ผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาโทรศัพท์มือถือมีจริงหรือไม่? และร้องเรียนอย่างไรจึงได้ผล บทความนี้จะเสนอแนวทางคร่าวๆ

เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเสาโทรศัพท์มือถือมีเยอะมาก
บางปีเป็นร้อยเรื่อง และแต่ละปีจะมี 4-5 เรื่องที่เข้ามาทางสาธารณสุข

บางเรื่องก็ดูขำๆ เช่น
"เมื่อผมร้องเรียน ทางบริษัทก็บีมสัญญาณไปอีกจุด"
"บ้านหนูอยู่ตรงจุดนั้น เวลาเขาบีมมาก็ปวดหัวหนัก ต้องย้ายไปนอนที่อื่น!!"

วันนี้อยากคุยเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งเกิดจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
อาจพูดวนๆ กันโดยใช้สองคำนี้สลับกันบ้าง
แต่คำที่ถูกต้องคือ "สนามแม่เหล็กไฟฟ้า"

ทำไมคนถึงกลัวเสาฯ หรือชอบร้องเรียนเรื่องเสาฯ

1 คนทั่วไปมีความรู้เรื่องผลกระทบจากสนามแม่เหล็กน้อยมาก
จึงมีข้อกำหนดว่าผู้ที่จะติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณต้องให้ความรู้กับประชาชนก่อน
(ไม่ใช่ตอนก่อสร้างนะครับ ตอนสร้างทำได้เลย ขออนุญาตแบบสร้างอาคาร)
ซึ่งแน่นอน ไม่มีผู้ประกอบการอยากเสียเวลากับจุดนี้

2.การสื่อสารความเสี่ยงที่แย่ของบริษัท หรือเรียกว่าไม่มีเลยก็ได้
เช่นอยู่ๆ ก็มีแรงงานพม่าพร้อมผู้รับเหมาโผล่มาสร้างเสากันยกใหญ่
โดยไม่มีการบอกกล่าวใดๆ (ที่จริงคือผิดกฎหมาย)
พวกเขาจะพูดอย่างเดียวว่าไม่รู้เรื่อง เขาให้มาสร้างก็สร้าง

3.บริษัทมักหวังพึ่งทางสาธารณสุข หรือ กสทช.
มาทำหน้าที่แทน เวลามีปัญหาบริษัทบางแห่งหนีไปเลย
ไม่เคยมารับผิดชอบ

4. การให้ข้อมูลของรัฐมีในแบบโฆษณาชวนเชื่อ
เช่นเป็นคำพูดสั้นๆ ว่าไม่อันตราย มากกว่าจะให้ข้อมูล
เชิงวิชาการ ทั้งที่คนรับสารมีหลายระดับ เป็น ดร.ทางฟิสิกส์ก็มี
ถ้าดูจากระดับความสำคัญของปัญหา รัฐน่าจะจัดประชุมระดับชาติเรื่องนี้ทุกปี

4. เป็นทัศนอุจาด บดยิ้มศทางลม 

6.การกลัวความเสี่ยงจากฟ้าผ่า เสาถล่ม ฯลฯ

Myth
มีข้อเข้าใจผิดกันมานาน (Myth) ว่า

Myth 1 ผู้ร้องเรียนส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย

Fact 1 ไม่เคยพบผู้มีการศึกษาน้อยเลย ผู้ร้องเรียนมีทั้งอาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พยาบาล วิศวกร ทูต เจ้าของกิจการใหญ่ๆ

Myth 2 ผู้ร้องเรียนเป็นกลุ่มผู้ขัดขวางความเจริญ

Fact 2 ทางราชการอืดมากๆ ถ้าไม่ร้องก็ไม่ทำอะไรเอง
การร้องเรียนปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคน อาจต้องทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต
และสลับฝั่งกันได้เรื่อยๆ เช่นวันหนึ่งเป็นผู้สร้างปัญหา อีกวันเป็นผู้ร้องเรียน เช่น
นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบ่อขยะเทศบาลแห่งหนึ่ง หนึ่งในผู้ร้องเรียนมีอาชีพรับเหมาติดตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ

Myth 3 อันตรายจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเรื่องที่ไม่มีรากฐานทางวิทยาศาสตร์เลย

