เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมา ผมได้ประเดิมโพสท์ Intro 101 เกี่ยวกับการทำความรู้จัก "แฟนตาซี ฟุตบอล" และให้รายละเอียด ว่าทำไมต้องเลือกเล่น "Fantasy Premier League" ไปแล้วตอนนึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ลิงค์ตอนแรก "มิตรรัก นักแฟนตาซี : Intro 101 มารู้จัก "แฟนตาซี ฟุตบอล" / ชวนจอยลีก Fantasy Premier League"
>> https://ppantip.com/topic/39096156
วันนี้ เลยอยากจะต่อ "Intro" ให้จบ ก่อนจะเข้าสู่ "Gameweek 1" หรือสัปดาห์ที่พรีเมียร์ลีกเปิดฤดูกาล โดยผมจะโฟกัสไปที่การลงลึกให้เข้าใจ "Fantasy Premier League" เกมแฟนตาซีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกันอย่างเดียวเลย
การเล่น Fantasy Premier League นั้น สามารถเล่นได้ทั้งผ่านเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในมือถือ แต่วิธีที่จะอธิบาย และแนะนำ ขอเจาะจงไปที่ "เว็บไซต์" เพราะอินเตอร์เฟซต่างๆ ครบกว่า เล่นง่ายกว่า ใช้งานง่ายกว่า หากคุณเข้าใจแล้ว ตอนไปเล่นในแอพมือถือ ก็น่าจะประยุกต์ต่อได้สบาย
รู้จักกับเมนูต่างๆ
หลังจากทำการสมัครแอคเคาท์ Fantasy Premier League เรียบร้อยแล้ว, ผ่านหน้าการจัดตัว (สามารถลองเลือกไปเล่นๆ ก่อน เพราะก่อนนัดแรกเตะ แก้ไขได้ตลอด) และผ่านการใส่ข้อมูลต่างๆ สำหรับทีมของคุณ ก็จะมาเจอหน้าตาเว็บไซต์แบบนี้
หน้าที่ของเมนูต่างๆ จะประกอบไปด้วย
1. My Team : เป็นหน้าหลักในการจัดทีมของเรา สามารถจัด 11 ตัวจริง 4 ตัวสำรอง หรือเลือกกัปตันทีม/รองกัปตันทีม กันที่หน้านี้เลย (รายละเอียดการจัดทีม อ่านต่อทางด้านล่างจ้า)
2. Transfer : เป็นหน้าสำคัญ ในการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเข้าสู่ทีม โดยมีนักเตะจากทั้ง 20 ทีมในพรีเมียร์ลีก ให้เลือกสรร (เงื่อนไข และวิธีการเปลี่ยนตัว จะพูดในสัปดาห์หน้า)
3. League : ไว้จัดการ “ลีกย่อย” ของเรา ทั้งการจอยลีก, ออกจากลีก, เช็คสมาชิกแต่ละลีก นอกเหนือจากนั้น ยังมี “Global Leagues” หรือการจัดอันดับกับคนทั่วโลก ในแง่ ทีมที่เชียร์, ประเทศ, Gameweek ที่เริ่มเล่น และเทียบกับทั้งหมด ให้ดูด้วย (การจอยลีก จะอธิบายเพิ่มเติมในตอนท้าย)
4. Fixture : เอาไว้เช็คโปรแกรมการแข่งขันพรีเมียร์ลีกจริง ซึ่งเป็นตารางแข่งขันของเกมไปด้วยในตัว สามารถเช็คเวลาเตะได้สะดวก เค้าปรับเป็นเวลาไทยไว้แล้ว
5. Statistic : เป็นเมนูที่ไว้โฟกัสเทียบผลงานของนักเตะ เราสามารถเลือกโดยตำแหน่ง, โดยทีม และสามารถเลือกเรียงลำดับจากหน่วยต่างๆ ได้ตามต้องการ
6. Scout : เป็นคอนเทนท์ของทางพรีเมียร์ลีกเค้า ที่เขียนเกี่ยวกับ Fantasy Premier League ทั้งหมด มีทั้งบทวิเคราะห์, แนะนำแทคติก และช่องทางโซเชียลต่างๆ
7. Draft : เป็นวิธีการเล่นแบบใหม่ ที่เค้าทดลองมา 2 ซีซั่นแล้ว มีระบบแย่งดราฟท์ตัวนักเตะ เข้ามาเกี่ยวข้อง มือใหม่ หรือยังไม่อยากจะลองแบบซับซ้อน เล่นแบบธรรมดา ก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เลย
8. Prizes : เป็นเมนูแจกแจงรางวัลทั้งหมดที่พรีเมียร์ลีก เขาจะมอบให้ผู้ชนะของซีซั่น, รายเดือน และรายสัปดาห์ รางวัลหรูหรา แต่การชนะคนหลักล้าน มันไม่ง่าย..
