่นก็หยุดเหมือนกัน และไปเที่ยวเหมือนกัน แล้วพนักงานสายการบินจะได้ไปไหม ?
อาจจะมีคนบอกว่า ยังไงก็ถือว่าสิทธิพิเศษ เพราะราคาถูกกว่า ต้องตอบว่า “ใช่ครับ” แต่.......ก็ต้องบอกว่า เครื่องบินยังไงก็ต้องขึ้นบินตามตารางบินไม่ว่าผู้โดยสารจะเต็มลำหรือไม่เต็มลำ. ดังนั้นทุกสายการบินจึงให้สวัสดิการแก่พนักงานว่า ถ้าที่นั่งหลังจากขายให้ผู้โดยสารแล้วถ้ามีที่นั่งเหลือ ให้พนักงานมีสิทธิซื้อตั๋วขึ้นมานั่ง ชดเชยเงินเดือนที่จ่ายน้อย และ”บริษัทฯได้รายได้เพิ่มจากที่นั่งว่าง”
การได้สิทธิซื้อตั๋วราคาถูก (แม้จะบอกว่าตั๋วราคาถูก แต่ราคาตั๋วพนักงานก็ใกล้เคียงกับราคาตั๋ว Low cost พนักงานบางคนจึงมักไปซื้อตั๋ว low cost เพื่อบินแทน เพราะได้ Comfirm ที่นั่ง) ย่อมแลกมากับความไม่แน่นอนว่าจะได้ไปตามวันเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือที่พวกเราเรียกว่า “ตั๋วขอทาน” เพราะขณะที่ผู้โดยสารเช็คอินเข้าไปเดินเล่นซื้อของดิวตี้ฟรีอย่างสบายใจ พนักงานต้องยืนคอยจนกว่าไฟล์ทนั้นจะปิดรับผู้โดยสาร นั้นคือประมาณ 30-40 นาทีก่อนเครื่องออก จากนั้นระบบจะเรียงว่าใครจะได้ไปโดยเรียงจากวันที่เข้าทำงาน ( D.O.E) เรียกว่าใครเข้าทำงานนานกว่าย่อมมีสิทธิ์ก่อน รวมถึงว่าซื้อตั๋วพนักงานประเภทไหน เมื่อได้ตั๋วแล้วต้องรีบ “วิ่ง” ไปผ่าน ตม แล้ว “วิ่ง” ไปขึ้นเครื่อง ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิยาวมาก เรียกว่ากราฟหัวใจพุ่งขึ้นจนสุดง่ายๆ
ส่วนพนักงานที่ไม่ได้ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องมา “เกาะเคาน์เตอร์” รอ Stand by ใหม่ ทยอยกันไป ซึ่งนั้นหมายถึงโปรแกรมหรือทัวร์ที่ซื้อไว้ในต่างประเทศก็ต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือตกทัวร์กันไป
แล้วถ้าตกเครื่องในต่างประเทศล่ะ อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะต้องโทรกลับมาเมืองไทยให้เพื่อนช่วยออกตั๋วใหม่ วิ่งไปเอากระเป๋าที่สายพานจากเที่ยวบินที่ตก เพื่อไปเช็คอินเที่ยวบินใหม่ ซึ่งอาจจะมีไฟล์ทใหม่ในวันนั้นหรือไม่มีก็ได้ อาจต้องเปลี่ยนไปนั่งเครื่องหลายต่อเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ หรือค้างคืนเพิ่ม 1 คืนเพื่อรอไฟล์ทกลับ นั้นคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่นับเรื่องวันลาของครอบครัวที่ต้องแก้ไขใหม่ทั้งหมด ฯลฯ
