สวัสดีค่ะนี่เป็นกระทู้แรกที่เราอยากจะเล่าระบบการเรียนของโรงเรียนที่ลูกสาวเรียนอยู่ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย หลังจากได้อ่านบทความและพูดคุยกับเพื่อนๆที่มีลูกในวัยเรียนเหมือนกันแต่อยู่ที่เมืองไทย ทำให้เกิดคำถามว่ามีใครเคยวัดระดับความสุขในการเรียนของเด็กๆเหมือนกับการแข่งกันวัดผลการเรียนโดยใช้เกณฑ์การตัดสินเด็กด้วยมาตรฐานเดียวกัน เพราะเท่าที่รู้เด็กไทยเรียนหนักมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่ระดับอนุบาลเลยก็ว่าได้
บางครั้งการที่เราอยากจะพัฒนาเด็กกลับไม่ได้ดูที่ตัวเด็กแต่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาข้อสอบและเกณฑ์การวัดต่างๆโดยลืมนึกไปว่า พื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
เมื่อเช้าเราได้มีนัดพูดคุยกับคุณครูประจำชั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 Way Interviews ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น โดยผู้ปกครอง นักเรียนและคุณครู มานั่งคุยกัน คุณครูจะถามเด็กว่า...
ชอบและสนใจเรียนอะไร
กิจกรรมที่เด็กชื่นชอบและสนใจ
ตั้งเป้าหมายในหนึ่งปีว่าจะทำให้สำเร็จ
ความใฝ่ฝันของเด็ก
ย้อนไปเมื่อตอนที่ลูกสาวอยู่ ป.1 เทอม 1 เราก็ได้มานั่งคุยกันแบบนี้ และลูกเราก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเมื่อครบสิ้นปีเค้าอยากจะทำอะไรให้สำเร็จบ้าง
เป้าหมายแรกเค้าอยากจะอ่านหนังสือในระดับความยากที่ 20 ซึ่งเป็นระดับยากที่สุด ซึ่งตอนนั้นลูกสาวอ่านได้ในระดับที่ 15 ในแต่ละอาทิตย์ลูกจะได้หนังสือมาอ่านที่บ้าน 4-5 เล่ม โดยคุณครูจะไม่บังคับว่าต้องอ่านกี่เล่มหรือเอาไปแล้วจะอ่านหมดหรือไม่
เป้าหมายที่ 2 ลูกสาวอยากจะสะสมสมุดสติ๊กเกอร์ให้ครบ 2 เล่ม เด็กๆที่นี่จะตื่นเต้นกับการได้สติ๊กเกอร์มาก โดยเวลาที่เค้าทำอะไรดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน กิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ด้านคุณธรรม คุณครูก็จะให้สติ๊กเกอร์กับเด็กๆ ประมาณว่าเป็นสมุดสะสมความดีในทุกๆด้าน ซึ่งคุณครูคนไหนก็สามารถให้เด็กได้หากเห็นว่าเหมาะสม
เป้าหมายสุดท้ายคือ การระบายสีให้อยู่ในเส้นและมีความปราณีตมากขึ้น
ตอนนี้ลูกอยู่ชั้น ป.1 เทอม 3 ทางโรงเรียนก็จัดให้มีการพูดคุยเหมือตอนเทอม 1 อีกครั้ง โดยคุณครูจะบอกว่าเด็กได้เข้าใกล้หรือประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้มากน้อยแค่ไหน สำหรับลูกเราเค้าทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด คราวนี้เลยต้องมาตั้งเป้าหมายกันใหม่