9. Player Availability : เป็นเมนูไว้เช็คนักเตะที่มีปัญหาอาการบาดเจ็บ ทั้งลงสนามไม่ได้ หรือต้องเช็คความฟิต เอาไว้ประกอบการตัดสินใจ
10. Rotoworld : ลิงค์ออกไปเช็คข่าวของ “Rotoworld” ซึ่งเป็นเครือของ NBC Sports
11. Help : รวบรวมปัญหาที่พบบ่อย, กติกาของเกม และเงื่อนไขการให้บริการ ไว้ในเมนูนี้
กฎหลักของการเล่น
ทราบเมนูหลักต่างๆ ไปแล้ว ว่ามันทำอะไรบ้าง ก่อนจะไปลงลึกในเมนูสำคัญๆ ก็ขอมาอธิบายถึงวัตถุประสงค์ และกฎหลักของการเล่น Fantasy Premier League กันก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวม
การวัดผล : Fantasy Premier League วัดผลกันที่ “คะแนนของทีม” ซึ่งได้มาจากคะแนนของนักเตะแต่ละคนในทีมของเรา ในแต่ละ Gameweek (ขออนุญาตใช้คำนี้ แทนคำว่า “สัปดาห์” เพื่อจะได้เคลียร์กับกติกาของเกม ที่จะอธิบายต่อไป) ทีมของใครคะแนนเยอะกว่า ก็อันดับสูงกว่า
วัตถุประสงค์หลัก คือการทำคะแนนของทีมให้ได้เยอะที่สุด เพื่อแข่งกับกุนซือคนอื่น
วิธีที่จะได้คะแนนมา : อย่างที่บอก ว่ามันมาจาก “คะแนนของนักเตะ” ซึ่งคะแนนเหล่านี้ จะอ้างอิงจากผลงานของนักเตะ ที่แข่งขันจริงๆ ในศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ
โดยผลงานที่จะก่อให้เกิดเป็นคะแนนของนักเตะ ประกอบไปด้วยรายละเอียดตามนี้
ที่ต้องมาร์คดอกจันไว้ที่ “Bonus Point System” หรือ “BPS” ก็เพราะว่าในแต่ละแมทช์การแข่งขัน จะมีการมอบคะแนน 3, 2 และ 1 ให้กับผู้เล่นที่มี BPS มากที่สุด ซึ่งการคำนวณ BPS นั้น มีกฎเกณฑ์อยู่หลายข้อนอกเหนือจากผลงานที่เราเห็นง่ายๆ อย่าง การยิงประตู, คลีนชีต หรือแอสซิสต์
เลยขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดของ BPS ไว้ตรงนี้ เพราะไม่งั้นจะยืดยาวมาก ใครอยากจะดูเกณฑ์โดยละเอียด ไปที่เมนู Help และกดไปที่ Rules >> Scoring ได้เลย
“ปิแอร์ โอเมริค โอบาเมย็อง” นักเตะที่ได้โบนัสมากที่สุด 32 คะแนน จากฤดูกาล 2018/19
นอกเหนือจากระบบ BPS ที่ทำให้การคิดคะแนนมีมิติมากขึ้น ใน Help ยังมีการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อลดข้อครหาในกรณีการคิดคะแนนไว้ด้วย เช่น
การโดนใบแดง : ผู้เล่นที่โดนใบแดง จะต้องถูกคิดคะแนน “การเสียประตู” ไปจนจบแมทช์ เพราะถือว่าใบแดง ทำให้ทีมต้องเสียเปรียบ
คลีนชีต : จะนำมาคิดคะแนน เฉพาะนักเตะที่อยู่ในสนามตั้งแต่ 60 นาทีขึ้นไปเท่านั้น และหากนักเตะคนนั้นออกจากสนาม เนื่องจากการเปลี่ยนตัว จะไม่ถูกคิดคะแนนในส่วน “การเสียประตู”
