https://mgronline.com/crime/detail/9620000077392
แกนนำ นปช.รอด ศาลพิพากษายกฟ้องคดีก่อการร้าย กรณีจัดชุมนุมใหญ่ปี 53 ระบุพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่มีพยานใดยืนยันเป็นความผิดก่อการร้ายหรือมีเจตนาพิเศษถึงขนาดเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นแค่การชุมนุมทางการเมือง ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นให้พิจารณาความผิดเป็นรายๆ ไป
วันนี้(14 ส.ค.)ที่ห้องพิจารณา 701 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 10.30 น. ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีกล่าวหา "24 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. ) ร่วมกันก่อการร้าย
โดยศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เมื่อเวลา 11.45 น. ซึ่ง
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่คู่ความทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วเห็นว่า การกระทำอันเป็นความผิดก่อการร้าย จะต้องเป็นการกระทำอันเข้าองค์ประกอบความผิดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 ว(1)ถึง(3) คือต้องมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกายหรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศให้กระทำหรือไม่กระทำการใด อันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่หากเป็นการกระทำในการเดินขบวนชุมนุมประท้วงโต้แย้งหรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรม อันเป็นการใช้สิทธิ์ทิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
จากพยานหลักฐานทางนำสืบของโจทก์ ไม่มีพยานปากใดที่เข้ามาเบิกความยืนยันว่า มีจำเลยคนหนึ่งคนใดที่เป็นแกนนำกลุ่ม นปช. ได้ทำการปราศรัยหรือกระทำการอันเป็นการยุยงปลุกปั่นให้ผู้ร่วมชุมนุมกระทำการดังที่ได้ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 135 / 1 วงเล็บ(1)ถึง(3) แม้โจทก์จะมีพยานเบิกความต่อศาลว่าระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นมากมายหลายแห่ง ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง แต่พยานโจทก์ไม่ได้เบิกความยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นการกระทำของบุคคลใดหรือเป็นการกระทำของฝ่ายใด ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งข่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ และยังมีพยานโจทก์อีกหลายปากเบิกความต่อศาลว่า การชุมนุมของ นปช.เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางการเมืองให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมโดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ก็ไม่มีพยานปากใดเบิกความยืนยันว่าเป็นการกระทำของกลุ่มนปช. การเดินทางไปที่รัฐสภาและสถานีดาวเทียมไทยคม ก็เป็นการเดินทางไปเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ต่อสัญญาณสถานีโทรทัศน์ช่องพีเพิล ชาเเนล ที่รัฐบาลมีคำสั่งให้ปิดหรือตัดสัญญาณไป
ก่อนหน้านั้น ชายชุดดำก็ไม่ปรากฏว่าเป็นกองกำลังของฝ่ายใดและไม่สามารถจับกุมบุคคลใดมาดำเนินคดีได้ในขณะนั้น ทั้งๆ ที่สถานที่ๆ ปรากฏตัวชายชุดดำมีประชาชนอยู่ด้วยจำนวนมาก จึงไม่น่าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจับกุมดำเนินคดีไม่ได้ทันท่วงทที การที่แกนนำกลุ่ม นปช. ปราศรัยบนเวทีที่ว่า หากทหารออกมาสลายการชุมนุมหรือทำรัฐประหารให้ประชาชนนำน้ำมันและให้มีการเผานั้น เป็นการกล่าวปราศรัยบนเวทีก่อนวันที่จะมีการชุมนุมใหญ่หลายวัน และไม่มีเหตุการณ์เผาทำลายทรัพย์สินตามที่มีการปราศรัยแต่อย่างใด การวางเพลิงเผาซับเกิดขึ้นช่วงบ่ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ภายหลังจากแกนนำกลุ่ม นปช. ประกาศยุติการชุมนุมแล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยในเรื่องการวางเพลิงเผาทรัพย์ไว้เป็นที่สุด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8132/2561 ว่ามิใช่เป็นการกระทำของกลุ่ม นปช. การปราศรัยเรียกร้องให้ประชาชนทำการต่อต้านการทำรัฐประหารเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมที่สามารถจะทำได้ ไม่ถือเป็นความผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
การชุมนุมของกลุ่มนปช. เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ เป็นการใช้สิทธิ์เรียกร้องทางการเมือง ซึ่งแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมประกาศแนวทางการต่อสู้มาโดยตลอดว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติวิธี สงบและปราศจากอาวุธ และปฏิเสธเข้ามาดำเนินการของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง กับพวก ซึ่งมีแนวทางการต่อสู้คนละแนวกันตลอดมา การดำเนินการของพลตรีขัตติยะกับพวก จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม นปช. เพราะแกนนำ นปช. ประกาศจุดยืนมาโดยตลอดว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติวิธี สงบ ปราศจากอาวุธ การชุมนุมของกลุ่ม นปช. มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก จึงอาจจะมีบุคคลผู้ไม่หวังดีแฝงตัวเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์ ให้เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายก็เป็นได้
