ผิดต่างกรรมต่างวาระ ใช้ได้กับอะไรบ้าง

คือมีคนรู้จักได้รับใบสั่งวิ่งเร็วเกินที่กฎหมายกำหนดจำนวน 8 ใบ ที่มอเตอร์เวย์ ณ.จุดเกิดเหตุเดียวกันแต่คนละวัน แต่ส่งมาถึงบ้านในเวลาเดียวกัน (ปัญหาไปรษีย์ หรือ อย่างไร ไม่แน่ใจ)

คุยกับผู้รู้กฎหมาย ท่านบอกว่ามันต่างกรรมต่างวาระ ต้องเสียค่าปรับทั้ง 8 ครั้ง

คราวนี้ถ้าเราเปรียบเทียบว่า มีคนสองคนทะเลาะกัน คือ นาย A และ นาย B ถ้านาย A ทำร้ายนาย B บาดเจ็บสาหัสโดยการใช้ไม้จิ้มฟันทิ้ม นาย B เป็นจำนวน 8 ครั้ง (ไม่อยากให้นึกภาพโหด เอาแบบน่ารักไปก่อนนะ) กรณีนี้ ศาลจะนับครั้งไหมครับว่า นาย A มีความผิดเท่ากับ แทง 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 คราว (โทษ x 8) ส่วนตัวผมไม่เห็นว่ามีการตัดสินแบบนี้เลย แต่ไหนเมื่อ การแทงแต่ละครั้ง ก็คนละเวลา (แตกต่างกันหน่วยเป็น วินาทีหรือนาที) มันมีเกณฑ์ไหมครับว่าต้องห่างกันนานเท่าไหร่ อย่างไร และเปรียบเทียบกับ ใบสั่งรถที่ได้ 8 ใบ มันแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ต่างกรรม ต่างวาระ ความหมายในตัว

ต่างกรรม คือคนละกรรม

ต่างวาระ คือคนละช่วงเวลา หรือคนละผู้ถูกกระทำ


คำว่า กรรม ในทางกฎหมาย คือ การกระทำ

ต่างกรรม คือคนละการกระทำกัน

แต่ในหลักกฎหมาย ต้องเอาเรื่องเจตนามาประกอบด้วย


อย่างกรณีที่ยกมา A แทง B 8 ครั้ง
มันจะแยกเป็น 8 กรรม หรือรวบเป็น 1 กรรม ก็ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย

เวลาเค้านับกรรม เค้ามีหลักว่า เริ่มนับตั้งแต่ลงมือกระทำจนความผิดสำเร็จ

ถ้าแทงกัน 8 ครั้ง แต่เป็นการแทงแบบพวกซาดิษ ทรมาณเหยื่อ คือค่อยๆแทง ให้ซิบซาบความเจ็บทีละครั้งๆ ทีละครั้ง ไอ้แบบนี้จะออกมาเป็น 8 กรรม
เพราะมีเจตนากระทำให้เหยื่อเกิดความเจ็บปวด แทงไป 1 ครั้งก็ความผิดสำเร็จ ดังนั้น 8 ครั้งมันเลย 8 กรรม


แต่ถ้าแทงกัน 8 ครั้ง หวังเพื่อจะทำร้ายให้สาหัส หรือถึงขั้นตาย อันนี้ก็จะนับเป็น 1 กรรม เพราะแทง 1 ครั้ง มันก็ยังไม่สาหัสหรือจะทำให้ตายได้ มันอาจจะต้องรวมๆกัน 8 ครั้ง ถึงจะได้ตามเจตนาที่จะทำให้สาหัสหรือตาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่