พระสัทธรรมเสื่อมสูญได้หรือไม่... ฤาเจตนาการสร้างสัทธรรมปฏิรูป: “พุธวจนปิฎก”


พระสัทธรรมเสื่อมสูญได้หรือไม่... ฤาเจตนาการสร้างสัทธรรมปฏิรูป: “พุธวจนปิฎก” ขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้พระสัทธรรมในส่วนที่เป็นอรรถะและพยัญชนะที่บัญญัติไว้ดีแล้วในพระไตรปิฎก....เสื่มหรือสูญสิ้นไป.....เรื่องนี้ความเห็นของข้าพเจ้ามีดังนี้:

“พระสัทธรรม” ในส่วนอรรถะและพยัญชนะทั้งบาลีและไทย เสื่อมสูญได้เพราะเป็นสมมุติบัญญัติ จึงมีผู้ฉกฉวยความจริงข้อนี้....ตัดตอนแต่งเติมกล่าวตู่พระสัทธรรมในส่วนอรรถะและพยัญชนะด้วยการแต่ง “พุธจนปิฎก” ขึ้นมาเช่นนี้แหละ....ที่จะทำให้พระสัทธรรมในส่วนที่เป็นอรรถะและพยัญชนะเสื่มสูญสิ้นไปได้......

อย่างไรก็ดี แม้พระสัทธรรม ในส่วนอรรถและพยัญชนะทั้งบาลีและไทย เสื่อมสูญได้ เพราะเป็นสมมุติบัญญัติ แต่ “พระสัทธรรมในส่วนสภาวะ” หาเสื่อมสูญได้ไม่ การอธิบายเรื่องการเสื่อมสูญของพระสัทธรรมจึงควรพิจารณารื่องความเสื่อมสูญในแง่สมมุติบัญญัติและในแง่ปรมัตถ์

ธรรมะคือธรรมชาติ สภาวะของธรรมชาติที่สุดแล้วคือคือไตรลักษณ์อันเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นแม้พระสัทธรรมจะเสื่อมสูญจากใจ ก็ไม่ได้หมายความว่าสภาวะปรมัตถ์ของพระสัทธรรมเสื่อมสูญหายไปจากโลกนี้ เพราะสิ่งมีชีวิตทุกรูปนาม ยังมีไตรลักษณะอยู่ เพียงแต่สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถเข้าถึงสภาวะไตรลักษณ์อันเป็นพระสัทธรรม เป็นปรมัตถธรรมได้

ธรรมะคือธรรมชาติ สภาวะของธรรมชาติที่สุดแล้วคือคือไตรลักษณ์อันเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นแม้พระสัทธรรมจะเสื่อมสูญจากใจ ก็ไม่ได้หมายความว่าสภาวะปรมัตถ์ของพระสัทธรรมเสื่อมสูญหายไปจากโลกนี้ เพราะสิ่งมีชีวิตทุกรูปนาม ยังมีไตรลักษณะอยู่ เพียงแต่สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถเข้าถึงสภาวะไตรลักษณ์อันเป็นพระสัทธรรม เป็นปรมัตถธรรมได้

พระพุธองค์ทรงแสดงไว้ก่อนปรินิพพานว่า คำสอนจะเป็นศาสดาแทนเราตถาคต.....อย่างไรก็ดี การรักษาพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกเอาไว้ได้ แต่หากไม่มีคนสนใจศึกษาหรือเปิดอ่าน หรือเปิดอ่านแต่ไม่น้อมนำมาปฏิบัติ ก็นับว่ายังไม่เป็นไปตามนัยแห่งพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พระสัทธรรมสามอันได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะคำสอนในทางพระพุทธศาสนาคือมุ่งสอนเรื่องการปฏิบัติตนให้ออกจากทุกข์ และนั้นคือที่สุด คือเป้าหมายของพระพุทธศาสนา

