คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ก่อนการบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมืองในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ขุน ถือเป็นบรรดาศักดิ์สำหรับเจ้าเมืองหรือขุนนางระดับสูงครับ
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๘๘๔) กล่าวถึง "ขุนกระเสตราธิบดี" คือตำแหน่งเสนาบดีกรมนา
- พระไอยการตระลาการ (พ.ศ. ๑๙๐๐) กล่าวถึง "ขุนกาล"
- พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "ขุนพคลัง"
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๖) กล่าวถึง "ขุนธรนีบาล" "ขุนพิไชยสงคราม"
- จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๑๗) กล่าวถึง "ขุนศรีรดดนากอร" (ขุนศรีรัตนากร) ตอนหนึ่งเรียกว่า "พขุน" (พ่อขุน)
- ศิลาจารึกหลังพระพุทธรูปปางลีลา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จันทรเกษม (พ.ศ. ๑๙๑๘) กล่าวถึง "ขุนสรมุทเปรชญา"
- จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท (พ.ศ. ๑๙๕๑) กล่าวถึง "ขุนเพชฺญสาร" เจ้าเมืองกรุงไชยสถาน (ชัยนาท)
- จารึกขุนศรีไชยมงคลราชเทพ (พ.ศ. ๑๙๗๔) กล่าวถึง "ขุนศรีไชราชมงคลเทพเอกมนตรีพีเสส" แม่ทัพผู้ยกไปตีพระนครศรียโสธรปุระ และยังมีรายชื่อแม่ทัพนายกองคนอื่นคือ ขุนมโนรมย์ ขุนกำแหงพระ... ขุนกำแหงพระพุธ ขุนรา(ช)กำแหงไทนอา ขุนกำ(แหง)
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๑ (พ.ศ. ๒๐๐๕) กล่าวถึง "ขุนศฺรีสุทรฺศฺศนราชาธิราช" เจ้าเมืองตะนาวศรีในเวลานั้น
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๒ (พ.ศ. ๒๐๐๖) กล่าวถึง "ขุนศรีอัครราช"
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา เหตุการณ์ตอนรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีกล่าวถึง "ขุนตำรวจ" "ขุนสุวรรณพินิจจัย" สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชกล่าวถึง "ขุนสามแก้ว" เจ้าเมืองพิษณุโลก (สองแคว)
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง ขุนไสทรงพระอินทร์ ขุนราชอาษา ขุนนครไชย ขุนศรีบาท ขุนปราบทวีป ขุนศรีพิไชยสงคราม ขุนรามกำแหง ขุนกำแหงพระอินทร์ ขุนเพชญราช ขุนไสย ขุนราชศักดิ์ ขุนมณเฑียรบาล ขุนอินทมนตรี ขุนไกรพลแสน ขุนกำแหงเพชร ขุนศรีมงคลรัตน์ ขุนไกรนารายณ์ ขุนศรีบาท ขุนเทพราชเจ้าเมืองสลาย ขุนเทพสงครามเจ้าเมืองจันทบูร ฯลฯ
ขุนนางระดับรองลงมา มีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้า นาย หมื่น พัน จ่า พบในจารึกและในหลักฐานจีนจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดิ์ ญี่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสูงกว่า นาย เพราะมักลำดับไว้ก่อน นาย ต่ำลงไปก็มีตำแหน่ง หัวพัน หัวปาก
- พระไอยการตระลาการ (พ.ศ. ๑๙๐๐) กล่าวถึง นายมหาดไทย นายพะทำมะรง หมื่นโชต
- พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง นายท้าวราชบันทิตย์
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๖) กล่าวถึง พันพาน จ่าญด