คุณครูประจำชั้นจะเป็นผู้รู้ระดับความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ดีที่สุด เมื่อมาถึงหัวข้อ 3Gaols คุณครูจะให้เด็กคิดว่าอยากจะพัฒนาตนเองด้านไหนและจะต้องอธิบายได้ว่าเป้าหมายนั้นจะช่วยพัฒนาการเรียนได้อย่างไรบ้าง
อย่างเป้าหมายแรกที่ลูกเราอยากพัฒนาคือ การคิดประโยคที่จะอธิบายเรื่องราวที่อ่านซึ่งจะช่วยให้เค้าเข้าใจหนังสือเล่มนั้นได้ดีขึ้น
เป้าหมายที่ 2 คือ หัดเรียนรู้เลข 4 หลัก เพราะจะช่วยให้เค้าบวกและลบเลขได้ด้วยตนเอง ซึ่งตอนนี้ในห้องกำลังเรียนเลข 2 หลักอยู่ แต่มันง่ายเกินไปสำหรับลูกเราคุณครูเลยแนะนำให้ลูกลองทำในระดับที่ยากขึ้นซึ่งลูกเราก็ชอบทำอะไรที่ท้าทายอยู่แล้ว
เป้าหมายสุดท้ายเค้าอยากจะพัฒนาด้านการเขียน ลูกเราอยากแก้ไขงานเขียนให้อ่านแล้วดูสมเหตุสมผลและเข้าใจได้
ด้วยความเป็นแม่เราดีใจนะที่เห็นลูกมีความสุขกับการไปโรงเรียน มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ ลูกเรายังคงได้ใช้ชีวิตในแบบเด็กๆ
โดยส่วนตัวเราว่าแนวทางการเรียนการสอนแบบนี้มันดีกับตัวเด็กเอง ดีตรงที่เค้าไม่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดตั้งแต่เด็ก มันจะมีประโยชน์อะไรหากลูกเราเรียนเก่งได้เกรด A แต่ในทางกลับกันเค้าได้สูญเสียชีวิตวัยเด็กที่เค้าเองก็ควรได้ใช้มัน
จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราให้เด็กเริ่มต้นชีวิตการเรียนด้วยการให้เค้ารู้จักตัวเอง รู้ว่าตนเองชอบและสนใจอะไรแล้วพัฒนาสิ่งนั้น ใสส่วนของวิชาไหนที่เด็กไม่ถนัดก็ให้เวลาเค้าค่อยๆเรียนรู้โดยไม่กดดัน
ควาเครียดและความกดดัน...ให้เค้าได้เรียนรู้เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมจะดีกว่า
ปล่อยให้เด็กได้ใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยควมสดใส ร่าเริง สนุกสนานสมวัยของพวกเค้าเถิด
เปลี่ยนจากทำให้เด็กตัวเล็กๆรู้สึกว่าล้มเหลวให้รู้สึกภูมิใจในความสำเร็จของตนเองดีกว่าไหม
การวัดความสำเร็จในการเรียนจากการตั้งเป้าหมายด้วยตัวเด็กเอง
บางครั้งการที่เราอยากจะพัฒนาเด็กกลับไม่ได้ดูที่ตัวเด็กแต่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาข้อสอบและเกณฑ์การวัดต่างๆโดยลืมนึกไปว่า พื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
เมื่อเช้าเราได้มีนัดพูดคุยกับคุณครูประจำชั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 Way Interviews ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น โดยผู้ปกครอง นักเรียนและคุณครู มานั่งคุยกัน คุณครูจะถามเด็กว่า...