ในการบินไทย มีพนักงานใช้สิทธิตั๋วเครื่องบินประมาณ 60% บางคนทำงานจนเกษียณไม่เคยใช้สิทธิตั๋วเลย โดยพนักงานภาคพื้นส่วนใหญ่ใช้บินภายในประเทศ ส่วนการบินไปต่างประเทศนั้น พนักงานส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใช้สิทธิ เนื่องจากเหตุผลข้างบนรวมถึง ด้านค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสวนทางกับรายได้ของพนักงานส่วนใหญ่ (อย่าเอารายได้กัปตัน มาเหมารวมนะครับ แม้กระทั่งลูกเรือตอนนี้รายได้ก็ไม่ได้สูงมากแล้ว)
ดังนั้นเวลาที่การบินไทยขาดทุน โปรดอย่ามาลงที่พนักงานหรือโทษว่าเพราะพนักงานใช้สิทธิบินฟรีจนเจ๊ง เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องเลยแม้แต่นิดเดียวครับ เพราะพนักงานเองทุกวันนี้ก็ทำงานกันเต็มที่ เพื่อให้บริษัทฯมีกำไร จะได้ขึ้นเงินเดือนให้พนักงานบ้าง หลังจากที่ได้ขึ้นบ้าง (ไม่เกิน 3% ) หรือไม่ได้ขึ้นบ้าง มา 10กว่าปีจนตอนนี้กรอบกันทั่วหน้าเช่นกัน....แต่ยังไงพวกเราก็ยังยืนยันว่า เรา”รักคุณเท่าฟ้า” เสมอครับ
ป.ล นั่งเขียนบนเครื่องของสายการบิน airBaltic หลังจากตกเครื่อง Lufthansa เพราะผู้โดยสารมาเต็มลำเลยต้องบินอ้อมจาก Vilnius ไปเปลี่ยนเครื่องที่ Riga แล้วบินย้อนไป Frankfurt เพื่อต่อเครื่องการบินไทยกลับบ้าน ซึ่งมีที่นั่งว่างอยู่ 3 ที่ ต้องไปลุ้นต่อว่าจะได้กลับหรือต้องค้างต่ออีกคืน
และด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ผมตกเครื่องมาแล้วทุกรูปแบบ จึงสามารถพูดได้เต็มปากครับ
ว่าด้วยเรื่อง ตั๋วฟรีพนักงานการบินไทย
ตั๋วพนักงาน สิทธิพิเศษของพนักงานสายการบินจริงหรือ?
ทุกครั้งที่มีข่าวว่าการบินไทยขาดทุน สิ่งหนึ่งที่คนมักจะพูด (ด่า) ว่าเพราะพนักงานใช้สิทธิบินฟรีกัน สมควรเจ๊ง บลาๆๆๆ ..... จริงๆแล้วมันเป็นแบบนั้นหรือ?
พนักงานสายการบินทั่วโลก จะได้รับสวัสดิการตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ แต่ไม่ใช่ “ฟรี” เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเช่นกัน แม้ตั๋วบางอันจะถูกเรียกว่า”ตั๋วฟรี” ก็ตาม
สิทธิการใช้ตั๋วเหล่านี้ มาหลังตั๋วผู้โดยสารทุกประเภท แม้ผู้โดยสารจะซื้อตั๋วโปรโมชั่นที่ถูกแสนถูกก็ตาม นั้นแปลว่า ถ้าผู้โดยสารซื้อตั๋วขึ้นเครื่องมาเต็มลำ ใครที่ใช้ตั๋วพนักงานจะตกเครื่องทันที ดังนั้นพนักงานจึงต้องเลือกบินในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว หรือวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เพราะโอกาสตกเครื่องสูงมาก แล้วคิดดูว่า แต่ละครอบครัวจะมีวันหยุดไปเที่ยวตรงกันก็ช่วงวันหยุดยาว แต่คนอื่นก็หยุดเหมือนกัน และไปเที่ยวเหมือนกัน แล้วพนักงานสายการบินจะได้ไปไหม ?