อีกประการหนึ่ง มีบุคคลจำนวนมากที่สามารถเข้าถึงธรรม เห็นธรรมได้ โดยไม่ได้ศึกษาปริยัติ พระสายวัดป่าหลายรูป สอนธรรมะได้ พูดสภาวะได้ ลดละกิเลศได้ โดยไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก ทั้งนี้เพราะธรรมมีอยู่แล้วในธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นผู้เข้าไปพบ แล้วนำมาสอน ที่แท้ธรรมะไม่ใช่ของใครที่สร้างขึ้นมาแม้แต่พระพุทธองค์

ความเข้าใจในธรรม - รู้เห็นสภาวะธรรมนั้น....ที่สุดแล้วก็คือ “ปัญญา” ที่เกิดขึ้นรู้แจ้งในเรื่องเดียวกันหมด แต่ต่างกันที่สภาวะที่เป็นเหตุให้เกิดปัญญานั้น....ส่วนจะนำมาถ่ายทอดได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย เช่นพระปัจจเจกพระพุทธเจ้าก็สามารถตรัสรู้ได้เองโดยไม่ต้องศึกษาฟังธรรมจากผู้ใด แต่ผลคือ...ไม่อาจสอนผู้อื่นให้เข้าใจตามได้

ดังนั้น ขอสรุปว่า

๑. พระสัทธรรมมี ๓ อันได้แก่
-ปริยัติตสัทธรรม คือคำสอนที่จะต้อศึกษา ได้แก่พุทธพจน์เป็นต้น ในสมัยก่อนก็มีแค่อรรถะ และพยัญชนะ แต่สมัยนี้ก็มีผู้นำคำสอนไปอ่านอัดซีดีเพื่อเผยแผ่ หรือทำเป็นคลิปวิดีโอ ก็น่าจะอนุโลมจัดว่าเป็นปริยัติสัทธรรมได้

-ปฏิบัติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ การเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ปฏิติสัทธรรมจึงหมายถึงภาคการนำคำสอนมาปฏิบัติ

-ปฏิเวธสัทธรรม คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑...... อันเป็นโลกุตรธรรม เป็นผลที่เข้าถึงได้จากการปฏิบัติที่ถูกต้องตรงทางดีแล้ว

หากปริยัติสัทธรรมอยู่แค่ในตู้พระไตรปิฎก หรือมีการบิดเบือนกล่าวตู่ปริยัตสัทธรรม.....จนเกิดเป็นสัทธรรมปฏิรูปแล้วไซร้..... ปฏิบัติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรมก็ย่อมเสื่อมสูญลงได้ แต่ “สภาวะของพระสัทธรรม” ไม่ได้หายไปไหน เพราะรูปนามและไตรลักษณ์ยังมีอยู่ในสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ส่วนในสิ่งไม่มีชีวิตก็ยังมีรูปและไตรลักษณ์เช่นกัน นี้คือธรรมะ คือธรรมชาติ คือความจริง

๒. “พระสัทธรรม” ในส่วนอรรถะและพยัญชนะทั้งบาลีและไทย เสื่อมสูญได้ เพราะเป็นสมมุติบัญญัติ จึงมีผู้ฉกฉวยความจริงข้อนี้....ตัดตอนแต่งเติมตู่พระสัทธรรมในส่วนอรรถะ และพยัญชนะด้วยการแต่ง “พุธจนปิฎก” เกิดเป็นสัทธรรมปฏิรูปขึ้น นี้แหละที่จะทำให้พระสัทธรรมในส่วนที่เป็นอรรถะและพยัญชนะเสื่มสูญสิ้นไปได้......

พวกเราชาวพุทธจึงควรไม่ประมาท กล่าวคือ.....ไม่ประมาทในตน โดยการน้อมนำปริยัตสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรมให้บังเกิดขึ้นในใจ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ให้เกิดขึ้น และไม่ประมาทในการปกป้องรักษาและสืบทอดพระสัทธรรมคำสอน มิให้มีผู้ใดมาย่ำยีแต่งเติมตัดต่ออรรถะและพยัญชนะจนผิดเพี้ยนไปจนปรากฏเป็นพระสัทธรรมปฏิรูปคือ.... “พุทธวจนปิฏก”... ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้......

วิรังรอง ทัพพะรังสี ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๘

https://www.facebook.com/…/videos/vb.68…/10153726919698973/…
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่