2 แบ็คของ “หงส์แดง” ทั้งโรเบิร์ตสัน และเทรนต์ เจ้าของจำนวนแอสซิสต์มากที่สุดซีซั่นที่แล้ว
แอสซิสต์ : มีรายละเอียดหลากหลาย ที่เกมจะยกสิทธิ์ให้เป็นแอสซิสต์ เช่น การถูกทำฟาวล์ แล้วทำให้ทีมได้จุดโทษ หรือฟรีคิก แล้วผู้เล่นอีกคนยิงเข้าโดยตรง (ลุกขึ้นมายิงเองไม่ได้), การยิงแล้วโดนเซฟ แล้วมีเพื่อนมาซ้ำเป็นประตู หรือการโหม่ง/ยิงแฉลบ แล้วไปเข้าทางเพื่อนยิงประตูต่อเข้าไป เป็นต้น
โดยทางพรีเมียร์ลีก เค้ามีการอธิบายว่า เค้าใช้ “Opta” ในการคำนวณ และตัดสินผลเหตุการณ์ต่างๆ ในสนาม เพื่อป้องกันผู้เล่นอ้างข้อมูลตามเว็บอื่น ที่อาจแสดงผลแตกต่าง อย่างเช่น การแอสซิสต์ ซึ่งตีความได้หลากหลาย
ตัวอย่างสถิติจาก Opta สำหรับผลงานของ “ลูก้า มิลิโวเยวิช” กัปตันทีมพาเลซ
รายละเอียดของกฎหลักการเล่น จะขอพูดถึงไว้เพียงเท่านี้ เพราะน่าจะครอบคลุมถึงการคิดคะแนนในแบบปกติ ซึ่งหากมีเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้น เราจะหยิบเอามาคุยกันต่อในอนาคต
การจัดตัวผู้เล่น
ผ่านกฎหลักของเกมมาแล้ว ก็ถึงคราวลงรายละเอียดสิ่งสำคัญอย่างแรกคือ “การจัดตัวผู้เล่น” กันบ้าง โดยเกมจะบังคับให้ต้องจัดนักเตะทั้งหมด 15 ตัว แบ่งเป็น โกล์ 2 / กองหลัง 5 / กองกลาง 5 / กองหน้า 3 ภายใต้งบประมาณตั้งต้น 100 ล้านปอนด์ เหมือนกันทุกคน
นักเตะ 15 ตัว กับงบประมาณ 100 ล้านปอนด์ ซึ่งถูกกำหนดไว้สำหรับกุนซือทุกคน
นอกเหนือจากการจำกัดด้านงบประมาณรวมของทีมแล้ว เกมจะยังบังคับว่า เราสามารถเลือกนักเตะจากสโมสรเดียวกันนั้น ได้แค่เพียง 3 คนเท่านั้น อีกด้วย
กลยุทธ์การจัดตัว
แม้แต่ละ Gameweek เกมจะคิดคะแนนของผู้เล่นแค่ 11 ตัวแรก โดยไม่นับผู้เล่นสำรองอีก 4 ราย (ยกเว้นการใช้ Chips ที่ชื่อว่า Bench Boost ซึ่งจะอธิบายในคราวหน้า) แต่เรื่องของการเปลี่ยนตัว เกมมีข้อแม้ว่า ระหว่าง Gameweek เราจะเปลี่ยนตัว หรือ Transfer นักเตะได้ฟรี เพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้น หากต้องการเปลี่ยนเพิ่มต้องเสียคะแนน -4 ต่อการเปลี่ยน 1 ตัว การเลือก 15 นักเตะตั้งต้น จึงมีความสำคัญไม่น้อย
กลยุทธ์ในการจัดตัว ที่เราจะแนะนำกัน จึงขอโฟกัสไปที่การจัดทีมเริ่มแรก ซึ่งอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้กับการจัดตัว ในระหว่างซีซั่นได้เช่นกัน
** กลยุทธ์สำคัญ : เลือกนักเตะเทพที่พร้อมอยู่ยาว
สิ่งนี้ ควรเป็นสิ่งแรกที่เราให้ความสำคัญ เพราะนักเตะเทพ หรือนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์ มักจะทำแต้มได้เป็นกอปรเป็นกำให้กับเรา แต่กลับกัน ค่าตัวก็ย่อมแพง ดังนั้นเลือกแล้ว ก็ควรคาดหวังการใช้งานในระยะยาว