การที่จำเลยที่ 7 กับพวกขัดขวางการลำเลียงกำลังพลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และยึดเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปแสดงต่อสื่อมวลชนบริเวณเวทีปราศรัย และต่อมาเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องรับเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหลายเหล่านั้นกลับคืนไปหมดแล้ว การกระทำดังกล่าวมิได้ประสงค์เอาแก่ตัวทรัพย์เพื่อเอาเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบ จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ เหตุวางเพลิงเผาทรัพย์และทำลายทรัพย์สินของทางราชการบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 7 นำเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปแสดงต่อสื่อมวลชนแล้ว ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 7 เดินทางกลับไปอีกกรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ร่วมกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วย
โจทก์ฟ้องคดีนี้รวม 5 สำนวนขอให้ลงโทษฐานก่อการร้าย โดยบรรยายฟ้องถึงลักษณะการกระทำความผิดต่างๆ เพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดและไม่ได้ขอให้ลงโทษในการกระทำความผิดลักษณะต่างๆ มาด้วยจึงถือว่าเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องดังกล่าว เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 24 ในความผิดต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบความผิดมานั้น ฟังได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันกับคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 24 กับพวกต่อศาลจังหวัดพัทยา กรณีพาพวกไปขัดขวางการประชุมผู้นำอาเซียน และศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) แม้รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ต่อมาศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.ได้ประกาศห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมในท้องที่ดังกล่าว การออกอากาศเช่นว่านั้น ก็เพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ซึ่งได้ร่วมชุมนุมต่อเนื่องติดต่อกันมาแล้วหลายวัน แต่ภายหลังที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงแล้ว ไม่ได้ความจากพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ว่า แกนนำกลุ่ม นปช. ได้จัดการชุมนุมที่อื่นใดอีกนอกเหนือจากสถานที่ที่มีการชุมนุมอยู่ก่อนแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1- 15 และจำเลยที่ 18- 24 จึงไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
โดยคดีนี้ พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อายุ 71 ปี อดีตประธาน นปช. จำเลยที่ 1 , นายจตุพร หรือตู่ พรหมพันธุ์ อายุ 54 ปี ประธาน นปช และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อชาติ ที่ 2 , นายณัฐวุฒิ หรือเต้น ใสยเกื้อ อายุ 44 ปี เลขาธิการ นปช. และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียง พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่ 3
กลุ่มแกนนำ-แนวร่วม นปช นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 68 ปี อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ทษช. ที่ 4 , นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 54 ปี อดีตสมาชิกพรรค ทษช. ที่ 5 , นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อายุ 67 ปี ที่ 6 , นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก อายุ 61 ปี ที่ 7 , นายนิสิต สินธุไพร อายุ 63 ปี อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ที่ 8 , นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล อายุ 52 ปี ส.ส.เพื่อไทย ที่ 9 , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 68 ปี ที่ 10 , นายภูมิกิติ หรือพิเชษฐ์ สุจินดาทอง อายุ 59 ปี อดีตลูกน้อง คนสนิทพล.ต.ขัตติยะ หรือเสธ.แดง สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่ 11, นายสุขเสก หรือสุข พลตื้อ อายุ 43 ปี ที่ 12 , นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล อายุ 48 ปี การ์ด นปช. ที่13 , นายอำนาจ อินทโชติ อายุ 63 ปี ที่ 14 , นายชยุต ใหลเจริญ อายุ 46 ปี หัวหน้าการ์ด นปช. ที่ 15 , นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง อายุ 57 ปี ที่ 16 , นายสุรชัย หรือหรั่ง เทวรัตน์ อายุ 34 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 17 , นายรชต หรือกบ วงค์ยอด อายุ 38 ปี ที่ 18 , นายยงยุทธ ท้วมมี อายุ 63 ปี แนวร่วม นปช. ที่19