- ศิลาจารึกหลังพระพุทธรูปปางลีลา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จันทรเกษม (พ.ศ. ๑๙๑๘) กล่าวถึง "เจ้าญอดสรมุทร" บุตรชายขุนสรมุทเปรชญา
- จารึกขุนศรีไชยมงคลราชเทพ (พ.ศ. ๑๙๗๔) กล่าวถึง เจ้านครไชย เจ้าหาว เจ้าสามชื่น เจ้าเพชดา นายมโนไมย
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง หมื่นสมรรไชย พันหงษ นายคำพระทาน นายงัวศรี นายศรีวิไชย นายศรีเทพสุข นายเจ็ดหัวเรือ นายวังพยาบาล ญี่จักร ญี่ฤๅตาลศรี ญี่ขรร ฯลฯ
"เจ้า" ใช้กับเจ้านายด้วย เพราะในหมิงสือลู่ (明實錄) หรือจดหมายเหตุเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงเรียกสมเด็จพระนครอินทร์เมื่อยังไม่ได้ครองราชย์ว่า "เจ้านครอินทร์" (昭祿群膺 เจาลู่ฉวินอิง/เจี่ยวหลกควานอิน) เมื่อครองราชย์แล้วปรากฏพระนามว่า (昭祿群膺哆囉諦剌) ตามพงศาวดารทรงมีโอรสสามองค์คือ เจ้าอ้ายพญา เจ้ายี่พญา เจ้าสามพญา
พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง "เจ้าราชศรียศ" บุตรพรญาเชลียงแห่งเมืองสวรรคโลก เรียกโอรสอดีตกษัตริย์กรุงยโสธรปุระว่า "เจ้าอยาด"
บรรดาศักดิ์ หลวง ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา แต่พบเพียงครั้งเดียว สันนิษฐานว่าในยุคนั้นยังเป็นตำแหน่งระดับสูงและไม่ได้ตั้งบ่อยนัก
นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดิ์ เจ้าขุนหลวง และ ขุนหลวง ซึ่งสูงกว่าขุน ปรากฏในพระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "เจ้าขุนหลวงสพฤๅนครบาล" พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "ขุนหลวงพระไกรศรี" (ตำแหน่งเจ้ากรมแพ่งกลาง)
สันนิษฐานว่าเดิม เจ้าขุนหลวง คงเป็นยศเจ้านาย เพราะในหลักฐานดัตช์สมัยพระเจ้าปราสาททอง ออกพระนามเดิมสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งสุพรรณภูมิว่า "เจ้าขุนหลวงพ่องั่ว" (Tjaeu Couloangh Phongh Wo-Ae พงศาวดารสมัยหลังตัดเหลือแค่ ขุนหลวงพ่องั่ว) พบว่าในพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา (พ.ศ. ๒๑๕๓) สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมยังใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของสมุหนายกและสมุหพระกลาโหม
ฝ่ายใน พบตำแหน่ง แม่นาง หรือ แม่นางเมือง เช่น
- จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท (พ.ศ. ๑๙๕๑) กล่าวถึง แม่นางสร้อยทอง แม่นางศรีมูล แม่นางพัว
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก กล่าวถึง แม่นางษาขาพระราชมารดาของนางพญา (มเหสี) ของเจ้าสามพระญา แม่นางเทพธรณี แม่นางคงคา แม่นางพระ แม่นางใส แม่นางบุตรี แม่นางสน แม่นางอัครราช แม่นางคงราช แม่นางกองแพงบุตรีขุนเทพสงครามเจ้าเมืองจันทบูร
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๓ (พ.ศ. ๒๐๐๘) กล่าวถึงตั้ง แม่นางอคฺรราช (แม่นางอัครราช) เป็น แม่นางเมิองศฺรีอคฺรราชเทวี (แม่นางเมืองศรีอัครราชเทวี) สันนิษฐานว่าเป็นภรรยาของขุนศรีอัครราชในจารึกลานทองตะนาวศรี ๒
มียศ เจ้าแม่ท้าว คือ "เจ้าแม่ท้าวอินทรบุตรี" นางพญา (มเหสี) ของเจ้าพรญาแพรกโอรสเจ้าสามพระญาผู้ครองกรุงยโสธรปุระ