ถ้าเราอยากเลือก 2 แบ็คจาก “หงส์แดง” มันก็จะกินงบประมาณไปทันที 14 ล้านปอนด์
ยกตัวอย่างเช่น การเลือกกองหลัง โดยจิ้มไปที่ของแพงอย่าง “แอนดี้ โรเบิร์ตสัน” และ “เทรนต์ อเล็กซานเดอร์ อาโนลล์” ในราคา 7 ล้านปอนด์ ก็ดูเหมาะสมกับแผนการระยะยาว เพราะลิเวอร์พูล เล่นเกมรับได้เหนียวแน่น มีโอกาสลุ้นคลีนชีตทุกนัด แถมแบ็คทั้ง 2 ข้าง ก็ยังผลิตแอสซิสต์ให้ทีมได้สม่ำเสมอ เมื่อดูจากผลงานซีซั่นที่แล้ว
หรือหากเพิ่ม 2 คนสำคัญของซิตี้เข้าไปอีก งบจะเหลือแค่ 64.5 ล้าน กับ 11 ตัวที่เหลือ
หรือในแดนกลาง หากเราเลือกตัวรุกจัดจ้านของซิตี้ อย่าง “เควิน เดอ บรอยด์” หรือ “ราฮีม สเตอร์ลิ่ง” ก็แน่นอนว่าเราควรจะต้องหวังผลกับพวกเขาในระยะยาว เพื่อให้คุ้มกับค่าตัวระดับ 9 และ 12 ล้านปอนด์ ที่จะไปเบียดเบียนค่าตัวของตัวอื่น
(ขออนุญาตเขียนต่อในคอมเมนท์ เพราะจะเกินข้อจำกัดแล้ว เนื้อหาจะได้ไม่ขาดครึ่งๆ กลางๆ)
มิตรรัก นักแฟนตาซี : Intro 201 ลงลึกให้เข้าใจ Fantasy Premier League!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันนี้ เลยอยากจะต่อ "Intro" ให้จบ ก่อนจะเข้าสู่ "Gameweek 1" หรือสัปดาห์ที่พรีเมียร์ลีกเปิดฤดูกาล โดยผมจะโฟกัสไปที่การลงลึกให้เข้าใจ "Fantasy Premier League" เกมแฟนตาซีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกันอย่างเดียวเลย
การเล่น Fantasy Premier League นั้น สามารถเล่นได้ทั้งผ่านเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในมือถือ แต่วิธีที่จะอธิบาย และแนะนำ ขอเจาะจงไปที่ "เว็บไซต์" เพราะอินเตอร์เฟซต่างๆ ครบกว่า เล่นง่ายกว่า ใช้งานง่ายกว่า หากคุณเข้าใจแล้ว ตอนไปเล่นในแอพมือถือ ก็น่าจะประยุกต์ต่อได้สบาย
รู้จักกับเมนูต่างๆ
หลังจากทำการสมัครแอคเคาท์ Fantasy Premier League เรียบร้อยแล้ว, ผ่านหน้าการจัดตัว (สามารถลองเลือกไปเล่นๆ ก่อน เพราะก่อนนัดแรกเตะ แก้ไขได้ตลอด) และผ่านการใส่ข้อมูลต่างๆ สำหรับทีมของคุณ ก็จะมาเจอหน้าตาเว็บไซต์แบบนี้
2. Transfer : เป็นหน้าสำคัญ ในการเปลี่ยนตัวผู้เล่นเข้าสู่ทีม โดยมีนักเตะจากทั้ง 20 ทีมในพรีเมียร์ลีก ให้เลือกสรร (เงื่อนไข และวิธีการเปลี่ยนตัว จะพูดในสัปดาห์หน้า)
3. League : ไว้จัดการ “ลีกย่อย” ของเรา ทั้งการจอยลีก, ออกจากลีก, เช็คสมาชิกแต่ละลีก นอกเหนือจากนั้น ยังมี “Global Leagues” หรือการจัดอันดับกับคนทั่วโลก ในแง่ ทีมที่เชียร์, ประเทศ, Gameweek ที่เริ่มเล่น และเทียบกับทั้งหมด ให้ดูด้วย (การจอยลีก จะอธิบายเพิ่มเติมในตอนท้าย)
