จากคดีดำ เลขที่ ผบ 1423/2562 ศาล จ. นครราชสีมา
ที่มาโดยสรุป
ผมตกลงซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย มอนเต้ 2 ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 2559 หลังจากที่ผ่อนดาวน์หมดเรียบร้อบ ต่อมาธนาคารแจ้งว่าไม่อนุมัติเงินกู้ให้ โดยมีเอกสารเป็นลายลักษ์อักษร จึงทำการติดต่อขอรับเงินดาวน์คืน แต่ทางโครงการมีหนังสือปฎิเสธโดยแจ้งว่าเป็นความผิดของลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านขอริบเงินทั้งหมด ยอดประมาณ 300,000กว่าบาท จึงต้องดำเนินคดีกันไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ผลการพิพากษาจะเป็นอย่างไรก็จะมานำเสนอให้ทราบเพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่มีปัญหาในลักษณะแบบนี้
ทั้งนี้ ในการซื้อคอนโด หรืออสังหาริมทรัพย์ ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า ท้ายสัญญานั้นต้องระบุข้อความถึงกรณีที่สถาบันการเงินไม่พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้อันเป็นการพ้นวิสัยที่จะทำธุรกรรมได้ต่อ โดยโครงการจะคืนเงิน อะไรบ้าง ยอดเท่าไหร่ และภายในกี่วันหลังจากที่ข้อตกลงสิ้นสุด ทำให้ชัดเพื่อแสดงเจตนาทั้งสองฝ่าย หากโครงการใดปฏิเสธไม่ทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะมีปัญหาภายหน้าแน่ อันเป็นการตัดข้อต่อสู้ในความขัดแย้งนี้ได้จะได้ไม่เสียเวลาอย่างที่ผมต้องเจอ
อย่าคิดว่าโครงการใหญ่ๆจะมีธรรมมาภิบาล ที่เขียนอย่างนี้เพราะแนวทางคำพิพากษาก็พอมีอยู่แล้วรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปบ้าง ธรรมเนียมทางธุรกิจก็มีอยู่แล้วว่าต้องปฎิบัติต่อกันอย่างไร
อย่าคิดว่าพนักงานขายบอกจะคืนก็จะได้คืน ตอนจะซื้อกับตอนจะเลิกสัญญาวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าคนละเรื่องเลยครับ ทำเป็นลายลักษ์อักษรดีที่สุด อย่าหลงเชื่อ อย่าเกรงใจ ใช้สิทธ์ของเราในทางที่ถูก (ผมแอบคิดว่า โครงการมากว่า 200 ห้อง ยึดเงินลูกค้าสัก 10% 20-30 ห้อง ได้เงิน 6-9 ล้านบาท นี่เป็นค่าบริหารโครงการสบายๆเลย ใครไม่เอาเรื่องก็โดนไป ใครเอาเรื่องก็ทำให้มันยุ่งยากเข้าไว้)
ยังดีที่คดีผู้บริโภคสมัยนี้ฟ้องร้องได้ที่ภูมิลำเนาของผู้ฟ้อง จึงสะดวกมากขึ้น เช่นกรณีนี้ไม่ต้องไปศาล กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ ซึ่งก็ยังยุ่งยากอยู่ที่เราจะต้องมาใช้เวลาในการดำเนินคดีกัน
ท้ายนี้ที่เขียนมาอยากให้ผู้บริโภคอย่างเรา ระวังในการทำสัญญาลักษณะดังกล่าว ข้อความท้ายสัญญาจะช่วยลดการพิพาทได้และถ้าท่านใดมีประสบการณ์จะแนะนำหรือแลกเปลี่ยนคงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้มาอ่านนี้บ้างไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
ชินพงศ์ ลาภจิตร 10 / 8 /2562
อุทาหรณ์ ซื้อคอนโดแบรนด์ดัง แต่ไม่รอบคอบในการทำสัญญา จึงเกิดข้อพิพาท
ที่มาโดยสรุป
ผมตกลงซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย มอนเต้ 2 ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 2559 หลังจากที่ผ่อนดาวน์หมดเรียบร้อบ ต่อมาธนาคารแจ้งว่าไม่อนุมัติเงินกู้ให้ โดยมีเอกสารเป็นลายลักษ์อักษร จึงทำการติดต่อขอรับเงินดาวน์คืน แต่ทางโครงการมีหนังสือปฎิเสธโดยแจ้งว่าเป็นความผิดของลูกค้าที่กู้ไม่ผ่านขอริบเงินทั้งหมด ยอดประมาณ 300,000กว่าบาท จึงต้องดำเนินคดีกันไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ผลการพิพากษาจะเป็นอย่างไรก็จะมานำเสนอให้ทราบเพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่มีปัญหาในลักษณะแบบนี้
ทั้งนี้ ในการซื้อคอนโด หรืออสังหาริมทรัพย์ ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า ท้ายสัญญานั้นต้องระบุข้อความถึงกรณีที่สถาบันการเงินไม่พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้อันเป็นการพ้นวิสัยที่จะทำธุรกรรมได้ต่อ โดยโครงการจะคืนเงิน อะไรบ้าง ยอดเท่าไหร่ และภายในกี่วันหลังจากที่ข้อตกลงสิ้นสุด ทำให้ชัดเพื่อแสดงเจตนาทั้งสองฝ่าย หากโครงการใดปฏิเสธไม่ทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะมีปัญหาภายหน้าแน่ อันเป็นการตัดข้อต่อสู้ในความขัดแย้งนี้ได้จะได้ไม่เสียเวลาอย่างที่ผมต้องเจอ
อย่าคิดว่าโครงการใหญ่ๆจะมีธรรมมาภิบาล ที่เขียนอย่างนี้เพราะแนวทางคำพิพากษาก็พอมีอยู่แล้วรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปบ้าง ธรรมเนียมทางธุรกิจก็มีอยู่แล้วว่าต้องปฎิบัติต่อกันอย่างไร
อย่าคิดว่าพนักงานขายบอกจะคืนก็จะได้คืน ตอนจะซื้อกับตอนจะเลิกสัญญาวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าคนละเรื่องเลยครับ ทำเป็นลายลักษ์อักษรดีที่สุด อย่าหลงเชื่อ อย่าเกรงใจ ใช้สิทธ์ของเราในทางที่ถูก (ผมแอบคิดว่า โครงการมากว่า 200 ห้อง ยึดเงินลูกค้าสัก 10% 20-30 ห้อง ได้เงิน 6-9 ล้านบาท นี่เป็นค่าบริหารโครงการสบายๆเลย ใครไม่เอาเรื่องก็โดนไป ใครเอาเรื่องก็ทำให้มันยุ่งยากเข้าไว้)
ยังดีที่คดีผู้บริโภคสมัยนี้ฟ้องร้องได้ที่ภูมิลำเนาของผู้ฟ้อง จึงสะดวกมากขึ้น เช่นกรณีนี้ไม่ต้องไปศาล กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ ซึ่งก็ยังยุ่งยากอยู่ที่เราจะต้องมาใช้เวลาในการดำเนินคดีกัน
ท้ายนี้ที่เขียนมาอยากให้ผู้บริโภคอย่างเรา ระวังในการทำสัญญาลักษณะดังกล่าว ข้อความท้ายสัญญาจะช่วยลดการพิพาทได้และถ้าท่านใดมีประสบการณ์จะแนะนำหรือแลกเปลี่ยนคงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้มาอ่านนี้บ้างไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
ชินพงศ์ ลาภจิตร 10 / 8 /2562