คำว่า พระยา พรญา พระญา พรญา พญา ในสมัยโบราณเป็นคำเดียวกัน (ตามจารึกส่วนมากมักสะกด พรญา) ใช้กับกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองเมือง บางครั้งอาจมีคำนำหน้าเพิ่มเติม เรียกว่า เจ้าพรญา สมเด็จพรญา สมเด็จเจ้าพรญา สมเด็จพ่อพรญา หรือเรียกว่า ออกญา เป็นต้น ใช้สลับกันไปมาได้
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา ตอนเหตุการณ์สมเด็จพระบรมราชาธิราช กล่าวถึง "พญาใสแก้ว" และ "พญาคำแหง" เจ้าเมืองชากังราว
- หมิงสือลู่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ว่า ชานเลี่ยเป่าผีหยาซือหลี่ตัวหลัวลู่ (參烈寶毘牙思哩哆囉祿) สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก “สมเด็จพ่อพระญาศรีอินทรราช” หรือ “สมเด็จพ่อพระญาศรีนทรราช” แต่เรียกสมเด็จพระราเมศวรว่า “ชานเลี่ยเจาผีหยา (參烈昭毘牙)” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “สมเด็จเจ้าพระญา”
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาออกพระนามกษัตริย์องค์หนึ่งว่า "สมเด็จพรญาราม"
- จารึกลานทอง วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ. ๑๙๖๒) กล่าวถึง "สํเดจพพรญาผูทรงนามชีเพา" (สมเด็จพ่อพรญาผู้ทรงนามชื่อเพา) พระเจ้าเพชรปุระ กษัตริย์เมืองเพชรบูรณ์
- จารึกสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลี (พ.ศ. ๑๙๖๓) กล่าวถึง "สเดจพพฺระญาสอย" (เสด็จพ่อพระญาสอย) กษัตริย์เมืองกำแพงเพชร แต่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกเรียกว่า "พรญาแสนสอยดาว"
- จารึกวัดสรศักดิ์ สมัยเจ้าสามพญา กล่าวถึง “ออกยาธรรัมราชา” พ่ออยู่หัวเจ้าแห่งเมืองสุโขทัย แต่จารึกวัดบูรพารามและจารึกวัดอโสการามของราชสำนักสุโขทัยเรียกกษัตริย์สุโขทัยองค์นี้ว่า “สํเดจมหาธรรมราชาธิราช”
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก กล่าวถึงกษัตริย์หัวเมืองเหนือ ๔ องค์ที่อยู่ใต้ออำนาจกรุงศรีอยุทธยา คือ พรญาบาลเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลก พรญารามราชเจ้าเมืองสุโขทัย พรญาเชลียงเจ้าเมืองสวรรคโลก พรญาแสนสอยดาวเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมายกพรญาบาลเมืองขึ้นเป็น "มหาธรรมราชา" พงศาวดารมักออกนามสั้นๆ ว่า “พญาธรรมราชา”
เรียกกษัตริย์ต่างเมืองว่า "พรญา" เช่น พรญาแก่นท้าว กษัตริย์เมืองน่าน บางครั้งก็เรียก พรญาน่าน นอกจากนี้ยังมี "พรญาราม" และ "พรญาพโร" กษัตริย์เมืองหงสาวดี
เรียกโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชซึ่งทรงครองกรุงยโสธรปุระว่า “เจ้าพรญาพรณครอินทร” (เจ้าพญาพระนครอินทร์ บางครั้งก็เรียกสมเด็จพระนครอินทร์) อีกพระองค์คือ “เจ้าพรญาแพรก"
"พรญา" ยังใช้กับเสนาบดีคนสำคัญด้วย เช่น "พรญาเทพมงคล" ซึ่งพงศาวดารกล่าวว่าเป็น "พฤฒามาตย์" สันนิษฐานว่าหมายถึงขุนนางอาวุโสที่มีศักดิ์เสมออัครมหาเสนาบดี
ยกตัวอย่าง "เจ้าอยาด" โอรสพระรามาธิบดีคำขัด อดีตกษัตริยกรุงยโสธรปุระ เมื่อก่อกบฏต่อกรุงศรีอยุทธยา ได้อภิเษกเป็นกษัตริย์ พงศาวดารเรียกว่า "เจ้าพรญาอยาด" บ้าง "พรญาอยาด" บ้าง