4. Fixture : เอาไว้เช็คโปรแกรมการแข่งขันพรีเมียร์ลีกจริง ซึ่งเป็นตารางแข่งขันของเกมไปด้วยในตัว สามารถเช็คเวลาเตะได้สะดวก เค้าปรับเป็นเวลาไทยไว้แล้ว
5. Statistic : เป็นเมนูที่ไว้โฟกัสเทียบผลงานของนักเตะ เราสามารถเลือกโดยตำแหน่ง, โดยทีม และสามารถเลือกเรียงลำดับจากหน่วยต่างๆ ได้ตามต้องการ
6. Scout : เป็นคอนเทนท์ของทางพรีเมียร์ลีกเค้า ที่เขียนเกี่ยวกับ Fantasy Premier League ทั้งหมด มีทั้งบทวิเคราะห์, แนะนำแทคติก และช่องทางโซเชียลต่างๆ
7. Draft : เป็นวิธีการเล่นแบบใหม่ ที่เค้าทดลองมา 2 ซีซั่นแล้ว มีระบบแย่งดราฟท์ตัวนักเตะ เข้ามาเกี่ยวข้อง มือใหม่ หรือยังไม่อยากจะลองแบบซับซ้อน เล่นแบบธรรมดา ก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เลย
8. Prizes : เป็นเมนูแจกแจงรางวัลทั้งหมดที่พรีเมียร์ลีก เขาจะมอบให้ผู้ชนะของซีซั่น, รายเดือน และรายสัปดาห์ รางวัลหรูหรา แต่การชนะคนหลักล้าน มันไม่ง่าย..
9. Player Availability : เป็นเมนูไว้เช็คนักเตะที่มีปัญหาอาการบาดเจ็บ ทั้งลงสนามไม่ได้ หรือต้องเช็คความฟิต เอาไว้ประกอบการตัดสินใจ
10. Rotoworld : ลิงค์ออกไปเช็คข่าวของ “Rotoworld” ซึ่งเป็นเครือของ NBC Sports
11. Help : รวบรวมปัญหาที่พบบ่อย, กติกาของเกม และเงื่อนไขการให้บริการ ไว้ในเมนูนี้
โดยผลงานที่จะก่อให้เกิดเป็นคะแนนของนักเตะ ประกอบไปด้วยรายละเอียดตามนี้
เลยขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดของ BPS ไว้ตรงนี้ เพราะไม่งั้นจะยืดยาวมาก ใครอยากจะดูเกณฑ์โดยละเอียด ไปที่เมนู Help และกดไปที่ Rules >> Scoring ได้เลย
การโดนใบแดง : ผู้เล่นที่โดนใบแดง จะต้องถูกคิดคะแนน “การเสียประตู” ไปจนจบแมทช์ เพราะถือว่าใบแดง ทำให้ทีมต้องเสียเปรียบ
คลีนชีต : จะนำมาคิดคะแนน เฉพาะนักเตะที่อยู่ในสนามตั้งแต่ 60 นาทีขึ้นไปเท่านั้น และหากนักเตะคนนั้นออกจากสนาม เนื่องจากการเปลี่ยนตัว จะไม่ถูกคิดคะแนนในส่วน “การเสียประตู”
โดยทางพรีเมียร์ลีก เค้ามีการอธิบายว่า เค้าใช้ “Opta” ในการคำนวณ และตัดสินผลเหตุการณ์ต่างๆ ในสนาม เพื่อป้องกันผู้เล่นอ้างข้อมูลตามเว็บอื่น ที่อาจแสดงผลแตกต่าง อย่างเช่น การแอสซิสต์ ซึ่งตีความได้หลากหลาย
กลยุทธ์ในการจัดตัว ที่เราจะแนะนำกัน จึงขอโฟกัสไปที่การจัดทีมเริ่มแรก ซึ่งอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้กับการจัดตัว ในระหว่างซีซั่นได้เช่นกัน