นายอร่าม แสงอรุณ อายุ 58 ปี หัวหน้าการ์ด นปช.อดีตลูกน้องคนสนิท เสธ.แดง ที่ 20 , นายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ อายุ 38 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 21 , นายสมพงษ์ หรืออ้อ หรือแขก หรือป้อม บางชม ที่ 22 , นายมานพ หรือเป็ด ชาญช่างทอง อายุ 58 ปี กลุ่มการ์ด นปช.ที่ 23 , นายอริสมันต์ หรือกี้ พงศ์เรืองรอง อายุ 55 ปี แกนนำ นปช. ที่ 24
ในความผิด 6 ข้อหา ฐานร่วมกันก่อการร้าย โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ โดยมีความมุ่งหมายขู่เข็ญรัฐบาลไทยให้กระทำการใด หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 , ขู่เข็ญว่าจะทำการก่อการร้าย โดยสะสมกำลังพลหรืออาวุธ หรือตระเตรียมการสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ตาม ม.135/2 , ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินฯ ม.116 , มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ หรือเป็นหัวหน้าสั่งการฯ ม.215 , เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการกระทำแล้วไม่เลิก ม.216 ,ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาขณะที่จำเลยส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัวชั้นพิจารณาด้วยหลักทรัพย์ 600,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามกระทำการใดๆ ลักษณะดูหมิ่นผู้อื่น ยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กับห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
สำหรับคดีนี้อัยการทยอยยื่นฟ้องกลุ่มแกนนำ นปช. เป็นชุดๆ 4 สำนวน ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2553 เป็นคดีหมายเลขดำ อ.2542/2553 , อ.4339/2553 , อ.757/2554 , อ.4958/2554 จนครบ 24 คน และมีการรวมพิจารณาคดีเดียวกัน ซึ่งใช้เวลาพิจารณาพยานหลักฐานและสืบพยานบุคคล มานานร่วม 9 ปี โดยระหว่างการสืบพยานศาลจะพิจารณานัดดพร้อมเป็นระยะๆ เพื่อร่วมคู่ความกำหนดกรอบประเด็นสืบและระยะเวลาสืบพยานเนื่องจากทั้งโจทก์-จำเลย ต่างเสนอขอสืบพยานนับร้อยปาก โดยทำการสืบพยานต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มสืบพยานโจทก์ตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค.2555 และเริ่มสืบพยานจำเลยปี 2562 กระทั่งได้นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ (14 ส.ค.2562)
ศาลฎีกายกฟ้อง 24 นปช.ก่อม็อบปี 53 ในความผิดก่อการร้าย
แกนนำ นปช.รอด ศาลพิพากษายกฟ้องคดีก่อการร้าย กรณีจัดชุมนุมใหญ่ปี 53 ระบุพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่มีพยานใดยืนยันเป็นความผิดก่อการร้ายหรือมีเจตนาพิเศษถึงขนาดเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นแค่การชุมนุมทางการเมือง ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นให้พิจารณาความผิดเป็นรายๆ ไป
วันนี้(14 ส.ค.)ที่ห้องพิจารณา 701 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 10.30 น. ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีกล่าวหา "24 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. ) ร่วมกันก่อการร้าย
โดยศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เมื่อเวลา 11.45 น. ซึ่งศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่คู่ความทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วเห็นว่า การกระทำอันเป็นความผิดก่อการร้าย จะต้องเป็นการกระทำอันเข้าองค์ประกอบความผิดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 ว(1)ถึง(3) คือต้องมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกายหรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ กระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศให้กระทำหรือไม่กระทำการใด อันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่หากเป็นการกระทำในการเดินขบวนชุมนุมประท้วงโต้แย้งหรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรม อันเป็นการใช้สิทธิ์ทิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
จากพยานหลักฐานทางนำสืบของโจทก์ ไม่มีพยานปากใดที่เข้ามาเบิกความยืนยันว่า มีจำเลยคนหนึ่งคนใดที่เป็นแกนนำกลุ่ม นปช. ได้ทำการปราศรัยหรือกระทำการอันเป็นการยุยงปลุกปั่นให้ผู้ร่วมชุมนุมกระทำการดังที่ได้ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 135 / 1 วงเล็บ(1)ถึง(3) แม้โจทก์จะมีพยานเบิกความต่อศาลว่าระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นมากมายหลายแห่ง ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง แต่พยานโจทก์ไม่ได้เบิกความยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นการกระทำของบุคคลใดหรือเป็นการกระทำของฝ่ายใด ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งข่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ และยังมีพยานโจทก์อีกหลายปากเบิกความต่อศาลว่า การชุมนุมของ นปช.เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางการเมืองให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมโดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ก็ไม่มีพยานปากใดเบิกความยืนยันว่าเป็นการกระทำของกลุ่มนปช. การเดินทางไปที่รัฐสภาและสถานีดาวเทียมไทยคม ก็เป็นการเดินทางไปเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ต่อสัญญาณสถานีโทรทัศน์ช่องพีเพิล ชาเเนล ที่รัฐบาลมีคำสั่งให้ปิดหรือตัดสัญญาณไป