Fact 3 จริงๆแล้วมีงานวิจัยพูดถึงผลกระทบต่อระบบทางชีววิทยาของร่ายกายค่อนข้างเยอะ
คนร้องเรียนมักอ่านงานวิจัยมาเยอะ และงานวิจัยมีแนวโน้มที่จะบอกว่ามีผลกระทบ
ส่วนนี้เรียกกันว่า bias ของการจะได้ตีพิมพ์
งานวิจัยแบบนี้มักถูกเวบไซต์ที่ขายของ
เช่นกำไลกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้าฯ นำไปอ้างแบบเกินจริง
ส่วนคนที่ไม่เชื่อเรื่องผลกระทบมักไม่มีงานวิจัยบอกตรงๆ
แต่จะต้องอ่านเยอะๆ  หรือเชื่อตามองค์กรใหญ่ๆ เช่นองค์การอนามัยโลก
ซึ่งขณะนี้ยังสรุปแบบอึนๆ อยู่

สมมุติท่านที่อ่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อ
เรานึกถึงงานวิจัยอะไรได้ไหม ที่บอกว่าไม่จริง
หรือมันเป็นเพียงสามัญสำนึกชนิดหนึ่งที่ไม่เห็นมีใครเป็นอะไร (Scientific common sense?)

Myth 4 (คู่ตรงข้าม Myth 3) มีงานวิจัยเยอะแยะที่บอกว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพ

Fact 4 มีงานวิจัยพบผลกระทบทางชีววิทยาเยอะ แต่ผู้วิจัยมักไม่สรุปชัดว่ามีอันตราย เว้นแต่ที่กล่าวว่า
สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวก่อมะเร็งแบบ 2B ซึ่งจะพูดถึงอีกครั้งหนึ่ง
คล้ายกับชีวิตเรามักได้สัมผัสสารเคมีวันหนึ่งหลายร้อยชนิด ทุกอย่างย่อมมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น
แต่ก็มิใช่ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นเสมอ

มุมมองผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการถูกกฎหมายกำหนดให้ติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
ซึ่งวิธีที่เร็วที่สุดก็คือเลี่ยงข้อกำหนดที่ว่าต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อนส่งสัญญาณ
เพราะคุ้มกว่า เนื่องจากการติดตั้งเสาส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เกิดข้อร้องเรียนตามมา และข้อกำหนดนี้มีโทษอ่อน
(ท่านที่เก่งทฤษฎีเกมส์ลองพิจารณาดู)
รวมทั้งคนในสังคมเชื่อว่าเสาสัญญาณมือถือไม่มีอันตราย
ถ้าเกิดเรื่องอาจแค่ระงับการส่งสัญญาณ แต่ไม่ต้องรื้อถอน และเพียงยื่นขออนุญาตใหม่

ระเบียบเกี่ยวกับการตั้งเสาของ กสทช.มีความซับซ้อนอย่างมาก
เช่นการรับฟังความเห็นก่อนส่งสัญญาณคืออะไร
แต่ขั้นตอนง่ายๆคือแบบนี้

และยังมี "ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา
หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม"
ซึ่งต้องทำคล้ายๆกับ EIA เลยทีเดียว แต่ชณะนี้ไม่ชัดว่าจะเอาอย่างไง

ทำไมคนมักร้องเรียนที่สาธารณสุข

คนทัวไปมีความเชื่อว่า ถ้าหากเจ็บป่วยแล้ว การร้องเรียนจะมีน้ำหนักขึ้น
และข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งก็คือ คนสาธารณสุข มีทุกพื้นที่
ในขณะที่หน่วยงานของ กสทช.ที่รับผิดชอบโดยตรง ไม่มีในทุกจังหวัด
สาธารณสุขสามารถเข้าไปดูได้ตาม พรบ.สาธารณสุข มาตรา 25 ที่ว่า
"๔) การกระทําใด ๆอันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน
ฝุน ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุใหเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ"

แต่ข้อเสียคือคนมักเชื่อว่าทางสาธารณสุขมักตอบได้ทุกเรื่อง เช่นชายคนนี้ป่วยเพราะเสาโทรศัพท์
ทั้งที่จริงๆ ทำไม่ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่