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๘๘๔) กล่าวถึง "ขุนกระเสตราธิบดี" คือตำแหน่งเสนาบดีกรมนา
- พระไอยการตระลาการ (พ.ศ. ๑๙๐๐) กล่าวถึง "ขุนกาล"
- พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "ขุนพคลัง"
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๖) กล่าวถึง "ขุนธรนีบาล" "ขุนพิไชยสงคราม"
- จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๑๗) กล่าวถึง "ขุนศรีรดดนากอร" (ขุนศรีรัตนากร) ตอนหนึ่งเรียกว่า "พขุน" (พ่อขุน)
- ศิลาจารึกหลังพระพุทธรูปปางลีลา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จันทรเกษม (พ.ศ. ๑๙๑๘) กล่าวถึง "ขุนสรมุทเปรชญา"
- จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท (พ.ศ. ๑๙๕๑) กล่าวถึง "ขุนเพชฺญสาร" เจ้าเมืองกรุงไชยสถาน (ชัยนาท)
- จารึกขุนศรีไชยมงคลราชเทพ (พ.ศ. ๑๙๗๔) กล่าวถึง "ขุนศรีไชราชมงคลเทพเอกมนตรีพีเสส" แม่ทัพผู้ยกไปตีพระนครศรียโสธรปุระ และยังมีรายชื่อแม่ทัพนายกองคนอื่นคือ ขุนมโนรมย์ ขุนกำแหงพระ... ขุนกำแหงพระพุธ ขุนรา(ช)กำแหงไทนอา ขุนกำ(แหง)
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๑ (พ.ศ. ๒๐๐๕) กล่าวถึง "ขุนศฺรีสุทรฺศฺศนราชาธิราช" เจ้าเมืองตะนาวศรีในเวลานั้น
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๒ (พ.ศ. ๒๐๐๖) กล่าวถึง "ขุนศรีอัครราช"
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา เหตุการณ์ตอนรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีกล่าวถึง "ขุนตำรวจ" "ขุนสุวรรณพินิจจัย" สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชกล่าวถึง "ขุนสามแก้ว" เจ้าเมืองพิษณุโลก (สองแคว)
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง ขุนไสทรงพระอินทร์ ขุนราชอาษา ขุนนครไชย ขุนศรีบาท ขุนปราบทวีป ขุนศรีพิไชยสงคราม ขุนรามกำแหง ขุนกำแหงพระอินทร์ ขุนเพชญราช ขุนไสย ขุนราชศักดิ์ ขุนมณเฑียรบาล ขุนอินทมนตรี ขุนไกรพลแสน ขุนกำแหงเพชร ขุนศรีมงคลรัตน์ ขุนไกรนารายณ์ ขุนศรีบาท ขุนเทพราชเจ้าเมืองสลาย ขุนเทพสงครามเจ้าเมืองจันทบูร ฯลฯ
ขุนนางระดับรองลงมา มีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้า นาย หมื่น พัน จ่า พบในจารึกและในหลักฐานจีนจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดิ์ ญี่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสูงกว่า นาย เพราะมักลำดับไว้ก่อน นาย ต่ำลงไปก็มีตำแหน่ง หัวพัน หัวปาก
- พระไอยการตระลาการ (พ.ศ. ๑๙๐๐) กล่าวถึง นายมหาดไทย นายพะทำมะรง หมื่นโชต
- พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง นายท้าวราชบันทิตย์
- พระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๖) กล่าวถึง พันพาน จ่าญด
- ศิลาจารึกหลังพระพุทธรูปปางลีลา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จันทรเกษม (พ.ศ. ๑๙๑๘) กล่าวถึง "เจ้าญอดสรมุทร" บุตรชายขุนสรมุทเปรชญา