ชอบและสนใจเรียนอะไร
กิจกรรมที่เด็กชื่นชอบและสนใจ
ตั้งเป้าหมายในหนึ่งปีว่าจะทำให้สำเร็จ
ความใฝ่ฝันของเด็ก
ย้อนไปเมื่อตอนที่ลูกสาวอยู่ ป.1 เทอม 1 เราก็ได้มานั่งคุยกันแบบนี้ และลูกเราก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเมื่อครบสิ้นปีเค้าอยากจะทำอะไรให้สำเร็จบ้าง
เป้าหมายแรกเค้าอยากจะอ่านหนังสือในระดับความยากที่ 20 ซึ่งเป็นระดับยากที่สุด ซึ่งตอนนั้นลูกสาวอ่านได้ในระดับที่ 15 ในแต่ละอาทิตย์ลูกจะได้หนังสือมาอ่านที่บ้าน 4-5 เล่ม โดยคุณครูจะไม่บังคับว่าต้องอ่านกี่เล่มหรือเอาไปแล้วจะอ่านหมดหรือไม่
เป้าหมายที่ 2 ลูกสาวอยากจะสะสมสมุดสติ๊กเกอร์ให้ครบ 2 เล่ม เด็กๆที่นี่จะตื่นเต้นกับการได้สติ๊กเกอร์มาก โดยเวลาที่เค้าทำอะไรดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน กิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ด้านคุณธรรม คุณครูก็จะให้สติ๊กเกอร์กับเด็กๆ ประมาณว่าเป็นสมุดสะสมความดีในทุกๆด้าน ซึ่งคุณครูคนไหนก็สามารถให้เด็กได้หากเห็นว่าเหมาะสม
เป้าหมายสุดท้ายคือ การระบายสีให้อยู่ในเส้นและมีความปราณีตมากขึ้น
ตอนนี้ลูกอยู่ชั้น ป.1 เทอม 3 ทางโรงเรียนก็จัดให้มีการพูดคุยเหมือตอนเทอม 1 อีกครั้ง โดยคุณครูจะบอกว่าเด็กได้เข้าใกล้หรือประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้มากน้อยแค่ไหน สำหรับลูกเราเค้าทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งหมด คราวนี้เลยต้องมาตั้งเป้าหมายกันใหม่
คุณครูประจำชั้นจะเป็นผู้รู้ระดับความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ดีที่สุด เมื่อมาถึงหัวข้อ 3Gaols คุณครูจะให้เด็กคิดว่าอยากจะพัฒนาตนเองด้านไหนและจะต้องอธิบายได้ว่าเป้าหมายนั้นจะช่วยพัฒนาการเรียนได้อย่างไรบ้าง
อย่างเป้าหมายแรกที่ลูกเราอยากพัฒนาคือ การคิดประโยคที่จะอธิบายเรื่องราวที่อ่านซึ่งจะช่วยให้เค้าเข้าใจหนังสือเล่มนั้นได้ดีขึ้น
เป้าหมายที่ 2 คือ หัดเรียนรู้เลข 4 หลัก เพราะจะช่วยให้เค้าบวกและลบเลขได้ด้วยตนเอง ซึ่งตอนนี้ในห้องกำลังเรียนเลข 2 หลักอยู่ แต่มันง่ายเกินไปสำหรับลูกเราคุณครูเลยแนะนำให้ลูกลองทำในระดับที่ยากขึ้นซึ่งลูกเราก็ชอบทำอะไรที่ท้าทายอยู่แล้ว
เป้าหมายสุดท้ายเค้าอยากจะพัฒนาด้านการเขียน ลูกเราอยากแก้ไขงานเขียนให้อ่านแล้วดูสมเหตุสมผลและเข้าใจได้
ด้วยความเป็นแม่เราดีใจนะที่เห็นลูกมีความสุขกับการไปโรงเรียน มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ ลูกเรายังคงได้ใช้ชีวิตในแบบเด็กๆ
โดยส่วนตัวเราว่าแนวทางการเรียนการสอนแบบนี้มันดีกับตัวเด็กเอง ดีตรงที่เค้าไม่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดตั้งแต่เด็ก มันจะมีประโยชน์อะไรหากลูกเราเรียนเก่งได้เกรด A แต่ในทางกลับกันเค้าได้สูญเสียชีวิตวัยเด็กที่เค้าเองก็ควรได้ใช้มัน
จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราให้เด็กเริ่มต้นชีวิตการเรียนด้วยการให้เค้ารู้จักตัวเอง รู้ว่าตนเองชอบและสนใจอะไรแล้วพัฒนาสิ่งนั้น ใสส่วนของวิชาไหนที่เด็กไม่ถนัดก็ให้เวลาเค้าค่อยๆเรียนรู้โดยไม่กดดัน
ควาเครียดและความกดดัน...ให้เค้าได้เรียนรู้เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมจะดีกว่า
ปล่อยให้เด็กได้ใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยควมสดใส ร่าเริง สนุกสนานสมวัยของพวกเค้าเถิด
เปลี่ยนจากทำให้เด็กตัวเล็กๆรู้สึกว่าล้มเหลวให้รู้สึกภูมิใจในความสำเร็จของตนเองดีกว่าไหม