อาจจะมีคนบอกว่า ยังไงก็ถือว่าสิทธิพิเศษ เพราะราคาถูกกว่า ต้องตอบว่า “ใช่ครับ” แต่.......ก็ต้องบอกว่า เครื่องบินยังไงก็ต้องขึ้นบินตามตารางบินไม่ว่าผู้โดยสารจะเต็มลำหรือไม่เต็มลำ. ดังนั้นทุกสายการบินจึงให้สวัสดิการแก่พนักงานว่า ถ้าที่นั่งหลังจากขายให้ผู้โดยสารแล้วถ้ามีที่นั่งเหลือ ให้พนักงานมีสิทธิซื้อตั๋วขึ้นมานั่ง ชดเชยเงินเดือนที่จ่ายน้อย และ”บริษัทฯได้รายได้เพิ่มจากที่นั่งว่าง”
การได้สิทธิซื้อตั๋วราคาถูก (แม้จะบอกว่าตั๋วราคาถูก แต่ราคาตั๋วพนักงานก็ใกล้เคียงกับราคาตั๋ว Low cost พนักงานบางคนจึงมักไปซื้อตั๋ว low cost เพื่อบินแทน เพราะได้ Comfirm ที่นั่ง) ย่อมแลกมากับความไม่แน่นอนว่าจะได้ไปตามวันเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือที่พวกเราเรียกว่า “ตั๋วขอทาน” เพราะขณะที่ผู้โดยสารเช็คอินเข้าไปเดินเล่นซื้อของดิวตี้ฟรีอย่างสบายใจ พนักงานต้องยืนคอยจนกว่าไฟล์ทนั้นจะปิดรับผู้โดยสาร นั้นคือประมาณ 30-40 นาทีก่อนเครื่องออก จากนั้นระบบจะเรียงว่าใครจะได้ไปโดยเรียงจากวันที่เข้าทำงาน ( D.O.E) เรียกว่าใครเข้าทำงานนานกว่าย่อมมีสิทธิ์ก่อน รวมถึงว่าซื้อตั๋วพนักงานประเภทไหน เมื่อได้ตั๋วแล้วต้องรีบ “วิ่ง” ไปผ่าน ตม แล้ว “วิ่ง” ไปขึ้นเครื่อง ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิยาวมาก เรียกว่ากราฟหัวใจพุ่งขึ้นจนสุดง่ายๆ
ส่วนพนักงานที่ไม่ได้ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องมา “เกาะเคาน์เตอร์” รอ Stand by ใหม่ ทยอยกันไป ซึ่งนั้นหมายถึงโปรแกรมหรือทัวร์ที่ซื้อไว้ในต่างประเทศก็ต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือตกทัวร์กันไป
แล้วถ้าตกเครื่องในต่างประเทศล่ะ อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะต้องโทรกลับมาเมืองไทยให้เพื่อนช่วยออกตั๋วใหม่ วิ่งไปเอากระเป๋าที่สายพานจากเที่ยวบินที่ตก เพื่อไปเช็คอินเที่ยวบินใหม่ ซึ่งอาจจะมีไฟล์ทใหม่ในวันนั้นหรือไม่มีก็ได้ อาจต้องเปลี่ยนไปนั่งเครื่องหลายต่อเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ หรือค้างคืนเพิ่ม 1 คืนเพื่อรอไฟล์ทกลับ นั้นคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่นับเรื่องวันลาของครอบครัวที่ต้องแก้ไขใหม่ทั้งหมด ฯลฯ
ในการบินไทย มีพนักงานใช้สิทธิตั๋วเครื่องบินประมาณ 60% บางคนทำงานจนเกษียณไม่เคยใช้สิทธิตั๋วเลย โดยพนักงานภาคพื้นส่วนใหญ่ใช้บินภายในประเทศ ส่วนการบินไปต่างประเทศนั้น พนักงานส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใช้สิทธิ เนื่องจากเหตุผลข้างบนรวมถึง ด้านค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสวนทางกับรายได้ของพนักงานส่วนใหญ่ (อย่าเอารายได้กัปตัน มาเหมารวมนะครับ แม้กระทั่งลูกเรือตอนนี้รายได้ก็ไม่ได้สูงมากแล้ว)
ดังนั้นเวลาที่การบินไทยขาดทุน โปรดอย่ามาลงที่พนักงานหรือโทษว่าเพราะพนักงานใช้สิทธิบินฟรีจนเจ๊ง เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องเลยแม้แต่นิดเดียวครับ เพราะพนักงานเองทุกวันนี้ก็ทำงานกันเต็มที่ เพื่อให้บริษัทฯมีกำไร จะได้ขึ้นเงินเดือนให้พนักงานบ้าง หลังจากที่ได้ขึ้นบ้าง (ไม่เกิน 3% ) หรือไม่ได้ขึ้นบ้าง มา 10กว่าปีจนตอนนี้กรอบกันทั่วหน้าเช่นกัน....แต่ยังไงพวกเราก็ยังยืนยันว่า เรา”รักคุณเท่าฟ้า” เสมอครับ
ป.ล นั่งเขียนบนเครื่องของสายการบิน airBaltic หลังจากตกเครื่อง Lufthansa เพราะผู้โดยสารมาเต็มลำเลยต้องบินอ้อมจาก Vilnius ไปเปลี่ยนเครื่องที่ Riga แล้วบินย้อนไป Frankfurt เพื่อต่อเครื่องการบินไทยกลับบ้าน ซึ่งมีที่นั่งว่างอยู่ 3 ที่ ต้องไปลุ้นต่อว่าจะได้กลับหรือต้องค้างต่ออีกคืน
และด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ผมตกเครื่องมาแล้วทุกรูปแบบ จึงสามารถพูดได้เต็มปากครับ