รีวิวซ่อมเครื่องอบผ้า whirlpool 3lwed5500yw อาการไฟไม่เข้า

       รีวิวนี้เหมาะสำหรับอ่านเพื่อความบันเทิง  ถ้าไม่มีความรู้ไม่แนะนำให้ทำตาม อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้...
วันนี้เรามาซ่อมเครื่องอบผ้ากัน นานๆถึงจะได้เจอที เป็นเครื่องที่ทำงาน ยี่ฮ้อ whirlpool รุ่น 3lwed5500yw  อาการคือ เสียบไฟแล้วทุกอย่างนิ่งสนิท  จากการตรวจเช็คเบื้องต้น สาเหตุมาจากหม้อแปลงสวิทซ์ชิ่งช็อตภายใน ไม่สามารถหาซื้อมาเปลี่ยนได้ จึงจำเป็นจะต้องแปลงอะไหล่อื่นใส่แทน ถ้าจะซื้อบอร์ดเปลี่ยนใหม่ก็หมื่นกว่าบาท  ภาพอาจจะไม่ละเอียดมากเนื่องจาก ซ่อมแล้วถึงจะถ่ายมาให้ดูครับ มาเริ่มกันเลย

    ขั้นตอนการตรวจเช็คและซ่อม
1. เปิดฝาหลังเครื่อง คล้ายๆเครื่องซักผ้า ตรวจเช็คสายไฟว่ามีหนูกัดสายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ตรวจเช็คบอร์ดควบคุมต่อไป


2.หลังจากตรวจเช็คแล้ว พบอุปกรณ์ที่เสียเป็นหม้อแปลงความถี่สูงช็อตภายในขดลวด ไม่สามารถนับรอบของขดลวดได้เพราะขาดช็อตติดกันหลายขดลวด ทำการสืบค้นตามเบอร์ที่ตัวของมันแล้ว  ต้องสั่งจากต่างประเทศ ติดต่อไปแล้วแต่ไม่มีการตอบรับ จึงไม่สามารถหาอะไหล่มาเปลี่ยนได้ จึงจำเป็นต้องหาอุปกรณ์อื่นที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงมาใส่แทน


3.หม้อแปลงความถี่ที่เสีย ไม่สามารถวัดแรงดันและจำนวนรอบขดลวดได้ จึงจำเป็นที่ต้องไล่วงจรว่า ขาไหนของหม้อแปลง จ่ายไฟไปไหนและรับไฟจากไหนมา จากการที่ได้ไล่วงจร ก็จะได้วงจรตามรูป เมื่อเราได้วงจรและรู้แล้วว่าหม้อแปลงจ่ายไฟขาไหนรับขาไหน จ่ายไฟเท่าไหร่ โดยการประมาณจากตัวเก็บประจุของวงจรนั้นๆ


4.ไฟชุดแรกที่เราคาดเดาไว้ มี2วงจร วงจรแรกมีตัวเก็บประจุค่า 6.3v นั้นก็หมายถึงว่าแรงดันของมันต้องไม่ถึง 3.6v หลังจากที่เราไล่วงจรไปถึง คาปาซิเตอร์ 6.3v เราก็ไล่วงจรไปต่ออีก เราก็เจอไอซีหนึ่งตัว เราเอาเบอร์ของมันไปหาดาต้าชีส เราก็จะได้vcc ที่เลี้ยงตัวมันคือ 2.7-5v  เราก็รู้ว่าวงจรนี้แรงดันไม่ควรเกิน 5v แต่ว่าหม้อแปลงเราต่ำสุดอยู่ที่ 6vac ถ้าผ่านวงจรเร็กติฟายแล้วต้องมากขึ้นไปอีก เราก็จำเป็นต้องมีวงจรลดแรงดัน นั้นคือ วงจรเร็คกูเรเตอร์ที่ใช้ไอซี 7805 เป็นตัวคุมไฟให้ได้ 5vdc แต่ว่า 5vdc  เราไม่รู้มันมากเกินไปอีกหรือเปล่า ก็เลยใช้วงจรไอซี lm317 เพื่อปรับแรงดันให้ได้ประมาณ 3vdc เพื่อให้เหมาะสมหรือแก้ไขได้ถ้ามากเกินไป


5.การแปลงแหล่งจ่ายไฟใช้กับอุปกรณ์ที่เราไม่รู้แน่ชัดว่าใช้แรงดันเท่าไหร่ จำเป็นต้องใช้แรงดันที่น้อยๆก่อน ถ้าเราใช้มากเกินไปอาจเกิดความเสียหายแก่วงจรนั้นๆ  วงจรที่2ของไฟชุดแรก เป็นวงจรที่มีคาปาซิเตอร์ 25v วงจรนี้เมื่อเราไล่วงจรต่อไปอีกเราจะเจอว่ามันเป็นไฟเลี้ยงรีเลย์12v ก็แสดงว่าต้องเป็นไฟ 12v ดังนั้นเราก็ใช้แรงดันไฟ 9vac เข้าวงจรเร็กติฟายก็จะได้ใกล้เคียง 12v


6.เมื่อไฟชุดแรกได้แล้วเราก็ไปต่อที่ ชุดที่2 ซึ่งมี คาปาซิเตอร์ 50v ควบคุมอยู่แต่เมื่อไล่วงจรไปอีกมีแต่ทรานซิสเตอร์ เราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าใช้ไฟเท่าไหร่ที่ถูกต้อง และเป็นวงจรที่ใช้ขั้วลบ คนละขั้วกับวงจรแรก ตัวหม้อแปลงที่เราซื้อมามี 12v กับ 18v เราก็ลองใช้ไฟที่12v ก่อนเพราะมีค่าน้อยกว่า


7.เมื่อเราได้ไฟออกจากหม้อแปลงครบหมดแล้ว ทีนี้ก็มาถึงไฟเข้าหม้อแปลง ซึ่งของเก่าเป็นวงจรสวิทซ์ชิ่งมีไอซีตัดต่อ และเป็นวงจรความถี่สูงไม่สามารถใช้กับหม้อแปลงที่เราซื้อมาได้ เราก็จำเป็นต้องบายพาสวงจรสวิทซ์ชิ่งนี้ไป นั้นคือไปเอาไฟต้นทางที่เป็น220v ไม่ผ่านc300


8. จากที่เราตรวจสอบในตอนแรกพบว่า R2 ซึ่งเป็นเหมือนอาร์ฟิวส์ของแรงดัน300ได้ขาดอยู่ ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องไฟ300เพราะไม่มีไป ทำการต่อไป 220v จากต้นทางเข้าหม้อแปลงได้เลย


9.หลังจากที่เราได้แปลงแรงดันเข้าตามจุดต่างๆแล้วก็ทำการทดสอบเครื่อง เครื่องสามารถทำงานได้ตามปกติทุกขั้นตอนจนจบก็หาที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆที่เราได้แปลงให้แน่น และ ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟอีกครั้งก่อนที่จะประกอบเครื่อง

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่