- จารึกขุนศรีไชยมงคลราชเทพ (พ.ศ. ๑๙๗๔) กล่าวถึง เจ้านครไชย เจ้าหาว เจ้าสามชื่น เจ้าเพชดา นายมโนไมย
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง หมื่นสมรรไชย พันหงษ นายคำพระทาน นายงัวศรี นายศรีวิไชย นายศรีเทพสุข นายเจ็ดหัวเรือ นายวังพยาบาล ญี่จักร ญี่ฤๅตาลศรี ญี่ขรร ฯลฯ
"เจ้า" ใช้กับเจ้านายด้วย เพราะในหมิงสือลู่ (明實錄) หรือจดหมายเหตุเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงเรียกสมเด็จพระนครอินทร์เมื่อยังไม่ได้ครองราชย์ว่า "เจ้านครอินทร์" (昭祿群膺 เจาลู่ฉวินอิง/เจี่ยวหลกควานอิน) เมื่อครองราชย์แล้วปรากฏพระนามว่า (昭祿群膺哆囉諦剌) ตามพงศาวดารทรงมีโอรสสามองค์คือ เจ้าอ้ายพญา เจ้ายี่พญา เจ้าสามพญา
พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา กล่าวถึง "เจ้าราชศรียศ" บุตรพรญาเชลียงแห่งเมืองสวรรคโลก เรียกโอรสอดีตกษัตริย์กรุงยโสธรปุระว่า "เจ้าอยาด"
บรรดาศักดิ์ หลวง ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เหตุการณ์สมัยเจ้าสามพระญา แต่พบเพียงครั้งเดียว สันนิษฐานว่าในยุคนั้นยังเป็นตำแหน่งระดับสูงและไม่ได้ตั้งบ่อยนัก
นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดิ์ เจ้าขุนหลวง และ ขุนหลวง ซึ่งสูงกว่าขุน ปรากฏในพระอายการเบดเสรจ (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "เจ้าขุนหลวงสพฤๅนครบาล" พระไอยการลักขณโจร (พ.ศ. ๑๙๐๓) กล่าวถึง "ขุนหลวงพระไกรศรี" (ตำแหน่งเจ้ากรมแพ่งกลาง)
สันนิษฐานว่าเดิม เจ้าขุนหลวง คงเป็นยศเจ้านาย เพราะในหลักฐานดัตช์สมัยพระเจ้าปราสาททอง ออกพระนามเดิมสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งสุพรรณภูมิว่า "เจ้าขุนหลวงพ่องั่ว" (Tjaeu Couloangh Phongh Wo-Ae พงศาวดารสมัยหลังตัดเหลือแค่ ขุนหลวงพ่องั่ว) พบว่าในพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา (พ.ศ. ๒๑๕๓) สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมยังใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของสมุหนายกและสมุหพระกลาโหม
ฝ่ายใน พบตำแหน่ง แม่นาง หรือ แม่นางเมือง เช่น
- จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท (พ.ศ. ๑๙๕๑) กล่าวถึง แม่นางสร้อยทอง แม่นางศรีมูล แม่นางพัว
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก กล่าวถึง แม่นางษาขาพระราชมารดาของนางพญา (มเหสี) ของเจ้าสามพระญา แม่นางเทพธรณี แม่นางคงคา แม่นางพระ แม่นางใส แม่นางบุตรี แม่นางสน แม่นางอัครราช แม่นางคงราช แม่นางกองแพงบุตรีขุนเทพสงครามเจ้าเมืองจันทบูร
- จารึกลานทองตะนาวศรี ๓ (พ.ศ. ๒๐๐๘) กล่าวถึงตั้ง แม่นางอคฺรราช (แม่นางอัครราช) เป็น แม่นางเมิองศฺรีอคฺรราชเทวี (แม่นางเมืองศรีอัครราชเทวี) สันนิษฐานว่าเป็นภรรยาของขุนศรีอัครราชในจารึกลานทองตะนาวศรี ๒
มียศ เจ้าแม่ท้าว คือ "เจ้าแม่ท้าวอินทรบุตรี" นางพญา (มเหสี) ของเจ้าพรญาแพรกโอรสเจ้าสามพระญาผู้ครองกรุงยโสธรปุระ