ก่อนหน้านั้น ชายชุดดำก็ไม่ปรากฏว่าเป็นกองกำลังของฝ่ายใดและไม่สามารถจับกุมบุคคลใดมาดำเนินคดีได้ในขณะนั้น ทั้งๆ ที่สถานที่ๆ ปรากฏตัวชายชุดดำมีประชาชนอยู่ด้วยจำนวนมาก จึงไม่น่าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจับกุมดำเนินคดีไม่ได้ทันท่วงทที การที่แกนนำกลุ่ม นปช. ปราศรัยบนเวทีที่ว่า หากทหารออกมาสลายการชุมนุมหรือทำรัฐประหารให้ประชาชนนำน้ำมันและให้มีการเผานั้น เป็นการกล่าวปราศรัยบนเวทีก่อนวันที่จะมีการชุมนุมใหญ่หลายวัน และไม่มีเหตุการณ์เผาทำลายทรัพย์สินตามที่มีการปราศรัยแต่อย่างใด การวางเพลิงเผาซับเกิดขึ้นช่วงบ่ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ภายหลังจากแกนนำกลุ่ม นปช. ประกาศยุติการชุมนุมแล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยในเรื่องการวางเพลิงเผาทรัพย์ไว้เป็นที่สุด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8132/2561 ว่ามิใช่เป็นการกระทำของกลุ่ม นปช. การปราศรัยเรียกร้องให้ประชาชนทำการต่อต้านการทำรัฐประหารเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมที่สามารถจะทำได้ ไม่ถือเป็นความผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
การชุมนุมของกลุ่มนปช. เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ เป็นการใช้สิทธิ์เรียกร้องทางการเมือง ซึ่งแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมประกาศแนวทางการต่อสู้มาโดยตลอดว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติวิธี สงบและปราศจากอาวุธ และปฏิเสธเข้ามาดำเนินการของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง กับพวก ซึ่งมีแนวทางการต่อสู้คนละแนวกันตลอดมา การดำเนินการของพลตรีขัตติยะกับพวก จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม นปช. เพราะแกนนำ นปช. ประกาศจุดยืนมาโดยตลอดว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติวิธี สงบ ปราศจากอาวุธ การชุมนุมของกลุ่ม นปช. มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก จึงอาจจะมีบุคคลผู้ไม่หวังดีแฝงตัวเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์ ให้เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายก็เป็นได้
การที่จำเลยที่ 7 กับพวกขัดขวางการลำเลียงกำลังพลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และยึดเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปแสดงต่อสื่อมวลชนบริเวณเวทีปราศรัย และต่อมาเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องรับเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหลายเหล่านั้นกลับคืนไปหมดแล้ว การกระทำดังกล่าวมิได้ประสงค์เอาแก่ตัวทรัพย์เพื่อเอาเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบ จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ เหตุวางเพลิงเผาทรัพย์และทำลายทรัพย์สินของทางราชการบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 7 นำเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ไปแสดงต่อสื่อมวลชนแล้ว ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 7 เดินทางกลับไปอีกกรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ร่วมกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วย
โจทก์ฟ้องคดีนี้รวม 5 สำนวนขอให้ลงโทษฐานก่อการร้าย โดยบรรยายฟ้องถึงลักษณะการกระทำความผิดต่างๆ เพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดและไม่ได้ขอให้ลงโทษในการกระทำความผิดลักษณะต่างๆ มาด้วยจึงถือว่าเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องดังกล่าว เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 24 ในความผิดต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบความผิดมานั้น ฟังได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันกับคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 24 กับพวกต่อศาลจังหวัดพัทยา กรณีพาพวกไปขัดขวางการประชุมผู้นำอาเซียน และศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) แม้รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ต่อมาศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.ได้ประกาศห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมในท้องที่ดังกล่าว การออกอากาศเช่นว่านั้น ก็เพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ซึ่งได้ร่วมชุมนุมต่อเนื่องติดต่อกันมาแล้วหลายวัน แต่ภายหลังที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงแล้ว ไม่ได้ความจากพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ว่า แกนนำกลุ่ม นปช. ได้จัดการชุมนุมที่อื่นใดอีกนอกเหนือจากสถานที่ที่มีการชุมนุมอยู่ก่อนแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1- 15 และจำเลยที่ 18- 24 จึงไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