คำว่า พระยา พรญา พระญา พรญา พญา ในสมัยโบราณเป็นคำเดียวกัน (ตามจารึกส่วนมากมักสะกด พรญา) ใช้กับกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองเมือง บางครั้งอาจมีคำนำหน้าเพิ่มเติม เรียกว่า เจ้าพรญา สมเด็จพรญา สมเด็จเจ้าพรญา สมเด็จพ่อพรญา หรือเรียกว่า ออกญา เป็นต้น ใช้สลับกันไปมาได้
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา ตอนเหตุการณ์สมเด็จพระบรมราชาธิราช กล่าวถึง "พญาใสแก้ว" และ "พญาคำแหง" เจ้าเมืองชากังราว
- หมิงสือลู่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ว่า ชานเลี่ยเป่าผีหยาซือหลี่ตัวหลัวลู่ (參烈寶毘牙思哩哆囉祿) สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก “สมเด็จพ่อพระญาศรีอินทรราช” หรือ “สมเด็จพ่อพระญาศรีนทรราช” แต่เรียกสมเด็จพระราเมศวรว่า “ชานเลี่ยเจาผีหยา (參烈昭毘牙)” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “สมเด็จเจ้าพระญา”
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาออกพระนามกษัตริย์องค์หนึ่งว่า "สมเด็จพรญาราม"
- จารึกลานทอง วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ. ๑๙๖๒) กล่าวถึง "สํเดจพพรญาผูทรงนามชีเพา" (สมเด็จพ่อพรญาผู้ทรงนามชื่อเพา) พระเจ้าเพชรปุระ กษัตริย์เมืองเพชรบูรณ์
- จารึกสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลี (พ.ศ. ๑๙๖๓) กล่าวถึง "สเดจพพฺระญาสอย" (เสด็จพ่อพระญาสอย) กษัตริย์เมืองกำแพงเพชร แต่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกเรียกว่า "พรญาแสนสอยดาว"
- จารึกวัดสรศักดิ์ สมัยเจ้าสามพญา กล่าวถึง “ออกยาธรรัมราชา” พ่ออยู่หัวเจ้าแห่งเมืองสุโขทัย แต่จารึกวัดบูรพารามและจารึกวัดอโสการามของราชสำนักสุโขทัยเรียกกษัตริย์สุโขทัยองค์นี้ว่า “สํเดจมหาธรรมราชาธิราช”
- พงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก กล่าวถึงกษัตริย์หัวเมืองเหนือ ๔ องค์ที่อยู่ใต้ออำนาจกรุงศรีอยุทธยา คือ พรญาบาลเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลก พรญารามราชเจ้าเมืองสุโขทัย พรญาเชลียงเจ้าเมืองสวรรคโลก พรญาแสนสอยดาวเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมายกพรญาบาลเมืองขึ้นเป็น "มหาธรรมราชา" พงศาวดารมักออกนามสั้นๆ ว่า “พญาธรรมราชา”
เรียกกษัตริย์ต่างเมืองว่า "พรญา" เช่น พรญาแก่นท้าว กษัตริย์เมืองน่าน บางครั้งก็เรียก พรญาน่าน นอกจากนี้ยังมี "พรญาราม" และ "พรญาพโร" กษัตริย์เมืองหงสาวดี
เรียกโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชซึ่งทรงครองกรุงยโสธรปุระว่า “เจ้าพรญาพรณครอินทร” (เจ้าพญาพระนครอินทร์ บางครั้งก็เรียกสมเด็จพระนครอินทร์) อีกพระองค์คือ “เจ้าพรญาแพรก"
"พรญา" ยังใช้กับเสนาบดีคนสำคัญด้วย เช่น "พรญาเทพมงคล" ซึ่งพงศาวดารกล่าวว่าเป็น "พฤฒามาตย์" สันนิษฐานว่าหมายถึงขุนนางอาวุโสที่มีศักดิ์เสมออัครมหาเสนาบดี
ยกตัวอย่าง "เจ้าอยาด" โอรสพระรามาธิบดีคำขัด อดีตกษัตริยกรุงยโสธรปุระ เมื่อก่อกบฏต่อกรุงศรีอยุทธยา ได้อภิเษกเป็นกษัตริย์ พงศาวดารเรียกว่า "เจ้าพรญาอยาด" บ้าง "พรญาอยาด" บ้าง
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่าสมัยอยุธยาตอนต้นมีการใช้ตำแหน่งหมื่น ขุน หลวง พระหรือยังคะ