โดยคดีนี้ พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อายุ 71 ปี อดีตประธาน นปช. จำเลยที่ 1 , นายจตุพร หรือตู่ พรหมพันธุ์ อายุ 54 ปี ประธาน นปช และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อชาติ ที่ 2 , นายณัฐวุฒิ หรือเต้น ใสยเกื้อ อายุ 44 ปี เลขาธิการ นปช. และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียง พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่ 3
กลุ่มแกนนำ-แนวร่วม นปช นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 68 ปี อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ทษช. ที่ 4 , นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 54 ปี อดีตสมาชิกพรรค ทษช. ที่ 5 , นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อายุ 67 ปี ที่ 6 , นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก อายุ 61 ปี ที่ 7 , นายนิสิต สินธุไพร อายุ 63 ปี อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ที่ 8 , นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล อายุ 52 ปี ส.ส.เพื่อไทย ที่ 9 , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 68 ปี ที่ 10 , นายภูมิกิติ หรือพิเชษฐ์ สุจินดาทอง อายุ 59 ปี อดีตลูกน้อง คนสนิทพล.ต.ขัตติยะ หรือเสธ.แดง สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่ 11, นายสุขเสก หรือสุข พลตื้อ อายุ 43 ปี ที่ 12 , นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล อายุ 48 ปี การ์ด นปช. ที่13 , นายอำนาจ อินทโชติ อายุ 63 ปี ที่ 14 , นายชยุต ใหลเจริญ อายุ 46 ปี หัวหน้าการ์ด นปช. ที่ 15 , นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง อายุ 57 ปี ที่ 16 , นายสุรชัย หรือหรั่ง เทวรัตน์ อายุ 34 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 17 , นายรชต หรือกบ วงค์ยอด อายุ 38 ปี ที่ 18 , นายยงยุทธ ท้วมมี อายุ 63 ปี แนวร่วม นปช. ที่19
นายอร่าม แสงอรุณ อายุ 58 ปี หัวหน้าการ์ด นปช.อดีตลูกน้องคนสนิท เสธ.แดง ที่ 20 , นายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ อายุ 38 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 21 , นายสมพงษ์ หรืออ้อ หรือแขก หรือป้อม บางชม ที่ 22 , นายมานพ หรือเป็ด ชาญช่างทอง อายุ 58 ปี กลุ่มการ์ด นปช.ที่ 23 , นายอริสมันต์ หรือกี้ พงศ์เรืองรอง อายุ 55 ปี แกนนำ นปช. ที่ 24
ในความผิด 6 ข้อหา ฐานร่วมกันก่อการร้าย โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ โดยมีความมุ่งหมายขู่เข็ญรัฐบาลไทยให้กระทำการใด หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 , ขู่เข็ญว่าจะทำการก่อการร้าย โดยสะสมกำลังพลหรืออาวุธ หรือตระเตรียมการสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ตาม ม.135/2 , ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินฯ ม.116 , มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ หรือเป็นหัวหน้าสั่งการฯ ม.215 , เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการกระทำแล้วไม่เลิก ม.216 ,ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
โดยจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาขณะที่จำเลยส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัวชั้นพิจารณาด้วยหลักทรัพย์ 600,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามกระทำการใดๆ ลักษณะดูหมิ่นผู้อื่น ยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กับห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
สำหรับคดีนี้อัยการทยอยยื่นฟ้องกลุ่มแกนนำ นปช. เป็นชุดๆ 4 สำนวน ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2553 เป็นคดีหมายเลขดำ อ.2542/2553 , อ.4339/2553 , อ.757/2554 , อ.4958/2554 จนครบ 24 คน และมีการรวมพิจารณาคดีเดียวกัน ซึ่งใช้เวลาพิจารณาพยานหลักฐานและสืบพยานบุคคล มานานร่วม 9 ปี โดยระหว่างการสืบพยานศาลจะพิจารณานัดดพร้อมเป็นระยะๆ เพื่อร่วมคู่ความกำหนดกรอบประเด็นสืบและระยะเวลาสืบพยานเนื่องจากทั้งโจทก์-จำเลย ต่างเสนอขอสืบพยานนับร้อยปาก โดยทำการสืบพยานต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มสืบพยานโจทก์ตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค.2555 และเริ่มสืบพยานจำเลยปี 2562 กระทั่งได้นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ (14 ส.ค.2562)